สำนักงานเศรษฐกิจการคลังรายงานเศรษฐกิจไทยโดยรวมในเดือนพฤศจิกายน พบว่าปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยเศรษฐกิจภาคอุปทานยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราการว่างงานที่ลดลง การจ้างงานทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ซึ่งได้รับผลดีจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการขยายตัวของอุปสงค์ต่างประเทศส่งผลให้มีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ภาคบริการพบว่าชะลอตัวลง ตามการหดตัวของภาคการค้า ภาคขนส่ง และภาคการเงิน สำหรับเศรษฐกิจภาคอุปสงค์ภายในประเทศ ทั้งการบริโภค และการลงทุนภาคเอกชนยังคงทรงตัว ขณะที่การส่งออกพบว่าปรับตัวดีขึ้นชัดเจนจากเดือนก่อน โดยเฉพาะในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ ขณะเดียวกันการนำเข้าชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ดุลการค้าเดือนพฤศจิกายนเกินดุลเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของประชาชน และนักธุรกิจต่อเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนแนวโน้มของเศรษฐกิจมีทิศทางปรับตัวดีขึ้น แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น และราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชน และต้นทุนภาคธุรกิจ สำหรับด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี ตามระดับทุนสำรองระหว่างประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น และระดับราคาภายในประเทศทั้งราคาสินค้าเกษตร สินค้าผู้ผลิต และเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนพฤศจิกายน 2548 ดังนี้
การจ้างงานในระบบเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยอัตราการจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้น 375,200 ตำแหน่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 จากปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรเป็นตัวหลัก ขณะที่อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.2 ลดลงจากร้อยละ 1.8 ในเดือนก่อน
การจ้างงานในภาคเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยในเดือนพฤศจิกายนขยายตัวร้อยละ 1.6 สูงกว่าอัตราการขยายตัวเฉลี่ยของการจ้างงานภาคเกษตรในช่วง 11 เดือนแรกของปี 48 ที่ร้อยละ -1.1 ซึ่งการจ้างงานในภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้น จะช่วยลดการหดตัวของผลผลิตภาคเกษตร ขณะที่ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนตุลาคมลดลงร้อยละ 0.3 ซึ่งผลผลิตเกษตรหลักที่ลดลง ได้แก่ ยางพารา ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฝนที่ตกชุมทำให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตลดลง
การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนตามการขยายตัวของอุปสงค์ต่างประเทศ โดยการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายนขยายตัวร้อยละ 5.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.9 ในเดือนก่อน ขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนตุลาคมขยายตัวได้ร้อยละ 4.8 โดยอุตสาหกรรมที่ยังสามารถขยายตัวได้ดี ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่กลับมาขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 24.0 โดยเฉพาะ Hard Disk Drive ที่กลับมาขยายตัวในระดับสองหลักที่ร้อยละ 20.4 แผงวงจรไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.8 และหมวดอาหารที่ขยายตัวร้อยละ 9.8 ตามกำลังซื้อจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอาหารทะเลกระป๋อง ขณะที่หมวดสิ่งทอ และหมวดก่อสร้างเริ่มมีการชะลอตัวมาอยู่ในระดับต่ำ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนตุลาคมชะลอลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 71.9 แต่ยังคงสูงกว่าร้อยละ 71.3 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน
ภาคการบริการโดยรวมชะลอตัวลง โดยการจ้างงานภาคการบริการเดือนพฤศจิกายนลดลงร้อยละ 1.0 ซึ่งเป็นผลจากหดตัวของภาคการค้า ภาคขนส่ง และภาคการเงิน ขณะที่ภาคก่อสร้าง และภาคการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยจำนวนนักท่องเที่ยวที่ผ่านท่าอากาศยานกรุงเทพในเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้น 34,007 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากปีก่อน โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวสูง ได้แก่ กลุ่มตะวันออกกลาง เอเชียใต้ ญี่ปุ่น และจีน ขยายตัวร้อยละ 41.8 20.0 18.5 และ 17.0 ตามลำดับ
การบริโภคภาคเอกชนยังคงทรงตัว โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนจากรายได้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มการบริโภคในประเทศในเดือนพฤศจิกายนขยายตัวร้อยละ 5.7 ลดลงจากเดือนก่อน แม้ว่าส่วนหนึ่งเป็นผลจากรายได้จัดเก็บที่สูงในปีก่อน อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมได้ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งสะท้อนจากการปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3
การลงทุนภาคเอกชนในด้านเครื่องจักรและสินค้าทุนชะลอตัวลง ขณะที่การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวดีขึ้น โดยการลงทุนเพื่อขยายและปรับปรุงกำลังการผลิตสะท้อนจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนในเดือนพฤศจิกายนขยายตัวร้อยละ 10.7 ลดลงจากร้อยละ 19.7 ในเดือนก่อน ขณะที่การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งพิจารณาจากการจัดเก็บภาษีที่ดินจากธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนพฤศจิกายนปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 20.9 แต่อย่างไรก็ตาม แนวโน้มภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงมีทิศทางที่ทรงตัวตามแรงกดดันของการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
