วาไรตี้ : คิดเพิ่มเติมค่าให้ปลานิลเลาะหนังทำกระเป๋า รองเท้าสุดเท่ ‘เครื่องหนังแท้ๆ มีชีวิต’
"ปลานิล” อาหารโปรตีนราคาถูกที่คนไทยทั่วประเทศรู้จักและมีโอกาสได้ลิ้มรสกันสม่ำเสมอ รองจากปลาทูก็ว่าได้ ปลานิลเลี้ยงง่ายเพราะเป็นปลากินพืช แถมยังออกลูกดก อาหารโปรตีนย่อยง่ายตัวนี้จึงได้รับความนิยมสืบมาจนถึงปัจจุบัน นับตั้งแต่ พระจักรพรรดิอะกิโต เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมาร แห่งประเทศญี่ปุ่น ทรงจัดปลานิลมาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2408 จำนวน 50 ตัว จวบจนวันนี้ปลานิล 50 ตัวดังกล่าวออกลูกออกหลาน กระจายตัวอยู่ตามริมคลองหนองบึงทั่วประเทศไทย การเดินทางของ 50 ตัว จากญี่ปุ่นในครั้งนั้นทำให้มีปลานิลนับแสนล้านตัวในเมืองไทยในวันนี้ ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อเนื้อดิน เนื้อ ที่ประมาณ 10 ตารางเมตร บริเวณสวนจิตร ลดา พระราชวังดุสิต จากนั้นจึงได้มีพระราชประสงค์ที่จะให้ปลานี้แพร่ขยายพันธุ์ เพื่อประโยชน์ของพสกนิกรต่อไป และพระราชทานชื่อว่า “ปลานิล” เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2509 พร้อมกับพระราชทานปลานิลขนาดยาว 3-5 ซม. จำนวน 10,000 ตัว ให้กรมประมงนำไปเพาะเลี้ยง เพื่อแจกจ่ายราษฎรในเวลาต่อมา ปัจจุบันการเลี้ยงปลานิลไม่ได้เลี้ยงแค่ตามมีตามเกิดในคลองหนองบึงอีกต่อไป ปลานิลถูกพัฒนาไปเลี้ยงในระบบ ฟาร์ม เพื่อการส่งออก และประเทศที่บริ-โภคเนื้อปลาชนิดนี้เป็นสำคัญ คือ “ญี่ปุ่น” ส่งออกไปในลักษณะของเนื้อปลาแช่แข็ง โดยเลาะเอาก้าง หัว หนังปลาออกให้หมด ส่งไปแต่เนื้อปลาอย่างเดียววันหนึ่งหลายหมื่นตัว ก้างปลา หนังปลา ครีบทั้งหลายเหลือตกค้างอยู่ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล ระบบฟาร์มแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ พบว่าเศษซากของปลานิลเหล่านี้เมื่อนำมาย่อยบดเป็นอาหารปลา มีผลต่อปลานิลทำให้น้ำหนักดี เกล็ดปลาใส ไม่มีสารพิษตกค้างในเนื้อปลานั้นทำให้การส่งออกปลานิลไปต่างแดนได้รับความไว้ใจ ผลจากการเลี้ยงปลาด้วยเนื้อปลานิลด้วยกัน ส่งให้หนังปลามีมูลค่าเพิ่มขึ้น ปัจจุบันหนังปลานิลจากบ่อดังกล่าว ถูกแปรรูปเป็นเครื่องหนังชั้นดี สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ได้ทั้งรองเท้าบุรุษ รองเท้าสตรี รองเท้า ลีลาศ กระเป๋า เข็มขัด พวงกุญแจ เนกไท และนั่นเป็นอีกความร่วมมือของ องค์การฟอกหนัง หน่วยงาน สังกัดกระทรวงกลาโหม ที่สนับสนุนซึ่งกันและกันทั้งในเรื่องตลาดและดีไซน์ รวมทั้งเทคนิคการฟอกย้อมหนังของปลาให้ออกมาเป็นผลิต ภัณฑ์ที่มีสีสันและมีความทันสมัย
