นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทย เปิดเผยว่า ในวันแรกของการเจรจาความตกลงเปิดเสรีบริการด้านการเงินภายใต้เขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกา (วันที่ 23 กันยายน 2548) ได้เริ่มขึ้น โดยในช่วงเช้าเป็นการสอบถามข้อมูลจากฝ่ายสหรัฐฯ คณะผู้แทนไทยนำโดย นายเชิดชัย ขันธ์นะภา ที่ปรึกษาการคลัง กระทรวงการคลัง และผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้พบกับผู้แทนสำนักงาน ก.ล.ต. ของสหรัฐฯ เพื่อสอบถามประเด็นที่เป็นอุปสรรคของการที่นักลงทุนไทยจะทำธุรกิจด้านหลักทรัพย์ในสหรัฐฯ ซึ่งฝ่ายไทยได้เรียกร้องให้สหรัฐฯ ให้การปฏิบัติต่อตราสารของหน่วยงานภาครัฐของไทย ที่ออกในสหรัฐฯ เทียบเท่ากับตราสารของรัฐบาลสหรัฐฯ
นอกจากนี้คณะเจรจาฝ่ายไทยได้พบกับผู้แทน Federal Reserve Board และ ผู้แทน Office of Comptroller of Currency เพื่อซักถามในประเด็นหลักๆ ที่เกี่ยวกับความแตกต่างในการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐบาลกลางและรัฐบาลมลรัฐ ซึ่งฝ่ายสหรัฐฯ ได้ให้ความกระจ่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขอใบอนุญาตทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในระดับรัฐบาลกลางและมลรัฐ
ในช่วงบ่ายเป็นการเจรจาการเปิดเสรีด้านการเงิน ที่ทำการสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ โดยคณะเจรจาฝ่ายไทยนำโดยนายนริศ ชัยสูตร หัวหน้าคณะเจรจาฯ ได้ยื่นร่างความตกลงเปิดเสรีบริการด้านการเงินของฝ่ายไทยฉบับที่ร่างโดยคณะทำงานฝ่ายไทย ซึ่งร่างดังกล่าวสะท้อนความต้องการของฝ่ายไทยในการเปิดเสรีบริการด้านการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยฝ่ายสหรัฐฯ ได้รับร่างความตกลงดังกล่าวไว้พิจารณา ในการนี้ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมหารือเพื่อทำความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ของร่างความตกลงดังกล่าวและเปรียบเทียบกับร่างฯ ที่ฝ่ายสหรัฐฯได้เคยนำเสนอต่อฝ่ายไทยในการเจรจาครั้งแรกที่มลรัฐฮาวาย อนึ่ง ในขั้นต้นทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันว่าจะยังไม่มีการพิจารณาประเด็นเรื่อง Positive List หรือ Negative List ที่ยังมีความต่างกันระหว่างสองฝ่ายในการใช้เป็นแนวทางยกร่างข้อตกลงฯ นอกจากนั้น นายนริศฯ ได้เน้นให้ฝ่ายสหรัฐฯ ทราบว่านายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ให้แนวทางในการเจรจาฯ ในทุกกรอบการเจรจาว่าจะต้องเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย (win-win situation) จึงจะสามารถยอมรับข้อตกลงดังกล่าวได้
นายนริศฯ กล่าวต่อไปว่าเมื่อพิจารณาร่างความตกลงฯ ของทั้งสองฝ่าย พบว่ามีบางประเด็นที่มีความคล้ายคลึงกันหรือไม่แตกต่างกันมาก ได้แก่ 1.คำจำกัดความของ financial services 2.ข้อบทด้าน Transparency หรือความโปร่งใส ซึ่งเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลกฎระเบียบ 3.การตั้ง Financial Services Committee หรือคณะกรรมการด้านการเงิน
สำหรับประเด็นที่ยังมีความแตกต่างกันและต้องพิจารณาต่อไป ประกอบด้วย 1.บุคคลที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จาก FTA 2.การเข้าสู่ตลาด (Market Access) 3.การประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) 4.การประติบัติเยี่ยงคนชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favoured Nation Treatment)
