สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสถานศึกษาเริ่มเปิดภาคเรียนและจากข่าวการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกทำให้ผู้บริโภคบางส่วน หันมาบริโภคเนื้อสุกรมากขึ้น ความต้องการบริโภคจึงเพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.61 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.55 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 45.22 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 43.09 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 46.10 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.08 บาท ส่วนราคาลูกสุกร ตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,100 บาท (บวกลบ 45 บาท) ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.20 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.83
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจาก ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงมีความมั่นใจในการบริโภคเนื้อไก่ แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
นายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง หรือแอคแมคส์ ครั้งที่ 2 ในเรื่องปฏิญญาผู้นำแอคแมคส์ ว่าด้วยความเป็น หุ้นส่วนในการต่อต้านไข้หวัดนกและโรคติดต่ออื่น ๆ ในเบื้องต้นไทยจะให้เงิน 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 100 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนจัดสรรให้ประเทศเพื่อนบ้านได้ทันทีหากเกิดการระบาดของไข้หวัดนกขึ้น เงินกองทุนดังกล่าวจะรวมค่าใช้จ่ายเรื่องวัคซีน ยา เครื่องมือการแพทย์ และบุคลากรด้วย นอกจากนี้ไทยยังร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก ในการศึกษาวิจัยวัคซีนเพื่อป้องกันไข้หวัดนกในคนอย่างใกล้ชิดด้วย
ในกรณีจีนสั่งห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่จาก 14 ประเทศ ซึ่งมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออกเปิดเผยว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อสินค้าเนื้อไก่ของไทยเพราะหลังเกิดการระบาดของไข้หวัดนกในครั้งแรก ผู้ประกอบการไทยได้ปรับเปลี่ยนเป็นการส่งออกไก่แปรรูปแทน และมีตลาดส่งออกที่สำคัญคือ ญี่ปุ่นเป็นตลาดหลักซึ่งมีสัดส่วน 50% กลุ่มสหภาพยุโรป 40 % และอีก 10 % คือ ฮ่องกง เกาหลีใต้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.98 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.36 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 44.65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 36.15 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 41.94 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 15.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 8.00 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 49.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมาเช่นเดียวกัน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสถานศึกษาต่าง ๆ เปิดภาคเรียน ทำให้ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีข่าวการระบาดของไข้หวัดนกแต่ผู้บริโภคยังมีความมั่นใจว่ากินไข่ปรุงสุกแล้วปลอดภัย แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 243 บาท สูงขึ้นจาก ร้อยฟองละ 231 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.19 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 242 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 267 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 235 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 255 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 238.33 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 305 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 260 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 290 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 297 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 386 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 47.66 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.01 จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.38 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.18 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 52.67 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 44.02 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 48.13 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.03 จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.66 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 36.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.38 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 49.80 ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 31 ต.ค.- 6 ก.ย.2548--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสถานศึกษาเริ่มเปิดภาคเรียนและจากข่าวการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกทำให้ผู้บริโภคบางส่วน หันมาบริโภคเนื้อสุกรมากขึ้น ความต้องการบริโภคจึงเพิ่มขึ้น แนวโน้มคาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.61 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.55 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 45.22 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 43.09 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 46.10 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.08 บาท ส่วนราคาลูกสุกร ตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,100 บาท (บวกลบ 45 บาท) ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.50 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.20 ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.83
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจาก ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงมีความมั่นใจในการบริโภคเนื้อไก่ แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
นายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง หรือแอคแมคส์ ครั้งที่ 2 ในเรื่องปฏิญญาผู้นำแอคแมคส์ ว่าด้วยความเป็น หุ้นส่วนในการต่อต้านไข้หวัดนกและโรคติดต่ออื่น ๆ ในเบื้องต้นไทยจะให้เงิน 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 100 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนจัดสรรให้ประเทศเพื่อนบ้านได้ทันทีหากเกิดการระบาดของไข้หวัดนกขึ้น เงินกองทุนดังกล่าวจะรวมค่าใช้จ่ายเรื่องวัคซีน ยา เครื่องมือการแพทย์ และบุคลากรด้วย นอกจากนี้ไทยยังร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก ในการศึกษาวิจัยวัคซีนเพื่อป้องกันไข้หวัดนกในคนอย่างใกล้ชิดด้วย
ในกรณีจีนสั่งห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่จาก 14 ประเทศ ซึ่งมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออกเปิดเผยว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อสินค้าเนื้อไก่ของไทยเพราะหลังเกิดการระบาดของไข้หวัดนกในครั้งแรก ผู้ประกอบการไทยได้ปรับเปลี่ยนเป็นการส่งออกไก่แปรรูปแทน และมีตลาดส่งออกที่สำคัญคือ ญี่ปุ่นเป็นตลาดหลักซึ่งมีสัดส่วน 50% กลุ่มสหภาพยุโรป 40 % และอีก 10 % คือ ฮ่องกง เกาหลีใต้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.98 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.47 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.36 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 44.65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 33.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 36.15 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 41.94 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 15.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 8.00 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 49.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมาเช่นเดียวกัน
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่ในสัปดาห์นี้ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสถานศึกษาต่าง ๆ เปิดภาคเรียน ทำให้ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีข่าวการระบาดของไข้หวัดนกแต่ผู้บริโภคยังมีความมั่นใจว่ากินไข่ปรุงสุกแล้วปลอดภัย แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 243 บาท สูงขึ้นจาก ร้อยฟองละ 231 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.19 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 242 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 267 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 235 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 255 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 18 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 238.33 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 305 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 260 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 290 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 297 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 386 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 47.66 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.01 จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.38 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.18 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 52.67 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 44.02 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 48.13 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.03 จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.66 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 36.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.38 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 49.80 ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 31 ต.ค.- 6 ก.ย.2548--
-พห-