ภาคภูมิ สุริยะปัทมาลัย หัวหน้าฝ่ายผลิตหนังฟอก องค์การฟอกหนัง เล่าให้ฟังว่า ปกติแล้วหนังปลาคนไทยนำไปบริโภค แต่ถ้ามาทำให้มีมูลค่ามีราคาก็นำมาฟอกได้เหมือนกับของสัตว์ทุกชนิดได้ ซึ่งในหนังปลามีคุณสมบัติพิเศษคือมีเส้นใยในลักษณะใยแมงมุม โยงใยไปมา มีความเหนียว หนังหลังฟอกแล้วนำเหล็กแหลมลงไปทิ่มยังไม่ขาด ผลิตภัณฑ์หนังปลาเมื่อฟอกย้อมออกมามีหน้าตาคล้ายกับหนังงู แต่มีข้อสังเกตให้เห็นว่าหนังงูเกล็ดจะเล็กกว่า เครื่องหนังที่ทำออกมาจากหนัง ปลา หัวหน้าฝ่ายผลิตหนังฟอก ให้ความรู้ว่า มีคุณสมบัติไม่ต่างจากหนังของสัตว์ชนิดอื่น เช่นหนังวัว หนังจระเข้ หนังงู เพราะหนังจากสิ่งมีชีวิตมีคุณค่าเมื่อทำเป็นรองเท้า ช่วยระบายอากาศทำให้ไม่อับชื้น หนังปลาเมื่อฟอกย้อมสีออกมาจะได้แผ่นหนังชิ้นเล็กขนาดตัวปลาซึ่ง น้ำหนักปลา 500 กรัม จะได้ขนาดหนัง ประมาณ 8-10 เซนติเมตร และ 7-9 เซนติเมตร ในน้ำหนักปลาที่มีขนาดต่ำกว่า เมื่อหนังมีขนาด เล็กหากงานที่เป็นชิ้นใหญ่เช่นกระเป๋าเดินทาง จะใช้วิธีเย็บเป็นแผ่นยาว ต่อกัน สลับสีสลับลายให้สวยงาม แต่ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ทำจากหนังปลา ล้วนเป็นแฮนด์เมด นั่นเพราะเครื่องจักรที่องค์การฯ มีอยู่รองรับแต่หนังขนาดใหญ่ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์จากหนังปลาขององค์การฟอกหนัง มีวางขายที่โชว์รูมกล้วยน้ำไท และโชว์รูมถนนราชดำเนิน ในเบื้องต้นยังเป็นในลักษณะที่ติดต่อซื้อหนังปลาที่ฟอกย้อมสีแล้วจากฟาร์มปลานิลในจังหวัดสมุทรปราการ มาใช้เครื่องจักรและฝีมือของพนักงานในโรงงานเย็บ ซึ่งราคาที่ซื้อขายแผ่นหนังคิดกันในราคา 2 บาทต่อเซนติเมตร “เอกชนผู้คิดค้นการฟอกหนังปลานิลได้จดลิขสิทธิ์ทางปัญญานี้ไว้แล้ว เป็นเรื่องของสายพันธุ์ปลาที่เป็นเคล็ดลับว่า เมื่อนำมาฟอกแล้วได้หนังปลาคุณ ภาพดี หนังมีความสดใส” ภาคภูมิบอกเล่า ผลิตภัณฑ์ของหนังปลานิลที่ออกมาจะสวยงามโดนใจคนใช้ขนาดไหน งานนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับดีไซน์ สุนันทา จิตตะเสโน รองผู้อำนวยการด้านการผลิต องค์การฟอกหนัง วิเคราะห์ถึงทิศทางของผลิตภัณฑ์ จากหนังปลาว่า เท่าที่ดูลักษณะของหนังมีพื้นผิวที่แปลก และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ฝีมือ ซึ่งเทรนด์แฟชั่นในยุโรป อิตาลี ปีนี้กำลังนิยมเครื่องหนังที่มีสีสันสดใสแต่ก็ยังชื่นชอบความเป็นธรรมชาติของหนัง ซึ่งหนังปลามีลวดลายที่ธรรมชาติสร้างมา ถ้าจะส่งออกผลิตภัณฑ์น่าจะมีอนาคตไม่ติดปัญหาเรื่องสัตว์คุ้มครอง แต่หนังตัวนี้เพาะเลี้ยงได้ เป็นเวลา 40 ปีแล้วที่ปลานิลจาก ญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาในเมืองไทย เกิดเป็น อาชีพ อาหาร และเป็นเครื่องหนังชั้นดีได้ในขณะนี้
