วันนี้ (21 มี.ค. 2548) เวลา 17.00 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยข้อเสนอแนะแก้วิกฤตการณ์น้ำมันว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก ปัจจุบันที่ราคาน้ำมันดิบได้พุ่งสูงขึ้น และอยู่ในระดับสูงถึง 40 เหรียญต่อบาเรล โดยไม่มีทีท่าว่าจะลดลงในช่วง 1-2 ปีข้างหน้าอย่างชัดเจน ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจไทย ที่ยังคงต้องนำเข้าน้ำมันเกือบทั้งหมดที่ใช้ในของประเทศ
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า รัฐบาลได้ใช้มาตรการตรึงราคาน้ำมัน ราคาขายปลีก โดยได้กู้เงินธนาคารเพื่อชดเชยให้ผู้ค้า ซึ่งเป็นมาตรการที่เหมาะสมในกรณีที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นชั่วคราวเป็นเวลาสั้นๆ ดังนั้นมาตรการดังกล่าวคงไม่สามารถดำเนินการได้ต่อไป เนื่องจากขณะนี้กองทุนน้ำมันได้สะสมหนี้สูงถึงกว่า 76,433 ล้านบาท และแนวโน้มที่ราคาน้ำมันในภาคการผลิตและภาคประชาชนต้องใช้ จะมีราคาสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ค่าครองชีพ และความเชื่อมั่นของประชาชน รวมทั้งนักลงทุนโดยส่วนรวม เมื่อผนวกกับความไม่แน่นอน สืบเนื่องมาจากมาตรการของรัฐบาล ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงภาระหนี้ที่ได้ก่อไว้ จึงทำให้การบริหารจัดการในเรื่องนี้มีความจำเป็นเร่งด่วน
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ยังได้กล่าวถึงเป้าหมายและหลักสำคัญในการแก้ปัญหา โดยแบ่งแยกออกเป็นข้อดังนี้ คือ 1.ขจัดความไม่แน่นอนและมาตรการแทรกแซงที่จะนำไปสู่การบิดเบือนในกลไกการค้าน้ำมัน 2. ลดภาระของประชาชนให้มากที่สุด ในการยกเลิกมาตรการตรึงราคาน้ำมัน และ3.วางระบบในระยะยาว เพื่อแก้ไขปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมัน
สำหรับข้อเสนอแนะที่พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องต่อรัฐบาลมี 7 ประการดังนี้ คือ
1.ประกาศกรอบเวลาที่ชัดเจนในการยกเลิกมาตรการตรึงราคา เพื่อสร้างความแน่นอน และให้กลไกการค้าน้ำมันกลับไปสู่สภาวะปกติ เช่น อาจกำหนดกรอบระยะเวลาไว้ที่ 4 — 6 เดือน
2.ในส่วนต่างของราคาที่จะต้องปรับขึ้นประมาณ 6 บาทต่อลิตร สำหรับน้ำมันดีเซล รัฐบาลควรลดภาระของประชาชน ด้วยการประกาศลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ซึ่งปัจจุบันเก็บอยู่ที่ 2.3 บาทต่อลิตร โดยกำหนดให้อัตรายืดหยุ่นตามราคาน้ำมันและถือเป็นการใช้มาตรการเฉพาะในช่วงราคาน้ำมันสูง และอาจกำหนดเงื่อนเวลา
3. รัฐบาลควรประกาศมาตรการเฉพาะเพื่อช่วยเหลือกลุ่มอาชีพที่ต้องพึ่งพาน้ำมันมากเป็นพิเศษ เช่น กลุ่มประมง กลุ่มเกษตรกรที่ต้องใช้น้ำมัน ภาคขนส่ง นอกจากมาตรการในข้อ 2
4. รัฐบาลต้องไม่ลดการอุดหนุนในเรื่องก๊าซหุงต้ม เพื่อนำมาชดเชยปัญหากองทุนน้ำมัน เพราะจะเป็นการซ้ำเติมผู้บริโภคและครัวเรือนทั่วไป
5. ภาระหนี้กว่า 76,433 ล้านบาท รัฐบาลควรยอมรับเข้ามาเป็นหนี้ของรัฐโดยตรง และใช้ภาษีที่จัดเก็บเกินเป้าในปีนี้มาชดเชย เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชนในอนาคต และไม่ควรใช้ SPV ที่เป็นเพียงการโอนถ่าย หรือเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบหนี้
6. รัฐบาลสามารถใช้กรอบของมาตรการจากข้อ 1- 5 มาประเมินต้นทุนราคาสินค้า เพื่อใช้เป็นดัชนีอ้างอิงในการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
