วันนี้ (18 พ.ย.48) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในรายการข่าวยามเช้า ถึงกรณีการคัดค้านการแปรนำการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเข้าตลาดหุ้นว่า หลังจากที่ศาลปกครองมี คำสั่งระงับให้มีการกระจายหุ้น คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้านจึงได้ตั้งประเด็นเชิงกฎหมายขึ้นมา ทั้งนี้มีข้อสังเกต และข้อเรียกร้องหลายข้อที่อยากให้เกิดความชัดเจน
ประเด็นแรก คือกรณีที่รัฐบาลบอกว่ากรณีเขื่อนไม่มีความน่าเป็นห่วง เพราะว่าได้มีการโอนให้กรมธนารักษ์ แต่สิ่งที่พรคฝ่ายค้านอยากให้เปิดเผยคือสัญญาระหว่างกรมธนารักษณ์ กับการไฟฟ้า ว่ามีเงื่อไข ข้อตกลงอย่างไรบ้าง เพราะทรัพยากรธรรมชาติ ต้องชัดเจนว่าสิทธิ์ในการจัดการดูแลเป็นของฝ่ายใด ซึ่งหากมีการยกให้การไฟฟ้า หรือกรรมการที่มีความรับผิดชอบดูแลเบื่องต้น ที่จะดูแลในเรื่องการผลิตไฟฟ้า ตรงนี้ทางพรรคฝ่ายค้านมีความเห็นว่ายังเป็นความไม่ถูกต้อง เพราะจริงๆแล้วการยกโรงไฟฟ้าซึ่งผลิตไฟฟ้าจากน้ำซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติซึ่งไม่มีต้นทุน ไปเป็นของเอกชนด้วย ตรงนี้จึงอยากเรียกร้องให้มีการเปิดสัญญาต่าง ๆ ว่าสิทธิอำนาจประโยชน์ต่าง ๆ เป็นอย่างไร
ประเด็นที่ 2 พระราชกฤษฎีกาซึ่งได้โอนอำนาจหลายอย่างไปให้ทางบริษัท ซึ่งจะมีเอกชนเข้าถือหุ้น รวมถึงอำนาจรัฐที่จะไปรอนสิทธิ์ประชาชน ซึ่งอันนี้ก็เป็นปัญหาอย่างมาก การรอนสิทธิ์ รวมไปถึงเรื่องของการเวนคืน ตามหลักของรัฐธรรมนูญ เพื่อสาธารณประโยชน์ ดังนั้นเมื่อตอนที่กฟผ.เป็นของรัฐ 100% ไม่เป็นปัญหาเพราะว่าการจะไปรอนสิทธิ์เป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม แต่ขณะนี้การริดรอนสิทธิ์ต่าง ๆ แม้จะเป็นกิจการไฟฟ้า แต่ก็เป็นประโยชน์ของเอกชน ตามสัดส่วนของการถือหุ้น “ยิ่งไปกว่านั้นพระราชกฤษฎีกายังมีข้อยกเว้นด้วยในกรณีที่มีการสร้างโรงผลิตขนาดเล็กแล้ว บอกว่าใช้เอง ก็สามารถทำได้ ซึ่งนั่นก็เท่ากับเป็นการไปริดรอนสิทธิ์ประชาชนเพื่อเอกชนรายเดียว” นายอภิสิทธิ์กล่าว
ประเด็นที่ 3 จะมีการแต่งตั้งบุคลากรในภาคเอกชนมาเป็นเจ้าหน้าที่ ในการดำเนินการตามกฎหมาย อันนี้จะทำให้เป็นปัญหามาก เพราะจะเป็นการใช้อำนาจทางปกครอง โดยอนุญาตให้คนของภาคเอกชนมาใช้ได้
ประเด็นที่ 4 คือการผูกขาดของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เป็นการผูกขาดทั้งในแง่การขายไฟฟ้าให้ประชาชนและการซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตทุกราย อำนาจการผูกขาดตรงนี้อาจขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 87 เพราะรัฐมีหน้าที่สร้างระบบเศรษฐกิจเสรีที่มีการแข่งขันที่เป็นธรรม และต้องป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาด ตัดตอนไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวอีกว่า พรรคฝ่ายค้านอยากเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยข้อเท็จจริงทั้งหมดโดยเฉพาะสัญญา
ส่วนประเด็นในเชิงข้อกฎหมายเหล่านี้ คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้านจะทำเป็นรายงานเพื่อสนับสนุนผู้ร้องในคดีที่ค้างอยู่ที่ศาลปกครอง ขณะเดียวกันยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า ไม่อยากให้รัฐบาลบิดเบือนข้อเท็จจริงใน 2 ด้าน คือ 1. พยายามข่มขู่ว่าค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นด้วยเหตุที่มีการระงับการกระจายหุ้น ซึ่งความจริงแล้วการสร้างโรงไฟฟ้า 4 