ปลานิลที่เป็นแค่ปลาธรรมดาในสายตาคนทั่วไป อาจไม่ใช่ปลาราคาถูกอีกต่อ ไป เพราะมูลค่าในตัวเองมากมายจริง ๆ บุญลือ นุ้ยเมือง ฝ่ายบริหารระดับ 8 ในฐานะผู้ดูแลด้านตลาดของผลิตภัณฑ์หนังปลานิล บอกเล่าสิ่งละอันพันละน้อยของเครื่องหนังให้ฟังว่า เครื่องหนังเป็นค่านิยมของคนทั่วโลกอยู่แล้ว ต่างชาติจะนิยมใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นหนังแท้เพราะให้ความรู้สึกความเป็นธรรมชาติ ต่างจากหนังเทียม ซึ่งใช้เครื่องจักรผลิตมากมาย แต่มีความต่างจากหนังแท้โดยสิ้นเชิง เพราะหนังแท้จะต้องนำมาจากสัตว์ที่ตายแล้ว เมื่อได้มาก็นำมาสู่การฟอก ซึ่งใช้เทคนิควิธีการซับซ้อน ต้องใช้ต้นทุนสูง หนังของสัตว์ที่ตายแล้วเมื่อสู่กระบวนการฟอกจะใส่เคมีภัณฑ์ต่าง ๆ ลงไปมากมาย เพื่อให้หนังคงอยู่ แต่ทำลายแบคทีเรีย ไม่ให้แบคทีเรียไปทำให้หนังเน่า แต่คงสภาพธรรมชาติ สามารถระบายเหงื่อระบายความร้อนได้แหมือนกับหนังที่มีชีวิตอยู่ ดังนั้นกระบวนการฟอกหนังจะมีแรงขับเคลื่อนให้หนังเคลื่อนไหว เพื่อให้หนังกลับไปสู่สภาพเดิมเหมือนกับสัตว์ที่ยังไม่ตาย สามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายได้ เหมือนกับผิวหนังของคนหรือสิ่งมีชีวิต เพียงแต่ว่าเจ้าของหนังตัวจริงตายไปแล้วเท่านั้น นั่นเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้สินค้าที่เป็นเครื่องหนังมีราคาแพง บวกกับฝีมือและดีไซน์ “ถ้าเปรียบเทียบหนังแท้กับหนังเทียม ฝรั่งซื้อหนังแท้ จะเน้นทำให้ผลิตภัณฑ์ของหนังคงไว้ซึ่งธรรมชาติมากที่สุด คุณแต่งเท่าที่คุณแต่งได้ คิดดูว่าสัตว์ 1 ตัวต้องรอให้ตายจึงจะได้หนังมา ไม่เหมือนกับหนังเทียม หนังเทียมทำมาจากพียู ทำมาจากน้ำมัน ทำเท่าไรก็ได้ แต่หนังต้องเอามาจากสัตว์ ปริมาณมีน้อยกว่า” ผู้คลุกคลีในวงการฟอกหนัง บอกอีกว่า หนังแท้ทุกชนิดขาดการบำรุงไม่ได้ โดยธรรมชาติหนังจะมีน้ำมันอยู่ ถ้าใช้ไปเรื่อย ๆน้ำมันจะระเหยออกไป ถ้าไม่มีครีม หรือกีวี่ลงไปที่หนัง เพื่อรักษาน้ำมันในธรรมชาติไว้หนังพวกนี้จะแห้งกรอบ การที่หนังจะทนอยู่ได้เป็น 10 ปี อยู่ที่สถานที่จัดเก็บ และอยู่ที่วิธีการใช้ ต้องมีน้ำมันหล่อเลี้ยงสานเส้นใยของหนังไว้ด้วยกัน หนังจะขาดไขมันไม่ได้ สังเกตดูว่ารองเท้าหนังที่ลงกีวี่นาน กีวี่จับตัวหนา ไขมันจะแทรกไม่ได้ต้องจัดการเอากีวี่ออก บางทีชาวบ้านจะใช้น้ำมันก๊าดราด แล้วจึงลงกีวี่ใหม่ เหมือนกับเบาะรถยนต์เช่นกัน ถ้าเป็นหนังแท้ใช้โลชั่นทาผิวทั่วไป ก็จะบำรุงรักษาหนังได้เหมือนกัน.
