กระทรวงการคลังขอเรียนว่า Fitch Ratings ได้แถลงข่าวผลการวิเคราะห์เครดิตของประเทศไทย ในวันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2548 เวลาประมาณ 11.30 น. ตามเวลาประเทศไทย โดย Fitch ได้ปรับเพิ่มระดับเครดิตระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ (Long-term Foreign Currency Rating) จาก BBB เป็น BBB+ และปรับเพิ่มระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาท (Long - term Local Currency Rating) จาก A- เป็น A และยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะสั้น (Short — term Rating) ที่ F3 นอกจากนี้ยังปรับระดับเครดิตของประเทศ (Country Ceiling) จาก BBB+ เป็น A- โดยมีแนวโน้มระดับเครดิตที่มีเสถียรภาพ (Stable) สำหรับเหตุผลที่ Fitch ได้ปรับเพิ่มระดับเครดิตดังกล่าว เนื่องมาจากสถานะด้านต่างประเทศและภาคการคลังที่มีความแข็งแกร่ง รวมทั้งเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพ ดังนี้
1. สถานะด้านต่างประเทศของไทยมีความแข็งแกร่งที่สุด เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่ม BBB rating ภาคการส่งออกของไทยที่มีความหลากหลาย ทำให้ประเทศไทยยังคงสามารถแข่งขันกับกลุ่มประเทศที่มีต้นทุนแรงงานต่ำได้ดี นอกจากนี้การเจรจาเพื่อเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ และความก้าวหน้าในการวางยุทธศาตร์ให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ ดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งเกินดุลเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5.7 ของ GDP นับตั้งแต่ปี 2543 ช่วยให้ประเทศไทยสามารถลดหนี้ต่างประเทศลงได้ประมาณครึ่งหนึ่งของยอดหนี้ต่างประเทศคงค้าง ณ สิ้นปี 2540 นอกจากนี้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศยังเพิ่มขึ้น 49 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2548 สัดส่วนสภาพคล่องด้านต่างประเทศ (international liquidity ratio) ปรับเพิ่มสูงขึ้น โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 287 ในปี 2548 ซึ่งเป็นระดับที่แข็งแกร่งที่สุดในกลุ่มประเทศ BBB rating อัตราหนี้ต่างประเทศต่อรายได้ต่างประเทศลดลงอย่างมีนัยสำคัญเหลือร้อยละ 32 ในปี 2548 ประมาณหนึ่งในห้าของอัตราในปี 2541 โดยประเทศไทยมีสถานะเป็นประเทศเจ้าหนี้สุทธิ (net external creditor) ตั้งแต่ปี 2546 โดยคาดว่าจะมีสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิอยู่ที่ระดับร้อยละ 14 ของ GDP ภายในปี 2548
2. สถานะด้านการคลัง โดยรัฐบาลเริ่มเกินดุลการคลังในปี 2547 นับเป็นการเกินดุลครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2539 จากการปรับตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บ นอกจากนั้นรายได้จากภาษีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสิ้นสุดระยะเวลายกเว้นภาษีให้กับธุรกิจที่ประสบวิกฤติเศรษฐกิจ และการจัดเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่ต่างจังหวัด หนี้โดยตรงของรัฐบาล (รวมหนี้สินของ FIDF) ปรับตัวลดลงเหลือร้อยละ 34 ณ สิ้นปี 2547 เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามัธยฐานของกลุ่มประเทศ BBB rating ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 37
3. ด้านการเมือง การที่พรรคไทยรักไทยได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก (Strong Public Mandate) เนื่องจากรัฐบาลซึ่งมีพรรคไทยรักไทยเป็นแกนนำ ประสบความสำเร็จในการทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนี่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสำหรับปี 2548 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.5 เนื่องจากมีความท้าทายจากปัจจัยภายนอกค่อนข้างมาก การถ่ายโอนอำนาจทางการเมืองที่มีเสถียรภาพ และการมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งที่มีความมั่นคงทางการเมืองสูง ทำให้สถานะด้านการเมืองของไทยมีความโดดเด่นในภูมิภาค อย่างไรก็ดี มีแต่ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ที่ยังเป็นความเสี่ยงทางการเมืองที่ยังเป็นปัญหา
