เป้าหมายกระทรวงพลังงาน ปี 2549 จะผลิตไบโอดีเซลให้ได้ ปีละ 180 ล้านลิตร ...ปี 2554 จะผลิตให้ได้ 720 ล้านลิตร...และปี 2564 จะผลิตให้ได้ 4,500 ล้านลิตร
เป้าหมายนี้ ต้องมีการบริหารจัดการ พัฒนาตลาดไบโอดีเซลควบคู่ ไปกับการลดต้นทุนการผลิตไบโอดีเซล
พัฒนาตลาดก็หมายถึง... ส่งเสริมให้เกิดตลาด ไบโอดีเซลและผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องจากน้ำมันปาล์ม รวมไปถึงไฟฟ้าจากชีวมวล
ในแง่การลดต้นทุน ก็ต้องเริ่มที่การบริหารจัดการ ดูแลสวนปาล์ม กระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องจากปาล์ม...อาหาร เชื้อเพลิง เคมี เครื่องสำอาง วิตามิน ฯลฯ
เหล่านี้คือ...แนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนในประเทศไทย ที่ สุริยา อยชานันท์ บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) กล่าวไว้ในงานสัมมนาปาล์มน้ำมัน...เส้นทางสู่ความสำเร็จของเกษตร ที่กระบี่ เมื่อไม่นานมานี้
สุริยา บอกว่า การพัฒนาส่งเสริมการพึ่งตนเองด้านพลังงานอย่างยั่งยืนประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ที่เกี่ยวพันกัน คือ รัฐ โรงงาน เกษตรกร
รัฐจะต้องลงทุน เสียมากกว่าได้ในช่วงแรก แต่จะมีผลได้ในช่วงหลัง โรงงานก็จะรวมเอาทุกอย่างเอาไว้ เชื่อมโยงกับเกษตรกรสวนปาล์ม เพราะทรัพยากรยังมีจำกัด
ประเด็นสำคัญ...การวิจัยนำร่อง ต้องทำให้เห็นภาพ เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน แรกๆอาจจะไม่เห็นความคุ้มค่า แต่จะคุ้มค่าในระยะยาวอีก 5-10 ปี
เกษตรกรจะต้องเชื่อมโยงกับงานวิจัย นำงานวิจัยมาพัฒนา พื้นที่ปลูกปาล์ม เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงสุด รวมถึงพัฒนาปาล์มให้ได้น้ำมันสูงสุด
ข้อมูลวิชาการ พบว่า ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชที่ให้น้ำมันต่อไร่สูงสุด ขึ้นอยู่กับการดูแล ให้น้ำ ให้ปุ๋ย
“ห้าปีที่แล้ว ถ้าส่งเสริมไบโอดีเซล ปลูกปาล์มน้ำมันกันมากๆ วันนี้...ป่าก็อาจจะหมด ถ้าคิดกลับกัน...ไม่ต้องเพิ่มพื้นที่ปลูก แต่เพิ่มผลผลิตให้ได้เป็น 3 เท่า...ใช้วิธีการไม่ซับซ้อน แต่ต้องใช้เวลา และการวิจัย...ก็เป็นเรื่องน่าสนใจ”
เมืองไทยมีทิศทางการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ ได้อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นการผลิตไบโอแมส พลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงเศษไม้ เศษหญ้า ควบคุมการจัดการน้ำในสวนปาล์มเพื่อเพิ่มผลผลิต ตามแนวทางอิสราเอล
อนาคตไบโอดีเซล จึงเป็นเรื่องที่น่าจับตา...ทิศทางการพัฒนาแหล่งพลังงานของยุโรป ในอนาคตไปจนถึงปี ค.ศ.2050 จะเลิกอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงเพื่อลดการนำเข้าเชื้อเพลิง
หมายความว่า...ในอีก 45 ปี ยุโรป...จะเลิกใช้น้ำมัน
“แนวทางนี้คล้าย...อเมริกา ปี 2550 จะลดใช้ถ่านหินเหลือนิดเดียว พลังงานที่มาแรง จะเป็นเซลล์แสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์...รวมไปถึงไบโอดีเซล กับเอธานอล”
แนวทางการลดใช้พลังงานในต่างประเทศ...จะลดด้านดีมานด์ไซด์ หรือค่า ความต้องการใช้ก่อน เมื่อดีมานด์ลดอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงๆก็จะลดทั้งหมด
อังกฤษ....ลดถ่านหิน ผลต่างจากการใช้พลังงาน อาทิ ระบบขนส่ง ห้างเทสโก้ โลตัส แรกๆเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กๆอยู่ในหมู่บ้าน แต่ตั้งเป้าไว้จะเจริญเติบโต ก็ใช้หลักการบริหารจัดการ พัฒนาด้านซัพพลายไซด์ ใช้พลังงานตรง ไบโอแมส และอีกหลายอย่างก็เกิดขึ้นมาแทนที่
ถึงวันนี้...คาดกันว่า การใช้พลังงานทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงปี 2007 ยุโรปจะไปไกลมาก นำเซลลูโลสจากพืชมาผลิตเป็นไบโอดีเซลได้...