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
"ปลานิล” อาหารโปรตีนราคาถูกที่คนไทยทั่วประเทศรู้จักและมีโอกาสได้ลิ้มรสกันสม่ำเสมอ รองจากปลาทูก็ว่าได้ ปลานิลเลี้ยงง่ายเพราะเป็นปลากินพืช แถมยังออกลูกดก อาหารโปรตีนย่อยง่ายตัวนี้จึงได้รับความนิยมสืบมาจนถึงปัจจุบัน นับตั้งแต่ พระจักรพรรดิอะกิโต เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมาร แห่งประเทศญี่ปุ่น ทรงจัดปลานิลมาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2408 จำนวน 50 ตัว จวบจนวันนี้ปลานิล 50 ตัวดังกล่าวออกลูกออกหลาน กระจายตัวอยู่ตามริมคลองหนองบึงทั่วประเทศไทย การเดินทางของ 50 ตัว จากญี่ปุ่นในครั้งนั้นทำให้มีปลานิลนับแสนล้านตัวในเมืองไทยในวันนี้ ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อเนื้อดิน เนื้อ ที่ประมาณ 10 ตารางเมตร บริเวณสวนจิตร ลดา พระราชวังดุสิต จากนั้นจึงได้มีพระราชประสงค์ที่จะให้ปลานี้แพร่ขยายพันธุ์ เพื่อประโยชน์ของพสกนิกรต่อไป และพระราชทานชื่อว่า “ปลานิล” เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2509 พร้อมกับพระราชทานปลานิลขนาดยาว 3-5 ซม. จำนวน 10,000 ตัว ให้กรมประมงนำไปเพาะเลี้ยง เพื่อแจกจ่ายราษฎรในเวลาต่อมา ปัจจุบันการเลี้ยงปลานิลไม่ได้เลี้ยงแค่ตามมีตามเกิดในคลองหนองบึงอีกต่อไป ปลานิลถูกพัฒนาไปเลี้ยงในระบบ ฟาร์ม เพื่อการส่งออก และประเทศที่บริ-โภคเนื้อปลาชนิดนี้เป็นสำคัญ คือ “ญี่ปุ่น” ส่งออกไปในลักษณะของเนื้อปลาแช่แข็ง โดยเลาะเอาก้าง หัว หนังปลาออกให้หมด ส่งไปแต่เนื้อปลาอย่างเดียววันหนึ่งหลายหมื่นตัว ก้างปลา หนังปลา ครีบทั้งหลายเหลือตกค้างอยู่ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล ระบบฟาร์มแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ พบว่าเศษซากของปลานิลเหล่านี้เมื่อนำมาย่อยบดเป็นอาหารปลา มีผลต่อปลานิลทำให้น้ำหนักดี เกล็ดปลาใส ไม่มีสารพิษตกค้างในเนื้อปลานั้นทำให้การส่งออกปลานิลไปต่างแดนได้รับความไว้ใจ ผลจากการเลี้ยงปลาด้วยเนื้อปลานิลด้วยกัน ส่งให้หนังปลามีมูลค่าเพิ่มขึ้น ปัจจุบันหนังปลานิลจากบ่อดังกล่าว ถูกแปรรูปเป็นเครื่องหนังชั้นดี สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ได้ทั้งรองเท้าบุรุษ รองเท้าสตรี รองเท้า ลีลาศ กระเป๋า เข็มขัด พวงกุญแจ เนกไท และนั่นเป็นอีกความร่วมมือของ องค์การฟอกหนัง หน่วยงาน สังกัดกระทรวงกลาโหม ที่สนับสนุนซึ่งกันและกันทั้งในเรื่องตลาดและดีไซน์ รวมทั้งเทคนิคการฟอกย้อมหนังของปลาให้ออกมาเป็นผลิต ภัณฑ์ที่มีสีสันและมีความทันสมัย
