กรุงเทพ--21 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
ระลึกถึงความก้าวหน้าอย่างยิ่งในความสัมพันธ์ระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และสหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี 1977 ซึ่งได้ส่งผลต่อความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นในทุกสาขาความร่วมมือ และได้รับการสนับสนุนจากการประชุมประจำปีของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับสหรัฐฯ การหารือระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียนและสหรัฐฯ และการประชุมในเวทีอื่นๆ
ระลึกถึงการประชุมระหว่างผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นสมาชิกของความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) และประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในระหว่างการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ณ เมืองลอส คาบอส ประเทศเม็กซิโก เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2002 และคำประกาศของสหรัฐฯ ในเรื่องปีแห่งการริเริ่มทางธุรกิจสำหรับอาเซียน (Enterprise for ASEAN Initiative-EAI) และแผนความร่วมมืออาเซียน (ASEAN Cooperation Plan-ACP) ที่ได้นำมาซึ่งความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นระหว่างอาเซียนและสหรัฐฯ ในหลายสาขาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
ยินดีกับความก้าวหน้าที่ต่อเนื่องในความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการประชุมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอาเซียนและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประทศสหรัฐฯที่นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2005
ปรารถนาร่วมกันที่จะอยู่ด้วยกันและอยู่ในโลกที่ยุติธรรม มีความเป็นประชาธิปไตยและสภาพแวดล้อมที่กลมกลืนกัน จึงตระหนักว่าสังคมที่มีความเท่าเทียมกัน เป็นประชาธิปไตย และมีความห่วงใยนั้น เป็นพื้นฐานของสันติภาพยืนยาว เสถียรภาพ และความมั่งคั่งร่วมกัน
แสดงความต้องการที่จะทำงานกันอย่างใกล้ชิดเพื่อช่วยบรรเทาความยากจน และแก้ไขช่องว่างของการพัฒนาในอาเซียนโดยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและการปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นระหว่างอาเซียนและสหรัฐฯ และความพยายามร่วมกันในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บนรากฐานของมิตรภาพที่มีอยู่ เจตนารมย์ที่ดี ความสัมพันธ์กันและการเชื่อมโยงระหว่างประชาชนของอาเซียนและสหรัฐฯ
ยืนยันที่จะสนับสนุนหลักการและวัตถุประสงค์ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติและหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง
แสดงถึงผลประโยชน์ร่วมกันในการพัฒนาอาเซียนในฐานะสถาบันระดับภูมิภาคที่จะนำมาซึ่งสันติภาพ ความมั่งคั่งและเสถียรภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตระหนักถึงบทบาทสำคัญของสหรัฐฯในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพและส่งเสริมความมั่งคั่ง
มีผลประโยชน์ร่วมกันในความสำเร็จของอาเซียนที่จะดำเนินการบูรณาการอย่างรอบด้านเพื่อ
มุ่งสู่การเป็นประชาคมอาเซียนที่เปิดกว้างและมองไปข้างนอกภูมิภาค มีความกระตือรือร้นและยืดหยุ่นภายในปี 2020 และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รวมกันเป็นประชาคมที่มีความห่วงใย ดังที่ได้ระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่ 2
แสดงความปรารถนาที่จะเพิ่มความร่วมมือและมิตรภาพระหว่างอาเซียนและสหรัฐฯ ที่จะคว้าโอกาสและเพื่อเผชิญความท้าทายในโลกที่มีการพึ่งพากันมากขึ้น
อาเซียนและสหรัฐฯ ร่วมกันดังนี้
1. เห็นด้วยที่จะประกาศความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างอาเซียน-สหรัฐฯ ซึ่งเป็นความร่วมมือในทุกๆ ด้าน เน้นการปฏิบัติการ มองไปข้างหน้า โดยประกอบไปด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคมและการพัฒนา รวมถึงสิ่งที่จะกล่าวดังต่อไปนี้
ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง
2. สนับสนุนการรวมตัวของอาเซียนซึ่งจะนำไปสู่ประชาคมอาเซียน โดยการดำเนินการตาม แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (VAP)และแผนงานต่อๆ ไปที่มีความเหมาะสม
3. รับรู้ว่าสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) จะเป็นแนวทางการปฏิบัติของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคเพื่อสนับสนุนสันติภาพและความมีเสถียรภาพ และมีบทบาทในฐานะแนวคิดที่ทำให้เกิดเอกภาพสำหรับอาเซียนและเพื่อเคารพในจิตวิญญาณและหลักการของสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) ตามครรลองของการยึดมั่นของอาเซียนและสหรัฐอเมริกาเพื่อการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนกัน
4. สนับสนุนการประชุมว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในฐานะเวทีสำคัญของภูมิภาคในด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกโดยอาเซียนเป็นแรงผลักดัน
5. ตระหนักถึงความสำคัญของการไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ทุกประเภทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6. ส่งเสริมความร่วมมือที่ใกล้ชิดกันมากขึ้นในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ รวมถึงการก่อการร้าย การแพร่กระจายของอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูง การลักลอบค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ และเพิ่มความร่วมมือในด้านความปลอดภัยทางทะเลและเขตแดน และแสดงความพร้อมที่จะพัฒนาแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-สหรัฐฯ เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ ซึ่ง
ลงนามที่บันดาร์ เสรีเบกาวัน ใน ปี 2002 เพื่อให้มีกิจกรรมร่วมกัน
7.ร่วมมือในกรอบพหุภาคี ซึ่งรวมถึงสหประชาชาติ องค์กรการค้าโลก และเอเปค เน้นความสำคัญของผลลัพธ์ที่มีการคาดหวังสูงในการประชุมรอบโดฮา อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมแก่ทุกฝ่าย สนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลกของลาว และเวียดนามโดยเร็ว และพิจารณายอมรับประเทศสมาชิกอาเซียนที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกเอเปคให้เป็นสมาชิกเอเปค
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ
8. กระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจโดยการดำเนินการอย่างต่อเนื่องตาม EAI ซึ่งเป็นกลไกในการเสริมสร้างการไหลเวียนของการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนและสหรัฐฯ และในการนี้ เห็นด้วยที่จะทำงานร่วมกันในการสรุปกรอบความตกลงว่าด้วยการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนในลักษณะกลุ่มกับสหรัฐฯ (TIFA)
9. กระชับความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในอาเซียนและในสหรัฐฯ และร่วมมือกันในการสนับสนุนการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2020 หรือก่อนหน้านั้น
10. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาที่ได้ตกลงกันไว้ระหว่างอาเซียนและสหรัฐฯ ซึ่งไม่ได้หมายรวมเพียงการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน การดำเนินภารกิจและมาตรการที่จะส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนในอาเซียน ซึ่งจะกระตุ้นการลงทุนจากสหรัฐฯ
11. ร่วมมือในการปฏิรูปและเสริมศักยภาพสถาบันทางการเงินระหว่างประเทศและร่วมมือกันในการเฝ้าระวังทางเศรษฐกิจโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลการเงินและเศรษฐศาสตร์มหภาค ในกรณีที่การเปิดเผยข้อมูลนั้นทำได้ภายใต้กฎหมายและระเบียบภายในของประเทศสมาชิก และตกลงที่จะทำงานกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นในสถาบันทางการเงินระหว่างประเทศในการส่งเสริมบทบาทของเอเชียในระดับที่เหมาะสมกับศักยภาพทางเศรษฐกิจของภูมิภาค
12. ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ที่มากขึ้นระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองฝ่าย โดยตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญยิ่งของประชาคมธุรกิจ
13. ดำเนินการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีพลังงานที่สะอาดและมีประสิทธิภาพขึ้นในทุกรูปแบบรวมถึงพลังงานหมุนเวียนและแหล่งพลังงานที่ปล่อยมลพิษน้อย สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานในอาเซียน ส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงาน ส่งเสริมการปกป้องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติโดยตระหนักว่าความเจริญทางเศรษฐกิจเป็นเงื่อนไขสำคัญในการใช้เทคโนโลยีที่สะอาดขึ้น ซึ่งมีความจำเป็นต่อการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และสัญญาที่จะร่วมมือกันต่อไปในด้านการขนส่งทุกรูปแบบ รวมถึงทางอากาศ ทางน้ำ การขนส่งหลายรูปแบบ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายของคนและสินค้า
ความร่วมมือด้านสังคมและการพัฒนา
14. ร่วมมือในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ และโครงการหรือแผนฉบับต่อๆ มา เพื่ออาเซียนจะสามารถเร่งการบูรณาการระดับภูมิภาค โดยตระหนักถึงความสำคัญของการริเริ่มเพื่อการรวมตัวกันของอาเซียน และเขตความเจริญในระดับอนุภูมิภาคอื่นๆ ที่จะช่วยลดช่องว่างของการพัฒนาภายในอาเซียนได้ และเน้นถึงความสำคัญของความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน
15. ร่วมมือกันในระดับภูมิภาคและระดับโลกในเรื่องการจัดการภัยพิบัติ รวมถึงการพัฒนาการเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติและการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน และในการนี้ ยินดีกับความตกลงว่าด้วยการเตรียมความพร้อมของอาเซียนในการบรรเทาภัยพิบัติและรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน
16. ตกลงที่จะทำงานร่วมกันในการป้องกันการแพร่กระจายและลดอันตรายของโรคเอดส์ โรคซาร์ส โรคติดต่ออื่นๆ และในกรณีฉุกเฉิน จะมีการพัฒนากลไกความร่วมมือเพื่อยับยั้งการระบาดของโรคไข้หวัดนก และสัญญาจะร่วมมือกันจัดตั้งระบบและกระบวนการในการควบคุมโรคติดต่อต่างๆ รวมทั้งโรคในสัตว์ด้วย
17. ส่งเสริมและกระชับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกระตุ้นการติดต่อและการแลกเปลี่ยนระดับประชาชน รวมถึงการหารือกันระหว่างกลุ่มคนที่มีศาสนาและความเชื่อต่างกัน และส่งเสริมความร่วมมือผ่านเครือข่ายกิจกรรมและการสร้างขีดความสามารถด้านการศึกษาเช่น การแลกเปลี่ยนนักศึกษา โครงการแลกเปลี่ยนนักวิชาการ ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษา และความร่วมมือด้านการวิจัย รวมถึงการส่งเสริมวิชาอาเซียนศึกษาในสหรัฐฯ และส่งเสริมวิชาอเมริกันศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียน
18. ยินดีกับความตั้งใจของสหรัฐฯ ในการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาและความพยายามอย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯ ในการกระชับการทำงานกับสำนักเลขาธิการอาเซียนและสนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถของสำนักเลขาธิการฯ
การติดตามเรื่อง
19. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างอาเซียน-สหรัฐฯ โดยการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโส
20. ให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนและผู้แทนการค้าสหรัฐฯ พบปะหารือเพื่อช่วยการดำเนินการตามความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างอาเซียน-สหรัฐฯ และแผนปฏิบัติการ
****************************
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
ระลึกถึงความก้าวหน้าอย่างยิ่งในความสัมพันธ์ระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และสหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี 1977 ซึ่งได้ส่งผลต่อความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นในทุกสาขาความร่วมมือ และได้รับการสนับสนุนจากการประชุมประจำปีของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับสหรัฐฯ การหารือระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียนและสหรัฐฯ และการประชุมในเวทีอื่นๆ
ระลึกถึงการประชุมระหว่างผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นสมาชิกของความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) และประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในระหว่างการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ณ เมืองลอส คาบอส ประเทศเม็กซิโก เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2002 และคำประกาศของสหรัฐฯ ในเรื่องปีแห่งการริเริ่มทางธุรกิจสำหรับอาเซียน (Enterprise for ASEAN Initiative-EAI) และแผนความร่วมมืออาเซียน (ASEAN Cooperation Plan-ACP) ที่ได้นำมาซึ่งความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นระหว่างอาเซียนและสหรัฐฯ ในหลายสาขาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
ยินดีกับความก้าวหน้าที่ต่อเนื่องในความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการประชุมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอาเซียนและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประทศสหรัฐฯที่นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2005
ปรารถนาร่วมกันที่จะอยู่ด้วยกันและอยู่ในโลกที่ยุติธรรม มีความเป็นประชาธิปไตยและสภาพแวดล้อมที่กลมกลืนกัน จึงตระหนักว่าสังคมที่มีความเท่าเทียมกัน เป็นประชาธิปไตย และมีความห่วงใยนั้น เป็นพื้นฐานของสันติภาพยืนยาว เสถียรภาพ และความมั่งคั่งร่วมกัน
