วันนี้ (29 พฤศจิกายน 2548) คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการผลิตในประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 9 ประเภทย่อย ซึ่งประกอบด้วยรายการสินค้าดังต่อไปนี้ สาหร่ายทะเลที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตวุ้น อะลูมินัสต์ซีเมนต์ เครื่องจักรผสมเส้นใย (Blow room) แผ่นเหล็ก TMBP ชิ้นส่วนที่นำเข้ามาใช้ประกอบเป็นอุปกรณ์ล้างไตทางช่องท้องระบบ 2 ถุง และโพลิอะไมด์ในลักษณะขั้นปฐมภูมิ
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรทั้ง 9 ประเภทย่อย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบในวันนี้ กระทรวงการคลังได้หารือ และได้ข้อสรุปร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) กระทรวงพาณิชย์ (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ปรับลดอัตราอากรขาเข้าปัจจัยการผลิตที่ไม่มีผลิตในประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 8 ประเภทย่อย ดังนี้
(1) สาหร่ายทะเลสำหรับที่นำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตวุ้น จากปัจจุบันอัตราอากรขาเข้า เท่ากับร้อยละ 5 ลงเหลือร้อยละ 1
(2) อะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตคอนกรีตทนไฟ จากปัจจุบันอัตราอากรขาเข้าเท่ากับร้อยละ 10 ลงเหลือร้อยละ 1
(3) เครื่องจักรผสมเส้นใย (Blow room) ที่ใช้ในกระบวนการผลิตเส้นด้ายของอุตสาหกรรมสิ่งทอ จากปัจจุบันอัตราอากรขาเข้าเท่ากับร้อยละ 5 ลงเหลือร้อยละ 1
(4) แผ่นเหล็ก TMBP ชนิดที่นำมาใช้ในการผลิตเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม โดยขยายระยะเวลาในการปรับลดอัตราอากรขาเข้าในอัตราร้อยละ 1 ต่อไปอีก 1 ปี จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549
(5) ชิ้นส่วนที่นำเข้ามาใช้ประกอบเป็นอุปกรณ์ล้างไตทางช่องท้องระบบ 2 ถุง จากอัตราอากรขาเข้าปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 3 - 20 ลงเหลือร้อยละ 1
2. ทบทวนการปรับปรุงอัตราอากรขาเข้าสินค้าเฉพาะโพลิอะไมด์-6 เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการผลิตในประเทศสามารถแข่งขันได้ โดยปรับเพิ่มอัตราอากรขาเข้าจากปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 12.5 หลังจากนั้นจะทยอยปรับลดอัตราอากรขาเข้าลง โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 อัตราอากรขาเข้าจะปรับลดลงเหลือร้อยละ 8.75 และสำหรับการนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป อัตราอากรขาเข้าจะปรับลดลงเหลือร้อยละ 5 เท่ากับอัตราอากรตามโครงสร้างการผลิตที่กระทรวงการคลังกำหนด
การดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าทั้ง 9 ประเภทย่อยข้างต้น จะช่วยลดต้นทุนการผลิตในส่วนของภาระภาษีนำเข้า และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการผลิตในประเทศให้สามารถแข่งขันได้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวคาดว่า จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ในส่วนของภาษีศุลกากรไปเป็นจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 8.5 ล้านบาท
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 113/2548 29 พฤศจิกายน 48--
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรทั้ง 9 ประเภทย่อย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบในวันนี้ กระทรวงการคลังได้หารือ และได้ข้อสรุปร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) กระทรวงพาณิชย์ (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ปรับลดอัตราอากรขาเข้าปัจจัยการผลิตที่ไม่มีผลิตในประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 8 ประเภทย่อย ดังนี้
(1) สาหร่ายทะเลสำหรับที่นำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตวุ้น จากปัจจุบันอัตราอากรขาเข้า เท่ากับร้อยละ 5 ลงเหลือร้อยละ 1
(2) อะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตคอนกรีตทนไฟ จากปัจจุบันอัตราอากรขาเข้าเท่ากับร้อยละ 10 ลงเหลือร้อยละ 1
(3) เครื่องจักรผสมเส้นใย (Blow room) ที่ใช้ในกระบวนการผลิตเส้นด้ายของอุตสาหกรรมสิ่งทอ จากปัจจุบันอัตราอากรขาเข้าเท่ากับร้อยละ 5 ลงเหลือร้อยละ 1
(4) แผ่นเหล็ก TMBP ชนิดที่นำมาใช้ในการผลิตเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม โดยขยายระยะเวลาในการปรับลดอัตราอากรขาเข้าในอัตราร้อยละ 1 ต่อไปอีก 1 ปี จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549
(5) ชิ้นส่วนที่นำเข้ามาใช้ประกอบเป็นอุปกรณ์ล้างไตทางช่องท้องระบบ 2 ถุง จากอัตราอากรขาเข้าปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 3 - 20 ลงเหลือร้อยละ 1
2. ทบทวนการปรับปรุงอัตราอากรขาเข้าสินค้าเฉพาะโพลิอะไมด์-6 เพื่อช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการผลิตในประเทศสามารถแข่งขันได้ โดยปรับเพิ่มอัตราอากรขาเข้าจากปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 12.5 หลังจากนั้นจะทยอยปรับลดอัตราอากรขาเข้าลง โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549 อัตราอากรขาเข้าจะปรับลดลงเหลือร้อยละ 8.75 และสำหรับการนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป อัตราอากรขาเข้าจะปรับลดลงเหลือร้อยละ 5 เท่ากับอัตราอากรตามโครงสร้างการผลิตที่กระทรวงการคลังกำหนด
การดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าทั้ง 9 ประเภทย่อยข้างต้น จะช่วยลดต้นทุนการผลิตในส่วนของภาระภาษีนำเข้า และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการผลิตในประเทศให้สามารถแข่งขันได้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวคาดว่า จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ในส่วนของภาษีศุลกากรไปเป็นจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 8.5 ล้านบาท
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 113/2548 29 พฤศจิกายน 48--