ปัจจุบันหลายประเทศต่างให้ความสำคัญมากขึ้นกับภาคบริการ เนื่องจากภาคบริการมีความเกี่ยวโยงกับภาคการผลิตในหลาย ๆ อุตสาหกรรม ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ภาคบริการยังเป็นหนึ่งในหัวข้อหลักของการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีทั้งแบบทวิภาคีและพหุภาคี ในการดำเนินยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศในเชิงรุกของหลายประเทศทั่วโลก จากบทบาทและความสำคัญของภาคบริการดังกล่าว ทำให้ประเด็นการค้าบริการได้รับความสนใจจากทั่วโลกและถูกหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นโต้แย้งในเวทีการค้าโลกบ่อยครั้ง เพื่อให้การค้าบริการมีความโปร่งใสและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
บทบาทของภาคบริการต่อเศรษฐกิจโลก
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา วิวัฒนาการและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมทั้งแนวคิดเกี่ยวกับโลกไร้พรมแดนล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้การค้าบริการระหว่างประเทศ อาทิ การสื่อสารและการขนส่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่การดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วโลกแล้ว ยังเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกอีกด้วย ทั้งนี้ ภาคบริการเริ่มทวีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ ดังเห็นได้จากสัดส่วนของผลผลิตภาคบริการต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของประเทศต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และสัดส่วนของมูลค่าการค้าบริการต่อมูลค่าการค้ารวมของโลกซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ เป็นที่สังเกตว่าประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่มีอัตราการขยายตัวของการค้าบริการสูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา
ความสำคัญของภาคบริการต่อการค้าระหว่างประเทศ
โดยทั่วไป ข้อมูลการทำธุรกรรมเกี่ยวกับบริการในสาขาต่าง ๆ อาทิ การท่องเที่ยว การสื่อสาร การขนส่งและบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง จะถูกบันทึกลงในบัญชีเดินสะพัดของแต่ละประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของภาคบริการต่อการค้าระหว่างประเทศที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการค้าสินค้า แม้ว่าการค้าบริการระหว่างประเทศมีความแตกต่างในรายละเอียดเมื่อเทียบกับการค้าสินค้าทั่วไป เนื่องจากบริการมีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ มีกระบวนการผลิตและการบริโภคเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ขณะที่การเก็บรักษาหรือการเคลื่อนย้ายทำได้ยากหรือในบางกรณีไม่สามารถทำได้เลย ดังนั้น รูปแบบของการค้าบริการจึงมีความหลากหลายกว่าการค้าสินค้า ทั้งนี้ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services : GATS) ซึ่งเป็นความตกลงระหว่างประเทศภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) แบ่งการค้าบริการออกเป็น 4 หมวด ดังนี้
1. Cross-border Trade คือ การค้าบริการในลักษณะที่ผู้ให้บริการและผู้รับบริการอยู่กันคนละดินแดน เช่น การให้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ เป็นต้น
2. Consumption Abroad คือ การค้าบริการในลักษณะที่ผู้รับบริการเดินทางไปรับบริการยังประเทศผู้ให้บริการ เช่น การท่องเที่ยว และการศึกษาต่อในต่างประเทศ เป็นต้น
3. Commercial Presence คือ การค้าบริการในลักษณะที่ผู้ให้บริการซึ่งเป็นนิติบุคคลมาดำเนินธุรกิจให้บริการในประเทศผู้รับบริการ เช่น บริษัทต่างชาติเข้ามาตั้งกิจการและให้บริการคนไทยในประเทศไทย
4. Movement of Natural Persons คือ การค้าบริการในลักษณะที่ผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาไปให้บริการในประเทศผู้รับบริการ เช่น คนไทยไปทำงานเป็นพ่อครัวหรือพนักงานสปาในต่างประเทศ เป็นต้น
ด้วยเหตุที่บริการในหลายสาขา โดยเฉพาะการขนส่งและการสื่อสาร มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ระบบเศรษฐกิจ อีกทั้งมีบทบาทมากขึ้นในการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน อาทิ บริการด้านสาธารณูปโภค เช่น การเดินรถประจำทาง และโทรศัพท์สาธารณะ รวมถึงบริการทางเลือกต่าง ๆ เช่น อินเตอร์เน็ต และอีเมล เป็นต้น บทบาทของภาคบริการจึงทวีความสำคัญยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสนใจกับภาคบริการมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่กระแสการค้าเสรีกำลังมาแรง และประเด็นการเปิดเสรีภาคบริการถูกหยิบยกขึ้นมาเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ อยู่ในขณะนี้