4. Fitch เห็นว่าในระยะต่อไป รัฐบาลควรระมัดระวังการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงทางด้านการคลังในอนาคต แม้ว่าในปัจจุบันสถานะทางด้านการคลังจะยังมีความแข็งแกร่งก็ตาม จากการศึกษาของ Fitch เห็นว่า ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทย อาจจะปรับตัวสูงขึ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของ GDP ของไทยได้ หากรัฐบาลไม่สามารถจัดการการลงทุนที่มีมูลค่าสูงถึงร้อยละ 36 ของ GDP (ในปี 2547) ในช่วง 5 ปีข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจที่อาจจะมีปัญหาได้
5. Fitch ได้แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับการแทรกแซงการดำเนินงานของสถาบันการเงินของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะโครงการสินเชื่อตามนโยบายของรัฐที่ดำเนินการโดยสถาบันการเงินดังกล่าว ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 80 ของยอดสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ปี 2545 อาจจะสร้างภาระผูกพันแก่รัฐบาลในอนาคตได้ อีกทั้งความกังวลเกี่ยวกับภาระผูกพันการปรับโครงสร้างสถาบันการเงินที่ยังเหลืออยู่ อย่างไรก็ดี การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาแก้ไขปัญหาในสถาบันการเงินของรัฐขนาดใหญ่รายหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว จะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ในอนาคต
กระทรวงการคลังขอเรียนว่า ระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ (Long - term foreign currency rating) ที่ BBB+ ซึ่ง Fitch ได้ปรับให้กับประเทศไทยในครั้งนี้ เป็นระดับเครดิตที่เทียบเท่ากับที่ประเทศไทยได้รับจากสถาบันจัดอันดับเครดิตรายใหญ่ 2 ราย คือ Moody’s และ S&P’s นอกจากนี้การที่ Fitch ได้ปรับระดับเครดิตของประเทศ (Country Ceiling) จาก BBB+ เป็น A- ซึ่งเป็นระดับที่เทียบเท่ากับมาเลเซีย จะส่งผลดีต่อการความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทย โดยนับเป็นครั้งแรกหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจที่ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเครดิตอยู่ในกลุ่มเครดิต A จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายใหญ่ 1 ใน 3 ของโลก
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 34/2548 12 พฤษภาคม 48--
1. สถานะด้านต่างประเทศของไทยมีความแข็งแกร่งที่สุด เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่ม BBB rating ภาคการส่งออกของไทยที่มีความหลากหลาย ทำให้ประเทศไทยยังคงสามารถแข่งขันกับกลุ่มประเทศที่มีต้นทุนแรงงานต่ำได้ดี นอกจากนี้การเจรจาเพื่อเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ และความก้าวหน้าในการวางยุทธศาตร์ให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์ ดุลบัญชีเดินสะพัดซึ่งเกินดุลเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5.7 ของ GDP นับตั้งแต่ปี 2543 ช่วยให้ประเทศไทยสามารถลดหนี้ต่างประเทศลงได้ประมาณครึ่งหนึ่งของยอดหนี้ต่างประเทศคงค้าง ณ สิ้นปี 2540 นอกจากนี้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศยังเพิ่มขึ้น 49 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2548 สัดส่วนสภาพคล่องด้านต่างประเทศ (international liquidity ratio) ปรับเพิ่มสูงขึ้น โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 287 ในปี 2548 ซึ่งเป็นระดับที่แข็งแกร่งที่สุดในกลุ่มประเทศ BBB rating อัตราหนี้ต่างประเทศต่อรายได้ต่างประเทศลดลงอย่างมีนัยสำคัญเหลือร้อยละ 32 ในปี 2548 ประมาณหนึ่งในห้าของอัตราในปี 2541 โดยประเทศไทยมีสถานะเป็นประเทศเจ้าหนี้สุทธิ (net external creditor) ตั้งแต่ปี 2546 โดยคาดว่าจะมีสินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิอยู่ที่ระดับร้อยละ 14 ของ GDP ภายในปี 2548
