ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เชื่อมั่นสินเชื่อทั้งระบบยังคงขยายตัวในระดับที่ดี นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการขยายตัวของสินเชื่อในระบบ ธพ.ในไตรมาสแรกปี 48 ซึ่งขยายตัวประมาณ
11% ว่าเป็นการขยายตัวในระดับที่ดี และดีกว่าการขยายตัวของจีดีพี สำหรับในช่วงที่ผ่านมา การขยายตัวของสินเชื่อ
ยังไม่น่าเป็นห่วง โดยเอ็นพีแอลในไตรมาสแรกที่เพิ่มขึ้นจำนวน 14,000 ล.บาท ก็ลดลงตามลำดับจากปีก่อนหน้าที่เพิ่ม
ขึ้นถึง 35,000 ล.บาท ทั้งนี้ ธปท.ได้รายงานข้อมูลการปล่อยสินเชื่อของ ธพ.ทั้งระบบในเดือน มิ.ย.48 ว่า มี
จำนวน 5,340,401 ล.บาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.03% โดยแบ่งเป็นสินเชื่อที่ปล่อยโดย ธพ.
ไทย 4,792,662 ล.บาท และเป็นสินเชื่อที่ปล่อยโดย ธพ.ต่างประเทศจำนวน 547,739 ล.บาท หากพิจารณา
เฉพาะสินเชื่อเพื่อการอุปโภคและบริโภคส่วนบุคคลในเดือน มิ.ย. จำนวนสินเชื่อทั้งระบบมีจำนวน 858,917 ล.บาท
เพิ่มขึ้น 7.27% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ สินเชื่อเพื่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีวัตถุ
ประสงค์นอกเหนือจากการซื้อที่ดินและการจัดหาที่อยู่อาศัย ซึ่งขยายตัว 70.29% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (กรุงเทพ
ธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. นักวิชาการแสดงความเป็นห่วงว่าอาจเกิดปัญหาการว่างงานในช่วงครึ่งหลังปี 48 แหล่งข่าวจากนัก
วิชาการเปิดเผยว่า แม้ตัวเลขการจ้างงานจะเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่มีสัญญาณที่น่าเป็นห่วงในส่วนของ
การจ้างงานภาคการเกษตรและภาคการผลิต ซึ่งอาจส่งผลให้แนวโน้มครึ่งปีหลังเกิดปัญหาการว่างงานได้ โดยจาก
ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ภาวะการทำงานของประชากรในเดือน มิ.ย.48 พบว่า จากจำนวนประชากรทั้ง
ประเทศมีผู้อยู่ในวัยทำงานประมาณ 35.88 ล้านคน ประกอบด้วยผู้ที่มีงานทำ 35.05 ล้านคน ผู้ว่างงาน 7 แสนคน
และผู้รอฤดูกาล 1.3 แสนคน โดยเป็นผู้ที่ทำงานในภาคเกษตรกรรมประมาณ 13.37 ล้านคน และนอกภาค
เกษตรกรรมประมาณ 21.68 ล้านคน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่ามีผู้ทำงานเพิ่มทั้งสิ้นประมาณ
1.2 แสนคน แต่ในส่วนของการจ้างงานภาคเกษตรกลับพบว่า ปรับตัวลดลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ม.ค.-มิ.ย. นอกจาก
นี้ การจ้างงานในส่วนของภาคการผลิต เริ่มส่งสัญญาณน่าเป็นห่วงโดยเฉพาะในช่วง 2 เดือนหลังของครึ่งปีแรก เนื่อง
จากได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูง ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมเริ่มลดกำลังการผลิต แม้ใน
ช่วง 4 เดือนแรกของปี อัตราการจ้างงานจะเพิ่มขึ้นก็ตาม (ผู้จัดการรายวัน)
3. สมาคมค้าทองคำเชื่อมั่นราคาทองคำในประเทศจะไม่สูงขึ้นตามที่มีข่าว นายกสมาคมค้าทองคำ
เปิดเผยว่า คาดว่าปลายปี 48 นี้ ราคาทองคำในประเทศจะอยู่ที่บาทละ 9 พันบาท เนื่องจากไม่มีปัจจัยสนับสนุนให้
ราคาทองคำสูงขึ้น และราคาปัจจุบันก็สูงในระดับหนึ่ง ที่สำคัญกองทุนระยะสั้นต่างชาติ (เฮดจ์ฟันด์) คงให้น้ำหนักกับ
