นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะจัดสัมมนา เรื่อง นวัตกรรมทางการเงิน (Financial Innovation) ในวันที่ 25 สิงหาคม 2548 ณ โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ ตั้งแต่เวลา 9.00 — 19.30 น. โดยได้รับการสนับสนุนจาก Deutsche Bank ดังมีรายละเอียดของการสัมมนาดังนี้
วัตถุประสงค์
1) เพื่อส่งเสริมให้สถาบันการเงินและนักลงทุนสถาบันของไทยเข้าใจบทบาทและความสำคัญของนวัตกรรมทางการเงิน ตลอดจนสามารถนำไปใช้ในการบริหารความเสี่ยงได้
2) เพื่อพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมทางการเงิน ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในการเพิ่มช่องทางระดมเงินทุนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐและเอกชน และเป็นการเพิ่มช่องทางของการออมและการลงทุนของประชาชน หรือนักลงทุนทั่วไป
3) เพื่อให้ความรู้กับภาคธุรกิจอุตสาหกรรม (Real Sector) เกี่ยวกับนวัตกรรมและเครื่องมือทางการเงินสมัยใหม่
4) เพื่อให้เข้าใจถึงองค์ประกอบในโครงสร้างการดำเนินธุรกรรมของนวัตกรรมทางการเงิน ปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้นวัตกรรมการเงินต่างๆ เกิดขึ้นและพัฒนาได้ในประเทศไทย
5) เพื่อให้เข้าใจและตระหนักถึงข้อจำกัดหรืออุปสรรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ของประเทศไทย
6) เพื่อให้เข้าใจในกลไกในการทำงานของนวัตกรรมการเงินที่สำคัญต่างๆ
หัวข้อการสัมมนา
1) ภาพรวมของนวัตกรรมทางการเงินใหม่ในตลาดเงิน (An Overview of Financial Innovation in Financial Market: Type, Size, Growth, Application etc.)
2) บทบาท ความสำคัญ การใช้ประโยชน์ และผลกระทบของนวัตกรรมการเงินต่อเศรษฐกิจไทย
3) Financial Innovation in the World & Application to Thailand
4) โอกาสและการใช้อนุพันธ์การเงินและตลาดตราสารอนุพันธ์ในประเทศไทย
5) Hedge Fund and It’s Implication to Capital Market & Economy
6) Financing Infrastructure Investment in Thailand
7) Credit Enhancement & Securitizations
8) Real Estate Investment Trust — Structures & Applications Infrastructures Financing
9) ตราสารอนุพันธ์กับความท้าทายในการกำกับดูแล
ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดงาน
รูปแบบของงาน: กล่าวเปิดงานและให้สุนทรพจน์โดยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลัง บรรยายโดยผู้บริหารของ Deutsche Bank และสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศอื่นๆ และเสวนาร่วมกัน (Panel discussion) โดยผู้เชี่ยวชาญในภาคการเงิน หลังจากนั้นจะเป็นการเลี้ยงสังสรรค์ (Cocktail reception) ระหว่างวิทยากรและแขกผู้มีเกียรติ
ระยะเวลา: 1 วัน ในวันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2548 ตั้งแต่เวลา 9.00 — 16.30 น.
