สศก. นำเทคโนโลยีใหม่มาสำรวจข้อมูลเชิงพื้นที่ทางการเกษตร เพื่อสำรวจสินค้าเกษตรที่สำคัญ โดยนำข้อมูลจากดาวเทียมมาแปลวิเคราะห์ และนำผลจากการแปลไปใช้ในการจัดทำการสำรวจภาคสนาม รวมทั้งเป็นฐานข้อมูลในการปฏิบัติงานด้านอื่นๆ ต่อไป
ในปีงบประมาณ 2548 ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ได้นำเทคโนโลยีทางด้านภูมิสารสนเทศ หรือ GI ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย สำหรับการสำรวจข้อมูลเชิงพื้นที่ ทางการเกษตร ประกอบไปด้วยเทคโนโลยี 3 ประเภท คือ เทคโนโลยีรีโมตเซนซิง หรือการสำรวจจากระยะไกล (Remote Sensing : RS) เทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System : GPS) และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System :GIS) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่สำหรับจัดทำกรอบพื้นที่ตัวอย่าง (Area Frame Sampling)เพื่อใช้ในการสำรวจสินค้าเกษตรที่สำคัญ เช่น ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง สับปะรด นากุ้ง ฯลฯ ซึ่งในการดำเนินงานครั้งนี้ จะใช้ข้อมูลจากดาวเทียมมาทำการแปลวิเคราะห์เพื่อจำแนกประเภทการใช้ที่ดินทางการเกษตรลงบนแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ทั่วประเทศ และนำผลจากการแปลไปใช้ในการจัดทำกรอบ ตัวอย่างเพื่อใช้ในการสำรวจภาคสนาม โดยใช้เครื่อง GPS และภาพถ่ายทางอากาศสี หรือข้อมูลจากดาวเทียม IKONOS ซึ่งมีรายละเอียดข้อมูลสูงในมาตราส่วน 1:4,000 เป็นเครื่องมือในภาคสนามเพื่อเข้าสำรวจพื้นที่ตัวอย่างและใช้ GIS ในการคำนวณเนื้อที่เพาะปลูกเป็นรายสินค้า พร้อมทั้งจัดทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และ ฐานข้อมูลเชิงบรรยาย เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการปฏิบัติงานด้านอื่นๆ ต่อไป
สำหรับผลลัพธ์ที่จะได้ คือ แผนที่แสดงพื้นที่ทางการเกษตรปี 2548 ข้อมูลเนื้อที่เพาะปลูก ปริมาณผลผลิตของสินค้าเกษตรที่สำคัญรายชนิด และฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านการเกษตร
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ในปีงบประมาณ 2548 ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ได้นำเทคโนโลยีทางด้านภูมิสารสนเทศ หรือ GI ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย สำหรับการสำรวจข้อมูลเชิงพื้นที่ ทางการเกษตร ประกอบไปด้วยเทคโนโลยี 3 ประเภท คือ เทคโนโลยีรีโมตเซนซิง หรือการสำรวจจากระยะไกล (Remote Sensing : RS) เทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System : GPS) และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System :GIS) มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่สำหรับจัดทำกรอบพื้นที่ตัวอย่าง (Area Frame Sampling)เพื่อใช้ในการสำรวจสินค้าเกษตรที่สำคัญ เช่น ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง สับปะรด นากุ้ง ฯลฯ ซึ่งในการดำเนินงานครั้งนี้ จะใช้ข้อมูลจากดาวเทียมมาทำการแปลวิเคราะห์เพื่อจำแนกประเภทการใช้ที่ดินทางการเกษตรลงบนแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ทั่วประเทศ และนำผลจากการแปลไปใช้ในการจัดทำกรอบ ตัวอย่างเพื่อใช้ในการสำรวจภาคสนาม โดยใช้เครื่อง GPS และภาพถ่ายทางอากาศสี หรือข้อมูลจากดาวเทียม IKONOS ซึ่งมีรายละเอียดข้อมูลสูงในมาตราส่วน 1:4,000 เป็นเครื่องมือในภาคสนามเพื่อเข้าสำรวจพื้นที่ตัวอย่างและใช้ GIS ในการคำนวณเนื้อที่เพาะปลูกเป็นรายสินค้า พร้อมทั้งจัดทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่และ ฐานข้อมูลเชิงบรรยาย เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการปฏิบัติงานด้านอื่นๆ ต่อไป
สำหรับผลลัพธ์ที่จะได้ คือ แผนที่แสดงพื้นที่ทางการเกษตรปี 2548 ข้อมูลเนื้อที่เพาะปลูก ปริมาณผลผลิตของสินค้าเกษตรที่สำคัญรายชนิด และฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านการเกษตร
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-