กรุงเทพ--3 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามคำเชิญของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเปรู และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐคอสตาริกา ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเดินทางเยือนเปรูและคอสตาริกาอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 1 - 7 ตุลาคม 2548 หลังจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางต่อไปยังกรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อเข้าร่วมในคณะของนายกรัฐมนตรีในการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีต่อไป
การเยือนเปรูอย่างเป็นทางการครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองวาระโอกาสที่ไทยกับเปรูได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันมาครบรอบ 40 ปี ในปีนี้ (สถาปนาความสัมพันธ์เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508) ในระหว่างการเยือนเปรูครั้งนี้ (2-4 ตุลาคม 2548) ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่า การกระทรวงการต่างประเทศ มีกำหนดจะเข้าเยี่ยมคารวะประธานาธิบดี Alejandro Toledo แห่งเปรู และจะพบหารือกับนาย Oscar Maurtua de Romana รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเปรู เพื่อแสวงหาลู่ทางกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
รัฐมนตรีต่างประเทศทั้งสองประเทศมีกำหนดที่จะร่วมเป็นประธานการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-เปรู ครั้งที่ 1 หรือ Thai-Peruvian Joint Commission ซึ่งเป็นกลไกการหารือที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างสองประเทศอย่างรอบด้านในทุกสาขา นอกจากนั้น ดร. กันตธีร์ฯ ยังมีกำหนดที่จะลงนามในความตกลง 2 ฉบับ กล่าวคือ สนธิสัญญาว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญา ซึ่งจะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานบังคับใช้กฏหมายของไทยและของเปรูให้เป็นไปโดยสะดวกขึ้น และความตกลงว่าด้วยการให้บริการทางอากาศระหว่างไทยและเปรู ซึ่งจะส่งเสริมความร่วมมือด้านการบิน การไปมาหาสู่ระหว่างประชาชน การท่องเที่ยว และการติดต่อธุรกิจระหว่างประเทศทั้งสองให้มีมากขึ้น
ในโอกาสการเยือนและการฉลองวาระ 40 ปี แห่งความสัมพันธ์ทวิภาคีครั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศเปรูจะมอบอิสริยาภรณ์เปรูแก่ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล คือ อิสริยาภรณ์ตราดวงอาทิตย์แห่งเปรู ชั้นประถมาภรณ์ อันเป็นชั้นสูงสุด (“EL SOL DEL PERU” En El Grado de “GRAN CRUZ”) โดยที่รัฐบาลเปรูได้เล็งเห็นว่า ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล ได้มีคุณูปการต่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย-เปรู ตั้งแต่ครั้งยังดำรงตำแหน่งผู้แทนการค้าไทย และได้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการเริ่มกระบวนการเจรจาการค้าเสรีระหว่างไทยกับเปรู ซึ่งยังดำเนินต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน
ประเทศไทยกับเปรูมีความสัมพันธ์ที่ดีสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน เปรูเป็นประเทศแรกๆ ในภูมิภาคอเมริกาใต้ที่มีความสัมพันธ์กับไทย และในระยะหลังทั้งสองฝ่ายต่างเล็งเห็นศักยภาพของอีกฝ่ายหนึ่งในการเป็นประตูสำหรับนักธุรกิจเข้าไปร่วมมือทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยไทยสามารถเป็นประตูสู่เอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกให้นักธุรกิจเปรูได้ ส่วนเปรูก็สามารถเป็นประตูสู่ภูมิภาคลาตินอเมริกาให้นักธุรกิจไทยได้เช่นกัน รัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบที่จะเริ่มกระบวนการเจรจาเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับเปรู และได้มีการเจรจากันมาแล้ว 6 รอบ ในชั้นนี้ ฝ่ายไทยได้เสนอและฝ่ายเปรูก็ได้เห็นชอบในหลักการ ที่จะให้มีการเปิดเสรีการค้าสำหรับสินค้าบางประเภทที่ทั้งสองมีความพร้อมก่อน (Early Harvest Package) ระหว่างที่ยังรอผลการเจรจาการค้าเสรีเต็มรูปแบบ และผู้เจรจาทั้ง 2 ฝ่ายกำลังเจรจาเพื่อกำหนดประเภทสินค้าที่จะให้รวมอยู่ใน Early Harvest Package และกำหนดประเด็นต่างๆที่จะรวมอยู่ในความตกลง FTA ฉบับสมบูรณ์กันต่อไป
เปรูเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะแร่ธาตุ เช่น ทองคำ ทองแดง ตะกั่ว และสังกะสี ซึ่งมีอยู่ในพื้นที่แถบเทือกเขาของประเทศ ส่วนในบริเวณชายฝั่งทะเลก็มีทรัพยากรสัตว์น้ำนานาชนิด มูลค่าการค้าระหว่างไทย-เปรูในปี 2546 มีมูลค่า 56.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยฝ่ายไทยส่งออกไปเปรู 19.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้า 36.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับเปรูประมาณ 17.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าส่งออกจากไทยที่สำคัญเช่น เครื่องซักผ้า ด้ายและเส้นใย ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง รถบรรทุก เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง โทรทัศน์ และเตาอบไมโครเวฟ เป็นต้น ส่วนสินค้าเข้าจากเปรูที่สำคัญ เช่น สังกะสี ทองแดง ยาฆ่าแมลง กุ้งแช่เย็นและแช่แข็ง ปลาป่น และอัญมณี เป็นต้น สินค้าที่ไทยส่งออกมายังเปรู ยังมีศักยภาพที่จะขยายตัวมากขึ้น เพราะตลาดเปรูยังนำเข้าจากตลาดโลกเพิ่มขึ้นและไทยยังส่งออกได้อีก เช่น สินค้าประเภทเครื่องวิดีทัศน์ กระดาษ วิทยุ โทรทัศน์ เม็ดพลาสติก เตาอบไมโครเวฟ เป็นต้น
อนึ่ง ในระหว่างที่อยู่ในกรุงลิมา ประเทศเปรู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังมีกำหนดที่จะพบกับนาย Allan Wagner เลขาธิการประชาคมของประชาชาติที่อยู่ในภูมิภาคเทือกเขาแอนดีส หรือสมาคมแอนเดียน (Andean Community of Nations) ซึ่งมีที่ตั้งสำนักงานเลขาธิการของสมาคมอยู่ในกรุงลิมา และมีกำหนดที่จะกล่าวสุนทรพจน์เรื่อง “Thailand and the Andean Community of Nations” ที่สำนักงานเลขาธิการของสมาคมดังกล่าวด้วย สมาคมนี้มีสมาชิก 5 ประเทศ คือ เปรู โบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเวเนซูเอลา มีประชากรรวมกัน 120 ล้านคนและมี GDP รวมกันประมาณ 260 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สำหรับคอสตาริกา มีความสัมพันธ์ที่ดีและราบรื่นกับไทยมาตลอด แม้ที่ผ่านมาจะยังไม่ขยายตัวมากนัก โดยทั้ง 2 ประเทศไม่มีปัญหาระหว่างกันและได้ร่วมมือกันในกรอบต่างๆ เช่น กรอบความสัมพันธ์ 2 ฝ่ายด้านการค้าและการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี กรอบ FEALAC หรือ Forum for East Asia — Latin America Cooperation ซึ่งทั้งไทยและคอสตาริกาต่างเป็นสมาชิก เป็นต้น
การเยือนครั้งนี้จะเป็นการยกระดับความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดมากขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง เนื่องจากจะเป็นครั้งแรกที่ไทยได้แลกเปลี่ยนการเยือนกับคอสตาริกาในระดับรํฐมนตรีต่างประเทศของไทย ในระหว่างการเยือนครั้งนี้ (4 - 7 ตุลาคม 2548) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดที่จะพบหารือข้อราชการกับผู้นำรัฐบาลคอสตาริกา นักธุรกิจ อุตสาหกร และผู้เชี่ยวชาญของคอสตาริกา รวมทั้งจะพบกับสื่อมวลชนคอสตาริกาด้วย ประเด็นที่คาดว่าจะมีการหารือกัน มีอาทิ การขยายความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างกัน ความเป็นไปได้ในการที่ไทยและคอสตาริกาจะจัดทำความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการระหว่างไทยกับคอสตาริกา เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อกันระหว่างเจ้าหน้าที่ภาครัฐมากขึ้น และการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีพลังงานทดแทน เช่น ไบโอดีเซล