แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
กรมการประกันภัย
กระทรวงการคลัง
สหรัฐ
ดร. นริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจากลุ่มบริการด้านการเงิน ร่วมกับผู้แทนจากธนาคารแห่งประเทศไทย กรมการประกันภัย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้เริ่มการเจรจาในวันแรกกับฝ่ายสหรัฐฯซึ่งมีนาง Mary Beasley จากกระทรวงการคลัง และนางสาว Ann Main จาก USTR เป็นหัวหน้าคณะร่วมของฝ่ายสหรัฐฯ รวมทั้งผู้แทนหน่วยงานสหรัฐฯ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนสถานทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย
ในการเจรจาครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แสดงจุดยืนในการเจรจาเพื่อเป็นกรอบการเจรจาก่อนจะดำเนินการเจรจาต่อไป ดังนี้
ฝ่ายไทยแจ้งว่า ความแตกต่างของขนาดและระดับของการพัฒนาของภาคการเงินของไทยและสหรัฐฯ ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบของไทย มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 170 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบเท่ากับสินทรัพย์ธนาคารขนาดเล็กของสหรัฐฯ เพียง 1 ธนาคาร เป็นต้น 2. ประเทศไทยอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างของระบบการเงินภายในประเทศ ซึ่งต้องอาศัยเวลาในการปฏิรูปกฎหมายรวมทั้งการออกกฎหมายใหม่ๆ และประเมินผลความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (Financial Sector Master Plan) 3. ประสบการณ์ในช่วงวิกฤต ทำให้ประเทศไทยเห็นความจำเป็นในการเปิดเสรีภาคการเงินอย่างเป็นขั้นตอน ตามลำดับ เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินภายในประเทศ ดังนั้น การเปิดเสรีแบบ Postive List จึงมีความเหมาะสมกับประเทศไทย และ 4. ความจำเป็นของประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทย ที่ต้องมีความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายเพื่อรักษาด้าน Prudential และเศรษฐกิจมหภาค เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและการเงิน
ฝ่ายสหรัฐฯ ได้กล่าวถึงข้อจำกัดของทางสหรัฐในการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวได้ ด้วยเนื่องจาก Trade Promotion Authority ของสหรัฐต้องจัดทำร่างความตกลงตามกรอบที่ได้รับความเห็นชอบจากสภา Congress มาแล้ว ดังนั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญและโครงสร้างของกรอบความตกลงตามที่ฝ่ายไทยเสนอ ร่างความตกลงดังกล่าวจะไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภา Congress
สำหรับผลของการเจรจาขณะนี้ ยังไม่มีข้อสรุปว่าโครงสร้างของความตกลงจะแยกข้อบทเฉพาะการบริการด้านการเงินเป็นบทต่างหากหรือเป็นส่วนหนึ่งของบท Trade in Services และ Investment ซึ่งฝ่ายสหรัฐได้ชี้แจงว่าให้เห็นความสำคัญของการแยกบทบริการด้านการเงินออกต่างหาก เนื่องจากบทบริการด้านการเงินมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากบทอื่น จึงควรมีกลไกของความตกลงของตัวเอง
นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ความเห็น และทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ได้แก่ กฎระเบียบด้านการกำกับดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนของประเทศไทย การอนุญาตให้กองทุนรวมลงทุนในตลาดต่างประเทศ กลไกระงับข้อพิพาทของบทบริการด้านการเงิน เป็นต้น ทั้งนี้ จะได้มีการหารือกันในวันที่ 12 กรกฎาคม 2548 ต่อไปซึ่งประเด็นหลักคาดว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านประกันภัย และการกำหนดวันเจรจาครั้งต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 53/2548 12 กรกฎาคม 48--
ในการเจรจาครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แสดงจุดยืนในการเจรจาเพื่อเป็นกรอบการเจรจาก่อนจะดำเนินการเจรจาต่อไป ดังนี้
ฝ่ายไทยแจ้งว่า ความแตกต่างของขนาดและระดับของการพัฒนาของภาคการเงินของไทยและสหรัฐฯ ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบของไทย มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 170 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบเท่ากับสินทรัพย์ธนาคารขนาดเล็กของสหรัฐฯ เพียง 1 ธนาคาร เป็นต้น 2. ประเทศไทยอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างของระบบการเงินภายในประเทศ ซึ่งต้องอาศัยเวลาในการปฏิรูปกฎหมายรวมทั้งการออกกฎหมายใหม่ๆ และประเมินผลความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (Financial Sector Master Plan) 3. ประสบการณ์ในช่วงวิกฤต ทำให้ประเทศไทยเห็นความจำเป็นในการเปิดเสรีภาคการเงินอย่างเป็นขั้นตอน ตามลำดับ เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินภายในประเทศ ดังนั้น การเปิดเสรีแบบ Postive List จึงมีความเหมาะสมกับประเทศไทย และ 4. ความจำเป็นของประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทย ที่ต้องมีความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายเพื่อรักษาด้าน Prudential และเศรษฐกิจมหภาค เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจและการเงิน
ฝ่ายสหรัฐฯ ได้กล่าวถึงข้อจำกัดของทางสหรัฐในการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวได้ ด้วยเนื่องจาก Trade Promotion Authority ของสหรัฐต้องจัดทำร่างความตกลงตามกรอบที่ได้รับความเห็นชอบจากสภา Congress มาแล้ว ดังนั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญและโครงสร้างของกรอบความตกลงตามที่ฝ่ายไทยเสนอ ร่างความตกลงดังกล่าวจะไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภา Congress
สำหรับผลของการเจรจาขณะนี้ ยังไม่มีข้อสรุปว่าโครงสร้างของความตกลงจะแยกข้อบทเฉพาะการบริการด้านการเงินเป็นบทต่างหากหรือเป็นส่วนหนึ่งของบท Trade in Services และ Investment ซึ่งฝ่ายสหรัฐได้ชี้แจงว่าให้เห็นความสำคัญของการแยกบทบริการด้านการเงินออกต่างหาก เนื่องจากบทบริการด้านการเงินมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากบทอื่น จึงควรมีกลไกของความตกลงของตัวเอง
นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ความเห็น และทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ได้แก่ กฎระเบียบด้านการกำกับดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนของประเทศไทย การอนุญาตให้กองทุนรวมลงทุนในตลาดต่างประเทศ กลไกระงับข้อพิพาทของบทบริการด้านการเงิน เป็นต้น ทั้งนี้ จะได้มีการหารือกันในวันที่ 12 กรกฎาคม 2548 ต่อไปซึ่งประเด็นหลักคาดว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านประกันภัย และการกำหนดวันเจรจาครั้งต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 53/2548 12 กรกฎาคม 48--