นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าในช่วงมกราคม — พฤศจิกายน 2547ไทยส่งออกสินค้าไปยังประเทศผู้ให้สิทธิ GSP (ยกเว้นออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ที่ไม่ได้ออก ( ฟอร์ม เอ) มีมูลค่ารวม 40,972 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เปรียบเทียบกับการส่งออกโดยใช้สิทธิ GSP ในประเทศ ดังกล่าว มีมูลค่า 8,988 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 22 ของการส่งออกโดยรวม
การส่งออกภายใต้ GSP ดังกล่าว มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า 8,402 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 7 ตลาดสำคัญที่มีการส่งออกภายใต้สิทธิ GSP เรียงตามลำดับมูลค่า ได้ดังนี้
สหภาพยุโรป 3,874.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สหรัฐอเมริกา 2,883.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ญี่ปุ่น 1,641.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) 222.24 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ
กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก 157.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
แคนาดา 193.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตุรกี 15.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รวม 8,988.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตลาดหลักที่ไทยใช้สิทธิ GSP สูงได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น โดยมีการใช้สิทธิคิดเป็นร้อยละ 43 (3,874 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ) 32 (2,883 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และ 18 (1,641 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ) ของการใช้สิทธิทั้งหมด ตามลำดับ
นายราเชนทร์ พจนสุนทร กล่าวเพิ่มเติมว่าการใช้สิทธิประโยชน์จากระบบสิทธิพิเศษทางด้านภาษีอากรหรือ GSP ดังกล่าว เฉพาะในกลุ่มสินค้าที่มีการใช้สิทธิ GSP สูง 5 อันดับแรก (พิกัดอัตราศุลกากร 4 หลัก) รวมกันใน 3 ตลาดหลักดังกล่าว ในช่วงเวลา 11 เดือน สามารถลดหย่อนภาษีได้ประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 4,000 ล้านบาท ซึ่งนับว่ามีมูลค่ามาก ผู้ส่งออกควรให้ความสนใจใช้สิทธิ ดังกล่าวให้ได้ประโยชน์สูงสุด และเพื่อให้ผู้ส่งออกสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าได้อย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้ส่งออกไทยสามารถขายสินค้าแข่งขันในตลาดดังกล่าวได้ กรมการค้าต่างประเทศจึงได้อำนวยความสะดวกแก่ผู้ส่งออกโดยพัฒนาระบบการตรวจและรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้สามารถขอรับบริการตรวจและรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าได้ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าจะทำให้สามารถเพิ่มมูลค่าการส่งออกมากยิ่งขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ ข่าวโทร. สายด่วน 1385 โทร. 0 2457 4872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th , e-mail : tpdft.moc.go.th
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-
การส่งออกภายใต้ GSP ดังกล่าว มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า 8,402 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 7 ตลาดสำคัญที่มีการส่งออกภายใต้สิทธิ GSP เรียงตามลำดับมูลค่า ได้ดังนี้
สหภาพยุโรป 3,874.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สหรัฐอเมริกา 2,883.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ญี่ปุ่น 1,641.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) 222.24 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ
กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก 157.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
แคนาดา 193.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตุรกี 15.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รวม 8,988.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ตลาดหลักที่ไทยใช้สิทธิ GSP สูงได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น โดยมีการใช้สิทธิคิดเป็นร้อยละ 43 (3,874 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ) 32 (2,883 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และ 18 (1,641 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ) ของการใช้สิทธิทั้งหมด ตามลำดับ
นายราเชนทร์ พจนสุนทร กล่าวเพิ่มเติมว่าการใช้สิทธิประโยชน์จากระบบสิทธิพิเศษทางด้านภาษีอากรหรือ GSP ดังกล่าว เฉพาะในกลุ่มสินค้าที่มีการใช้สิทธิ GSP สูง 5 อันดับแรก (พิกัดอัตราศุลกากร 4 หลัก) รวมกันใน 3 ตลาดหลักดังกล่าว ในช่วงเวลา 11 เดือน สามารถลดหย่อนภาษีได้ประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 4,000 ล้านบาท ซึ่งนับว่ามีมูลค่ามาก ผู้ส่งออกควรให้ความสนใจใช้สิทธิ ดังกล่าวให้ได้ประโยชน์สูงสุด และเพื่อให้ผู้ส่งออกสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าได้อย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้ส่งออกไทยสามารถขายสินค้าแข่งขันในตลาดดังกล่าวได้ กรมการค้าต่างประเทศจึงได้อำนวยความสะดวกแก่ผู้ส่งออกโดยพัฒนาระบบการตรวจและรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้สามารถขอรับบริการตรวจและรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าได้ในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าจะทำให้สามารถเพิ่มมูลค่าการส่งออกมากยิ่งขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ ข่าวโทร. สายด่วน 1385 โทร. 0 2457 4872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th , e-mail : tpdft.moc.go.th
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-