7. ในระยะยาวรัฐบาลต้องส่งเสริมพลังงานทางเลือก เพื่อลดภาระการพึ่งพาน้ำมันของประเทศและเร่งศึกษารูปแบบการให้ผู้ค้าน้ำมันมีส่วนร่วมในการรับภาระในช่วงน้ำมันแพง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-
นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า รัฐบาลได้ใช้มาตรการตรึงราคาน้ำมัน ราคาขายปลีก โดยได้กู้เงินธนาคารเพื่อชดเชยให้ผู้ค้า ซึ่งเป็นมาตรการที่เหมาะสมในกรณีที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นชั่วคราวเป็นเวลาสั้นๆ ดังนั้นมาตรการดังกล่าวคงไม่สามารถดำเนินการได้ต่อไป เนื่องจากขณะนี้กองทุนน้ำมันได้สะสมหนี้สูงถึงกว่า 76,433 ล้านบาท และแนวโน้มที่ราคาน้ำมันในภาคการผลิตและภาคประชาชนต้องใช้ จะมีราคาสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ค่าครองชีพ และความเชื่อมั่นของประชาชน รวมทั้งนักลงทุนโดยส่วนรวม เมื่อผนวกกับความไม่แน่นอน สืบเนื่องมาจากมาตรการของรัฐบาล ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงภาระหนี้ที่ได้ก่อไว้ จึงทำให้การบริหารจัดการในเรื่องนี้มีความจำเป็นเร่งด่วน
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ยังได้กล่าวถึงเป้าหมายและหลักสำคัญในการแก้ปัญหา โดยแบ่งแยกออกเป็นข้อดังนี้ คือ 1.ขจัดความไม่แน่นอนและมาตรการแทรกแซงที่จะนำไปสู่การบิดเบือนในกลไกการค้าน้ำมัน 2. ลดภาระของประชาชนให้มากที่สุด ในการยกเลิกมาตรการตรึงราคาน้ำมัน และ3.วางระบบในระยะยาว เพื่อแก้ไขปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมัน
สำหรับข้อเสนอแนะที่พรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องต่อรัฐบาลมี 7 ประการดังนี้ คือ
1.ประกาศกรอบเวลาที่ชัดเจนในการยกเลิกมาตรการตรึงราคา เพื่อสร้างความแน่นอน และให้กลไกการค้าน้ำมันกลับไปสู่สภาวะปกติ เช่น อาจกำหนดกรอบระยะเวลาไว้ที่ 4 — 6 เดือน
2.ในส่วนต่างของราคาที่จะต้องปรับขึ้นประมาณ 6 บาทต่อลิตร สำหรับน้ำมันดีเซล รัฐบาลควรลดภาระของประชาชน ด้วยการประกาศลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ซึ่งปัจจุบันเก็บอยู่ที่ 2.3 บาทต่อลิตร โดยกำหนดให้อัตรายืดหยุ่นตามราคาน้ำมันและถือเป็นการใช้มาตรการเฉพาะในช่วงราคาน้ำมันสูง และอาจกำหนดเงื่อนเวลา
3. รัฐบาลควรประกาศมาตรการเฉพาะเพื่อช่วยเหลือกลุ่มอาชีพที่ต้องพึ่งพาน้ำมันมากเป็นพิเศษ เช่น กลุ่มประมง กลุ่มเกษตรกรที่ต้องใช้น้ำมัน ภาคขนส่ง นอกจากมาตรการในข้อ 2
4. รัฐบาลต้องไม่ลดการอุดหนุนในเรื่องก๊าซหุงต้ม เพื่อนำมาชดเชยปัญหากองทุนน้ำมัน เพราะจะเป็นการซ้ำเติมผู้บริโภคและครัวเรือนทั่วไป
5. ภาระหนี้กว่า 76,433 ล้านบาท รัฐบาลควรยอมรับเข้ามาเป็นหนี้ของรัฐโดยตรง และใช้ภาษีที่จัดเก็บเกินเป้าในปีนี้มาชดเชย เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชนในอนาคต และไม่ควรใช้ SPV ที่เป็นเพียงการโอนถ่าย หรือเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบหนี้
6. รัฐบาลสามารถใช้กรอบของมาตรการจากข้อ 1- 5 มาประเมินต้นทุนราคาสินค้า เพื่อใช้เป็นดัชนีอ้างอิงในการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
7. ในระยะยาวรัฐบาลต้องส่งเสริมพลังงานทางเลือก เพื่อลดภาระการพึ่งพาน้ำมันของประเทศและเร่งศึกษารูปแบบการให้ผู้ค้าน้ำมันมีส่วนร่วมในการรับภาระในช่วงน้ำมันแพง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-