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2548--
-พห-
บทบาทของภาคบริการต่อเศรษฐกิจโลก
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา วิวัฒนาการและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รวมทั้งแนวคิดเกี่ยวกับโลกไร้พรมแดนล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้การค้าบริการระหว่างประเทศ อาทิ การสื่อสารและการขนส่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่การดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วโลกแล้ว ยังเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกอีกด้วย ทั้งนี้ ภาคบริการเริ่มทวีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ ดังเห็นได้จากสัดส่วนของผลผลิตภาคบริการต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของประเทศต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และสัดส่วนของมูลค่าการค้าบริการต่อมูลค่าการค้ารวมของโลกซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ เป็นที่สังเกตว่าประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่มีอัตราการขยายตัวของการค้าบริการสูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา
ความสำคัญของภาคบริการต่อการค้าระหว่างประเทศ
โดยทั่วไป ข้อมูลการทำธุรกรรมเกี่ยวกับบริการในสาขาต่าง ๆ อาทิ การท่องเที่ยว การสื่อสาร การขนส่งและบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง จะถูกบันทึกลงในบัญชีเดินสะพัดของแต่ละประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของภาคบริการต่อการค้าระหว่างประเทศที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการค้าสินค้า แม้ว่าการค้าบริการระหว่างประเทศมีความแตกต่างในรายละเอียดเมื่อเทียบกับการค้าสินค้าทั่วไป เนื่องจากบริการมีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ มีกระบวนการผลิตและการบริโภคเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ขณะที่การเก็บรักษาหรือการเคลื่อนย้ายทำได้ยากหรือในบางกรณีไม่สามารถทำได้เลย ดังนั้น รูปแบบของการค้าบริการจึงมีความหลากหลายกว่าการค้าสินค้า ทั้งนี้ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services : GATS) ซึ่งเป็นความตกลงระหว่างประเทศภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) แบ่งการค้าบริการออกเป็น 4 หมวด ดังนี้
1. Cross-border Trade คือ การค้าบริการในลักษณะที่ผู้ให้บริการและผู้รับบริการอยู่กันคนละดินแดน เช่น การให้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ เป็นต้น
2. Consumption Abroad คือ การค้าบริการในลักษณะที่ผู้รับบริการเดินทางไปรับบริการยังประเทศผู้ให้บริการ เช่น การท่องเที่ยว และการศึกษาต่อในต่างประเทศ เป็นต้น
3. Commercial Presence คือ การค้าบริการในลักษณะที่ผู้ให้บริการซึ่งเป็นนิติบุคคลมาดำเนินธุรกิจให้บริการในประเทศผู้รับบริการ เช่น บริษัทต่างชาติเข้ามาตั้งกิจการและให้บริการคนไทยในประเทศไทย
4. Movement of Natural Persons คือ การค้าบริการในลักษณะที่ผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาไปให้บริการในประเทศผู้รับบริการ เช่น คนไทยไปทำงานเป็นพ่อครัวหรือพนักงานสปาในต่างประเทศ เป็นต้น
ด้วยเหตุที่บริการในหลายสาขา โดยเฉพาะการขนส่งและการสื่อสาร มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ระบบเศรษฐกิจ อีกทั้งมีบทบาทมากขึ้นในการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน อาทิ บริการด้านสาธารณูปโภค เช่น การเดินรถประจำทาง และโทรศัพท์สาธารณะ รวมถึงบริการทางเลือกต่าง ๆ เช่น อินเตอร์เน็ต และอีเมล เป็นต้น บทบาทของภาคบริการจึงทวีความสำคัญยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสนใจกับภาคบริการมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่กระแสการค้าเสรีกำลังมาแรง และประเด็นการเปิดเสรีภาคบริการถูกหยิบยกขึ้นมาเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ อยู่ในขณะนี้
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2548--
-พห-