สถานที่: สัมมนา ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ และเลี้ยงสังสรรค์ ณ ห้องเรซิเดนท์ ชั้น M โรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ
วิทยากร: ผู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในหัวข้อการสัมมนาจากภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ (วิทยากรไทยใช้ภาษาไทย วิทยากรต่างชาติใช้ภาษาอังกฤษ มีอุปกรณ์หูฟัง 2 ภาษา)
ผู้ร่วมสัมมนา: ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินต่างๆ หน่วยงานหรือองค์กรอื่นๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดซื้อขายล่วงหน้า นักลงทุนสถาบัน ผู้จัดการกองทุน นักวิชาการที่สนใจ รวมทั้งสิ้นประมาณ 500 คน
รายละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อการสัมมนา
ดร. โอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง จะบรรยายเกี่ยวกับการพัฒนาของตลาดการเงินของประเทศไทยหลังปี พ.ศ. 2542 โดยจะกล่าวถึงการเติบโตของตลาดพันธบัตรรัฐบาล ตลาดทุน และภาพรวมของการพัฒนาของโครงการ Asian Bond Market และนวัตกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (securitization)
หลังจากนั้น Mr. Loh Boon Chye, Head of Global Markets Asia, Deutsche Bank จะพูดถึงภาพรวมของนวัตกรรมทางการเงิน โดยจะพูดถึงการพัฒนาที่ผ่านมาในตลาดการเงินโลกซึ่งจะเน้นในส่วนของประเทศในแถบเอเชียหลังปี พ.ศ. 2542 เป็นพิเศษ และจะมีการกล่าวถึงตัวอย่างของการพัฒนาที่ประสบความสำเร็จและแนะนำถึงเรื่องต่างๆที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินกำลังดำเนินการพัฒนาอยู่
การเสวนาเรื่องการใช้ตราสารอนุพันธ์ จะมี ดร. โชติชัย สุวรรณาภรณ์ จากสำนักเศรษฐกิจการคลัง เป็นผู้ดำเนินรายการ และมีผู้ร่วมเสวนา 4 ท่าน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนจากองค์กรที่ใช้อนุพันธ์การเงิน บริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านอนุพันธ์การเงิน บริษัทที่ทำหน้าที่เป็น broker จัดจำหน่ายอนุพันธ์การเงิน และผู้แทนจาก บมจ. ตลาดอนุพันธ์ (Exchange Traded Derivative, TFEX) ซึ่งแต่ละองค์กรมีบทบาทที่แตกต่างกันในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับอนุพันธ์การเงิน เช่น การบริหารจัดการทางการเงิน การทำ Treasuring ด้านอนุพันธ์การเงิน การเป็นที่ปรึกษา และเป็นตัวกลางซื้อขายอนุพันธ์การเงิน การออกแบบและขายอนุพันธ์การเงิน เป็นต้น การเสวนาจะมุ่งเน้นเรื่องอนุพันธ์การเงินที่เกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และตลาดหุ้นในประเทศไทยเป็นหลัก ประโยชน์และข้อพึงระวัง โดยจะได้รับฟังมุมมองของรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นผู้ใช้ตราสารอนุพันธ์ รวมถึงปัจจัยต่างๆที่จะช่วยพัฒนาตลาด ปัญหา อุปสรรค นอกจากนั้นจะมีการพูดถึงแผนของ TFEX และโอกาสในอนาคต และข้อแนะนำในการใช้อนุพันธ์การเงิน
ต่อจากนั้นจะตามด้วยการเสวนาเรื่อง hedge funds ดำเนินรายการโดย Rags Raghavan, Deutsche Bank และมีผู้ร่วมเสวนา 3 ท่านจาก Deutsche Bank, UOB Singapore, และ Bank Thai การเสวนาจะมุ่งเน้นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของ hedge funds ประเด็นเกี่ยวกับวิกฤติเศรษฐกิจ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และข้อดีข้อเสียที่มีต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงการพูดถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่
ดร. พิชิต อัครทิต ประธานบริษัท MFC ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในโครงการ mega project จะนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องเทคนิคทางการเงิน
Ang Kian Ping, Sr. Director, UOB Singapore จะกล่าวถึงวิธีการทำ credit enhancement และ securitization โดยจะยกตัวอย่างความสำเร็จที่ผ่านมา และอธิบายอย่างละเอียดในเรื่องของการสร้าง CDOs และการใช้ synthetic Credit Default Swaps และตอนจบจะสรุปเกี่ยวกับเรื่อง Mortgage Backed Securities ด้วย
Ashok Pandit, Head of Equity Capital Markets, DB Hongkong จะนำเสนอเรื่อง Real Estate Investment Trust (REITS) ซึ่งเป็นโครงสร้างทางการเงินใหม่เพื่อใช้เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ โดยจะแสดงรายละเอียดของตัวอย่างและวิเคราะห์วิธีต่างๆ ที่ใช้ในการระดมทุนโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นที่นิยมในตลาดและมีความแปลกใหม่
