อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 1(มกราคม-มีนาคม 2548)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 20, 2005 14:16 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม
ภาวการณ์ผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 1
ปี 2548 อยู่ในภาวะชะลอตัวลงต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปี 2547 โดยเมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมของ
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลด
ลงร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของกลุ่ม
เครื่องใช้ไฟฟ้าร้อยละ 3.1 และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดลงถึงร้อยละ 9.3 อันเป็นผลมาจากความต้องการที่ลดลง
ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ในระดับร้อยละ
58.6 ของกำลังการผลิตทั้งหมด โดยลดลงร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่
อุตสาหกรรมอิเลกทรอนิกส์มีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ระดับร้อยละ 55.4 ของกำลังการผลิตทั้งหมด โดยลดลงร้อย
ละ 19.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อน และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี
2548 นี้ พบว่าการส่งออกสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 316,603.8 ล้านบาท ขยาย
ตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยเพิ่มขึ้นจากสินค้าไฟฟ้าร้อยละ 3.4 และจาก
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 3.3 ส่วนการนำเข้าสินค้าในกลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 266,395.2 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ
21.1 และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศผู้ผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ เช่น ประเทศญี่ปุ่นพบว่าภาวะการ
ผลิตของสินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงไม่ฟื้นตัว โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 ใน
กลุ่ม HouseHold Electrical Machinery ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade
and Industry ประเทศญี่ปุ่น ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่
ภาวะการผลิตของสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นยังคงทรงตัว โดยสินค้า ในกลุ่ม Electronic
parts and devices ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเมื่อ
พิจารณาถึงมูลค่าการจำหน่าย Semiconductor ของภูมิภาคต่างๆ ของโลกพบว่ามีมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้นทุกตลาด
โดย Semiconductor Industry Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของ
ตลาดโลกในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีมูลค่าจำหน่าย 55.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยได้แรงฉุดจากสินค้าในกลุ่มของ wireless handset, personal
computers และ consumer electronics
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีสัญญาณของการชะลอตัวลงต่อ
เนื่องจากไตรมาสที่ 4 ปี 2547 จากรายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนี
ผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากได้แก่ เครื่องปรับ อากาศ และเครื่องรับโทรทัศน์
ซึ่งเพิ่มมากในส่วนของโทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตบางรายใช้ไทยเป็นฐานใน
การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ในรุ่นนี้เพื่อการส่งออก ดัชนีผลผลิตสินค้าต่างๆ ในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า แสดงดัง
ตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2548
สินค้า Production Index การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส 4/2547 (ร้อยละ) ไตรมาส 1/2547(ร้อยละ)
เครื่องใช้ไฟฟ้า 103.44 5.55 -3.05
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิต 256.61 54.77 23.55
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต 239.99 39.21 7.65
คอมเพรสเซอร์ 147.06 1.8 11.89
พัดลม 74.38 8.45 -40.01
ตู้เย็น 202.02 5.35 3.85
กระติกนำร้อน 181.78 6.38 16.3
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 110.37 2.25 1.81
สายไฟฟ้า 135.93 -10.9 -13.04
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 64.35 -13.75 -16.38
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 192.53 -19.21 42.68
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
สินค้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากจากไตรมาสก่อน ได้แก่ เครื่องปรับอากาศโดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ
54.8 สำหรับเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต และร้อยละ 39.2 สำหรับ เครื่องปรับอากาศแบบ
แยกส่วน แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต เนื่องจากเป็นการผลิตเพื่อเตรียมขายในช่วงฤดูร้อน
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical
machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade
and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยลดลงร้อยละ 7.4 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเมื่อ
พิจารณาในรายสินค้าพบว่า เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลงในเกือบทุกกลุ่มสินค้า
โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุด ได้แก่ เตาอบไมโครเวฟ โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 55.3 รองลงมา คือ เครื่อง
เล่น DVD โดยลดลงร้อยละ 37.10 ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่นมีแนวโน้มในการผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเพิ่มขึ้น
โดยจอภาพ LCD มีการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 52.03 ซึ่งดัชนีผลผลิตรายสินค้าไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ของประเทศ
ญี่ปุ่น แสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 1 ปี 2548
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
Household ไตรมาส 1/2547 ไตรมาส 4/2547(ร้อยละ) ไตรมาส 1/2547(ร้อยละ)
electrical machinary 67.2 -7.44 -8.45
เครื่องปรับอากาศ 69.2 -5.98 -6.74
ไมโครเวป 20.7 -38.02 -55.29
เครื่องซักผ้า 62.6 2.45 -12.93
หม้อหุงข้าว 81.5 1.75 2.39
ตู้เย็น 60.8 16.71 -8.57
พัดลม 86.4 4.35 1.29
เครื่องรับโทรทัศน์ N/A N/A N/A
LCD 414.9 23.01 52.03
วีดีโอเทป 0 0 0
เครื่องเล่น DVD 29 -44.12 -37.09
ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan
การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ดัชนี
การส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ
0.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากสินค้าเครื่องปรับ อากาศและเครื่องรับโทรทัศน์
เช่นเดียวกัน ดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า แสดงในตารางที่ 3
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัว
ลดลงร้อยละ 6.9 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่าดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.7 และเมื่อ
พิจารณาในรายสินค้าพบว่าสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ จอภาพ LCD เช่นกันโดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.2
รองลงมา คือ เครื่องเล่น DVD เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ดัชนีผลผลิตรายสินค้าไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ของ
ประเทศญี่ปุ่น แสดงในตารางที่ 4
ตารางที่ 3 แสดงดัชนีส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2548
สินค้า Shipment Index การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส 4/2547 (ร้อยละ) ไตรมาส 1/2547(ร้อยละ)
เครื่องใช้ไฟฟ้า 104.15 8.62 0.46
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิต 248.44 61.1 26.26
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต 235.24 44.11 11.07
คอมเพรสเซอร์ 162.23 1.99 23.69
พัดลม 86.24 27.63 -28.85
ตู้เย็น 210.02 8.42 6.08
กระติกนำร้อน 172.33 -1.5 12.86
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 109.2 -4.4 1.16
สายไฟฟ้า 149.14 15.71 10.37
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 64.72 -13.72 -17.2
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 195.43 -17.13 42.92
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 4 แสดงดัชนีส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 1 ปี 2548
ดัชนีส่งสินค้า การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส 1/2548 ไตรมาส 4/2547 (ร้อยละ) ไตรมาส 1/2547(ร้อยละ)
Household 90.5 -6.9 1.7
electrical machinary
เครื่องปรับอากาศ 78.3 -19.44 3.57
ไมโครเวป 98.7 -3.89 5.67
เครื่องซักผ้า 100.7 -1.56 3.18
หม้อหุงข้าว 101.4 1.1 1
ตู้เย็น 86 -10.42 0.58
พัดลม 98.3 3.58 -3.25
เครื่องรับโทรทัศน์ 58.6 -2.5 -19.17
LCD 412 -2.11 60.19
วีดีโอเทป - - -
เครื่องเล่น DVD 243.9 -27.06 11.22
ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan
ตลาดในประเทศ
ภาวะตลาดสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ชะลอตัวลงอย่างมากโดยเมื่อ
พิจารณาจากปริมาณการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อขายในตลาดภายในประเทศของกลุ่มอุตสาห กรรมไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พบว่าสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านปรับตัวลดลงเกือบทุก
สินค้า โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่าสินค้าที่มีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลดลงมากที่สุด
คือ ตู้เย็น ลดลงร้อยละ 29.9
ตารางที่ 5 การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเพื่อการจำหน่ายในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2548
สินค้า การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส 4/2547 (ร้อยละ) ไตรมาส 1/2547 (ร้อยละ)
เครื่องรับโทรทัศน์ -15.4 -7.2
ตู้เย็น -6.6 -29.9
พัดลม 8.8 -25.1
เครื่องซักผ้า -36.4 -18.9
หม้อหุงข้าว -39.2 -14.9
ที่มา : กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ตลาดส่งออก
การส่งออกสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีมูลค่า 127,201.3 ล้านบาท ปรับตัวลดลง
จากไตรมาสก่อนร้อยละ 8.3 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่ายังขยายตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อยร้อยละ
3.4 สินค้าที่มีการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ สินค้าในกลุ่มเครื่องทำความเย็นและส่วนประกอบและสินค้าในกลุ่มเครื่อง
เล่นภาพและเสียง โดยมีมูลค่าการส่งออก 36,916.5 ล้านบาท และ 31,384.8 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
