ดัชนีอุตฯ ก.พ. ในภาพรวมชะลอตัว โรงกลั่นใหญ่ปิดซ่อม ทั้งเดือนผลิตน้ำมันสำเร็จรูป 3,426 ล้านลิตรลดลงกว่าร้อยละ 18.16 ส่วนวัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า ขยายตัวต่อเนื่อง
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรม ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2548 จากการประมวลผลทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) โดยดัชนีอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) เดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 134.42 ลดลงร้อยละ 6.09 ในขณะที่ดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 146.67 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.12 และดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 151.76 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.52
ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลงได้แก่ ดัชนีผลผลิต(มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ 125.15 ลดลงร้อยละ 6.38 ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ 134.42 ลดลงร้อยละ 6.09 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ 126.86 ลดลงร้อยละ 4.28 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 153.24 ลดลงร้อยละ12.90 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 99.91 ลดลงร้อยละ 4.83 และอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ 64.67
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบให้ดัชนีอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เนื่องจากทิศทางการผลิตและจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปลดลงตามความต้องการของผู้บริโภค จากปัจจัยทางด้านราคาที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และโรงกลั่นขนาดใหญ่หยุดการกลั่นเพื่อซ่อมบำรุง โดยปริมาณการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปในเดือนกุมภาพันธ์ มีปริมาณ 3,426 ล้านลิตร ลดลง 760.1 ล้านลิตร หรือลดลงร้อยละ 18.16 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
ซึ่งการผลิตน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีการผลิตลดลงมากที่สุด โดยผลิต 319.9 ล้านลิตร ลดลงร้อยละ 18.33 ส่วนการผลิตน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ลดลง 103.5 ล้านลิตร หรือลดลงร้อยละ 30.17 ส่วนปริมาณการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปรวมลดลง 193.9 ล้านลิตร หรือลดลงร้อยละ 4.4 โดยมีปริมาณการจำหน่ายรวม 3,338.4 ล้านลิตร ลดลง 472.7 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 12.4 ซึ่งราคาน้ำมันดีเซลสูงขึ้นส่งผลต่อปริมาณการจำหน่ายลดลงกว่า 259.9 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 13.89 ในเดือนกุมภาพันธ์
การผลิตน้ำตาลลดลง ร้อยละ 28 จากเดือนก่อน หรือลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23 เนื่องจากปริมาณอ้อยที่เข้าหีบลดลงกว่าร้อยละ 24 โดยเนื่องจากปัญหาการผลิตที่ลดลงสำหรับปีการผลิต 2547-2548 ตั้งแต่เริ่มเปิดหีบปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีการผลิตที่ผ่านมาร้อยละ 6 ส่วนภาวะการจำหน่ายโดยรวมเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการบริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้นทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศแถบเอเชีย ซึ่งปริมาณการส่งออกขยายตัวกว่าร้อยละ 6.7
การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ มีการผลิตลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากคำสั่งซื้อลดลงและจำนวนวันทำงานมีน้อย โดยเป็นการลดลงของการผลิตปลาทูน่ากระป๋อง ปลาซาดีนกระป๋อง ปลาแช่แข็ง สำหรับการผลิตกุ้งแช่แข็งยังทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยราคายังอยู่ในระดับปานกลาง ในส่วนของการจำหน่ายก็ลดลงเช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามภาวะการผลิต
การเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ ภาวะการผลิตและจำหน่ายลดลงจากเดือนก่อน ซึ่งมีการลดกำลังการผลิต เนื่องจากวัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น และมีสินค้าจากจีนเข้าตีตลาด และมีบทบาทด้านการมาแข่งขันค่อนข้างสูง ซึ่งจีนมีความได้เปรียบเรื่องต้นทุนการผลิต
การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ การผลิตและจำหน่ายเครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลง เนื่องจากเป็นช่วงที่มีคำสั่งซื้อเข้ามาน้อยเช่นทุกปี (เดือนมกราคม-เมษายน) และจะเริ่มดีขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป นอกจากนี้ยังมีผลจากการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น หลังจากเปิดการค้าเสรีกับประเทศจีน ซึ่งจีนมีความได้เปรียบด้านค่าแรง ทำให้มีลูกค้าบางรายหันไปให้จีนเป็นผู้ผลิตสินค้าแทน โดยไม่เน้นคุณภาพ
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่าอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ เนื่องจากเดือนนี้มีความต้องการบริโภคเบียร์มากขึ้น เพื่อรองรับเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึง โดยมีการสั่งซื้อจากตัวแทนจำหน่ายมากขึ้น อีกทั้งตัวแทนจำหน่ายเริ่มมีการสำรองสินค้าเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ จึงทำให้ระดับสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ก่อน โดยการคาดการณ์จากผู้ผลิตว่าในเดือนมีนาคม-เมษายน จะมีการบริโภคมากขึ้น
การผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ ยังมีภาวะการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นช่วงปิดงบบัญชีของบริษัทขนาดใหญ่ จึงมีการเร่งผลิตและจำหน่ายให้ได้ตามแผนงาน สำหรับตลาดในประเทศมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการย่างเข้าสู่ฤดูร้อนจึงมีความต้องการสูง ส่วนต่างประเทศก็ได้กลับเข้ามาสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ระดับสินค้าสำเร็จรูปคงคลังจึงมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยแรงหนุนจากความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โรงงานจึงเร่งผลิตเพื่อเป็นสต๊อกสินค้าไว้รอจำหน่าย
การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน มีภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา ทั้งเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน โดยเหล็กทรงยาวประเภทเหล็กเส้นกลมและเหล็กเส้นข้ออ้อย มีการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อการก่อสร้างในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังมีอย่างต่อเนื่อง ส่วนปริมาณการจำหน่ายปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากเดือนก่อนมีการสั่งซื้อสินค้าไว้บางส่วนแล้ว ด้านเหล็กทรงแบน มีการผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเหล็กแผ่นรีดร้อน เนื่องจากโรงงานผลิตขนาดใหญ่กลับมาเดินเครื่องผลิตอีกครั้ง หลังจากติดตั้งเครื่องจักรใหม่เรียบร้อย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรม ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2548 จากการประมวลผลทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) โดยดัชนีอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) เดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 134.42 ลดลงร้อยละ 6.09 ในขณะที่ดัชนีที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 146.67 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.12 และดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 151.76 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.52
ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลงได้แก่ ดัชนีผลผลิต(มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ 125.15 ลดลงร้อยละ 6.38 ดัชนีผลผลิต(มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ 134.42 ลดลงร้อยละ 6.09 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ 126.86 ลดลงร้อยละ 4.28 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 153.24 ลดลงร้อยละ12.90 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 99.91 ลดลงร้อยละ 4.83 และอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ 64.67
สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบให้ดัชนีอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เนื่องจากทิศทางการผลิตและจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปลดลงตามความต้องการของผู้บริโภค จากปัจจัยทางด้านราคาที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และโรงกลั่นขนาดใหญ่หยุดการกลั่นเพื่อซ่อมบำรุง โดยปริมาณการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปในเดือนกุมภาพันธ์ มีปริมาณ 3,426 ล้านลิตร ลดลง 760.1 ล้านลิตร หรือลดลงร้อยละ 18.16 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