การทำกำไรในตลาดน้ำมันที่ทะยานขึ้นอีกครั้ง ขณะเดียวกัน ปัจจัยภายในขณะนี้แนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นและการ
ฝากเงินเพื่อผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยน่าจะดีกว่าช่วงที่ผ่านมา ทำให้นักลงทุนกลับเข้าสู่ตลาดเงินและตลาดทุนอีก
ครั้ง ประชาชนจึงไม่ควรแตกตื่นกับกระแสข่าวว่าราคาทองคำในประเทศจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ผู้จัดการรายวัน)
4. คาดว่าดัชนีหุ้นไทยในช่วงครึ่งหลังปี 48 จะค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลัก
ทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) วรรณ จำกัด กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทยในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะเป็นลักษณะ
ค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยปัจจัยที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ คือ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
และผลประกอบการไตรมาส 3 ที่ทยอยประกาศออกมา ทั้งนี้ หาก 3 ปัจจัยข้างต้นอยู่ในทิศทางดีขึ้น เชื่อว่าจะส่งผลดี
ต่อการลงทุนในตลาดหุ้นด้วยเช่นกัน (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาน้ำมันแพงทำให้ สรอ. ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นและกระทบความเชื่อมั่นของผู้บริโภค รายงาน
จากกรุงนิวยอร์ค ประเทศ สรอ. เมื่อวันที่ 12 ส.ค.48 ก.พาณิชย์ ของ สรอ. เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันที่ปรับตัว
เพิ่มขึ้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลกระทบทำให้ สรอ. ขาดดุลการค้าในเดือน มิ.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1
อยู่ที่ระดับ 58.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก 55.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือน พ.ค.48 และมากกว่าที่นัก
วิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 57.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งการขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นในครั้งนี้ใกล้เคียงกับสถิติสูง
สุดที่ระดับ 60.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือน ก.พ.48 โดยมีสาเหตุมาจากการส่งออกชะลอตัวลง ขณะที่การสั่ง
ซื้อน้ำมันทำให้ยอดรวมการนำเข้าเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดครั้งใหม่ โดยการนำเข้าน้ำมันทำลายสถิติด้วยมูลค่า 19.9
พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือน มิ.ย.48 นอกจากนี้ ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้
บริโภคด้วย โดยดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเบื้องต้นของ ม.มิชิแกน ในเดือน ส.ค.48 ลดลงอยู่ที่ระดับ 92.7
จากระดับ 96.5 ในเดือน ก.ค.48 ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 96.0 (รอยเตอร์)
2. รายได้จากการจัดเก็บภาษีของเยอรมนีในเดือนก.ค. เพิ่มขึ้นจากเดือนมิ.ย.ร้อยละ 2.5 รายงาน
จากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 48 นาย Hans Eichel รมว.คลังเยอรมนีเปิดเผยว่า ในเดือนก.ค. รายได้จาก