ซึ่งคอสตาริกามีประสบการณ์สูงและเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มเป็นลำดับที่หกของโลก รวมทั้งมีพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ถือว่ามีคุณภาพดีที่สุดของโลก ในขณะที่ประเทศไทยก็กำลังส่งเสริมให้มีการปลูกปาล์มน้ำมันในระดับอุตสาหกรรมเช่นเดียวกัน และมีความสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปปาล์มน้ำมันเพื่อใช้เป็นพลังงานทางเลือก ในขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยก็มีการติดต่อขอซื้อเชื้อพันธุกรรมปาล์มน้ำมันและกล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมันจากบริษัท Agricultural Services and Development (ASD) ของคอสตาริกาอยู่แล้ว และมีความร่วมมือในการวิจัยระหว่างกันด้วย
ในปี 2546 การค้าไทย-คอสตาริกามีมูลค่าการค้า 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ฝ่ายไทยส่งออกไปคอสตาริกา 12.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้า 11.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ดุลการค้าประมาณ 6 แสนดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีสินค้าส่งออกจากไทยที่สำคัญเช่น เครื่องซักผ้า รถบรรทุก รถยนต์และส่วนประกอบ ข้าวโพดหวาน ปลาทูน่า ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก เป็นต้น ส่วนสินค้าเข้าจากคอสตาริกาที่สำคัญ เช่น แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจกัรไฟฟ้า ผ้าใบ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เป็นต้น คอสตาริกายังมีศักยภาพที่จะเป็นตลาดสำหรับสินค้าไทยได้เพิ่มขึ้นอีก รวมทั้งสามารถเป็นหุ้นส่วนที่น่าสนใจของไทยด้วย เนื่องจากคอสตาริกานับเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงประเทศหนึ่ง ในภูมิภาคอเมริกากลาง และได้เข้าร่วมในความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ (US-CAFTA) แล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ตามคำเชิญของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเปรู และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐคอสตาริกา ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเดินทางเยือนเปรูและคอสตาริกาอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 1 - 7 ตุลาคม 2548 หลังจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางต่อไปยังกรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อเข้าร่วมในคณะของนายกรัฐมนตรีในการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีต่อไป
การเยือนเปรูอย่างเป็นทางการครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองวาระโอกาสที่ไทยกับเปรูได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันมาครบรอบ 40 ปี ในปีนี้ (สถาปนาความสัมพันธ์เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508) ในระหว่างการเยือนเปรูครั้งนี้ (2-4 ตุลาคม 2548) ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่า การกระทรวงการต่างประเทศ มีกำหนดจะเข้าเยี่ยมคารวะประธานาธิบดี Alejandro Toledo แห่งเปรู และจะพบหารือกับนาย Oscar Maurtua de Romana รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเปรู เพื่อแสวงหาลู่ทางกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
รัฐมนตรีต่างประเทศทั้งสองประเทศมีกำหนดที่จะร่วมเป็นประธานการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-เปรู ครั้งที่ 1 หรือ Thai-Peruvian Joint Commission ซึ่งเป็นกลไกการหารือที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างสองประเทศอย่างรอบด้านในทุกสาขา นอกจากนั้น ดร. กันตธีร์ฯ ยังมีกำหนดที่จะลงนามในความตกลง 2 ฉบับ กล่าวคือ สนธิสัญญาว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญา ซึ่งจะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกระบวนการยุติธรรมและหน่วยงานบังคับใช้กฏหมายของไทยและของเปรูให้เป็นไปโดยสะดวกขึ้น และความตกลงว่าด้วยการให้บริการทางอากาศระหว่างไทยและเปรู ซึ่งจะส่งเสริมความร่วมมือด้านการบิน การไปมาหาสู่ระหว่างประชาชน การท่องเที่ยว และการติดต่อธุรกิจระหว่างประเทศทั้งสองให้มีมากขึ้น