การสัมมนาจะจบลงด้วยการเสวนาสรุป ในหัวข้อ ตราสารอนุพันธ์กับความท้าทายในการกำกับดูแล ดำเนินรายการโดย นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วยตัวแทนจากธนาคารแห่งประเทศไทย กลต. ตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า และ บลจ. หลักทรัพย์ กิมเอ็ง โดยจะมุ่งเน้นเกี่ยวกับกรอบกฎเกณฑ์ในการกำกับดูแลนวัตกรรมทางการเงิน และความท้าทายต่อองค์กรกำกับดูแล เนื่องจากความเชื่อมโยงของอนุพันธ์การเงินที่มีต่อตลาดการเงิน ตลาดทุน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน และในแง่ธุรกิจที่คาบเกี่ยวระหว่างธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจประกัน เป็นต้น
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 66/2548 23 สิงหาคม 48--
วัตถุประสงค์
1) เพื่อส่งเสริมให้สถาบันการเงินและนักลงทุนสถาบันของไทยเข้าใจบทบาทและความสำคัญของนวัตกรรมทางการเงิน ตลอดจนสามารถนำไปใช้ในการบริหารความเสี่ยงได้
2) เพื่อพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมทางการเงิน ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในการเพิ่มช่องทางระดมเงินทุนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐและเอกชน และเป็นการเพิ่มช่องทางของการออมและการลงทุนของประชาชน หรือนักลงทุนทั่วไป
3) เพื่อให้ความรู้กับภาคธุรกิจอุตสาหกรรม (Real Sector) เกี่ยวกับนวัตกรรมและเครื่องมือทางการเงินสมัยใหม่
4) เพื่อให้เข้าใจถึงองค์ประกอบในโครงสร้างการดำเนินธุรกรรมของนวัตกรรมทางการเงิน ปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้นวัตกรรมการเงินต่างๆ เกิดขึ้นและพัฒนาได้ในประเทศไทย
5) เพื่อให้เข้าใจและตระหนักถึงข้อจำกัดหรืออุปสรรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ของประเทศไทย
6) เพื่อให้เข้าใจในกลไกในการทำงานของนวัตกรรมการเงินที่สำคัญต่างๆ
หัวข้อการสัมมนา
1) ภาพรวมของนวัตกรรมทางการเงินใหม่ในตลาดเงิน (An Overview of Financial Innovation in Financial Market: Type, Size, Growth, Application etc.)
2) บทบาท ความสำคัญ การใช้ประโยชน์ และผลกระทบของนวัตกรรมการเงินต่อเศรษฐกิจไทย
3) Financial Innovation in the World & Application to Thailand
4) โอกาสและการใช้อนุพันธ์การเงินและตลาดตราสารอนุพันธ์ในประเทศไทย
5) Hedge Fund and It’s Implication to Capital Market & Economy
6) Financing Infrastructure Investment in Thailand
7) Credit Enhancement & Securitizations
8) Real Estate Investment Trust — Structures & Applications Infrastructures Financing
9) ตราสารอนุพันธ์กับความท้าทายในการกำกับดูแล
ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดงาน
รูปแบบของงาน: กล่าวเปิดงานและให้สุนทรพจน์โดยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลัง บรรยายโดยผู้บริหารของ Deutsche Bank และสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศอื่นๆ และเสวนาร่วมกัน (Panel discussion) โดยผู้เชี่ยวชาญในภาคการเงิน หลังจากนั้นจะเป็นการเลี้ยงสังสรรค์ (Cocktail reception) ระหว่างวิทยากรและแขกผู้มีเกียรติ
ระยะเวลา: 1 วัน ในวันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2548 ตั้งแต่เวลา 9.00 — 16.30 น.
สถานที่: สัมมนา ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ และเลี้ยงสังสรรค์ ณ ห้องเรซิเดนท์ ชั้น M โรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ
วิทยากร: ผู้ที่มีความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในหัวข้อการสัมมนาจากภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ (วิทยากรไทยใช้ภาษาไทย วิทยากรต่างชาติใช้ภาษาอังกฤษ มีอุปกรณ์หูฟัง 2 ภาษา)
ผู้ร่วมสัมมนา: ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินต่างๆ หน่วยงานหรือองค์กรอื่นๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดซื้อขายล่วงหน้า นักลงทุนสถาบัน ผู้จัดการกองทุน นักวิชาการที่สนใจ รวมทั้งสิ้นประมาณ 500 คน
รายละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อการสัมมนา