การจัดเก็บภาษีของเยอรมนีเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่ทางการได้คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนพ.ค.และชี้ว่าอุปสงค์ในประเทศฟื้นตัว
แล้ว ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนม.ค. — ก.ค. รัฐบาลเยอรมนีมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีประมาณ 600 ล้านยูโร สูงกว่าที่ได้
ประมาณการไว้ โดยรายได้จากการจัดเก็บภาษีทั้งหมดในเดือนก.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากเดือนมิ.ย. ขณะที่ภาษี
มูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าเดือนมิ.ย. ร้อยละ 3.1 โดยภาษีที่จัดเก็บได้จากการขายสินค้าเมื่อเดือนที่แล้วชี้ว่าแนวโน้ม
อุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวบ้างแล้ว ทั้งนี้รัฐบาลเยอรมนีเชื่อมั่นว่าในปีนี้เศรษฐกิจเยอรมนีจะเติบโตร้อยละ 1 ตามที่ได้
คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นแม้ว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจเมื่อเร็วๆนี้จะบ่งชี้ว่าในไตรมาสที่ 2 เศรษฐกิจเยอรมนีจะประสบ
ภาวะชะงักงันก็ตาม โดยนายนาย Hans Eichel ได้ย้ำว่านาย Wolfgang Clement รมว. เศรษฐกิจเยอรมนีเห็น
ว่าภาวะความอ่อนตัวทางเศรษฐกิจเป็นเพียงชั่วคราว ดังนั้นการบรรลุเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้จึงไม่
น่าวิตกแต่อย่างใด (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของอังกฤษในเดือน ก.ค.48 ลดลงต่ำสุดที่ร้อยละ 40 รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 15 ส.ค.48 ผลสำรวจของ Lloyds TSB Financial Markets พบว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่มีมุมมองต่อ
เศรษฐกิจของอังกฤษภายหลังการก่อการร้าย ระเบิดระบบขนส่งของกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 7 ก.ค.ที่ผ่านมา ลดลงอยู่
ในระดับต่ำสุดตั้งแต่เริ่มสงครามอิรักในเดือน มี.ค.46 เป็นต้นมา โดยร้อยละ 40 ของธุรกิจมองว่าเศรษฐกิจของ
อังกฤษจะเลวร้ายลงใน 3 เดือนข้างหน้า เมื่อเทียบกับที่มีเพียงร้อยละ 26 ในเดือน มิ.ย.48 ทั้งนี้ จากการสำรวจ
ธุรกิจ 200 แห่งที่มีเงินทุนหมุนเวียนมากกว่า 1 ล้านปอนด์ (1.82 ล้านดอลลาร์ สรอ.) โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริม
ทรัพย์ โรงแรมและสถานบันเทิง มีความเชื่อมั่นต่ำที่สุด นอกจากนี้ จำนวนธุรกิจที่คาดหวังว่าธุรกิจของตนเองจะดีขึ้นใน
เดือน ก.ค.48 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 42 จากร้อยละ 55 ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
4. ผลสำรวจในเดือนล่าสุดพบว่าราคาบ้านในอังกฤษลดลง รายงานจากลอนดอน เมื่อ 15 ส.ค.48
Rightmove ซึ่งเป็น website ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของอังกฤษรายงานผลสำรวจราคาเสนอขายบ้านในอังกฤษใน
ระหว่างวันที่ 10 ก.ค.48 ถึง 6 ส.ค.48 ว่าราคาเสนอขายบ้านโดยเฉลี่ยลดลงมาอยู่ที่ 196,282 ปอนด์ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับผลสำรวจครั้งก่อนในช่วงเดือน มิ.ย. — ก.
