วันพุธที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ เวลา ๑๔.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องแถลงข่าว ชั้นล่าง อาคาร รัฐสภา ๑ นายอภิชาติ ศักดิเศรษฐ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ได้แถลงเกี่ยวกับเรื่อง การพิจารณากรณีหน่วยงานราชการได้ดำเนินการจัดตั้งสถานีวิทยุโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเชิญสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกองงานกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ กรมประชาสมพันธ์ ซึ่งได้ข้อสรุปดังนี้คือ
กรณีสถานีวิทยุตำรวจดำเนินการทำสัญญาและจัดตั้งสถานีวิทยุให้กับสำนักงานตำรวจภูธรภาคต่าง ๆ เป็นการดำเนินการโดยเข้าใจผิด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้แจ้งให้ระงับการ ดำเนินการกับตำรวจภูธรภาค ๕ ไปแล้วนั้น ทางคณะกรรมาธิการฯ ได้รับแจ้งจากสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ว่า สถานีวิทยุที่อ้างสัญญากับตำรวจภูธรภาค ๕ ยังดำเนินการออกอากาศอยู่ ซึ่งทาง คณะกรรมาธิการฯ มีความเห็นว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรจะออกคำแถลงที่ชัดเจน เพื่อสร้างความ เข้าใจกับทุกหน่วยงานของตำรวจและประชาชนทั่วไปว่า กรณีการดำเนินการจัดตั้งสถานีตำรวจภูธรภาค ๕ และภาคอื่น ๆ เป็นการเข้าใจผิด
นอกจากนี้ วิทยุชุมชนที่ดำเนินการไม่ถูกต้องแม้ว่ายังไม่มีคณะกรรมการ กสช. แต่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรมประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กรมสรรพากร กรมทรัพย์สินทางปัญญา และกรมศุลกากร จะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่มีอยู่ภายใต้กรอบที่พิจารณาเกี่ยวกับวิทยุชุมชนที่ไปรบกวนคลื่นวิทยุกระแสหลัก สำหรับจำนวนสถานีวิทยุชุมชนที่ตั้งสถานีอยู่ในสถานที่ราชการทั่วประเทศโดยผิดกฎหมาย พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น ๑๗๔ สถานี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ๑๒ สถานี กรมการปกครอง ๕๖ สถานี กระทรวงสาธารณสุข ๑๘ สถานี สถานศึกษา ๘๙ สถานี และทหาร ๔ สถานี ซึ่งทางคณะกรรมการ กทช. ได้มีมติเสนอให้ ดำเนินการปิดทั้ง ๑๗๔ สถานีแล้ว
-----------------------------------
กรณีสถานีวิทยุตำรวจดำเนินการทำสัญญาและจัดตั้งสถานีวิทยุให้กับสำนักงานตำรวจภูธรภาคต่าง ๆ เป็นการดำเนินการโดยเข้าใจผิด และสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้แจ้งให้ระงับการ ดำเนินการกับตำรวจภูธรภาค ๕ ไปแล้วนั้น ทางคณะกรรมาธิการฯ ได้รับแจ้งจากสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ว่า สถานีวิทยุที่อ้างสัญญากับตำรวจภูธรภาค ๕ ยังดำเนินการออกอากาศอยู่ ซึ่งทาง คณะกรรมาธิการฯ มีความเห็นว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรจะออกคำแถลงที่ชัดเจน เพื่อสร้างความ เข้าใจกับทุกหน่วยงานของตำรวจและประชาชนทั่วไปว่า กรณีการดำเนินการจัดตั้งสถานีตำรวจภูธรภาค ๕ และภาคอื่น ๆ เป็นการเข้าใจผิด
นอกจากนี้ วิทยุชุมชนที่ดำเนินการไม่ถูกต้องแม้ว่ายังไม่มีคณะกรรมการ กสช. แต่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรมประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กรมสรรพากร กรมทรัพย์สินทางปัญญา และกรมศุลกากร จะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่มีอยู่ภายใต้กรอบที่พิจารณาเกี่ยวกับวิทยุชุมชนที่ไปรบกวนคลื่นวิทยุกระแสหลัก สำหรับจำนวนสถานีวิทยุชุมชนที่ตั้งสถานีอยู่ในสถานที่ราชการทั่วประเทศโดยผิดกฎหมาย พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น ๑๗๔ สถานี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ๑๒ สถานี กรมการปกครอง ๕๖ สถานี กระทรวงสาธารณสุข ๑๘ สถานี สถานศึกษา ๘๙ สถานี และทหาร ๔ สถานี ซึ่งทางคณะกรรมการ กทช. ได้มีมติเสนอให้ ดำเนินการปิดทั้ง ๑๗๔ สถานีแล้ว
-----------------------------------