ดร. โอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง จะบรรยายเกี่ยวกับการพัฒนาของตลาดการเงินของประเทศไทยหลังปี พ.ศ. 2542 โดยจะกล่าวถึงการเติบโตของตลาดพันธบัตรรัฐบาล ตลาดทุน และภาพรวมของการพัฒนาของโครงการ Asian Bond Market และนวัตกรรมการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (securitization)
หลังจากนั้น Mr. Loh Boon Chye, Head of Global Markets Asia, Deutsche Bank จะพูดถึงภาพรวมของนวัตกรรมทางการเงิน โดยจะพูดถึงการพัฒนาที่ผ่านมาในตลาดการเงินโลกซึ่งจะเน้นในส่วนของประเทศในแถบเอเชียหลังปี พ.ศ. 2542 เป็นพิเศษ และจะมีการกล่าวถึงตัวอย่างของการพัฒนาที่ประสบความสำเร็จและแนะนำถึงเรื่องต่างๆที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินกำลังดำเนินการพัฒนาอยู่
การเสวนาเรื่องการใช้ตราสารอนุพันธ์ จะมี ดร. โชติชัย สุวรรณาภรณ์ จากสำนักเศรษฐกิจการคลัง เป็นผู้ดำเนินรายการ และมีผู้ร่วมเสวนา 4 ท่าน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนจากองค์กรที่ใช้อนุพันธ์การเงิน บริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านอนุพันธ์การเงิน บริษัทที่ทำหน้าที่เป็น broker จัดจำหน่ายอนุพันธ์การเงิน และผู้แทนจาก บมจ. ตลาดอนุพันธ์ (Exchange Traded Derivative, TFEX) ซึ่งแต่ละองค์กรมีบทบาทที่แตกต่างกันในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับอนุพันธ์การเงิน เช่น การบริหารจัดการทางการเงิน การทำ Treasuring ด้านอนุพันธ์การเงิน การเป็นที่ปรึกษา และเป็นตัวกลางซื้อขายอนุพันธ์การเงิน การออกแบบและขายอนุพันธ์การเงิน เป็นต้น การเสวนาจะมุ่งเน้นเรื่องอนุพันธ์การเงินที่เกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และตลาดหุ้นในประเทศไทยเป็นหลัก ประโยชน์และข้อพึงระวัง โดยจะได้รับฟังมุมมองของรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นผู้ใช้ตราสารอนุพันธ์ รวมถึงปัจจัยต่างๆที่จะช่วยพัฒนาตลาด ปัญหา อุปสรรค นอกจากนั้นจะมีการพูดถึงแผนของ TFEX และโอกาสในอนาคต และข้อแนะนำในการใช้อนุพันธ์การเงิน
ต่อจากนั้นจะตามด้วยการเสวนาเรื่อง hedge funds ดำเนินรายการโดย Rags Raghavan, Deutsche Bank และมีผู้ร่วมเสวนา 3 ท่านจาก Deutsche Bank, UOB Singapore, และ Bank Thai การเสวนาจะมุ่งเน้นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของ hedge funds ประเด็นเกี่ยวกับวิกฤติเศรษฐกิจ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และข้อดีข้อเสียที่มีต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงการพูดถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่
ดร. พิชิต อัครทิต ประธานบริษัท MFC ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในโครงการ mega project จะนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องเทคนิคทางการเงิน
Ang Kian Ping, Sr. Director, UOB Singapore จะกล่าวถึงวิธีการทำ credit enhancement และ securitization โดยจะยกตัวอย่างความสำเร็จที่ผ่านมา และอธิบายอย่างละเอียดในเรื่องของการสร้าง CDOs และการใช้ synthetic Credit Default Swaps และตอนจบจะสรุปเกี่ยวกับเรื่อง Mortgage Backed Securities ด้วย
Ashok Pandit, Head of Equity Capital Markets, DB Hongkong จะนำเสนอเรื่อง Real Estate Investment Trust (REITS) ซึ่งเป็นโครงสร้างทางการเงินใหม่เพื่อใช้เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ โดยจะแสดงรายละเอียดของตัวอย่างและวิเคราะห์วิธีต่างๆ ที่ใช้ในการระดมทุนโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นที่นิยมในตลาดและมีความแปลกใหม่
การสัมมนาจะจบลงด้วยการเสวนาสรุป ในหัวข้อ ตราสารอนุพันธ์กับความท้าทายในการกำกับดูแล ดำเนินรายการโดย นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วยตัวแทนจากธนาคารแห่งประเทศไทย กลต. ตลาดหลักทรัพย์ คณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า และ บลจ. หลักทรัพย์ กิมเอ็ง โดยจะมุ่งเน้นเกี่ยวกับกรอบกฎเกณฑ์ในการกำกับดูแลนวัตกรรมทางการเงิน และความท้าทายต่อองค์กรกำกับดูแล เนื่องจากความเชื่อมโยงของอนุพันธ์การเงินที่มีต่อตลาดการเงิน ตลาดทุน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน และในแง่ธุรกิจที่คาบเกี่ยวระหว่างธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจประกัน เป็นต้น
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 66/2548 23 สิงหาคม 48--