กรุงเทพ--2 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548 ภายหลังพิธีลงนามกฎบัตร “ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย” the Charter of Asian Disaster Preparedness Center — ADPC ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมลงนามรวม 6 ประเทศประกอบด้วย ไทย กัมพูชา ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เนปาล และบังคลาเทศ ดร.สุวิทย์ ยอดมณี ผู้อำนวยการบริหารศูนย์ ฯ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดยมีสาระสำคัญสรุป ดังนี้
ดร.สุวิทย์ฯ ได้สรุปเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงสถานะของศูนย์ฯ เป็นองค์การระหว่างประเทศ ว่าศูนย์ฯ ได้ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2529 โดยเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย Asian Institute of Technology — AIT ต่อมาในปี 2542 ได้แยกตัวออกมาด้วยความตกลงและความเข้าใจอันดีระหว่าง ADPC และ AIT เพื่อจะได้เป็นองค์กรอิสระในรูปของมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย หรือ ADPC Foundation และเริ่มต้นปรับเปลี่ยนสภาพในเดือนมกราคม 2544 มาเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Agency) ทำให้การทำงานคล่องตัวขึ้นโดยเฉพาะเป็นการลดภาระด้านการบริหารและการให้บริการบุคลากรซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศที่เข้ามาปฏิบัติงานกับ ADPC
เมื่อ ADPC มีฐานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ กฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่ใช้ควบคุม
องค์การระหว่างประเทศจะช่วยทำให้ศูนย์ ฯ สามารถปฏิบัติงานได้สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถขอรับความสนับสนุนจากประเทศต่าง ๆ หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศจะเข้าร่วมสนับสนุนหรือเป็นหุ้นส่วนในการจัดทำโครงการให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ จะสามารถดำเนินการได้โดยตรงและรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ จะสามารถได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นด้วยทำให้ศูนย์ทำงานได้ดีขึ้น
ขณะนี้ ศูนย์ฯ อยู่ในขั้นตอนของของการดำเนินการเพื่อแก้ไขและการลดความเสียหายกรณีเกิดภัยพิบัติที่สร้างความเสียหายอย่างรุนแรง ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงศูนย์ฯ เป็นองค์การระหว่างประเทศจะเป็นสิ่งที่ดีจะทำให้คล่องตัวขึ้นและได้รับความสนับสนุนด้านต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น
ภายหลังการประชุมนานาชาติระดับรัฐมนตรีเกี่ยวกับระบบเตือนภัยสึนามิล่วงหน้า ที่จังหวัดภูเก็ตระหว่างวันที่ 28 — 29 มกราคม 2548 ADPC ก็ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะเป็นศูนย์เตือนภัยสึนามิล่วงหน้า โดยภารกิจจะครอบคลุมภัยธรรมชาติอื่น ๆ เช่นน้ำท่วมฉับพลัน หรือพายุไต้ฝุ่น ขณะนี้ศูนย์ฯ ยังไม่มีข้อมูลว่าสึนามิจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งเพียงใด ดังนั้น ศูนย์ฯ จะทำหน้าที่ในการเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับภัยธรรมชาติร้ายแรงอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าด้วย
ขณะนี้ ADPC ได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่าง ๆ ที่จะให้ เป็นศูนย์เตือนภัยล่วงหน้า โดยมีประเทศในเอเชีย ประกอบด้วย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา จีน นอกจากนี้ ยังมีประเทศในยุโรปอีกส่วนหนึ่งประกอบด้วย ฝรั่งเศส อิตาลี รัสเซีย และสหราชอาณาจักร ก็ได้ให้การสนับสนุนให้ ADPC เป็นศูนย์เตือนภัยล่วงหน้าด้วย
ฉะนั้น ด้วยความมุ่งมั่นของศูนย์ฯ ที่จะเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ในการรักษาชีวิตประชาชน และการที่
ได้รับความสนับสนุนจากประเทศต่าง ๆ ทั้งในเอเชียและยุโรป ให้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ADPC จึงมั่นใจที่จะเป็นศูนย์เตือนภัยล่วงหน้า 1 ใน 3 ศูนย์ในมหาสมุทรแปซิฟิก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทะเลจีนใต้ รวมทั้งอ่าวไทย