อเมริกาก็ตามมาติดๆปี 2008 จะผลิตไบโอดีเซลจากเศษหญ้า ฟางข้าว ใบไม้ใบหญ้า
ปัจจุบัน...ราคาน้ำมันปิโตรเลียม สูงกว่า 50 ยูเอสต่อบาร์เรล...สองสามปีที่แล้ว ประเทศบราซิล มีต้นทุนผลิตเอธานอล เป็นพลังงานทดแทน 25 ยูเอสต่อบาร์เรล และก่อนหน้านี้ก็ขาดทุนมาก แต่บราซิลก็มีความพยายามผลักดันส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนให้เกิดให้ได้
นี่คือตัวอย่าง...ที่ชี้ให้เห็นว่า การลงทุนเรื่องพลังงานทดแทนแม้ว่าในช่วงแรกจะมีต้นทุนสูง ทำให้ขาดทุน ก็ไม่ต้องกลัว เพื่อแลกกับการไม่ต้องนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ ต้องยอมขาดทุนไปก่อน
อนาคตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์ม อเมริกาตั้งเป้าเอาไว้ ปี 2025 จะลดการใช้น้ำมันปิโตรเลียมครึ่งหนึ่ง และไม่มีการใช้อย่างสมบูรณ์ในปี 2050 โดยไม่คำนึงถึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
การลดลงจากการใช้น้ำมันครึ่งหนึ่ง จะถูกทดแทนด้วยการใช้ไบโอฟูเอล และแก๊สธรรมชาติ ผนวกกับการใช้เทคโนโลยียานยนต์ผลิตตัวถังที่เบาขึ้น เพื่อลดการสิ้นเปลืองของเชื้อเพลิง
นอกจากนี้ ต่างประเทศก็ยังหาแหล่งพลังงานทางเลือกอื่นที่มีอยู่ ซึ่งก็คือ พลังงานลม เป็นพลังงานที่ให้ประสิทธิภาพสูง...ใส่ไปเท่าไหร่ ก็ให้พลังงานออกมาได้สูงที่สุด
อนาคตหลายประเทศจะใช้พลังงานลม พลังงานแดด ร่วมกับพลังงานจากไบโอดีเซล เพื่อเป็นแหล่งผลิตพลังงานช่วยตัวเอง
การใช้พลังงานร่วม...ยุโรปก้าวหน้ามาก พยายามทำให้ทุกบ้านผลิตกระแสไฟฟ้าเองได้ ภายในหนึ่งหมู่บ้านจะต้องผลิตพลังงานใช้กันเอง เริ่มจากใช้ไบโอแมส ไบโอแก๊ส หรือไบโอดีเซล เอามาผลิต...บริหารเครื่องจักร ร่วมกับพลังงานจากลม...แสงอาทิตย์
สุริยา เน้นถึงพลังงานทางเลือก เมืองไทยก็ทำกันแล้ว อย่างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ใช้น้ำมาปั่นไฟฟ้า แต่เรายังทำไม่เต็มที่ ทำไม่ถึง 6-7% และยังไม่มีการบริหารจัดการที่ดี
หัวใจสำคัญในการลดต้นทุนการผลิตไบโอดีเซล...
