คณะกรรมาธิการฯ ทำก็ยึดหลักร่างพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้กับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ตามมาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ และศึกษาเอกสารประกอบต่าง ๆ เช่น พระราชกฤษฎีกา กำหนดกิจการเป็นพาณิชย์กิจ ประกาศกฎกระทรวงต่าง ๆ ฉบับที่ ๕ ปี ๒๕๔๖ รวมทั้งแผนการสรุปของเจ้าหน้าที่ที่ใช้งาน และต้องจดทะเบียนพาณิชย์และระหว่างที่ยังไม่ใช้กฎหมายฉบับนี้ การจดทะเบียนของสำนักงานฯ ได้ดำเนินการให้ อบจ. และส่วนของสภาของพัทยา และเทศบาล
ทำงานไปด้วยความราบรื่น แต่การที่จะกระจายอำนาจให้เทศบาล และอบต. อันจะกลายเป็นการเพิ่มภาระหน้าที่ให้แก่เทศบาลและอบต.
นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายถึงความพร้อมของ อบจ. คลุมทั้งจังหวัด แต่เทศบาลนครพื้นที่จำกัดอยู่แล้ว แทนที่จะไป จดทะเบียนที่ อบจ.
นายไพจิต ศรีวรขาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคไทยรักไทย อภิปรายถึงการเพิ่มวรรค ๓ ขึ้นมานั้น เพื่อการบริการประชาชน ในพระราชบัญญัติเดิมมีเพียง ๓ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อมูลที่จดทะเบียนบางจังหวัดยังไม่มีตัวเลขคือ ไม่จดเลย แต่ดูข้อมูลแล้วเทศบาลเมือง เทศบาลนคร เทศบาลตำบลใดที่มีความพร้อมจะจดให้กับบุคคลธรรมดาก็ทำได้ ส่วนนิติบุคคลนั้น ยังอยู่ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ดังนั้นการทำกิจการทั้งหลายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนก็ยังอยู่ใน
ขั้นตอนความพร้อมความเป็นไปได้ สำหรับพี่น้องประชาชน เพราะข้อมูลที่เพิ่มเติมขึ้นมาน่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากแล้ว
นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ ในฐานะกรรมาธิการฯ อภิปรายเสริมว่า ผลต่อเนื่องจากการถ่ายโอนอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีขั้นตอน ซึ่งโดยรัฐธรมนูญมาตรา ๒๐๘๔ มี
พระราชบัญญัติและกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ปีพ.ศ. ๒๕๔๒ ก่อนที่จะออกแผนการถ่ายโอนอำนาจนั้นก็เชิญทุกองค์กรมาร่วมประชุม กรุงเทพ อบจ. เมืองพัทยา ๓ หน่วยงานที่มีความพร้อม อบต. บอกไม่มีความพร้อม แต่เทศบาลไม่ให้คำตอบว่าพร้อมหรือไม่ จึงไม่ได้กำหนดให้มีเทศบาลลงไปในวรรค ๓ ด้วย ต้องดูความสมัครใจของหน่วยงานด้วย และถ้าหน่วยงานใดที่มีความพร้อมเพียงพอ รัฐมนตรีก็จะประกาศกำหนดให้เป็นสำนักงานฯ ได้ โดยอาศัยวรรค ๓ ที่กำหนด
มาตรา ๔ มาตรา ๕ และมาตรา ๖ ไม่มีการแก้ไข
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๓ เห็นด้วย ๓๑๖ เสียง งดออกเสียง ๔ เสียง ไม่ลงคะแนน
๑ เสียง
นายไพจิต ศรีวรขาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม พรรคไทยรักไทย ขอเพิ่มข้อสังเกตของกรรมาธิการฯ ดังนี้
๑. เนื่องจากคณะกรรมาธิการได้ให้เพิ่มความในวรรค ๓ ของมาตรา ๙ ขึ้นใหม่ เพื่อ ให้อำนาจรัฐมนตรีในการประกาศกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ซึ่งมีความพร้อมเป็น สำนักงานทะเบียนฯ เพื่อรับจดทะเบียนในท้องที่ของตนได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนั้น จึงควรแก้ความในเหตุผลของการเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
เหตุผล โดยที่แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดให้ถ่ายโอนภารกิจในการรับจดทะเบียนให้แก่องค์กรส่วนท้องถิ่น สมควรแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ เพื่อให้ กรุงเทพ เมืองพัทยา อบจ. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนดเป็นสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ เพื่อรับจดทะเบียนพาณิชย์ในท้องถิ่นของตน สำหรับพาณิชยกิจที่รัฐมนตรีไม่ได้ประกาศให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นสำนักงานทะเบียนพาณิชย์จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับข้อสังเกตของกรรมาธิการฯ
ประธานได้เสนอที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วนในลำดับต่อไป คือ พนักงานสอบสวนขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเรียกตัวคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช สมาชิกผู้แทนราษฎร ไปทำการสอบสวนในคดีอาญา ในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๖๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ ที่ประชุมมีมติไม่เห็นด้วยในการนำคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ไปสอบสวนในคดีอาญาด้วยคะแนนเห็นด้วย ๕ เสียง ไม่เห็นด้วย ๒๖ เสียง งดออกเสียง ๒๒๗ เสียง ไม่ลงคะแนน ๒ เสียง
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๐๔ นาฬิกา
-----------------------------------
ทำงานไปด้วยความราบรื่น แต่การที่จะกระจายอำนาจให้เทศบาล และอบต. อันจะกลายเป็นการเพิ่มภาระหน้าที่ให้แก่เทศบาลและอบต.
นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายถึงความพร้อมของ อบจ. คลุมทั้งจังหวัด แต่เทศบาลนครพื้นที่จำกัดอยู่แล้ว แทนที่จะไป จดทะเบียนที่ อบจ.
นายไพจิต ศรีวรขาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคไทยรักไทย อภิปรายถึงการเพิ่มวรรค ๓ ขึ้นมานั้น เพื่อการบริการประชาชน ในพระราชบัญญัติเดิมมีเพียง ๓ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อมูลที่จดทะเบียนบางจังหวัดยังไม่มีตัวเลขคือ ไม่จดเลย แต่ดูข้อมูลแล้วเทศบาลเมือง เทศบาลนคร เทศบาลตำบลใดที่มีความพร้อมจะจดให้กับบุคคลธรรมดาก็ทำได้ ส่วนนิติบุคคลนั้น ยังอยู่ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ดังนั้นการทำกิจการทั้งหลายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนก็ยังอยู่ใน
ขั้นตอนความพร้อมความเป็นไปได้ สำหรับพี่น้องประชาชน เพราะข้อมูลที่เพิ่มเติมขึ้นมาน่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากแล้ว
นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ ในฐานะกรรมาธิการฯ อภิปรายเสริมว่า ผลต่อเนื่องจากการถ่ายโอนอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีขั้นตอน ซึ่งโดยรัฐธรมนูญมาตรา ๒๐๘๔ มี
พระราชบัญญัติและกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ปีพ.ศ. ๒๕๔๒ ก่อนที่จะออกแผนการถ่ายโอนอำนาจนั้นก็เชิญทุกองค์กรมาร่วมประชุม กรุงเทพ อบจ. เมืองพัทยา ๓ หน่วยงานที่มีความพร้อม อบต. บอกไม่มีความพร้อม แต่เทศบาลไม่ให้คำตอบว่าพร้อมหรือไม่ จึงไม่ได้กำหนดให้มีเทศบาลลงไปในวรรค ๓ ด้วย ต้องดูความสมัครใจของหน่วยงานด้วย และถ้าหน่วยงานใดที่มีความพร้อมเพียงพอ รัฐมนตรีก็จะประกาศกำหนดให้เป็นสำนักงานฯ ได้ โดยอาศัยวรรค ๓ ที่กำหนด
มาตรา ๔ มาตรา ๕ และมาตรา ๖ ไม่มีการแก้ไข
ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๓ เห็นด้วย ๓๑๖ เสียง งดออกเสียง ๔ เสียง ไม่ลงคะแนน
๑ เสียง
นายไพจิต ศรีวรขาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม พรรคไทยรักไทย ขอเพิ่มข้อสังเกตของกรรมาธิการฯ ดังนี้
๑. เนื่องจากคณะกรรมาธิการได้ให้เพิ่มความในวรรค ๓ ของมาตรา ๙ ขึ้นใหม่ เพื่อ ให้อำนาจรัฐมนตรีในการประกาศกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ซึ่งมีความพร้อมเป็น สำนักงานทะเบียนฯ เพื่อรับจดทะเบียนในท้องที่ของตนได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนั้น จึงควรแก้ความในเหตุผลของการเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
เหตุผล โดยที่แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดให้ถ่ายโอนภารกิจในการรับจดทะเบียนให้แก่องค์กรส่วนท้องถิ่น สมควรแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ เพื่อให้ กรุงเทพ เมืองพัทยา อบจ. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนดเป็นสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ เพื่อรับจดทะเบียนพาณิชย์ในท้องถิ่นของตน สำหรับพาณิชยกิจที่รัฐมนตรีไม่ได้ประกาศให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นสำนักงานทะเบียนพาณิชย์จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้
ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับข้อสังเกตของกรรมาธิการฯ
ประธานได้เสนอที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องด่วนในลำดับต่อไป คือ พนักงานสอบสวนขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเรียกตัวคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช สมาชิกผู้แทนราษฎร ไปทำการสอบสวนในคดีอาญา ในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๖๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ ที่ประชุมมีมติไม่เห็นด้วยในการนำคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ไปสอบสวนในคดีอาญาด้วยคะแนนเห็นด้วย ๕ เสียง ไม่เห็นด้วย ๒๖ เสียง งดออกเสียง ๒๒๗ เสียง ไม่ลงคะแนน ๒ เสียง
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๐๔ นาฬิกา
-----------------------------------