ค.48 โดยในช่วงดังกล่าวราคาบ้านเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 เพิ่มขึ้นในอัตราต่ำสุดในรอบ 10 ปี นอกจากนี้ผลสำรวจ
ยังระบุว่าจำนวนอสังหาริมทรัพย์คงค้างยังขายไม่ได้ในบัญชีของตัวแทนขายเพิ่มขึ้นเป็น 72 หน่วยในเดือน ส.ค.48
จากจำนวน 71 หน่วยในเดือน ก.ค.48 และใช้เวลาในการขายมากขึ้นเป็น 78 วันในเดือน ส.ค.48 จาก 75 วัน
ในเดือน ก.ค.48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 15 ส.ค. 48 11 ส.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.851 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6604/40.9515 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.80639 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 681.95/ 12.68 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,550/8,650 8,450/8,550 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 58.09 57.01 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 26.14*/22.99* 26.14*/22.99* 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 11 ส.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เชื่อมั่นสินเชื่อทั้งระบบยังคงขยายตัวในระดับที่ดี นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการขยายตัวของสินเชื่อในระบบ ธพ.ในไตรมาสแรกปี 48 ซึ่งขยายตัวประมาณ
11% ว่าเป็นการขยายตัวในระดับที่ดี และดีกว่าการขยายตัวของจีดีพี สำหรับในช่วงที่ผ่านมา การขยายตัวของสินเชื่อ
ยังไม่น่าเป็นห่วง โดยเอ็นพีแอลในไตรมาสแรกที่เพิ่มขึ้นจำนวน 14,000 ล.บาท ก็ลดลงตามลำดับจากปีก่อนหน้าที่เพิ่ม
ขึ้นถึง 35,000 ล.บาท ทั้งนี้ ธปท.ได้รายงานข้อมูลการปล่อยสินเชื่อของ ธพ.ทั้งระบบในเดือน มิ.ย.48 ว่า มี
จำนวน 5,340,401 ล.บาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.03% โดยแบ่งเป็นสินเชื่อที่ปล่อยโดย ธพ.
ไทย 4,792,662 ล.บาท และเป็นสินเชื่อที่ปล่อยโดย ธพ.ต่างประเทศจำนวน 547,739 ล.บาท หากพิจารณา
เฉพาะสินเชื่อเพื่อการอุปโภคและบริโภคส่วนบุคคลในเดือน มิ.ย. จำนวนสินเชื่อทั้งระบบมีจำนวน 858,917 ล.บาท
เพิ่มขึ้น 7.27% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ สินเชื่อเพื่อการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีวัตถุ
ประสงค์นอกเหนือจากการซื้อที่ดินและการจัดหาที่อยู่อาศัย ซึ่งขยายตัว 70.29% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (กรุงเทพ
ธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
2. นักวิชาการแสดงความเป็นห่วงว่าอาจเกิดปัญหาการว่างงานในช่วงครึ่งหลังปี 48 แหล่งข่าวจากนัก
วิชาการเปิดเผยว่า แม้ตัวเลขการจ้างงานจะเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่มีสัญญาณที่น่าเป็นห่วงในส่วนของ
การจ้างงานภาคการเกษตรและภาคการผลิต ซึ่งอาจส่งผลให้แนวโน้มครึ่งปีหลังเกิดปัญหาการว่างงานได้ โดยจาก
ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ภาวะการทำงานของประชากรในเดือน มิ.ย.48 พบว่า จากจำนวนประชากรทั้ง
ประเทศมีผู้อยู่ในวัยทำงานประมาณ 35.88 ล้านคน ประกอบด้วยผู้ที่มีงานทำ 35.05 ล้านคน ผู้ว่างงาน 7 แสนคน
และผู้รอฤดูกาล 1.3 แสนคน โดยเป็นผู้ที่ทำงานในภาคเกษตรกรรมประมาณ 13.37 ล้านคน และนอกภาค
เกษตรกรรมประมาณ 21.68 ล้านคน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่ามีผู้ทำงานเพิ่มทั้งสิ้นประมาณ
1.2 แสนคน แต่ในส่วนของการจ้างงานภาคเกษตรกลับพบว่า ปรับตัวลดลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ม.ค.-มิ.ย. นอกจาก
นี้ การจ้างงานในส่วนของภาคการผลิต เริ่มส่งสัญญาณน่าเป็นห่วงโดยเฉพาะในช่วง 2 เดือนหลังของครึ่งปีแรก เนื่อง
จากได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูง ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมเริ่มลดกำลังการผลิต แม้ใน
ช่วง 4 เดือนแรกของปี อัตราการจ้างงานจะเพิ่มขึ้นก็ตาม (ผู้จัดการรายวัน)