ทั้งนี้ จากการที่ประเทศต่าง ๆ มั่นใจและได้เสนอให้มีการเปลี่ยนสภาพของศูนย์ฯ จากมูลนิธิให้
เป็นองค์การระหว่างประเทศ เป็นการสร้างกำลังใจให้ศูนย์ ฯ อย่างมาก และในการดำเนินการในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมานับแต่วันที่ 30 มกราคม 2548 ศูนย์ ฯ ได้ดำเนินการในการออกแบบระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่เป็นระบบเตือนภัยทั้งในด้านเทคโนโลยี และอุปกรณ์ ที่จะใช้ในการตรวจสอบภัยธรรมชาติต่าง ๆ รวมทั้งการเฝ้าระวัง และการเผยแพร่ข้อมูล และคำเตือนต่าง ๆ ซึ่งศูนย์ฯ ได้จัดทำเสร็จแล้ว ขณะเดียวกันได้เตรียมจัดทำแผนปฏิบัติการต่าง ๆ คาดว่าจะสามรถดำเนินการได้ภายในเวลา 18 เดือนนับจากนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากองค์การสหประชาชาติ โดย UNESCO ซึ่งเป็นองค์กรกลางในการควบคุมดูแลระบบเตือนภัยของโลกโดยรวมและมีประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าวในภูมิภาคแปซิฟิกกว่า 40 ปี
ดร. สุวิทย์ฯ กล่าวด้วยว่าศูนย์ ฯ มีประสบการณ์ในเรื่องเกี่ยวกับภัยพิบัติเป็นอย่างดีเพราะได้
ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมากว่า 19 ปีแล้ว นอกจากนี้ ศูนย์ ฯ ยังมีเครือข่ายและความร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศต่าง ๆ เช่นกรมอุตุนิยมวิทยาหรือหน่วยงานที่ดำเนินการว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติ รวมทั้งหน่วยงานที่ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแต่ละประเทศซึ่งได้ปฏิบัติงานร่วมกันกับศูนย์ ฯ มานาน ซึ่งทุกฝ่ายเห็นว่าน่าจะให้ ADPC เป็นศูนย์เตือนภัยล่วงหน้าศูนย์หนึ่งในเอเชีย ซึ่ง ADPC ก็สนับสนุนทุกศูนย์ ฯ ในเอเชีย และถือว่าทุกประเทศมีส่วนเป็นเจ้าของ โดย ADPC จะทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากประเทศต่าง ๆ โดยจะเชิญให้เข้ามาร่วมกันทำงาน เพื่อให้เห็นว่าศูนย์เตือนภัยล่วงหน้าดังกล่าวเป็นศูนย์ ฯ ของภูมิภาคมิใช่เป็นของประเทศใดประเทศหนึ่ง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548 ภายหลังพิธีลงนามกฎบัตร “ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย” the Charter of Asian Disaster Preparedness Center — ADPC ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมลงนามรวม 6 ประเทศประกอบด้วย ไทย กัมพูชา ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เนปาล และบังคลาเทศ ดร.สุวิทย์ ยอดมณี ผู้อำนวยการบริหารศูนย์ ฯ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดยมีสาระสำคัญสรุป ดังนี้
ดร.สุวิทย์ฯ ได้สรุปเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงสถานะของศูนย์ฯ เป็นองค์การระหว่างประเทศ ว่าศูนย์ฯ ได้ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2529 โดยเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย Asian Institute of Technology — AIT ต่อมาในปี 2542 ได้แยกตัวออกมาด้วยความตกลงและความเข้าใจอันดีระหว่าง ADPC และ AIT เพื่อจะได้เป็นองค์กรอิสระในรูปของมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย หรือ ADPC Foundation และเริ่มต้นปรับเปลี่ยนสภาพในเดือนมกราคม 2544 มาเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Agency) ทำให้การทำงานคล่องตัวขึ้นโดยเฉพาะเป็นการลดภาระด้านการบริหารและการให้บริการบุคลากรซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศที่เข้ามาปฏิบัติงานกับ ADPC
เมื่อ ADPC มีฐานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ กฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่ใช้ควบคุม
องค์การระหว่างประเทศจะช่วยทำให้ศูนย์ ฯ สามารถปฏิบัติงานได้สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถขอรับความสนับสนุนจากประเทศต่าง ๆ หรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศจะเข้าร่วมสนับสนุนหรือเป็นหุ้นส่วนในการจัดทำโครงการให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ จะสามารถดำเนินการได้โดยตรงและรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ จะสามารถได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นด้วยทำให้ศูนย์ทำงานได้ดีขึ้น