“ต้นทุนที่ต่ำของไบโอดีเซลจะเท่ากับต้นทุนที่ต่ำของทรัพยากร ที่ป้อนเข้าไป...ต้นทุน ของทรัพยากร ที่ป้อนเข้าไปก็เท่ากับการบริหารต้นทุน”
ต้นทุนรวมการผลิตไบโอดีเซล มาจาก...ต้นทุนวัตถุดิบ บวกต้นทุนการผลิต บวกกับต้นทุนการบริหาร
สิ่งสำคัญคือ การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ...หรือผลปาล์มสด ถ้าคุมได้ก็เท่ากับว่าบริหารทรัพยากรที่ควบคุมได้ หมายถึง การควบคุมดิน พันธุ์ปาล์ม น้ำและการให้น้ำ การให้ปุ๋ยและการจัดการสวน
ความสำคัญของเชื้อเพลิงไบโอดีเซล เปรียบการพัฒนาแหล่งน้ำให้ต้นปาล์มน้ำมัน เหมือนกับการพัฒนาบ่อน้ำมันเพื่อใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิง
วันนี้จำเป็นต้องสนใจไปที่กระบวนเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันให้เป็นสามเท่า ด้วยการให้ระบบน้ำ ซึ่งมีความเป็นไปได้มาก ด้วยการดึงองค์ความรู้ที่มีอยู่ในโลกมาประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุน
ถามว่าเมื่อไหร่ถึงจะคุ้ม...? สุริยา บอกว่า หากต้องรอไปอีก 10 ปี 15 ปี ถึงเวลานั้นปาล์มจะราคาต่ำแล้วก็ได้ ถ้าเราต้องเริ่ม...เราก็ต้องเริ่มเลย
อย่าลืมว่า ข้อดีข้อสำคัญของไบโอดีเซล คือ ไม่มีพิษต่อสิ่งแวดล้อม ไบโอดีเซลจึงเป็นพลังงานที่ยั่งยืน
เทียบไบโอดีเซลกับน้ำมันปิโตรเลียมดีเซล...ไบโอดีเซลก่อให้เกิดกรีนเฮาส์แก๊ส น้อยกว่า 70%...ลดปริมาณไฮโดรคาร์บอน 93%...ลดฝุ่นและควันดำ 30-40%...ลด ไนโตรเจนออกไซด์ -15 ถึง +5%...ลดคาร์บอนมอนอกไซด์ได้ 50%
ที่สำคัญ...ไบโอดีเซล ไม่มีกำมะถัน ที่ทำให้เกิดฝนกรด
ด้วยข้อดีหลายข้อที่ว่ามาทั้งหมดนี้ เมื่อพิจารณาถึงปริมาณการผลิตไบโอดีเซลในประเทศไทย สุริยาประเมินว่า ช่วง 5 ปีแรก...เราคงไม่มีไบโอดีเซลเอาไปผสมน้ำมันปิโตรเลียม ได้มากเกินกว่า 15% อย่างเก่งก็ผสมได้แค่ 1-2%
สำหรับใครที่กลัวว่า จะใช้ไบโอดีเซลกับรถยนต์ได้หรือไม่?
สุริยา ยืนยันว่า ในมาเลเซีย ทดลองใช้ไบโอดีเซล 100% กับรถเมล์ วิ่งระยะทาง 3 แสนกว่ากิโลเมตร เป็นเวลา 3 ปี ผลสรุปว่า...ใช้ได้ 100%
“รถเมล์เมืองไทยน่าจะทดลองแบบมาเลเซีย ถ้าใช้ไบโอดีเซลได้ผล นอกจากจะเปิดตลาดใหญ่ให้ไบโอดีเซลได้แล้ว คุณภาพชีวิตของประชาชนจะดีขึ้นอีกมาก”.
