แท็ก
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
กระทรวงการคลัง
นายกรัฐมนตรี
ตราสารหนี้
นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง และนางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ แถลงให้ทราบว่า ในวันนี้ (11 กรกฎาคม 2548) ได้มีการประชุมคณะกรรมการกำกับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ เพื่อพิจารณาความคืบหน้าในการดำเนินงานในด้านต่างๆ ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กระทรวงการคลังยืนยันการจะออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับพันธบัตรอายุ 7 และ 10 ปี ในวงเงินรุ่นละ 40,000 ล้านบาทต่อปี โดยจะทำการประมูลอย่างต่อเนื่องทุกเดือนในวงเงินเดือนละ 3-4 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้เงินภายใต้กรอบกฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินโดยจะเริ่มดำเนินการอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 เป็นต้นไป
2. กระทรวงการคลังจะออกพันธบัตรออมทรัพย์อย่างต่อเนื่องทุกเดือนเป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548 โดยจะหมุนเวียนออกรุ่น 5 และ 7 ปี รุ่นละเดือน โดย 2 เดือนแรก เดือนละ 5,000 ล้านบาท จากนั้น เดือนละ 2,000 ล้านบาท ในการนี้ ได้มีการหารือถึงแนวทางในการกระจายพันธบัตรออมทรัพย์และส่งเสริมให้นักลงทุนในส่วนภูมิภาคลงทุนในตลาดตราสารหนี้มากขึ้นด้วย
3. ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รายงานความคืบหน้าในการรวมศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และระบบการชำระราคาส่งมอบตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชนไว้ที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ว่ากำหนดจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2548
4. คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้รายงานความคืบหน้าในการจัดตั้ง
(1) ระบบ Electronic Trading Platform โดยระบบจะดำเนินการได้ภายในเดือนกรกฎาคม 2548 และ
(2) บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ว่า จะเปิดให้มีการซื้อขาย Index Futures ภายในเดือนพฤศจิกายน 2548 และ Bond Futures ภายในปี 2549
5. นอกจากนี้ ยังมีการรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการอื่นภายใต้แผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ฉบับที่ 2 ทั้งในเรื่องการปรับปรุงกฎหมายและภาษี เพื่อสนับสนุนการทำ Securitization การพัฒนาบุคลากร และการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ซึ่งมีความคืบหน้าไปรวดเร็วกว่าที่ได้กำหนดไว้ ทำให้คาดว่าจะบรรลุเป้าประสงค์ของรัฐบาลในการที่จะพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้เป็นแกนหลักที่ 3 ของระบบตลาดการเงินได้รวดเร็วกว่ากำหนด ซึ่งจะทำให้ตลาดการเงินไทยมีเสถียรภาพมั่นคง สามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้เป็นอย่างดี
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 51/2548 11 กรกฎาคม 48--
1. กระทรวงการคลังยืนยันการจะออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับพันธบัตรอายุ 7 และ 10 ปี ในวงเงินรุ่นละ 40,000 ล้านบาทต่อปี โดยจะทำการประมูลอย่างต่อเนื่องทุกเดือนในวงเงินเดือนละ 3-4 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้เงินภายใต้กรอบกฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินโดยจะเริ่มดำเนินการอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 เป็นต้นไป
2. กระทรวงการคลังจะออกพันธบัตรออมทรัพย์อย่างต่อเนื่องทุกเดือนเป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548 โดยจะหมุนเวียนออกรุ่น 5 และ 7 ปี รุ่นละเดือน โดย 2 เดือนแรก เดือนละ 5,000 ล้านบาท จากนั้น เดือนละ 2,000 ล้านบาท ในการนี้ ได้มีการหารือถึงแนวทางในการกระจายพันธบัตรออมทรัพย์และส่งเสริมให้นักลงทุนในส่วนภูมิภาคลงทุนในตลาดตราสารหนี้มากขึ้นด้วย
3. ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รายงานความคืบหน้าในการรวมศูนย์รับฝากหลักทรัพย์และระบบการชำระราคาส่งมอบตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชนไว้ที่บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ว่ากำหนดจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2548
4. คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้รายงานความคืบหน้าในการจัดตั้ง
(1) ระบบ Electronic Trading Platform โดยระบบจะดำเนินการได้ภายในเดือนกรกฎาคม 2548 และ
(2) บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ว่า จะเปิดให้มีการซื้อขาย Index Futures ภายในเดือนพฤศจิกายน 2548 และ Bond Futures ภายในปี 2549
5. นอกจากนี้ ยังมีการรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการอื่นภายใต้แผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ฉบับที่ 2 ทั้งในเรื่องการปรับปรุงกฎหมายและภาษี เพื่อสนับสนุนการทำ Securitization การพัฒนาบุคลากร และการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ซึ่งมีความคืบหน้าไปรวดเร็วกว่าที่ได้กำหนดไว้ ทำให้คาดว่าจะบรรลุเป้าประสงค์ของรัฐบาลในการที่จะพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้เป็นแกนหลักที่ 3 ของระบบตลาดการเงินได้รวดเร็วกว่ากำหนด ซึ่งจะทำให้ตลาดการเงินไทยมีเสถียรภาพมั่นคง สามารถรองรับผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้เป็นอย่างดี
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 51/2548 11 กรกฎาคม 48--