รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคกรุงเทพฯ ประจำเดือน ก.ย.48

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 3, 2005 12:12 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของกรุงเทพฯเดือนกันยายน 2548 และระยะ 9 เดือนของปี 2548
กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เดือนกันยายน 2548 และระยะ 9 เดือนแรก โดยสรุป
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการของเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลจำนวน 320 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งการสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เดือนกันยายน
2548
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลเท่ากับ 100 และกันยายน 2548 เท่ากับ 111.5 สำหรับเดือนสิงหาคม 2548 เท่ากับ 110.8
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เดือนกันยายน 2548 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนสิงหาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 0.6
2.2 เดือนกันยายน 2547 สูงขึ้นร้อยละ 6.0
2.3 เดือนมกราคม - เดือนกันยายน 2548 เทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปี 2547
สูงขึ้นร้อยละ 3.8
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เดือนกันยายน 2548
เทียบกับเดือนสิงหาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 0.6 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 1.0 และดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.6 โดยมีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าที่สำคัญ ดังนี้
3.1 สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.0 ดังนี้
สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่
- ผักสด ได้แก่ กะหล่ำปลี ผักกาดขาว ขึ้นฉ่าย ต้นหอม ถั่วฝักยาว มะนาว ผักบุ้ง และผักชี จากภาวะฝนตกต่อเนื่องและน้ำท่วมทำให้ผลผลิตบางแหล่งได้รับความเสียหาย
- ผลไม้ ได้แก่ กล้วยน้ำว้า ส้มเขียวหวาน มะละกอสุก เงาะ มะม่วง ฝรั่งและแอ๊ปเปิ้ล เป็นช่วงปลายฤดูกาลของผลไม้บางชนิด ประกอบกับใกล้เทศกาลกินเจ
- ไก่สด ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย และภาวะการส่งออกเพิ่มขึ้น
- ปลาและสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลานิล ปลาจะละเม็ด กุ้งขาว กุ้งนาง ปลาหมึกกล้วย
ปลากะพง ปลาทู ปูม้า เนื่องจากต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น
สินค้าสำคัญที่มีราคาลดลง ได้แก่
- เนื้อสุกร ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ความต้องการบริโภคชะลอตัว
- ไข่ไก่ ราคาหน้าฟาร์มลดลงเพื่อให้ตลาดคล่องตัวขึ้น
3.2 สินค้าหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.6
สินค้าสำคัญที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่
- น้ำมันเชื้อเพลิง จากการปรับราคาน้ำมันเบนซิน สูงขึ้น 3 ครั้ง และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 2 ครั้ง
- ยานัตถุ์ และไวน์ ผู้จำหน่ายปรับราคาสูงขึ้น
- สุรา ปรับภาษีสรรพสามิตสุราสูงขึ้น
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลระยะ 9 เดือนแรก
ของปี 2548
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลระยะ 9 เดือนแรก
ของปี 2548 เท่ากับ 108.0 เทียบกับดัชนีราคาเฉลี่ยช่วงเดียวกับของปี 2547 ซึ่งเท่ากับ 104.0 สูงขึ้นร้อยละ 3.8
4.1 สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 4.0 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ไก่สด ปลาและสัตว์น้ำ ผักและผลไม้ ไข่และผลิตภัณฑ์นม และอาหารสำเร็จรูป
4.2 สินค้าหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 3.7
จากการสูงขึ้นของราคาวัสดุก่อสร้าง ก๊าซหุงต้ม กระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล
สินค้าสำคัญและบริการที่ราคาลดลง ได้แก่ น้ำมันพืช ค่าประกันภัยรถยนต์ ค่าเบี้ยประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เครื่องรับและค่าบริการโทรศัพท์มือถือ
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร.0-2507-5850 โทรสาร.0- 2507-5825

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