โรงเป็นเรื่องที่สามารถที่จะให้เอกชนเข้ามาดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเอาเรื่องของเขื่อน เรื่องของสายส่ง เรื่องของทรัพย์สมบัติของชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะถ้าทำเช่นนั้นก็จะไม่มีต้นทุนในเรื่องของการกู้ยืมเงิน แต่ว่าทั้งหมดรัฐบาลมาปรับแผนให้ กฟผ. ต้องทำเอง เพื่อหวังประโยชน์ว่าจะเป็นการเพิ่มมูลค่าหุ้นดึงดูดนักลงทุน เพราะฉะนั้นไม่ควรพูดทำนองว่ากระบวนการที่ตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญที่ประชาชนใช้สิทธิ์ในขณะนี้มาเป็นเหตุให้เกิดการขึ้นค่าไฟฟ้า อันนั้นเป็นปัญหาของการบริหารของรัฐบาลเอง ซึ่งเลือกที่จะเดินในเส้นทางที่มีปัญหาทั้งในข้อกฎหมาย และกำลังจะยกอำนาจผูกขาดจากสื่อเอกชน
ส่วนที่ 2. คือการพัฒนาตลาดทุนถ้าหวังเพียงแค่ว่าเอาสิทธิ์ผูกขาดไปขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อสร้างมูลค่าหุ้นอันนั้น ไม่ใช่วิธีการพัฒนาตลาดทุนและถ้าเอาธุรกิจผูกขาดและรัฐยังมีบทบาทที่คลุมเครือจะเป็นการสร้างตลาดทุนในแนวทางที่ไม่ถูกต้อง เพราะว่าจะเป็นการทำให้ตลาดทุนตกอยู่ภายใต้ภาวะของการใช้ข้อมูลภายในตลอด หมายความว่าคนที่มีอำนาจหรือคนมีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายเองสามารถที่จะส่งสัญญาณทางนโยบาย และส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นขึ้นลงได้ และบุคคลเหล่านี้ก็คงมีพวกพ้องที่สามารถไปซื้อขายหุ้นทำกำไรได้ตลอดเวลา
“หุ้นที่มีลักษณะมีความเสี่ยงในเชิงนโยบาย เสี่ยงในทางการเมืองถ้ามีอย่างนี้มาก ๆ ในตลาดทุน ตลาดทุนเองจะไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็คือประเด็นที่เป็นทั้งข้อสังเกตและข้อเรียกร้องว่าให้รัฐบาลให้ความจริงกับประชาชนและก็อย่าได้บิดเบือนเรื่องนี้ และเราก็คิดว่าเป็นโอกาสดีที่สุดในขณะนี้ที่รัฐบาลจะทบทวนแผนการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตทั้งหมด”ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 พ.ย.2548--จบ--
ประเด็นแรก คือกรณีที่รัฐบาลบอกว่ากรณีเขื่อนไม่มีความน่าเป็นห่วง เพราะว่าได้มีการโอนให้กรมธนารักษ์ แต่สิ่งที่พรคฝ่ายค้านอยากให้เปิดเผยคือสัญญาระหว่างกรมธนารักษณ์ กับการไฟฟ้า ว่ามีเงื่อไข ข้อตกลงอย่างไรบ้าง เพราะทรัพยากรธรรมชาติ ต้องชัดเจนว่าสิทธิ์ในการจัดการดูแลเป็นของฝ่ายใด ซึ่งหากมีการยกให้การไฟฟ้า หรือกรรมการที่มีความรับผิดชอบดูแลเบื่องต้น ที่จะดูแลในเรื่องการผลิตไฟฟ้า ตรงนี้ทางพรรคฝ่ายค้านมีความเห็นว่ายังเป็นความไม่ถูกต้อง เพราะจริงๆแล้วการยกโรงไฟฟ้าซึ่งผลิตไฟฟ้าจากน้ำซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติซึ่งไม่มีต้นทุน ไปเป็นของเอกชนด้วย ตรงนี้จึงอยากเรียกร้องให้มีการเปิดสัญญาต่าง ๆ ว่าสิทธิอำนาจประโยชน์ต่าง ๆ เป็นอย่างไร
ประเด็นที่ 2 พระราชกฤษฎีกาซึ่งได้โอนอำนาจหลายอย่างไปให้ทางบริษัท ซึ่งจะมีเอกชนเข้าถือหุ้น รวมถึงอำนาจรัฐที่จะไปรอนสิทธิ์ประชาชน ซึ่งอันนี้ก็เป็นปัญหาอย่างมาก การรอนสิทธิ์ รวมไปถึงเรื่องของการเวนคืน ตามหลักของรัฐธรรมนูญ เพื่อสาธารณประโยชน์ ดังนั้นเมื่อตอนที่กฟผ.เป็นของรัฐ 100% ไม่เป็นปัญหาเพราะว่าการจะไปรอนสิทธิ์เป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม แต่ขณะนี้การริดรอนสิทธิ์ต่าง ๆ แม้จะเป็นกิจการไฟฟ้า แต่ก็เป็นประโยชน์ของเอกชน ตามสัดส่วนของการถือหุ้น “ยิ่งไปกว่านั้นพระราชกฤษฎีกายังมีข้อยกเว้นด้วยในกรณีที่มีการสร้างโรงผลิตขนาดเล็กแล้ว บอกว่าใช้เอง ก็สามารถทำได้ ซึ่งนั่นก็เท่ากับเป็นการไปริดรอนสิทธิ์ประชาชนเพื่อเอกชนรายเดียว” นายอภิสิทธิ์กล่าว