ในโอกาสการเยือนและการฉลองวาระ 40 ปี แห่งความสัมพันธ์ทวิภาคีครั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศเปรูจะมอบอิสริยาภรณ์เปรูแก่ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล คือ อิสริยาภรณ์ตราดวงอาทิตย์แห่งเปรู ชั้นประถมาภรณ์ อันเป็นชั้นสูงสุด (“EL SOL DEL PERU” En El Grado de “GRAN CRUZ”) โดยที่รัฐบาลเปรูได้เล็งเห็นว่า ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล ได้มีคุณูปการต่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย-เปรู ตั้งแต่ครั้งยังดำรงตำแหน่งผู้แทนการค้าไทย และได้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการเริ่มกระบวนการเจรจาการค้าเสรีระหว่างไทยกับเปรู ซึ่งยังดำเนินต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน
ประเทศไทยกับเปรูมีความสัมพันธ์ที่ดีสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน เปรูเป็นประเทศแรกๆ ในภูมิภาคอเมริกาใต้ที่มีความสัมพันธ์กับไทย และในระยะหลังทั้งสองฝ่ายต่างเล็งเห็นศักยภาพของอีกฝ่ายหนึ่งในการเป็นประตูสำหรับนักธุรกิจเข้าไปร่วมมือทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยไทยสามารถเป็นประตูสู่เอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกให้นักธุรกิจเปรูได้ ส่วนเปรูก็สามารถเป็นประตูสู่ภูมิภาคลาตินอเมริกาให้นักธุรกิจไทยได้เช่นกัน รัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบที่จะเริ่มกระบวนการเจรจาเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับเปรู และได้มีการเจรจากันมาแล้ว 6 รอบ ในชั้นนี้ ฝ่ายไทยได้เสนอและฝ่ายเปรูก็ได้เห็นชอบในหลักการ ที่จะให้มีการเปิดเสรีการค้าสำหรับสินค้าบางประเภทที่ทั้งสองมีความพร้อมก่อน (Early Harvest Package) ระหว่างที่ยังรอผลการเจรจาการค้าเสรีเต็มรูปแบบ และผู้เจรจาทั้ง 2 ฝ่ายกำลังเจรจาเพื่อกำหนดประเภทสินค้าที่จะให้รวมอยู่ใน Early Harvest Package และกำหนดประเด็นต่างๆที่จะรวมอยู่ในความตกลง FTA ฉบับสมบูรณ์กันต่อไป
เปรูเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะแร่ธาตุ เช่น ทองคำ ทองแดง ตะกั่ว และสังกะสี ซึ่งมีอยู่ในพื้นที่แถบเทือกเขาของประเทศ ส่วนในบริเวณชายฝั่งทะเลก็มีทรัพยากรสัตว์น้ำนานาชนิด มูลค่าการค้าระหว่างไทย-เปรูในปี 2546 มีมูลค่า 56.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยฝ่ายไทยส่งออกไปเปรู 19.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้า 36.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับเปรูประมาณ 17.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าส่งออกจากไทยที่สำคัญเช่น เครื่องซักผ้า ด้ายและเส้นใย ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง รถบรรทุก เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง โทรทัศน์ และเตาอบไมโครเวฟ เป็นต้น ส่วนสินค้าเข้าจากเปรูที่สำคัญ เช่น สังกะสี ทองแดง ยาฆ่าแมลง กุ้งแช่เย็นและแช่แข็ง ปลาป่น และอัญมณี เป็นต้น สินค้าที่ไทยส่งออกมายังเปรู ยังมีศักยภาพที่จะขยายตัวมากขึ้น เพราะตลาดเปรูยังนำเข้าจากตลาดโลกเพิ่มขึ้นและไทยยังส่งออกได้อีก เช่น สินค้าประเภทเครื่องวิดีทัศน์ กระดาษ วิทยุ โทรทัศน์ เม็ดพลาสติก เตาอบไมโครเวฟ เป็นต้น