2. สถานะด้านการคลัง โดยรัฐบาลเริ่มเกินดุลการคลังในปี 2547 นับเป็นการเกินดุลครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2539 จากการปรับตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บ นอกจากนั้นรายได้จากภาษีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากสิ้นสุดระยะเวลายกเว้นภาษีให้กับธุรกิจที่ประสบวิกฤติเศรษฐกิจ และการจัดเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่ต่างจังหวัด หนี้โดยตรงของรัฐบาล (รวมหนี้สินของ FIDF) ปรับตัวลดลงเหลือร้อยละ 34 ณ สิ้นปี 2547 เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามัธยฐานของกลุ่มประเทศ BBB rating ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 37
3. ด้านการเมือง การที่พรรคไทยรักไทยได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก (Strong Public Mandate) เนื่องจากรัฐบาลซึ่งมีพรรคไทยรักไทยเป็นแกนนำ ประสบความสำเร็จในการทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนี่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสำหรับปี 2548 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.5 เนื่องจากมีความท้าทายจากปัจจัยภายนอกค่อนข้างมาก การถ่ายโอนอำนาจทางการเมืองที่มีเสถียรภาพ และการมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งที่มีความมั่นคงทางการเมืองสูง ทำให้สถานะด้านการเมืองของไทยมีความโดดเด่นในภูมิภาค อย่างไรก็ดี มีแต่ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ที่ยังเป็นความเสี่ยงทางการเมืองที่ยังเป็นปัญหา
4. Fitch เห็นว่าในระยะต่อไป รัฐบาลควรระมัดระวังการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงทางด้านการคลังในอนาคต แม้ว่าในปัจจุบันสถานะทางด้านการคลังจะยังมีความแข็งแกร่งก็ตาม จากการศึกษาของ Fitch เห็นว่า ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP ของไทย อาจจะปรับตัวสูงขึ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของ GDP ของไทยได้ หากรัฐบาลไม่สามารถจัดการการลงทุนที่มีมูลค่าสูงถึงร้อยละ 36 ของ GDP (ในปี 2547) ในช่วง 5 ปีข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจที่อาจจะมีปัญหาได้
5. Fitch ได้แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับการแทรกแซงการดำเนินงานของสถาบันการเงินของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะโครงการสินเชื่อตามนโยบายของรัฐที่ดำเนินการโดยสถาบันการเงินดังกล่าว ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 80 ของยอดสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ปี 2545 อาจจะสร้างภาระผูกพันแก่รัฐบาลในอนาคตได้ อีกทั้งความกังวลเกี่ยวกับภาระผูกพันการปรับโครงสร้างสถาบันการเงินที่ยังเหลืออยู่ อย่างไรก็ดี การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาแก้ไขปัญหาในสถาบันการเงินของรัฐขนาดใหญ่รายหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว จะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ในอนาคต
กระทรวงการคลังขอเรียนว่า ระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ (Long - term foreign currency rating) ที่ BBB+ ซึ่ง Fitch ได้ปรับให้กับประเทศไทยในครั้งนี้ เป็นระดับเครดิตที่เทียบเท่ากับที่ประเทศไทยได้รับจากสถาบันจัดอันดับเครดิตรายใหญ่ 2 ราย คือ Moody’s และ S&P’s นอกจากนี้การที่ Fitch ได้ปรับระดับเครดิตของประเทศ (Country Ceiling) จาก BBB+ เป็น A- ซึ่งเป็นระดับที่เทียบเท่ากับมาเลเซีย จะส่งผลดีต่อการความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทย โดยนับเป็นครั้งแรกหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจที่ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเครดิตอยู่ในกลุ่มเครดิต A จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายใหญ่ 1 ใน 3 ของโลก
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 34/2548 12 พฤษภาคม 48--