29 .0 และ 25.0 ตามลำดับ โดยสัดส่วนของสินค้าส่งออก
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าในกลุ่มอุปกรณ์ที่ให้
ความร้อนและส่วนประกอบ และเครื่องทำความเย็นและส่วนประกอบ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.4 และ
12.7 ด้วยมูลค่าการส่งออก 6,307.0 และ 36,916.5 ล้านบาทตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า
พบว่าสินค้าที่มีการส่งออกสูงสุด ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ โดยมีมูลค่าการส่งออก 22,478.47 ล้านบาท รองลง
มาคือ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม (ฟิวส์, สวิตช์, ปลั๊ก,
socket) โดยมีมูลค่าการส่งออก 12,984.6 ล้านบาท สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกแสดงใน
ตารางที่ 6
ตารางที่ 6 มูลค่าสินค้าไฟฟ้าที่มีการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกของไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2548
รายการสินค้า มูลค่าการส่งออก การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ไตรมาส ที่ 4/2547(ร้อยละ) ไตรมาส ที่ 1/2547(ร้อยละ)
(ล้านบาท)
1. เครื่องปรับอากาศสำหรับ
ที่พักอาศัยและโรงงาน 22,478.47 40.7 77.4
2. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับ
ตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า
รวมถึงแป้นและแผงควบคุม
(ฟิวส์, สวิตช์,ปลั๊ก,socket) 12,984.60 -20.9 4.2
3. เครื่องรับโทรทัศน์ 12,522.28 -27.6 8.7
4. ตู้เย็นที่ใช้ตามบ้าน 56,17.10 5.6 14.8
5. มอเตอร์ไฟฟ้าชนาดเล็ก
(ไม่เกิน 750 W) 58,93.69 -5.8 2.9
ที่มา: กรมศุลกากร รวบรวมโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
2.2 การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีมูลค่าทั้งสิ้น 91,104.40 ล้านบาท เพิ่ม
ขึ้นถึงร้อยละ 21.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสัดส่วนของสินค้าส่งออกจำแนกตามกลุ่มต่างๆ ที่
สำคัญแสดงในรูปที่ 2
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนสินค้าที่มีการนำเข้ามาก ได้แก่ กลุ่มเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับ
ตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม(ฟิวส์, สวิตช์, ปลั๊ก, socket) และกลุ่มเครื่องเล่นภาพและ
เสียง ด้วยมูลค่า 18,344.56 และ 11,907.84 ล้านบาท ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้าพบว่าสินค้า
ที่มีการนำเข้าสูงสุด ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม (ฟิวส์,
สวิตช์, ปลั๊ก, socket) ด้วยมูลค่า 18,344.56 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก, แผ่น
CD สำหรับบันทึกเสียง , ภาพ มูลค่า 11,907.84 ล้านบาท โดยขยาย ตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 และ 285.0
ตามลำดับ สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกแสดงในตารางที่ 7
ตารางที่ 7 มูลค่าสินค้าไฟฟ้าที่มีการนำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรกของไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2548
รายการสินค้า มูลค่าการส่งออก การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 ไตรมาส ที่ 4/2547(ร้อยละ) ไตรมาส ที่ 1/2547(ร้อยละ)
(ล้านบาท)
1. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อ
ป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้น
และแผงควบคุม(ฟิวส์,สวิตช์,
ปลั๊ก,socket) 18,344.56 6.4 1
2. เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,
แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง ,ภาพ 11,907.84 187.9 285
3. หลอดภาพโทรทัศน์สี 5,815.96 -16.8 -14.5
4. สายไฟ ชุดสายไฟ 5,715.90 24.1 32.4
5. เครื่องคอมเพรสเซอร์ของ
เครื่องทำความเย็น 3,453.10 46.5 16
ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวการณ์ผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2548 จากรายงานของสำนักงาน
เศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2548 มีการปรับตัวลดลงร้อยละ
1.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 9.3 โดยเป็นการลดลงเกือบทุก
สินค้าเป็นผลจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกเริ่มมีสัญญานของการชะลอตัวลงเนื่องจากยังมีปริมาณ
สินค้าคงคลังเหลืออยู่
สำหรับภาวการณ์ผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ปี 2548 โดยรวม
พบว่าขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการประมาณสถิติของ Ministry of Economic, Trade and Industry
ของประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในไตรมาส 1 ปี 2548 ขยายตัวเพิ่มทั้งในกลุ่ม Electronic
computers และ Electronic Parts and devices โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.80 และร้อยละ
0.82 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีผลผลิตอิเล็กทรอนิกส์ขยาย
ตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.78 โดย Electronic computers ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.24 แต่
Electronic parts and device ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.00 (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 8)
ตารางที่ 8 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย และญี่ปุ่น ไตรมาส 1 ปี 2548
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส1 /2548 กับไตรมาส 4/2547(ร้อยละ) ไตรมาส 1/2547(ร้อยละ)