3. สมาคมค้าทองคำเชื่อมั่นราคาทองคำในประเทศจะไม่สูงขึ้นตามที่มีข่าว นายกสมาคมค้าทองคำ
เปิดเผยว่า คาดว่าปลายปี 48 นี้ ราคาทองคำในประเทศจะอยู่ที่บาทละ 9 พันบาท เนื่องจากไม่มีปัจจัยสนับสนุนให้
ราคาทองคำสูงขึ้น และราคาปัจจุบันก็สูงในระดับหนึ่ง ที่สำคัญกองทุนระยะสั้นต่างชาติ (เฮดจ์ฟันด์) คงให้น้ำหนักกับ
การทำกำไรในตลาดน้ำมันที่ทะยานขึ้นอีกครั้ง ขณะเดียวกัน ปัจจัยภายในขณะนี้แนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นและการ
ฝากเงินเพื่อผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยน่าจะดีกว่าช่วงที่ผ่านมา ทำให้นักลงทุนกลับเข้าสู่ตลาดเงินและตลาดทุนอีก
ครั้ง ประชาชนจึงไม่ควรแตกตื่นกับกระแสข่าวว่าราคาทองคำในประเทศจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ผู้จัดการรายวัน)
4. คาดว่าดัชนีหุ้นไทยในช่วงครึ่งหลังปี 48 จะค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลัก
ทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) วรรณ จำกัด กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทยในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะเป็นลักษณะ
ค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยปัจจัยที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ คือ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
และผลประกอบการไตรมาส 3 ที่ทยอยประกาศออกมา ทั้งนี้ หาก 3 ปัจจัยข้างต้นอยู่ในทิศทางดีขึ้น เชื่อว่าจะส่งผลดี
ต่อการลงทุนในตลาดหุ้นด้วยเช่นกัน (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาน้ำมันแพงทำให้ สรอ. ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นและกระทบความเชื่อมั่นของผู้บริโภค รายงาน
จากกรุงนิวยอร์ค ประเทศ สรอ. เมื่อวันที่ 12 ส.ค.48 ก.พาณิชย์ ของ สรอ. เปิดเผยว่า ราคาน้ำมันที่ปรับตัว
เพิ่มขึ้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลกระทบทำให้ สรอ. ขาดดุลการค้าในเดือน มิ.ย.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1
อยู่ที่ระดับ 58.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จาก 55.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือน พ.ค.48 และมากกว่าที่นัก
วิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 57.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งการขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นในครั้งนี้ใกล้เคียงกับสถิติสูง
สุดที่ระดับ 60.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือน ก.พ.48 โดยมีสาเหตุมาจากการส่งออกชะลอตัวลง ขณะที่การสั่ง
ซื้อน้ำมันทำให้ยอดรวมการนำเข้าเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดครั้งใหม่ โดยการนำเข้าน้ำมันทำลายสถิติด้วยมูลค่า 19.9
พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในเดือน มิ.ย.48 นอกจากนี้ ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้
บริโภคด้วย โดยดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเบื้องต้นของ ม.มิชิแกน ในเดือน ส.ค.48 ลดลงอยู่ที่ระดับ 92.7
จากระดับ 96.5 ในเดือน ก.ค.48 ต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 96.0 (รอยเตอร์)
2. รายได้จากการจัดเก็บภาษีของเยอรมนีในเดือนก.ค. เพิ่มขึ้นจากเดือนมิ.ย.ร้อยละ 2.5 รายงาน
จากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 48 นาย Hans Eichel รมว.คลังเยอรมนีเปิดเผยว่า ในเดือนก.ค. รายได้จาก
การจัดเก็บภาษีของเยอรมนีเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่ทางการได้คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนพ.ค.และชี้ว่าอุปสงค์ในประเทศฟื้นตัว
แล้ว ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนม.ค. — ก.ค. รัฐบาลเยอรมนีมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีประมาณ 600 ล้านยูโร สูงกว่าที่ได้