แสดงความต้องการที่จะทำงานกันอย่างใกล้ชิดเพื่อช่วยบรรเทาความยากจน และแก้ไขช่องว่างของการพัฒนาในอาเซียนโดยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและการปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นระหว่างอาเซียนและสหรัฐฯ และความพยายามร่วมกันในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บนรากฐานของมิตรภาพที่มีอยู่ เจตนารมย์ที่ดี ความสัมพันธ์กันและการเชื่อมโยงระหว่างประชาชนของอาเซียนและสหรัฐฯ
ยืนยันที่จะสนับสนุนหลักการและวัตถุประสงค์ของกฎบัตรแห่งสหประชาชาติและหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง
แสดงถึงผลประโยชน์ร่วมกันในการพัฒนาอาเซียนในฐานะสถาบันระดับภูมิภาคที่จะนำมาซึ่งสันติภาพ ความมั่งคั่งและเสถียรภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตระหนักถึงบทบาทสำคัญของสหรัฐฯในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพและส่งเสริมความมั่งคั่ง
มีผลประโยชน์ร่วมกันในความสำเร็จของอาเซียนที่จะดำเนินการบูรณาการอย่างรอบด้านเพื่อ
มุ่งสู่การเป็นประชาคมอาเซียนที่เปิดกว้างและมองไปข้างนอกภูมิภาค มีความกระตือรือร้นและยืดหยุ่นภายในปี 2020 และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รวมกันเป็นประชาคมที่มีความห่วงใย ดังที่ได้ระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนฉบับที่ 2
แสดงความปรารถนาที่จะเพิ่มความร่วมมือและมิตรภาพระหว่างอาเซียนและสหรัฐฯ ที่จะคว้าโอกาสและเพื่อเผชิญความท้าทายในโลกที่มีการพึ่งพากันมากขึ้น
อาเซียนและสหรัฐฯ ร่วมกันดังนี้
1. เห็นด้วยที่จะประกาศความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างอาเซียน-สหรัฐฯ ซึ่งเป็นความร่วมมือในทุกๆ ด้าน เน้นการปฏิบัติการ มองไปข้างหน้า โดยประกอบไปด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคมและการพัฒนา รวมถึงสิ่งที่จะกล่าวดังต่อไปนี้
ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง
2. สนับสนุนการรวมตัวของอาเซียนซึ่งจะนำไปสู่ประชาคมอาเซียน โดยการดำเนินการตาม แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (VAP)และแผนงานต่อๆ ไปที่มีความเหมาะสม
3. รับรู้ว่าสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) จะเป็นแนวทางการปฏิบัติของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคเพื่อสนับสนุนสันติภาพและความมีเสถียรภาพ และมีบทบาทในฐานะแนวคิดที่ทำให้เกิดเอกภาพสำหรับอาเซียนและเพื่อเคารพในจิตวิญญาณและหลักการของสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) ตามครรลองของการยึดมั่นของอาเซียนและสหรัฐอเมริกาเพื่อการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนกัน
4. สนับสนุนการประชุมว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในฐานะเวทีสำคัญของภูมิภาคในด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกโดยอาเซียนเป็นแรงผลักดัน
5. ตระหนักถึงความสำคัญของการไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ทุกประเภทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6. ส่งเสริมความร่วมมือที่ใกล้ชิดกันมากขึ้นในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ รวมถึงการก่อการร้าย การแพร่กระจายของอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูง การลักลอบค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ และเพิ่มความร่วมมือในด้านความปลอดภัยทางทะเลและเขตแดน และแสดงความพร้อมที่จะพัฒนาแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-สหรัฐฯ เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ ซึ่ง
ลงนามที่บันดาร์ เสรีเบกาวัน ใน ปี 2002 เพื่อให้มีกิจกรรมร่วมกัน
7.ร่วมมือในกรอบพหุภาคี ซึ่งรวมถึงสหประชาชาติ องค์กรการค้าโลก และเอเปค เน้นความสำคัญของผลลัพธ์ที่มีการคาดหวังสูงในการประชุมรอบโดฮา อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมแก่ทุกฝ่าย สนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลกของลาว และเวียดนามโดยเร็ว และพิจารณายอมรับประเทศสมาชิกอาเซียนที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกเอเปคให้เป็นสมาชิกเอเปค
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ
8. กระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจโดยการดำเนินการอย่างต่อเนื่องตาม EAI ซึ่งเป็นกลไกในการเสริมสร้างการไหลเวียนของการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนและสหรัฐฯ และในการนี้ เห็นด้วยที่จะทำงานร่วมกันในการสรุปกรอบความตกลงว่าด้วยการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนในลักษณะกลุ่มกับสหรัฐฯ (TIFA)
9. กระชับความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในอาเซียนและในสหรัฐฯ และร่วมมือกันในการสนับสนุนการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2020 หรือก่อนหน้านั้น
10. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาที่ได้ตกลงกันไว้ระหว่างอาเซียนและสหรัฐฯ ซึ่งไม่ได้หมายรวมเพียงการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน การดำเนินภารกิจและมาตรการที่จะส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนในอาเซียน ซึ่งจะกระตุ้นการลงทุนจากสหรัฐฯ
11. ร่วมมือในการปฏิรูปและเสริมศักยภาพสถาบันทางการเงินระหว่างประเทศและร่วมมือกันในการเฝ้าระวังทางเศรษฐกิจโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลการเงินและเศรษฐศาสตร์มหภาค ในกรณีที่การเปิดเผยข้อมูลนั้นทำได้ภายใต้กฎหมายและระเบียบภายในของประเทศสมาชิก และตกลงที่จะทำงานกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นในสถาบันทางการเงินระหว่างประเทศในการส่งเสริมบทบาทของเอเชียในระดับที่เหมาะสมกับศักยภาพทางเศรษฐกิจของภูมิภาค
12. ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ที่มากขึ้นระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองฝ่าย โดยตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญยิ่งของประชาคมธุรกิจ
13. ดำเนินการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีพลังงานที่สะอาดและมีประสิทธิภาพขึ้นในทุกรูปแบบรวมถึงพลังงานหมุนเวียนและแหล่งพลังงานที่ปล่อยมลพิษน้อย สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานในอาเซียน ส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงาน ส่งเสริมการปกป้องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติโดยตระหนักว่าความเจริญทางเศรษฐกิจเป็นเงื่อนไขสำคัญในการใช้เทคโนโลยีที่สะอาดขึ้น ซึ่งมีความจำเป็นต่อการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และสัญญาที่จะร่วมมือกันต่อไปในด้านการขนส่งทุกรูปแบบ รวมถึงทางอากาศ ทางน้ำ การขนส่งหลายรูปแบบ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายของคนและสินค้า
ความร่วมมือด้านสังคมและการพัฒนา
14. ร่วมมือในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ และโครงการหรือแผนฉบับต่อๆ มา เพื่ออาเซียนจะสามารถเร่งการบูรณาการระดับภูมิภาค โดยตระหนักถึงความสำคัญของการริเริ่มเพื่อการรวมตัวกันของอาเซียน และเขตความเจริญในระดับอนุภูมิภาคอื่นๆ ที่จะช่วยลดช่องว่างของการพัฒนาภายในอาเซียนได้ และเน้นถึงความสำคัญของความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน
15. ร่วมมือกันในระดับภูมิภาคและระดับโลกในเรื่องการจัดการภัยพิบัติ รวมถึงการพัฒนาการเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติและการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน และในการนี้ ยินดีกับความตกลงว่าด้วยการเตรียมความพร้อมของอาเซียนในการบรรเทาภัยพิบัติและรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน
16. ตกลงที่จะทำงานร่วมกันในการป้องกันการแพร่กระจายและลดอันตรายของโรคเอดส์ โรคซาร์ส โรคติดต่ออื่นๆ และในกรณีฉุกเฉิน จะมีการพัฒนากลไกความร่วมมือเพื่อยับยั้งการระบาดของโรคไข้หวัดนก และสัญญาจะร่วมมือกันจัดตั้งระบบและกระบวนการในการควบคุมโรคติดต่อต่างๆ รวมทั้งโรคในสัตว์ด้วย
17. ส่งเสริมและกระชับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกระตุ้นการติดต่อและการแลกเปลี่ยนระดับประชาชน รวมถึงการหารือกันระหว่างกลุ่มคนที่มีศาสนาและความเชื่อต่างกัน และส่งเสริมความร่วมมือผ่านเครือข่ายกิจกรรมและการสร้างขีดความสามารถด้านการศึกษาเช่น การแลกเปลี่ยนนักศึกษา โครงการแลกเปลี่ยนนักวิชาการ ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษา และความร่วมมือด้านการวิจัย รวมถึงการส่งเสริมวิชาอาเซียนศึกษาในสหรัฐฯ และส่งเสริมวิชาอเมริกันศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียน
18. ยินดีกับความตั้งใจของสหรัฐฯ ในการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาและความพยายามอย่างต่อเนื่องของสหรัฐฯ ในการกระชับการทำงานกับสำนักเลขาธิการอาเซียนและสนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถของสำนักเลขาธิการฯ
การติดตามเรื่อง
19. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างอาเซียน-สหรัฐฯ โดยการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโส
20. ให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนและผู้แทนการค้าสหรัฐฯ พบปะหารือเพื่อช่วยการดำเนินการตามความเป็นหุ้นส่วนที่เพิ่มพูนระหว่างอาเซียน-สหรัฐฯ และแผนปฏิบัติการ
****************************
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-