ภาคภูมิ สุริยะปัทมาลัย หัวหน้าฝ่ายผลิตหนังฟอก องค์การฟอกหนัง เล่าให้ฟังว่า ปกติแล้วหนังปลาคนไทยนำไปบริโภค แต่ถ้ามาทำให้มีมูลค่ามีราคาก็นำมาฟอกได้เหมือนกับของสัตว์ทุกชนิดได้ ซึ่งในหนังปลามีคุณสมบัติพิเศษคือมีเส้นใยในลักษณะใยแมงมุม โยงใยไปมา มีความเหนียว หนังหลังฟอกแล้วนำเหล็กแหลมลงไปทิ่มยังไม่ขาด ผลิตภัณฑ์หนังปลาเมื่อฟอกย้อมออกมามีหน้าตาคล้ายกับหนังงู แต่มีข้อสังเกตให้เห็นว่าหนังงูเกล็ดจะเล็กกว่า เครื่องหนังที่ทำออกมาจากหนัง ปลา หัวหน้าฝ่ายผลิตหนังฟอก ให้ความรู้ว่า มีคุณสมบัติไม่ต่างจากหนังของสัตว์ชนิดอื่น เช่นหนังวัว หนังจระเข้ หนังงู เพราะหนังจากสิ่งมีชีวิตมีคุณค่าเมื่อทำเป็นรองเท้า ช่วยระบายอากาศทำให้ไม่อับชื้น หนังปลาเมื่อฟอกย้อมสีออกมาจะได้แผ่นหนังชิ้นเล็กขนาดตัวปลาซึ่ง น้ำหนักปลา 500 กรัม จะได้ขนาดหนัง ประมาณ 8-10 เซนติเมตร และ 7-9 เซนติเมตร ในน้ำหนักปลาที่มีขนาดต่ำกว่า เมื่อหนังมีขนาด เล็กหากงานที่เป็นชิ้นใหญ่เช่นกระเป๋าเดินทาง จะใช้วิธีเย็บเป็นแผ่นยาว ต่อกัน สลับสีสลับลายให้สวยงาม แต่ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ทำจากหนังปลา ล้วนเป็นแฮนด์เมด นั่นเพราะเครื่องจักรที่องค์การฯ มีอยู่รองรับแต่หนังขนาดใหญ่ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์จากหนังปลาขององค์การฟอกหนัง มีวางขายที่โชว์รูมกล้วยน้ำไท และโชว์รูมถนนราชดำเนิน ในเบื้องต้นยังเป็นในลักษณะที่ติดต่อซื้อหนังปลาที่ฟอกย้อมสีแล้วจากฟาร์มปลานิลในจังหวัดสมุทรปราการ มาใช้เครื่องจักรและฝีมือของพนักงานในโรงงานเย็บ ซึ่งราคาที่ซื้อขายแผ่นหนังคิดกันในราคา 2 บาทต่อเซนติเมตร “เอกชนผู้คิดค้นการฟอกหนังปลานิลได้จดลิขสิทธิ์ทางปัญญานี้ไว้แล้ว เป็นเรื่องของสายพันธุ์ปลาที่เป็นเคล็ดลับว่า เมื่อนำมาฟอกแล้วได้หนังปลาคุณ ภาพดี หนังมีความสดใส” ภาคภูมิบอกเล่า ผลิตภัณฑ์ของหนังปลานิลที่ออกมาจะสวยงามโดนใจคนใช้ขนาดไหน งานนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับดีไซน์ สุนันทา จิตตะเสโน รองผู้อำนวยการด้านการผลิต องค์การฟอกหนัง วิเคราะห์ถึงทิศทางของผลิตภัณฑ์ จากหนังปลาว่า เท่าที่ดูลักษณะของหนังมีพื้นผิวที่แปลก และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ฝีมือ ซึ่งเทรนด์แฟชั่นในยุโรป อิตาลี ปีนี้กำลังนิยมเครื่องหนังที่มีสีสันสดใสแต่ก็ยังชื่นชอบความเป็นธรรมชาติของหนัง ซึ่งหนังปลามีลวดลายที่ธรรมชาติสร้างมา ถ้าจะส่งออกผลิตภัณฑ์น่าจะมีอนาคตไม่ติดปัญหาเรื่องสัตว์คุ้มครอง แต่หนังตัวนี้เพาะเลี้ยงได้ เป็นเวลา 40 ปีแล้วที่ปลานิลจาก ญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาในเมืองไทย เกิดเป็น อาชีพ อาหาร และเป็นเครื่องหนังชั้นดีได้ในขณะนี้