ประมาณการไว้ โดยรายได้จากการจัดเก็บภาษีทั้งหมดในเดือนก.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากเดือนมิ.ย. ขณะที่ภาษี
มูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าเดือนมิ.ย. ร้อยละ 3.1 โดยภาษีที่จัดเก็บได้จากการขายสินค้าเมื่อเดือนที่แล้วชี้ว่าแนวโน้ม
อุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวบ้างแล้ว ทั้งนี้รัฐบาลเยอรมนีเชื่อมั่นว่าในปีนี้เศรษฐกิจเยอรมนีจะเติบโตร้อยละ 1 ตามที่ได้
คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นแม้ว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจเมื่อเร็วๆนี้จะบ่งชี้ว่าในไตรมาสที่ 2 เศรษฐกิจเยอรมนีจะประสบ
ภาวะชะงักงันก็ตาม โดยนายนาย Hans Eichel ได้ย้ำว่านาย Wolfgang Clement รมว. เศรษฐกิจเยอรมนีเห็น
ว่าภาวะความอ่อนตัวทางเศรษฐกิจเป็นเพียงชั่วคราว ดังนั้นการบรรลุเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้จึงไม่
น่าวิตกแต่อย่างใด (รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของอังกฤษในเดือน ก.ค.48 ลดลงต่ำสุดที่ร้อยละ 40 รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 15 ส.ค.48 ผลสำรวจของ Lloyds TSB Financial Markets พบว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่มีมุมมองต่อ
เศรษฐกิจของอังกฤษภายหลังการก่อการร้าย ระเบิดระบบขนส่งของกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 7 ก.ค.ที่ผ่านมา ลดลงอยู่
ในระดับต่ำสุดตั้งแต่เริ่มสงครามอิรักในเดือน มี.ค.46 เป็นต้นมา โดยร้อยละ 40 ของธุรกิจมองว่าเศรษฐกิจของ
อังกฤษจะเลวร้ายลงใน 3 เดือนข้างหน้า เมื่อเทียบกับที่มีเพียงร้อยละ 26 ในเดือน มิ.ย.48 ทั้งนี้ จากการสำรวจ
ธุรกิจ 200 แห่งที่มีเงินทุนหมุนเวียนมากกว่า 1 ล้านปอนด์ (1.82 ล้านดอลลาร์ สรอ.) โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริม
ทรัพย์ โรงแรมและสถานบันเทิง มีความเชื่อมั่นต่ำที่สุด นอกจากนี้ จำนวนธุรกิจที่คาดหวังว่าธุรกิจของตนเองจะดีขึ้นใน
เดือน ก.ค.48 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 42 จากร้อยละ 55 ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
4. ผลสำรวจในเดือนล่าสุดพบว่าราคาบ้านในอังกฤษลดลง รายงานจากลอนดอน เมื่อ 15 ส.ค.48
Rightmove ซึ่งเป็น website ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของอังกฤษรายงานผลสำรวจราคาเสนอขายบ้านในอังกฤษใน
ระหว่างวันที่ 10 ก.ค.48 ถึง 6 ส.ค.48 ว่าราคาเสนอขายบ้านโดยเฉลี่ยลดลงมาอยู่ที่ 196,282 ปอนด์ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับผลสำรวจครั้งก่อนในช่วงเดือน มิ.ย. — ก.
ค.48 โดยในช่วงดังกล่าวราคาบ้านเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 เพิ่มขึ้นในอัตราต่ำสุดในรอบ 10 ปี นอกจากนี้ผลสำรวจ
ยังระบุว่าจำนวนอสังหาริมทรัพย์คงค้างยังขายไม่ได้ในบัญชีของตัวแทนขายเพิ่มขึ้นเป็น 72 หน่วยในเดือน ส.ค.48
จากจำนวน 71 หน่วยในเดือน ก.ค.48 และใช้เวลาในการขายมากขึ้นเป็น 78 วันในเดือน ส.ค.48 จาก 75 วัน
ในเดือน ก.ค.48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 15 ส.ค. 48 11 ส.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 40.851 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 40.6604/40.9515 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.80639 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 681.95/ 12.68 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 8,550/8,650 8,450/8,550 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 58.09 57.01 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 26.14*/22.99* 26.14*/22.99* 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม 40 สตางค์ เมื่อ 11 ส.ค. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--