ประเทศไทย1 314.53 -1.49 -9.33
ประเทศญี่ปุ่น2
- Electronic computers 82 3.8 0.24
- Electronic parts and device 111.3 0.82 -6
ที่มา : 1) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
2) Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan
3.2 การตลาด
ภาวะตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2548 มีการปรับตัวลดลง โดย
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนภาวะ
ตลาดของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.75 และเมื่อเทียบกับปีช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัว
ลดลงร้อยละ 10.76 เมื่อพิจารณาจากดัชนีการส่งสินค้าในไตรมาส 1 ปี 2548 ของประเทศที่สำคัญ ได้แก่
ประเทศญี่ปุ่น พบว่าภาวะการส่งสินค้าของประเทศญี่ปุ่นมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยจากรายงานสถิติดัชนีการส่งสินค้า
ของ METI เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนพบว่า สินค้าในกลุ่มของ Electronic computers ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.90 และเมื่อเทียบกับปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ส่วนสินค้าในกลุ่ม Electronic
parts and devices ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.76 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ปรับตัวลดลงร้อย
ละ 2.50 เมื่อเทียบกับปีก่อน (รายละเอียดแสดงในตารางที่ 9 )
ตารางที่ 9 แสดงดัชนีการส่งสินค้าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ของประเทศไทย และญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 1 ปี 2548
ดัชนีผลผลิต การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาส1 /2548 กับไตรมาส 4/2547(ร้อยละ) ไตรมาส 1/2547(ร้อยละ)
ประเทศไทย1 289.17 -24.6 -27.6
ประเทศญี่ปุ่น2
- Electronic computers 82.50 3.90 0.86
- Electronic parts and device 121.6 1.76 -2.49
ที่มา : 1) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
2) Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan
เมื่อพิจารณาจากสถิติการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาส 1 ปี 2548 ของ
Semiconductor Industry Association (SIA) พบว่ายังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเกินความคาดหมาย โดย
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีมูลค่าการจำหน่ายประมาณ 55.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2
เมื่อเทียบกับปีก่อนโดยได้แรงฉุดจากสินค้าในกลุ่มของ wireless handset , personal computers
และ consumer electronics
ตารางที่ 10 Worldwide Semiconductor Sales ไตรมาส 1 ปี 2005 (2548)
หน่วย : $ Billion
Q1’2004 Q4’2004 Q1’2005 CPQ CPY
Worldwide 48.9 55.1 55.3 0.40% 13.20%
Semiconductor Sales
ที่มา : SIA
ตลาดส่งออก
จากสถิติการส่งออกของกรมศุลกากรซึ่งรวบรวมโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่าสินค้า
อิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 1 ปี 2548 มีมูลค่า 189,405.0 ล้านบาท ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.8 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสก่อน แต่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ส่งออกมูลค่าสูงที่มีการ
ขยายตัวมากในไตรมาส 1 ปี 2548 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ เครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข
วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.3 ส่วนสินค้าที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์
และส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ 12.6 รองลงมา ได้แก่ วงจรพิมพ์ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี
(Integraed Circuit) และไดโอด ทรานซิสเตอร์และ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ลดลงร้อยละ 10.7 8.2 และ
8.1 ตามลำดับ
สัดส่วนของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าการส่งออกมาก ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วน
ประกอบ รองลงมาคือ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (Integraed Circuit) วงจรพิมพ์ ได
โอด ทรานซิสเตอร์และ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ และเครื่องส่ง-เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเร
ดาห์ ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาสินค้าส่งออกมูลค่าสูงที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่
เครื่องส่ง- เครื่องรับวิทยุโทรเลข วิทยุโทรศัพท์ เครื่องเรดาห์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.3 (รายละเอียดแสดงใน
ตารางที่ 11)
ตารางที่ 11 แสดงมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าสูงสุด 5 อันดับแรกของไทยไตรมาส 1 ปี 2548
หน่วย : ล้านบาท
รายการสินค้า มูลค่าการส่งออก มูลค่าการส่งออก มูลค่าการส่งออก การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลง
ไตรมาส 1 ปี 2548 ไตรมาส 1 ปี 2547 ไตรมาส 4 ปี 2547 ไตรมาสก่อน(ร้อยละ) เมื่อเทียบกับปีก่อน(ร้อยละ)
1. เครื่องคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์
และส่วนประกอบ 96,701.9 82,154.8 110,700.6 -12.6 17.7
2. วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี้
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