อัตราการขยายตัวของการส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ตามอุปสงค์ต่างประเทศที่ขยายตัวดี โดยในเดือนพฤศจิกายนขยายตัวร้อยละ 14.5 เป็นมูลค่า 9,842 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสินค้าส่งออกที่ยังขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าอิเลคทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 23.6 โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.2 แผงวงจรไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 32.6 เป็นผลจากช่วงขาขึ้นของอิเล็กทรอนิกส์โลก และยานยนต์และชิ้นส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.5 โดยเฉพาะรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 136.9 ขณะที่สินค้าเกษตรพบว่ามีปริมาณการส่งออกลดลงแต่ได้รับผลบวกด้านราคา ช่วยให้มูลค่าส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 มูลค่าการนำเข้าชะลอตัวลงต่อเนื่องกันจากเดือนก่อน และมีอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบปี โดยในเดือนพฤศจิกายนมีการนำเข้ามูลค่า 9,787 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือมีการขยายตัวร้อยละ 14.7 โดยกลุ่มสินค้าสำคัญที่ขยายตัวลดลง ได้แก่ สินค้าทุน ยานยนต์โดยเฉพาะรถยนต์นั่ง ซึ่งหดตัวร้อยละ 30 และเชื้อเพลิง โดยเฉพาะมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบที่ขยายตัวร้อยละ 52.8 ลดลงจากร้อยละ 62.7 ในเดือนก่อน ขณะที่สินค้าที่เคยขยายตัวสูงทั้งเหล็กและทองคำ พบว่าขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงมาก โดยขยายตัวร้อยละ 0 และ 3.4 ตามลำดับ ทั้งนี้ การชะลอตัวของการนำเข้าส่งผลบวกให้ดุลการค้ากลับมาเกินดุล 55.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน
เงินเฟ้อขยายตัวในอัตราที่ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบปี 2548 จากปัจจัยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่ลดลงซึ่งได้แก่ น้ำมันเบนซิน 95 และ 91 ลดลง 3 ครั้งรวม 1.30 บาท และน้ำมันดีเซลลดลง 3 ครั้งรวม 1.10 บาท รวมถึงสินค้าอื่นที่มีราคาลดลง ได้แก่ ไก่สด ไข่ ผักสดและผลไม้ โดยอัตราเงินเฟ้อขยายตัวร้อยละ 5.9 ต่อปีในเดือนพฤศจิกายน ลดลงจากร้อยละ 6.2 ต่อปีในเดือนตุลาคม ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อปี คงที่จากเดือนก่อน
ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนตุลาคมเกินดุลติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 อยู่ที่ 68.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนพฤศจิกายนจะอยู่ในระดับที่สมดุล เนื่องจากดุลการค้าตามระบบศุลกากรเกินดุลเล็กน้อย ทั้งนี้ยังไม่ได้รวมการนำเข้าเครื่องบิน ขณะที่ภาคบริการมีแนวโน้มที่ดีขึ้นโดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวที่อยู่ในช่วง High Season สำหรับทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดย ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 50.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเท่ากับ 5.2 เดือนของมูลค่าการนำเข้า
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 19/2548 29 ธันวาคม 2548--
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนพฤศจิกายน 2548 ดังนี้
การจ้างงานในระบบเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยอัตราการจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้น 375,200 ตำแหน่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 จากปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรเป็นตัวหลัก ขณะที่อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.2 ลดลงจากร้อยละ 1.8 ในเดือนก่อน
การจ้างงานในภาคเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยในเดือนพฤศจิกายนขยายตัวร้อยละ 1.6 สูงกว่าอัตราการขยายตัวเฉลี่ยของการจ้างงานภาคเกษตรในช่วง 11 เดือนแรกของปี 48 ที่ร้อยละ -1.1 ซึ่งการจ้างงานในภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้น จะช่วยลดการหดตัวของผลผลิตภาคเกษตร ขณะที่ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนตุลาคมลดลงร้อยละ 0.3 ซึ่งผลผลิตเกษตรหลักที่ลดลง ได้แก่ ยางพารา ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฝนที่ตกชุมทำให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตลดลง
การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนตามการขยายตัวของอุปสงค์ต่างประเทศ โดยการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายนขยายตัวร้อยละ 5.1 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.9 ในเดือนก่อน ขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนตุลาคมขยายตัวได้ร้อยละ 4.8 โดยอุตสาหกรรมที่ยังสามารถขยายตัวได้ดี ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่กลับมาขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 24.0 โดยเฉพาะ Hard Disk Drive ที่กลับมาขยายตัวในระดับสองหลักที่ร้อยละ 20.4 แผงวงจรไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.8 และหมวดอาหารที่ขยายตัวร้อยละ 9.8 ตามกำลังซื้อจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอาหารทะเลกระป๋อง ขณะที่หมวดสิ่งทอ และหมวดก่อสร้างเริ่มมีการชะลอตัวมาอยู่ในระดับต่ำ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนตุลาคมชะลอลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 71.9 แต่ยังคงสูงกว่าร้อยละ 71.3 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน
ภาคการบริการโดยรวมชะลอตัวลง โดยการจ้างงานภาคการบริการเดือนพฤศจิกายนลดลงร้อยละ 1.0 ซึ่งเป็นผลจากหดตัวของภาคการค้า ภาคขนส่ง และภาคการเงิน ขณะที่ภาคก่อสร้าง และภาคการท่องเที่ยวยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยจำนวนนักท่องเที่ยวที่ผ่านท่าอากาศยานกรุงเทพในเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้น 34,007 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากปีก่อน โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวสูง ได้แก่ กลุ่มตะวันออกกลาง เอเชียใต้ ญี่ปุ่น และจีน ขยายตัวร้อยละ 41.8 20.0 18.5 และ 17.0 ตามลำดับ
การบริโภคภาคเอกชนยังคงทรงตัว โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนจากรายได้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มการบริโภคในประเทศในเดือนพฤศจิกายนขยายตัวร้อยละ 5.7 ลดลงจากเดือนก่อน แม้ว่าส่วนหนึ่งเป็นผลจากรายได้จัดเก็บที่สูงในปีก่อน อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมได้ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งสะท้อนจากการปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3
การลงทุนภาคเอกชนในด้านเครื่องจักรและสินค้าทุนชะลอตัวลง ขณะที่การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวดีขึ้น โดยการลงทุนเพื่อขยายและปรับปรุงกำลังการผลิตสะท้อนจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนในเดือนพฤศจิกายนขยายตัวร้อยละ 10.7 ลดลงจากร้อยละ 19.7 ในเดือนก่อน ขณะที่การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งพิจารณาจากการจัดเก็บภาษีที่ดินจากธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนพฤศจิกายนปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 20.9 แต่อย่างไรก็ตาม แนวโน้มภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงมีทิศทางที่ทรงตัวตามแรงกดดันของการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
อัตราการขยายตัวของการส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ตามอุปสงค์ต่างประเทศที่ขยายตัวดี โดยในเดือนพฤศจิกายนขยายตัวร้อยละ 14.5 เป็นมูลค่า 9,842 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสินค้าส่งออกที่ยังขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าอิเลคทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 23.6 โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.2 แผงวงจรไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 32.6 เป็นผลจากช่วงขาขึ้นของอิเล็กทรอนิกส์โลก และยานยนต์และชิ้นส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.5 โดยเฉพาะรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 136.9 ขณะที่สินค้าเกษตรพบว่ามีปริมาณการส่งออกลดลงแต่ได้รับผลบวกด้านราคา ช่วยให้มูลค่าส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 มูลค่าการนำเข้าชะลอตัวลงต่อเนื่องกันจากเดือนก่อน และมีอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบปี โดยในเดือนพฤศจิกายนมีการนำเข้ามูลค่า 9,787 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือมีการขยายตัวร้อยละ 14.7 โดยกลุ่มสินค้าสำคัญที่ขยายตัวลดลง ได้แก่ สินค้าทุน ยานยนต์โดยเฉพาะรถยนต์นั่ง ซึ่งหดตัวร้อยละ 30 และเชื้อเพลิง โดยเฉพาะมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบที่ขยายตัวร้อยละ 52.8 ลดลงจากร้อยละ 62.7 ในเดือนก่อน ขณะที่สินค้าที่เคยขยายตัวสูงทั้งเหล็กและทองคำ พบว่าขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงมาก โดยขยายตัวร้อยละ 0 และ 3.4 ตามลำดับ ทั้งนี้ การชะลอตัวของการนำเข้าส่งผลบวกให้ดุลการค้ากลับมาเกินดุล 55.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน
เงินเฟ้อขยายตัวในอัตราที่ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบปี 2548 จากปัจจัยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่ลดลงซึ่งได้แก่ น้ำมันเบนซิน 95 และ 91 ลดลง 3 ครั้งรวม 1.30 บาท และน้ำมันดีเซลลดลง 3 ครั้งรวม 1.10 บาท รวมถึงสินค้าอื่นที่มีราคาลดลง ได้แก่ ไก่สด ไข่ ผักสดและผลไม้ โดยอัตราเงินเฟ้อขยายตัวร้อยละ 5.9 ต่อปีในเดือนพฤศจิกายน ลดลงจากร้อยละ 6.2 ต่อปีในเดือนตุลาคม ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อปี คงที่จากเดือนก่อน
ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนตุลาคมเกินดุลติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 อยู่ที่ 68.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนพฤศจิกายนจะอยู่ในระดับที่สมดุล เนื่องจากดุลการค้าตามระบบศุลกากรเกินดุลเล็กน้อย ทั้งนี้ยังไม่ได้รวมการนำเข้าเครื่องบิน ขณะที่ภาคบริการมีแนวโน้มที่ดีขึ้นโดยเฉพาะภาคท่องเที่ยวที่อยู่ในช่วง High Season สำหรับทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดย ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ 50.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเท่ากับ 5.2 เดือนของมูลค่าการนำเข้า
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 19/2548 29 ธันวาคม 2548--