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
เป้าหมายนี้ ต้องมีการบริหารจัดการ พัฒนาตลาดไบโอดีเซลควบคู่ ไปกับการลดต้นทุนการผลิตไบโอดีเซล
พัฒนาตลาดก็หมายถึง... ส่งเสริมให้เกิดตลาด ไบโอดีเซลและผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องจากน้ำมันปาล์ม รวมไปถึงไฟฟ้าจากชีวมวล
ในแง่การลดต้นทุน ก็ต้องเริ่มที่การบริหารจัดการ ดูแลสวนปาล์ม กระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องจากปาล์ม...อาหาร เชื้อเพลิง เคมี เครื่องสำอาง วิตามิน ฯลฯ
เหล่านี้คือ...แนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนในประเทศไทย ที่ สุริยา อยชานันท์ บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) กล่าวไว้ในงานสัมมนาปาล์มน้ำมัน...เส้นทางสู่ความสำเร็จของเกษตร ที่กระบี่ เมื่อไม่นานมานี้
สุริยา บอกว่า การพัฒนาส่งเสริมการพึ่งตนเองด้านพลังงานอย่างยั่งยืนประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ที่เกี่ยวพันกัน คือ รัฐ โรงงาน เกษตรกร
รัฐจะต้องลงทุน เสียมากกว่าได้ในช่วงแรก แต่จะมีผลได้ในช่วงหลัง โรงงานก็จะรวมเอาทุกอย่างเอาไว้ เชื่อมโยงกับเกษตรกรสวนปาล์ม เพราะทรัพยากรยังมีจำกัด
ประเด็นสำคัญ...การวิจัยนำร่อง ต้องทำให้เห็นภาพ เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน แรกๆอาจจะไม่เห็นความคุ้มค่า แต่จะคุ้มค่าในระยะยาวอีก 5-10 ปี
เกษตรกรจะต้องเชื่อมโยงกับงานวิจัย นำงานวิจัยมาพัฒนา พื้นที่ปลูกปาล์ม เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงสุด รวมถึงพัฒนาปาล์มให้ได้น้ำมันสูงสุด
ข้อมูลวิชาการ พบว่า ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชที่ให้น้ำมันต่อไร่สูงสุด ขึ้นอยู่กับการดูแล ให้น้ำ ให้ปุ๋ย
“ห้าปีที่แล้ว ถ้าส่งเสริมไบโอดีเซล ปลูกปาล์มน้ำมันกันมากๆ วันนี้...ป่าก็อาจจะหมด ถ้าคิดกลับกัน...ไม่ต้องเพิ่มพื้นที่ปลูก แต่เพิ่มผลผลิตให้ได้เป็น 3 เท่า...ใช้วิธีการไม่ซับซ้อน แต่ต้องใช้เวลา และการวิจัย...ก็เป็นเรื่องน่าสนใจ”
เมืองไทยมีทิศทางการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ ได้อีกมาก ไม่ว่าจะเป็นการผลิตไบโอแมส พลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงเศษไม้ เศษหญ้า ควบคุมการจัดการน้ำในสวนปาล์มเพื่อเพิ่มผลผลิต ตามแนวทางอิสราเอล
อนาคตไบโอดีเซล จึงเป็นเรื่องที่น่าจับตา...ทิศทางการพัฒนาแหล่งพลังงานของยุโรป ในอนาคตไปจนถึงปี ค.ศ.2050 จะเลิกอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงเพื่อลดการนำเข้าเชื้อเพลิง
หมายความว่า...ในอีก 45 ปี ยุโรป...จะเลิกใช้น้ำมัน
“แนวทางนี้คล้าย...อเมริกา ปี 2550 จะลดใช้ถ่านหินเหลือนิดเดียว พลังงานที่มาแรง จะเป็นเซลล์แสงอาทิตย์หรือโซลาร์เซลล์...รวมไปถึงไบโอดีเซล กับเอธานอล”
แนวทางการลดใช้พลังงานในต่างประเทศ...จะลดด้านดีมานด์ไซด์ หรือค่า ความต้องการใช้ก่อน เมื่อดีมานด์ลดอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงๆก็จะลดทั้งหมด
อังกฤษ....ลดถ่านหิน ผลต่างจากการใช้พลังงาน อาทิ ระบบขนส่ง ห้างเทสโก้ โลตัส แรกๆเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กๆอยู่ในหมู่บ้าน แต่ตั้งเป้าไว้จะเจริญเติบโต ก็ใช้หลักการบริหารจัดการ พัฒนาด้านซัพพลายไซด์ ใช้พลังงานตรง ไบโอแมส และอีกหลายอย่างก็เกิดขึ้นมาแทนที่
ถึงวันนี้...คาดกันว่า การใช้พลังงานทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงปี 2007 ยุโรปจะไปไกลมาก นำเซลลูโลสจากพืชมาผลิตเป็นไบโอดีเซลได้...
