นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) แถลงถึงกฎหมายที่จะเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพรุ่งนี้ว่าวิปฝ่ายค้านจับตากฎหมาย 3 ฉบับ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มดังนี้คือ
กลุ่มที่ 1. ร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วง ไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยพ.ศ....และร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคมในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 37 บางช่วง ไปเป็นของกรมทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ... ซึ่งวิปฝ่ายค้านมองว่าการจัดการบริหารถนนประเภทจัดเก็บรายได้ จะให้หน่วยงานหนึ่งรับผิดชอบสามารถทำได้ แต่กฎหมาย 2 ฉบับดังกล่าวมีความไม่โปร่งใส 3 เรื่องคือ
1.มีการยกทางหลวงพิเศษของกรมทางหลวง ให้เป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) แต่หนี้สินและคดีความทั้งหมดยังคงเป็นของกรมทางหลวงต่อไป ซึ่งวิปฝ่ายค้านมองว่าไม่เหมาะสมและไม่มีเป็นธรรม
2. กทพ.ได้ถนนและการจะเก็บโดย 35 % ของรายได้ต้องนำเข้ารัฐ สิ่งที่เกิดขึ้นคือหากกรมทางหลวง ยกอำนาจให้กทพ.เป็นผู้เก็บค่าผ่านทางแล้ว กรมทางหลวงจะมีทางเลือกอื่นให้ประชาชน ได้ผ่านมทางโดยที่ไม่ต้องเสียค่าผ่านทางหรือไม่ นอกจากยังมีเรื่องการขึ้นค่าผ่านทางในอนาคตด้วย
3. กทพ.กำลังจะแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ ที่ประชุมตั้งข้อสังเกตว่ารัฐบาลกำลังออกฎหมายเพื่อแต่งตัวกทพ. ก่อนการแปรรูปหรือไม่ และเป็นที่น่าสังเกตว่านโนยบายการ แปรรูปของรัฐบาล เป็นการลักไก่ เอาสมบัติของประชาชนไปเป็นผลประโยชน์ของกลุ่มทุนบางกลุ่ม ดังนั้นท่าทีของฝ่ายค้านจะขอให้รัฐบาลถอนร่างนี้ออกไปเพื่อพิจารณาและนำกลับเข้าสู่วาระการประชุมใหม่ แต่หากรัฐบาลยืนยันกฎหมายฉบับนี้ ฝ่ายค้านก็จะเดินหน้าคัดค้านอย่างเต็มที่
กลุ่มที่ 2. คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน(ฉบับที่..)พ.ศ....(การยกเลิกแบบจ้างการครอบครองที่ดิน) ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ซึ่งเจ้าหน้าที่ ที่มาชี้แจงได้ยอมรับว่ากรมที่ดินไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มการยกร่างกกมายฉบับนี้ แต่เป็นคำสั่งจากคณะรัฐมนตรี โดยผ่านคณะกรรมการกลั่นกรองชุดที่ 4 ที่มีนายสุวิทย์ คุณกิติ เป็นประธาน โดยเนื้อหาจะเป็นการตอบสนองนโยบายแปลงสินทรัพย์ เป็นทุนของรัฐบาล ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการเร่งรัดนโยบายในการออกกฎหทมายโดยไม่มีความรอบคอบ ดังนั้นวิปฝ่ายค้านจะไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้ และจะเดินหน้าคัดค้านต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 ต.ค. 2548--จบ--
กลุ่มที่ 1. ร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษและทางยกระดับอุตราภิมุข บางช่วง ไปเป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยพ.ศ....และร่างพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคมในส่วนที่เกี่ยวกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 37 บางช่วง ไปเป็นของกรมทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ... ซึ่งวิปฝ่ายค้านมองว่าการจัดการบริหารถนนประเภทจัดเก็บรายได้ จะให้หน่วยงานหนึ่งรับผิดชอบสามารถทำได้ แต่กฎหมาย 2 ฉบับดังกล่าวมีความไม่โปร่งใส 3 เรื่องคือ
1.มีการยกทางหลวงพิเศษของกรมทางหลวง ให้เป็นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) แต่หนี้สินและคดีความทั้งหมดยังคงเป็นของกรมทางหลวงต่อไป ซึ่งวิปฝ่ายค้านมองว่าไม่เหมาะสมและไม่มีเป็นธรรม
2. กทพ.ได้ถนนและการจะเก็บโดย 35 % ของรายได้ต้องนำเข้ารัฐ สิ่งที่เกิดขึ้นคือหากกรมทางหลวง ยกอำนาจให้กทพ.เป็นผู้เก็บค่าผ่านทางแล้ว กรมทางหลวงจะมีทางเลือกอื่นให้ประชาชน ได้ผ่านมทางโดยที่ไม่ต้องเสียค่าผ่านทางหรือไม่ นอกจากยังมีเรื่องการขึ้นค่าผ่านทางในอนาคตด้วย
3. กทพ.กำลังจะแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ ที่ประชุมตั้งข้อสังเกตว่ารัฐบาลกำลังออกฎหมายเพื่อแต่งตัวกทพ. ก่อนการแปรรูปหรือไม่ และเป็นที่น่าสังเกตว่านโนยบายการ แปรรูปของรัฐบาล เป็นการลักไก่ เอาสมบัติของประชาชนไปเป็นผลประโยชน์ของกลุ่มทุนบางกลุ่ม ดังนั้นท่าทีของฝ่ายค้านจะขอให้รัฐบาลถอนร่างนี้ออกไปเพื่อพิจารณาและนำกลับเข้าสู่วาระการประชุมใหม่ แต่หากรัฐบาลยืนยันกฎหมายฉบับนี้ ฝ่ายค้านก็จะเดินหน้าคัดค้านอย่างเต็มที่
กลุ่มที่ 2. คือ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน(ฉบับที่..)พ.ศ....(การยกเลิกแบบจ้างการครอบครองที่ดิน) ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ซึ่งเจ้าหน้าที่ ที่มาชี้แจงได้ยอมรับว่ากรมที่ดินไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มการยกร่างกกมายฉบับนี้ แต่เป็นคำสั่งจากคณะรัฐมนตรี โดยผ่านคณะกรรมการกลั่นกรองชุดที่ 4 ที่มีนายสุวิทย์ คุณกิติ เป็นประธาน โดยเนื้อหาจะเป็นการตอบสนองนโยบายแปลงสินทรัพย์ เป็นทุนของรัฐบาล ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการเร่งรัดนโยบายในการออกกฎหทมายโดยไม่มีความรอบคอบ ดังนั้นวิปฝ่ายค้านจะไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้ และจะเดินหน้าคัดค้านต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 11 ต.ค. 2548--จบ--