อนึ่ง ในระหว่างที่อยู่ในกรุงลิมา ประเทศเปรู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังมีกำหนดที่จะพบกับนาย Allan Wagner เลขาธิการประชาคมของประชาชาติที่อยู่ในภูมิภาคเทือกเขาแอนดีส หรือสมาคมแอนเดียน (Andean Community of Nations) ซึ่งมีที่ตั้งสำนักงานเลขาธิการของสมาคมอยู่ในกรุงลิมา และมีกำหนดที่จะกล่าวสุนทรพจน์เรื่อง “Thailand and the Andean Community of Nations” ที่สำนักงานเลขาธิการของสมาคมดังกล่าวด้วย สมาคมนี้มีสมาชิก 5 ประเทศ คือ เปรู โบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเวเนซูเอลา มีประชากรรวมกัน 120 ล้านคนและมี GDP รวมกันประมาณ 260 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สำหรับคอสตาริกา มีความสัมพันธ์ที่ดีและราบรื่นกับไทยมาตลอด แม้ที่ผ่านมาจะยังไม่ขยายตัวมากนัก โดยทั้ง 2 ประเทศไม่มีปัญหาระหว่างกันและได้ร่วมมือกันในกรอบต่างๆ เช่น กรอบความสัมพันธ์ 2 ฝ่ายด้านการค้าและการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี กรอบ FEALAC หรือ Forum for East Asia — Latin America Cooperation ซึ่งทั้งไทยและคอสตาริกาต่างเป็นสมาชิก เป็นต้น
การเยือนครั้งนี้จะเป็นการยกระดับความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดมากขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง เนื่องจากจะเป็นครั้งแรกที่ไทยได้แลกเปลี่ยนการเยือนกับคอสตาริกาในระดับรํฐมนตรีต่างประเทศของไทย ในระหว่างการเยือนครั้งนี้ (4 - 7 ตุลาคม 2548) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดที่จะพบหารือข้อราชการกับผู้นำรัฐบาลคอสตาริกา นักธุรกิจ อุตสาหกร และผู้เชี่ยวชาญของคอสตาริกา รวมทั้งจะพบกับสื่อมวลชนคอสตาริกาด้วย ประเด็นที่คาดว่าจะมีการหารือกัน มีอาทิ การขยายความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างกัน ความเป็นไปได้ในการที่ไทยและคอสตาริกาจะจัดทำความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการระหว่างไทยกับคอสตาริกา เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อกันระหว่างเจ้าหน้าที่ภาครัฐมากขึ้น และการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีพลังงานทดแทน เช่น ไบโอดีเซล ซึ่งคอสตาริกามีประสบการณ์สูงและเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มเป็นลำดับที่หกของโลก รวมทั้งมีพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ถือว่ามีคุณภาพดีที่สุดของโลก ในขณะที่ประเทศไทยก็กำลังส่งเสริมให้มีการปลูกปาล์มน้ำมันในระดับอุตสาหกรรมเช่นเดียวกัน และมีความสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปปาล์มน้ำมันเพื่อใช้เป็นพลังงานทางเลือก ในขณะนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยก็มีการติดต่อขอซื้อเชื้อพันธุกรรมปาล์มน้ำมันและกล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมันจากบริษัท Agricultural Services and Development (ASD) ของคอสตาริกาอยู่แล้ว และมีความร่วมมือในการวิจัยระหว่างกันด้วย
ในปี 2546 การค้าไทย-คอสตาริกามีมูลค่าการค้า 24 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ฝ่ายไทยส่งออกไปคอสตาริกา 12.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้า 11.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ได้ดุลการค้าประมาณ 6 แสนดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีสินค้าส่งออกจากไทยที่สำคัญเช่น เครื่องซักผ้า รถบรรทุก รถยนต์และส่วนประกอบ ข้าวโพดหวาน ปลาทูน่า ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก เป็นต้น ส่วนสินค้าเข้าจากคอสตาริกาที่สำคัญ เช่น แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจกัรไฟฟ้า ผ้าใบ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เป็นต้น คอสตาริกายังมีศักยภาพที่จะเป็นตลาดสำหรับสินค้าไทยได้เพิ่มขึ้นอีก รวมทั้งสามารถเป็นหุ้นส่วนที่น่าสนใจของไทยด้วย เนื่องจากคอสตาริกานับเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงประเทศหนึ่ง ในภูมิภาคอเมริกากลาง และได้เข้าร่วมในความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ (US-CAFTA) แล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-