ขณะนี้ ศูนย์ฯ อยู่ในขั้นตอนของของการดำเนินการเพื่อแก้ไขและการลดความเสียหายกรณีเกิดภัยพิบัติที่สร้างความเสียหายอย่างรุนแรง ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงศูนย์ฯ เป็นองค์การระหว่างประเทศจะเป็นสิ่งที่ดีจะทำให้คล่องตัวขึ้นและได้รับความสนับสนุนด้านต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น
ภายหลังการประชุมนานาชาติระดับรัฐมนตรีเกี่ยวกับระบบเตือนภัยสึนามิล่วงหน้า ที่จังหวัดภูเก็ตระหว่างวันที่ 28 — 29 มกราคม 2548 ADPC ก็ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะเป็นศูนย์เตือนภัยสึนามิล่วงหน้า โดยภารกิจจะครอบคลุมภัยธรรมชาติอื่น ๆ เช่นน้ำท่วมฉับพลัน หรือพายุไต้ฝุ่น ขณะนี้ศูนย์ฯ ยังไม่มีข้อมูลว่าสึนามิจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งเพียงใด ดังนั้น ศูนย์ฯ จะทำหน้าที่ในการเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับภัยธรรมชาติร้ายแรงอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าด้วย
ขณะนี้ ADPC ได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่าง ๆ ที่จะให้ เป็นศูนย์เตือนภัยล่วงหน้า โดยมีประเทศในเอเชีย ประกอบด้วย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา จีน นอกจากนี้ ยังมีประเทศในยุโรปอีกส่วนหนึ่งประกอบด้วย ฝรั่งเศส อิตาลี รัสเซีย และสหราชอาณาจักร ก็ได้ให้การสนับสนุนให้ ADPC เป็นศูนย์เตือนภัยล่วงหน้าด้วย
ฉะนั้น ด้วยความมุ่งมั่นของศูนย์ฯ ที่จะเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ในการรักษาชีวิตประชาชน และการที่
ได้รับความสนับสนุนจากประเทศต่าง ๆ ทั้งในเอเชียและยุโรป ให้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ADPC จึงมั่นใจที่จะเป็นศูนย์เตือนภัยล่วงหน้า 1 ใน 3 ศูนย์ในมหาสมุทรแปซิฟิก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทะเลจีนใต้ รวมทั้งอ่าวไทย
ทั้งนี้ จากการที่ประเทศต่าง ๆ มั่นใจและได้เสนอให้มีการเปลี่ยนสภาพของศูนย์ฯ จากมูลนิธิให้
เป็นองค์การระหว่างประเทศ เป็นการสร้างกำลังใจให้ศูนย์ ฯ อย่างมาก และในการดำเนินการในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมานับแต่วันที่ 30 มกราคม 2548 ศูนย์ ฯ ได้ดำเนินการในการออกแบบระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่เป็นระบบเตือนภัยทั้งในด้านเทคโนโลยี และอุปกรณ์ ที่จะใช้ในการตรวจสอบภัยธรรมชาติต่าง ๆ รวมทั้งการเฝ้าระวัง และการเผยแพร่ข้อมูล และคำเตือนต่าง ๆ ซึ่งศูนย์ฯ ได้จัดทำเสร็จแล้ว ขณะเดียวกันได้เตรียมจัดทำแผนปฏิบัติการต่าง ๆ คาดว่าจะสามรถดำเนินการได้ภายในเวลา 18 เดือนนับจากนี้เป็นต้นไป ทั้งนี้ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากองค์การสหประชาชาติ โดย UNESCO ซึ่งเป็นองค์กรกลางในการควบคุมดูแลระบบเตือนภัยของโลกโดยรวมและมีประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าวในภูมิภาคแปซิฟิกกว่า 40 ปี
ดร. สุวิทย์ฯ กล่าวด้วยว่าศูนย์ ฯ มีประสบการณ์ในเรื่องเกี่ยวกับภัยพิบัติเป็นอย่างดีเพราะได้
ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมากว่า 19 ปีแล้ว นอกจากนี้ ศูนย์ ฯ ยังมีเครือข่ายและความร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศต่าง ๆ เช่นกรมอุตุนิยมวิทยาหรือหน่วยงานที่ดำเนินการว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติ รวมทั้งหน่วยงานที่ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแต่ละประเทศซึ่งได้ปฏิบัติงานร่วมกันกับศูนย์ ฯ มานาน ซึ่งทุกฝ่ายเห็นว่าน่าจะให้ ADPC เป็นศูนย์เตือนภัยล่วงหน้าศูนย์หนึ่งในเอเชีย ซึ่ง ADPC ก็สนับสนุนทุกศูนย์ ฯ ในเอเชีย และถือว่าทุกประเทศมีส่วนเป็นเจ้าของ โดย ADPC จะทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากประเทศต่าง ๆ โดยจะเชิญให้เข้ามาร่วมกันทำงาน เพื่อให้เห็นว่าศูนย์เตือนภัยล่วงหน้าดังกล่าวเป็นศูนย์ ฯ ของภูมิภาคมิใช่เป็นของประเทศใดประเทศหนึ่ง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-