ก่อนสิ้นสุดการเจรจาในวันแรก ฝ่ายสหรัฐฯ นำโดยนางแมรี่ บีสลีย์ และนางสาวแอน เมน หัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายสหรัฐฯ ได้กล่าวชื่นชมฝ่ายไทยว่าแม้จะมีความแตกต่างกันทางความเห็นในประเด็นต่างๆ หลายด้าน แต่ทางฝ่ายไทยได้แสดงท่าทีอย่างเด่นชัดว่ามีความพยายามในการผลักดันให้ความตกลงเปิดเสรีบริการด้านการเงินภายใต้เขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ เกิดขึ้นได้ และมีความก้าวหน้าในการเจรจาอย่างแท้จริง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 80/2548 26 กันยายน 48--
นอกจากนี้คณะเจรจาฝ่ายไทยได้พบกับผู้แทน Federal Reserve Board และ ผู้แทน Office of Comptroller of Currency เพื่อซักถามในประเด็นหลักๆ ที่เกี่ยวกับความแตกต่างในการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐบาลกลางและรัฐบาลมลรัฐ ซึ่งฝ่ายสหรัฐฯ ได้ให้ความกระจ่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขอใบอนุญาตทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในระดับรัฐบาลกลางและมลรัฐ
ในช่วงบ่ายเป็นการเจรจาการเปิดเสรีด้านการเงิน ที่ทำการสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ โดยคณะเจรจาฝ่ายไทยนำโดยนายนริศ ชัยสูตร หัวหน้าคณะเจรจาฯ ได้ยื่นร่างความตกลงเปิดเสรีบริการด้านการเงินของฝ่ายไทยฉบับที่ร่างโดยคณะทำงานฝ่ายไทย ซึ่งร่างดังกล่าวสะท้อนความต้องการของฝ่ายไทยในการเปิดเสรีบริการด้านการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยฝ่ายสหรัฐฯ ได้รับร่างความตกลงดังกล่าวไว้พิจารณา ในการนี้ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมหารือเพื่อทำความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ของร่างความตกลงดังกล่าวและเปรียบเทียบกับร่างฯ ที่ฝ่ายสหรัฐฯได้เคยนำเสนอต่อฝ่ายไทยในการเจรจาครั้งแรกที่มลรัฐฮาวาย อนึ่ง ในขั้นต้นทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันว่าจะยังไม่มีการพิจารณาประเด็นเรื่อง Positive List หรือ Negative List ที่ยังมีความต่างกันระหว่างสองฝ่ายในการใช้เป็นแนวทางยกร่างข้อตกลงฯ นอกจากนั้น นายนริศฯ ได้เน้นให้ฝ่ายสหรัฐฯ ทราบว่านายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ให้แนวทางในการเจรจาฯ ในทุกกรอบการเจรจาว่าจะต้องเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย (win-win situation) จึงจะสามารถยอมรับข้อตกลงดังกล่าวได้
นายนริศฯ กล่าวต่อไปว่าเมื่อพิจารณาร่างความตกลงฯ ของทั้งสองฝ่าย พบว่ามีบางประเด็นที่มีความคล้ายคลึงกันหรือไม่แตกต่างกันมาก ได้แก่ 1.คำจำกัดความของ financial services 2.ข้อบทด้าน Transparency หรือความโปร่งใส ซึ่งเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลกฎระเบียบ 3.การตั้ง Financial Services Committee หรือคณะกรรมการด้านการเงิน
สำหรับประเด็นที่ยังมีความแตกต่างกันและต้องพิจารณาต่อไป ประกอบด้วย 1.บุคคลที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จาก FTA 2.การเข้าสู่ตลาด (Market Access) 3.การประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) 4.การประติบัติเยี่ยงคนชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favoured Nation Treatment)
ก่อนสิ้นสุดการเจรจาในวันแรก ฝ่ายสหรัฐฯ นำโดยนางแมรี่ บีสลีย์ และนางสาวแอน เมน หัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายสหรัฐฯ ได้กล่าวชื่นชมฝ่ายไทยว่าแม้จะมีความแตกต่างกันทางความเห็นในประเด็นต่างๆ หลายด้าน แต่ทางฝ่ายไทยได้แสดงท่าทีอย่างเด่นชัดว่ามีความพยายามในการผลักดันให้ความตกลงเปิดเสรีบริการด้านการเงินภายใต้เขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ เกิดขึ้นได้ และมีความก้าวหน้าในการเจรจาอย่างแท้จริง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 80/2548 26 กันยายน 48--