ซึ่งการผลิตน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว มีการผลิตลดลงมากที่สุด โดยผลิต 319.9 ล้านลิตร ลดลงร้อยละ 18.33 ส่วนการผลิตน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ลดลง 103.5 ล้านลิตร หรือลดลงร้อยละ 30.17 ส่วนปริมาณการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปรวมลดลง 193.9 ล้านลิตร หรือลดลงร้อยละ 4.4 โดยมีปริมาณการจำหน่ายรวม 3,338.4 ล้านลิตร ลดลง 472.7 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 12.4 ซึ่งราคาน้ำมันดีเซลสูงขึ้นส่งผลต่อปริมาณการจำหน่ายลดลงกว่า 259.9 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 13.89 ในเดือนกุมภาพันธ์
การผลิตน้ำตาลลดลง ร้อยละ 28 จากเดือนก่อน หรือลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23 เนื่องจากปริมาณอ้อยที่เข้าหีบลดลงกว่าร้อยละ 24 โดยเนื่องจากปัญหาการผลิตที่ลดลงสำหรับปีการผลิต 2547-2548 ตั้งแต่เริ่มเปิดหีบปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีการผลิตที่ผ่านมาร้อยละ 6 ส่วนภาวะการจำหน่ายโดยรวมเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการบริโภคน้ำตาลเพิ่มขึ้นทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศแถบเอเชีย ซึ่งปริมาณการส่งออกขยายตัวกว่าร้อยละ 6.7
การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ มีการผลิตลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากคำสั่งซื้อลดลงและจำนวนวันทำงานมีน้อย โดยเป็นการลดลงของการผลิตปลาทูน่ากระป๋อง ปลาซาดีนกระป๋อง ปลาแช่แข็ง สำหรับการผลิตกุ้งแช่แข็งยังทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยราคายังอยู่ในระดับปานกลาง ในส่วนของการจำหน่ายก็ลดลงเช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามภาวะการผลิต
การเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ ภาวะการผลิตและจำหน่ายลดลงจากเดือนก่อน ซึ่งมีการลดกำลังการผลิต เนื่องจากวัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น และมีสินค้าจากจีนเข้าตีตลาด และมีบทบาทด้านการมาแข่งขันค่อนข้างสูง ซึ่งจีนมีความได้เปรียบเรื่องต้นทุนการผลิต
การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ การผลิตและจำหน่ายเครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลง เนื่องจากเป็นช่วงที่มีคำสั่งซื้อเข้ามาน้อยเช่นทุกปี (เดือนมกราคม-เมษายน) และจะเริ่มดีขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป นอกจากนี้ยังมีผลจากการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น หลังจากเปิดการค้าเสรีกับประเทศจีน ซึ่งจีนมีความได้เปรียบด้านค่าแรง ทำให้มีลูกค้าบางรายหันไปให้จีนเป็นผู้ผลิตสินค้าแทน โดยไม่เน้นคุณภาพ
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่าอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ เนื่องจากเดือนนี้มีความต้องการบริโภคเบียร์มากขึ้น เพื่อรองรับเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึง โดยมีการสั่งซื้อจากตัวแทนจำหน่ายมากขึ้น อีกทั้งตัวแทนจำหน่ายเริ่มมีการสำรองสินค้าเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ จึงทำให้ระดับสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ก่อน โดยการคาดการณ์จากผู้ผลิตว่าในเดือนมีนาคม-เมษายน จะมีการบริโภคมากขึ้น
การผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ ยังมีภาวะการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นช่วงปิดงบบัญชีของบริษัทขนาดใหญ่ จึงมีการเร่งผลิตและจำหน่ายให้ได้ตามแผนงาน สำหรับตลาดในประเทศมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการย่างเข้าสู่ฤดูร้อนจึงมีความต้องการสูง ส่วนต่างประเทศก็ได้กลับเข้ามาสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ระดับสินค้าสำเร็จรูปคงคลังจึงมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยแรงหนุนจากความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โรงงานจึงเร่งผลิตเพื่อเป็นสต๊อกสินค้าไว้รอจำหน่าย
การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน มีภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา ทั้งเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน โดยเหล็กทรงยาวประเภทเหล็กเส้นกลมและเหล็กเส้นข้ออ้อย มีการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อการก่อสร้างในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังมีอย่างต่อเนื่อง ส่วนปริมาณการจำหน่ายปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากเดือนก่อนมีการสั่งซื้อสินค้าไว้บางส่วนแล้ว ด้านเหล็กทรงแบน มีการผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเหล็กแผ่นรีดร้อน เนื่องจากโรงงานผลิตขนาดใหญ่กลับมาเดินเครื่องผลิตอีกครั้ง หลังจากติดตั้งเครื่องจักรใหม่เรียบร้อย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-