ปลานิลที่เป็นแค่ปลาธรรมดาในสายตาคนทั่วไป อาจไม่ใช่ปลาราคาถูกอีกต่อ ไป เพราะมูลค่าในตัวเองมากมายจริง ๆ บุญลือ นุ้ยเมือง ฝ่ายบริหารระดับ 8 ในฐานะผู้ดูแลด้านตลาดของผลิตภัณฑ์หนังปลานิล บอกเล่าสิ่งละอันพันละน้อยของเครื่องหนังให้ฟังว่า เครื่องหนังเป็นค่านิยมของคนทั่วโลกอยู่แล้ว ต่างชาติจะนิยมใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นหนังแท้เพราะให้ความรู้สึกความเป็นธรรมชาติ ต่างจากหนังเทียม ซึ่งใช้เครื่องจักรผลิตมากมาย แต่มีความต่างจากหนังแท้โดยสิ้นเชิง เพราะหนังแท้จะต้องนำมาจากสัตว์ที่ตายแล้ว เมื่อได้มาก็นำมาสู่การฟอก ซึ่งใช้เทคนิควิธีการซับซ้อน ต้องใช้ต้นทุนสูง หนังของสัตว์ที่ตายแล้วเมื่อสู่กระบวนการฟอกจะใส่เคมีภัณฑ์ต่าง ๆ ลงไปมากมาย เพื่อให้หนังคงอยู่ แต่ทำลายแบคทีเรีย ไม่ให้แบคทีเรียไปทำให้หนังเน่า แต่คงสภาพธรรมชาติ สามารถระบายเหงื่อระบายความร้อนได้แหมือนกับหนังที่มีชีวิตอยู่ ดังนั้นกระบวนการฟอกหนังจะมีแรงขับเคลื่อนให้หนังเคลื่อนไหว เพื่อให้หนังกลับไปสู่สภาพเดิมเหมือนกับสัตว์ที่ยังไม่ตาย สามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายได้ เหมือนกับผิวหนังของคนหรือสิ่งมีชีวิต เพียงแต่ว่าเจ้าของหนังตัวจริงตายไปแล้วเท่านั้น นั่นเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้สินค้าที่เป็นเครื่องหนังมีราคาแพง บวกกับฝีมือและดีไซน์ “ถ้าเปรียบเทียบหนังแท้กับหนังเทียม ฝรั่งซื้อหนังแท้ จะเน้นทำให้ผลิตภัณฑ์ของหนังคงไว้ซึ่งธรรมชาติมากที่สุด คุณแต่งเท่าที่คุณแต่งได้ คิดดูว่าสัตว์ 1 ตัวต้องรอให้ตายจึงจะได้หนังมา ไม่เหมือนกับหนังเทียม หนังเทียมทำมาจากพียู ทำมาจากน้ำมัน ทำเท่าไรก็ได้ แต่หนังต้องเอามาจากสัตว์ ปริมาณมีน้อยกว่า” ผู้คลุกคลีในวงการฟอกหนัง บอกอีกว่า หนังแท้ทุกชนิดขาดการบำรุงไม่ได้ โดยธรรมชาติหนังจะมีน้ำมันอยู่ ถ้าใช้ไปเรื่อย ๆน้ำมันจะระเหยออกไป ถ้าไม่มีครีม หรือกีวี่ลงไปที่หนัง เพื่อรักษาน้ำมันในธรรมชาติไว้หนังพวกนี้จะแห้งกรอบ การที่หนังจะทนอยู่ได้เป็น 10 ปี อยู่ที่สถานที่จัดเก็บ และอยู่ที่วิธีการใช้ ต้องมีน้ำมันหล่อเลี้ยงสานเส้นใยของหนังไว้ด้วยกัน หนังจะขาดไขมันไม่ได้ สังเกตดูว่ารองเท้าหนังที่ลงกีวี่นาน กีวี่จับตัวหนา ไขมันจะแทรกไม่ได้ต้องจัดการเอากีวี่ออก บางทีชาวบ้านจะใช้น้ำมันก๊าดราด แล้วจึงลงกีวี่ใหม่ เหมือนกับเบาะรถยนต์เช่นกัน ถ้าเป็นหนังแท้ใช้โลชั่นทาผิวทั่วไป ก็จะบำรุงรักษาหนังได้เหมือนกัน.
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-