ประเด็นที่ 3 จะมีการแต่งตั้งบุคลากรในภาคเอกชนมาเป็นเจ้าหน้าที่ ในการดำเนินการตามกฎหมาย อันนี้จะทำให้เป็นปัญหามาก เพราะจะเป็นการใช้อำนาจทางปกครอง โดยอนุญาตให้คนของภาคเอกชนมาใช้ได้
ประเด็นที่ 4 คือการผูกขาดของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เป็นการผูกขาดทั้งในแง่การขายไฟฟ้าให้ประชาชนและการซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตทุกราย อำนาจการผูกขาดตรงนี้อาจขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 87 เพราะรัฐมีหน้าที่สร้างระบบเศรษฐกิจเสรีที่มีการแข่งขันที่เป็นธรรม และต้องป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาด ตัดตอนไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม
ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวอีกว่า พรรคฝ่ายค้านอยากเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยข้อเท็จจริงทั้งหมดโดยเฉพาะสัญญา
ส่วนประเด็นในเชิงข้อกฎหมายเหล่านี้ คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้านจะทำเป็นรายงานเพื่อสนับสนุนผู้ร้องในคดีที่ค้างอยู่ที่ศาลปกครอง ขณะเดียวกันยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า ไม่อยากให้รัฐบาลบิดเบือนข้อเท็จจริงใน 2 ด้าน คือ 1. พยายามข่มขู่ว่าค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นด้วยเหตุที่มีการระงับการกระจายหุ้น ซึ่งความจริงแล้วการสร้างโรงไฟฟ้า 4 โรงเป็นเรื่องที่สามารถที่จะให้เอกชนเข้ามาดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเอาเรื่องของเขื่อน เรื่องของสายส่ง เรื่องของทรัพย์สมบัติของชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะถ้าทำเช่นนั้นก็จะไม่มีต้นทุนในเรื่องของการกู้ยืมเงิน แต่ว่าทั้งหมดรัฐบาลมาปรับแผนให้ กฟผ. ต้องทำเอง เพื่อหวังประโยชน์ว่าจะเป็นการเพิ่มมูลค่าหุ้นดึงดูดนักลงทุน เพราะฉะนั้นไม่ควรพูดทำนองว่ากระบวนการที่ตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญที่ประชาชนใช้สิทธิ์ในขณะนี้มาเป็นเหตุให้เกิดการขึ้นค่าไฟฟ้า อันนั้นเป็นปัญหาของการบริหารของรัฐบาลเอง ซึ่งเลือกที่จะเดินในเส้นทางที่มีปัญหาทั้งในข้อกฎหมาย และกำลังจะยกอำนาจผูกขาดจากสื่อเอกชน
ส่วนที่ 2. คือการพัฒนาตลาดทุนถ้าหวังเพียงแค่ว่าเอาสิทธิ์ผูกขาดไปขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อสร้างมูลค่าหุ้นอันนั้น ไม่ใช่วิธีการพัฒนาตลาดทุนและถ้าเอาธุรกิจผูกขาดและรัฐยังมีบทบาทที่คลุมเครือจะเป็นการสร้างตลาดทุนในแนวทางที่ไม่ถูกต้อง เพราะว่าจะเป็นการทำให้ตลาดทุนตกอยู่ภายใต้ภาวะของการใช้ข้อมูลภายในตลอด หมายความว่าคนที่มีอำนาจหรือคนมีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายเองสามารถที่จะส่งสัญญาณทางนโยบาย และส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นขึ้นลงได้ และบุคคลเหล่านี้ก็คงมีพวกพ้องที่สามารถไปซื้อขายหุ้นทำกำไรได้ตลอดเวลา
“หุ้นที่มีลักษณะมีความเสี่ยงในเชิงนโยบาย เสี่ยงในทางการเมืองถ้ามีอย่างนี้มาก ๆ ในตลาดทุน ตลาดทุนเองจะไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็คือประเด็นที่เป็นทั้งข้อสังเกตและข้อเรียกร้องว่าให้รัฐบาลให้ความจริงกับประชาชนและก็อย่าได้บิดเบือนเรื่องนี้ และเราก็คิดว่าเป็นโอกาสดีที่สุดในขณะนี้ที่รัฐบาลจะทบทวนแผนการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตทั้งหมด”ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 พ.ย.2548--จบ--