อเมริกาก็ตามมาติดๆปี 2008 จะผลิตไบโอดีเซลจากเศษหญ้า ฟางข้าว ใบไม้ใบหญ้า
ปัจจุบัน...ราคาน้ำมันปิโตรเลียม สูงกว่า 50 ยูเอสต่อบาร์เรล...สองสามปีที่แล้ว ประเทศบราซิล มีต้นทุนผลิตเอธานอล เป็นพลังงานทดแทน 25 ยูเอสต่อบาร์เรล และก่อนหน้านี้ก็ขาดทุนมาก แต่บราซิลก็มีความพยายามผลักดันส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนให้เกิดให้ได้
นี่คือตัวอย่าง...ที่ชี้ให้เห็นว่า การลงทุนเรื่องพลังงานทดแทนแม้ว่าในช่วงแรกจะมีต้นทุนสูง ทำให้ขาดทุน ก็ไม่ต้องกลัว เพื่อแลกกับการไม่ต้องนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ ต้องยอมขาดทุนไปก่อน
อนาคตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์ม อเมริกาตั้งเป้าเอาไว้ ปี 2025 จะลดการใช้น้ำมันปิโตรเลียมครึ่งหนึ่ง และไม่มีการใช้อย่างสมบูรณ์ในปี 2050 โดยไม่คำนึงถึงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
การลดลงจากการใช้น้ำมันครึ่งหนึ่ง จะถูกทดแทนด้วยการใช้ไบโอฟูเอล และแก๊สธรรมชาติ ผนวกกับการใช้เทคโนโลยียานยนต์ผลิตตัวถังที่เบาขึ้น เพื่อลดการสิ้นเปลืองของเชื้อเพลิง
นอกจากนี้ ต่างประเทศก็ยังหาแหล่งพลังงานทางเลือกอื่นที่มีอยู่ ซึ่งก็คือ พลังงานลม เป็นพลังงานที่ให้ประสิทธิภาพสูง...ใส่ไปเท่าไหร่ ก็ให้พลังงานออกมาได้สูงที่สุด
อนาคตหลายประเทศจะใช้พลังงานลม พลังงานแดด ร่วมกับพลังงานจากไบโอดีเซล เพื่อเป็นแหล่งผลิตพลังงานช่วยตัวเอง
การใช้พลังงานร่วม...ยุโรปก้าวหน้ามาก พยายามทำให้ทุกบ้านผลิตกระแสไฟฟ้าเองได้ ภายในหนึ่งหมู่บ้านจะต้องผลิตพลังงานใช้กันเอง เริ่มจากใช้ไบโอแมส ไบโอแก๊ส หรือไบโอดีเซล เอามาผลิต...บริหารเครื่องจักร ร่วมกับพลังงานจากลม...แสงอาทิตย์
สุริยา เน้นถึงพลังงานทางเลือก เมืองไทยก็ทำกันแล้ว อย่างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ใช้น้ำมาปั่นไฟฟ้า แต่เรายังทำไม่เต็มที่ ทำไม่ถึง 6-7% และยังไม่มีการบริหารจัดการที่ดี
หัวใจสำคัญในการลดต้นทุนการผลิตไบโอดีเซล...
