รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคภาคกลาง ประจำเดือน เม.ย.48

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 3, 2005 11:49 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของภาคกลางเดือนเมษายน 2548 
กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคกลางเดือนเมษายน 2548 โดยสรุป
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการของภาคกลางจำนวน 347 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคกลาง ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของภาคกลางเดือนเมษายน 2548
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคกลางเท่ากับ 100 และเดือนเมษายน 2548 เท่ากับ
109.8 สำหรับเดือนมีนาคม 2548 เท่ากับ 108.8
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคกลางเดือนเมษายน 2548
เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนมีนาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 0.9
2.2 เดือนเมษายน 2547 สูงขึ้นร้อยละ 4.0
2.3 เดือนมกราคม - เมษายน 2548 เทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปี 2547
สูงขึ้นร้อยละ 3.7
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคกลางเดือนเมษายน 2548 เทียบกับเดือนมีนาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 0.9 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.0 และดัชนีราคา สินค้าหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.9 โดยมีความเคลื่อนไหวของราคาสินค้าสำคัญดังนี้
3.1 สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.0
สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่
- เนื้อสุกร สภาพอากาศร้อนจัด สุกรเติบโตช้าทำให้ปริมาณสุกรที่ได้ขนาดเข้าสู่ตลาดลดลง
- 2 -
- ไก่สด เนื่องจากความต้องการภายในประเทศมีมากขึ้น มีการรณรงค์จากภาครัฐ
ขณะที่ภาวะการส่งออกเริ่มดีขึ้น
- ไข่ไก่ สภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งมีผลให้อัตราการให้ไข่ลดลง
- ผักสด ได้แก่ ผักกาดขาวลุ้ย ผักคะน้า เห็ด ผักชี มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว บวบ มะละกอดิบ ฟักทอง มะนาว ขึ้นฉ่าย ต้นหอม ถั่วลันเตา ตำลึงและหัวหอมแดง สภาพอากาศในช่วงนี้ร้อนและแห้งแล้ง ส่งผลต่อการปลูกพืชทำให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง
- ปลาและสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลาช่อน ปลาจะละเม็ดดำ ปลากะพง ปลาแดง ปลาทูกุ้งขาว ปลาหมึกกล้วย ปูทะเล และปูม้า ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง เนื่องจากเป็นช่วงปิดอ่าวไทยประกอบกับเรือประมงจำนวนมากหยุดหาปลาจากการปรับราคาน้ำมันดีเซล
3.2 สินค้าหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.9
สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่
- น้ำมันเชื้อเพลิง จากการปรับราคาน้ำมันเบนซิน สูงขึ้น 3 ครั้ง และปรับราคาลดลง1 ครั้ง สำหรับน้ำมันดีเซลแม้เดือนนี้จะไม่มีการปรับราคา แต่ราคาโดยเฉลี่ยเดือนนี้สูงกว่าเดือนมีนาคม 2548 ทั้งนี้เป็นผลจาการปรับเพดานราคาเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2548
- ค่าโดยสารธารณะ จากการปรับสูงขึ้นของค่าโดยสารรถประจำทางและรถเมล์เล็ก
ที่ให้บริการภายในภาคกลาง
- สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด ได้แก่ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจานและสารกำจัดแมลง - ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล ได้แก่ สบู่ถูตัว ยาสีฟัน แชมพูสระผม ครีมนวดผม ค่าแต่งผมชายและค่าแต่งผมสตรี
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร.0-2507-5850 โทรสาร.0- 2507-5825

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