“ต้นทุนที่ต่ำของไบโอดีเซลจะเท่ากับต้นทุนที่ต่ำของทรัพยากร ที่ป้อนเข้าไป...ต้นทุน ของทรัพยากร ที่ป้อนเข้าไปก็เท่ากับการบริหารต้นทุน”
ต้นทุนรวมการผลิตไบโอดีเซล มาจาก...ต้นทุนวัตถุดิบ บวกต้นทุนการผลิต บวกกับต้นทุนการบริหาร
สิ่งสำคัญคือ การควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ...หรือผลปาล์มสด ถ้าคุมได้ก็เท่ากับว่าบริหารทรัพยากรที่ควบคุมได้ หมายถึง การควบคุมดิน พันธุ์ปาล์ม น้ำและการให้น้ำ การให้ปุ๋ยและการจัดการสวน
ความสำคัญของเชื้อเพลิงไบโอดีเซล เปรียบการพัฒนาแหล่งน้ำให้ต้นปาล์มน้ำมัน เหมือนกับการพัฒนาบ่อน้ำมันเพื่อใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิง
วันนี้จำเป็นต้องสนใจไปที่กระบวนเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันให้เป็นสามเท่า ด้วยการให้ระบบน้ำ ซึ่งมีความเป็นไปได้มาก ด้วยการดึงองค์ความรู้ที่มีอยู่ในโลกมาประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุน
ถามว่าเมื่อไหร่ถึงจะคุ้ม...? สุริยา บอกว่า หากต้องรอไปอีก 10 ปี 15 ปี ถึงเวลานั้นปาล์มจะราคาต่ำแล้วก็ได้ ถ้าเราต้องเริ่ม...เราก็ต้องเริ่มเลย
อย่าลืมว่า ข้อดีข้อสำคัญของไบโอดีเซล คือ ไม่มีพิษต่อสิ่งแวดล้อม ไบโอดีเซลจึงเป็นพลังงานที่ยั่งยืน
เทียบไบโอดีเซลกับน้ำมันปิโตรเลียมดีเซล...ไบโอดีเซลก่อให้เกิดกรีนเฮาส์แก๊ส น้อยกว่า 70%...ลดปริมาณไฮโดรคาร์บอน 93%...ลดฝุ่นและควันดำ 30-40%...ลด ไนโตรเจนออกไซด์ -15 ถึง +5%...ลดคาร์บอนมอนอกไซด์ได้ 50%
ที่สำคัญ...ไบโอดีเซล ไม่มีกำมะถัน ที่ทำให้เกิดฝนกรด
ด้วยข้อดีหลายข้อที่ว่ามาทั้งหมดนี้ เมื่อพิจารณาถึงปริมาณการผลิตไบโอดีเซลในประเทศไทย สุริยาประเมินว่า ช่วง 5 ปีแรก...เราคงไม่มีไบโอดีเซลเอาไปผสมน้ำมันปิโตรเลียม ได้มากเกินกว่า 15% อย่างเก่งก็ผสมได้แค่ 1-2%
สำหรับใครที่กลัวว่า จะใช้ไบโอดีเซลกับรถยนต์ได้หรือไม่?
สุริยา ยืนยันว่า ในมาเลเซีย ทดลองใช้ไบโอดีเซล 100% กับรถเมล์ วิ่งระยะทาง 3 แสนกว่ากิโลเมตร เป็นเวลา 3 ปี ผลสรุปว่า...ใช้ได้ 100%
“รถเมล์เมืองไทยน่าจะทดลองแบบมาเลเซีย ถ้าใช้ไบโอดีเซลได้ผล นอกจากจะเปิดตลาดใหญ่ให้ไบโอดีเซลได้แล้ว คุณภาพชีวิตของประชาชนจะดีขึ้นอีกมาก”.
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-