เปิดผลศึกษาความร่วมมืออุตฯ อาเซียน (AICO) มูลค่ากว่า 1.5 พันล้านเหรียญต่อปี ชูแผนดันอาเชียนตลาดเดียวแกร่งสุดแข่งทั่วโลกได้ เผยอุตสาหกรรมยานยนต์เสน่ห์ยวน ร่วมผุดโปรเจ็คเพียบ
นางอรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้ทำการศึกษาโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Cooperation Scheme : AICO) โดยเริ่มเก็บข้อมูลเมื่อ ปี 2539 หลังมีการลงนามในความตกลงโดยคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ในการประชุม ASEAN Economic Ministers Meeting ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยมุ่งหวังให้อาเซียนเพิ่มพูนขีดความสามารถการแข่งขันของบริษัทในประเทศสมาชิก โดยผ่านหลักการประหยัดต?อขนาดการผลิต (Economies of Scale) การประหยัดต?อประเภท (Economies of Scope) รวมทั้งการแบ?งงานกันทำตามความชำนาญ และการส?งเสริมการลงทุนให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น ด้วยการสนับสนุนซึ่งกันและกัน (Complementary) ของกิจกรรมทางอุตสาหกรรมระหว?งประเทศ และการเชื่อมโยงของอุตสาหกรรมในภาพรวมที่ต้องการให้อาเซียนเป?นตลาดเดียว
“ในการขอเข้าร่วมโครงการ AICO นั้น ผู้ประกอบการอย่างน้อย 1 รายในประเทศสมาชิก อาเซียนประเทศใดประเทศหนึ่ง ต้องร่วมมือกับผู้ประกอบการอย่างน้อย 1 รายในประเทศสมาชิกอีกประเทศหนึ่ง ยื่นคำร้องขอรับสิทธิประโยชน์ภายใต้ AICO ต่อหน่วยงานรับผิดชอบพิจารณาคำขอฯ ของแต่ละประเทศ โดยบริษัทต้องระบุว่าจะร่วมมือกันอย่างไร และจะนำวัตถุดิบ / สินค้าขั้นกลาง / หรือสินค้าขั้นสุดท้ายอะไรมาแลกเปลี่ยนกัน โดยสินค้านั้นต้องผ่านการรับรองว่ามีแหล่งกำเนิดในอาเซียน ตามเกณฑ์การได้แหล่งกำเนิด (Rule of origin) ของ AFTA สำหรับบริษัทที่จะเข้าร่วมโครงการต้องมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นที่เป็นคนในชาติอย่างน้อยร้อยละ 30 และจดทะเบียนในประเทศใดประเทศหนึ่งในอาเซียน”
นางอรรชกา กล่าวถึงประโยชน์ที่บริษัทจะได้จากการเข้าร่วมโครงการ AICO คือจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีแก่สินค้าที่เข้าร่วมโครงการ (ปัจจุบัน ทุกประเทศให้สิทธิยกเว้นภาษีศุลกากรขาเข้าแก่สินค้าที่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นไปแล้ว) ทำให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการลดลง และทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นตามไปด้วย จึงเป็นเหตุจูงใจให้ภาคเอกชนสนใจเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ผลการศึกษา พบว่าการลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม มีผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าที่ลดลง และในภาพรวมของประเทศจะส่งผลต่อการจ้างงานและการส่งออกอุตสาหกรรมสำเร็จรูปสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในการอนุมัติโครงการนั้นจะพิจารณาถึงรายการสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ AICO ที่อาจจะเป็นสินค้าที่ทดแทนสินค้าในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในประเทศได้หากผู้ผลิตไม่ปรับตัวให้ทันต่อการลดลงของราคาสินค้านำเข้าภายใต้โครงการนี้ด้วย
นอกจากนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ยังได้กล่าวอีกว่า จากผลการศึกษาระบุว่า ตั้งแต่เริ่มมีการลงนามความตกลงฯ จนถึงปัจจุบัน มีภาคเอกชนยื่นคำขอเข้าร่วมโครงการโดยเป็นบริษัทที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ทั้งสิ้น 193 คำขอ โดยเป็นคำขอที่ได้รับการอนุมัติให้เป็นโครงการ AICO จำนวน 126 โครงการ มีมูลค่าประมาณ 1,537 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี โดยในจำนวนนี้เป็นโครงการของไทยทั้งสิ้น 81 โครงการ
“กว?ร?อยละ 80 ของคำขอเข้าร่วมโครงการ AICO เป?นโครงการแลกเปลี่ยนในอุตสาหกรรมยานยนต? โดยเกือบทั้งหมดเป็นบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ซึ่งมีฐานการผลิตยานยนต์ในเกือบทุกประเทศในอาเซียน บริษัทเหล่านี้จึงสามารถดำเนินการแลกเปลี่ยนสินค้าภายใต้กรอบ AICO ได้ง่าย เนื่องจากมีหน่วยงานวางแผนกลางที่บริษัทแม่หรือศูนย์กลางบริหารในภูมิภาคเป็นผู้ตัดสินใจวางแผนการผลิต (Production Portfolio) ทั้งภูมิภาค การแลกเปลี่ยนสินค้าภายใต้ AICO จะทำให?บริษัทสามารถได้ประโยชน์ทั้งจากการประหยัดต่อขนาดและประเภท (Economies of Scale and Economies of Scope) นำไปสู่การผลิตยานยนต์ที่มีต้นทุนการผลิตรวมลดลง สามารถแข่งขันกับกลุ่มการค้าอื่นๆทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทที่เข้าร่วมโครงการจะเป็นบรรษัทข้ามชาติก็ตาม แต่ผลิตภัณฑ์ที่แลกเปลี่ยนภายใต้โครงการ ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจาก Suppliers ที่เป็น SMEs ในประเทศ ซึ่งในที่สุดโครงการ AICO จะส่งผลให้เกิดการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจในระดับกลางและระดับล่างควบคู่กันไปด้วย” ผอ.สศอ. กล่าวในที่สุด
สำหรับผลศึกษาโครงการความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน AICO รวมทั้งข้อมูลเปรียบเทียบโดยละเอียด ผู้ประกอบการทั่วไป หรือผู้สนใจข้อมูลผลการศึกษานี้ สามารถเข้าไปดูได้ที่ WWW.OIE.GO.TH
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางอรรชกา บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้ทำการศึกษาโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Cooperation Scheme : AICO) โดยเริ่มเก็บข้อมูลเมื่อ ปี 2539 หลังมีการลงนามในความตกลงโดยคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ในการประชุม ASEAN Economic Ministers Meeting ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยมุ่งหวังให้อาเซียนเพิ่มพูนขีดความสามารถการแข่งขันของบริษัทในประเทศสมาชิก โดยผ่านหลักการประหยัดต?อขนาดการผลิต (Economies of Scale) การประหยัดต?อประเภท (Economies of Scope) รวมทั้งการแบ?งงานกันทำตามความชำนาญ และการส?งเสริมการลงทุนให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น ด้วยการสนับสนุนซึ่งกันและกัน (Complementary) ของกิจกรรมทางอุตสาหกรรมระหว?งประเทศ และการเชื่อมโยงของอุตสาหกรรมในภาพรวมที่ต้องการให้อาเซียนเป?นตลาดเดียว
“ในการขอเข้าร่วมโครงการ AICO นั้น ผู้ประกอบการอย่างน้อย 1 รายในประเทศสมาชิก อาเซียนประเทศใดประเทศหนึ่ง ต้องร่วมมือกับผู้ประกอบการอย่างน้อย 1 รายในประเทศสมาชิกอีกประเทศหนึ่ง ยื่นคำร้องขอรับสิทธิประโยชน์ภายใต้ AICO ต่อหน่วยงานรับผิดชอบพิจารณาคำขอฯ ของแต่ละประเทศ โดยบริษัทต้องระบุว่าจะร่วมมือกันอย่างไร และจะนำวัตถุดิบ / สินค้าขั้นกลาง / หรือสินค้าขั้นสุดท้ายอะไรมาแลกเปลี่ยนกัน โดยสินค้านั้นต้องผ่านการรับรองว่ามีแหล่งกำเนิดในอาเซียน ตามเกณฑ์การได้แหล่งกำเนิด (Rule of origin) ของ AFTA สำหรับบริษัทที่จะเข้าร่วมโครงการต้องมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นที่เป็นคนในชาติอย่างน้อยร้อยละ 30 และจดทะเบียนในประเทศใดประเทศหนึ่งในอาเซียน”
นางอรรชกา กล่าวถึงประโยชน์ที่บริษัทจะได้จากการเข้าร่วมโครงการ AICO คือจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีแก่สินค้าที่เข้าร่วมโครงการ (ปัจจุบัน ทุกประเทศให้สิทธิยกเว้นภาษีศุลกากรขาเข้าแก่สินค้าที่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นไปแล้ว) ทำให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการลดลง และทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นตามไปด้วย จึงเป็นเหตุจูงใจให้ภาคเอกชนสนใจเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ผลการศึกษา พบว่าการลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม มีผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าที่ลดลง และในภาพรวมของประเทศจะส่งผลต่อการจ้างงานและการส่งออกอุตสาหกรรมสำเร็จรูปสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในการอนุมัติโครงการนั้นจะพิจารณาถึงรายการสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ AICO ที่อาจจะเป็นสินค้าที่ทดแทนสินค้าในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในประเทศได้หากผู้ผลิตไม่ปรับตัวให้ทันต่อการลดลงของราคาสินค้านำเข้าภายใต้โครงการนี้ด้วย
นอกจากนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ยังได้กล่าวอีกว่า จากผลการศึกษาระบุว่า ตั้งแต่เริ่มมีการลงนามความตกลงฯ จนถึงปัจจุบัน มีภาคเอกชนยื่นคำขอเข้าร่วมโครงการโดยเป็นบริษัทที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ทั้งสิ้น 193 คำขอ โดยเป็นคำขอที่ได้รับการอนุมัติให้เป็นโครงการ AICO จำนวน 126 โครงการ มีมูลค่าประมาณ 1,537 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี โดยในจำนวนนี้เป็นโครงการของไทยทั้งสิ้น 81 โครงการ
“กว?ร?อยละ 80 ของคำขอเข้าร่วมโครงการ AICO เป?นโครงการแลกเปลี่ยนในอุตสาหกรรมยานยนต? โดยเกือบทั้งหมดเป็นบรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ซึ่งมีฐานการผลิตยานยนต์ในเกือบทุกประเทศในอาเซียน บริษัทเหล่านี้จึงสามารถดำเนินการแลกเปลี่ยนสินค้าภายใต้กรอบ AICO ได้ง่าย เนื่องจากมีหน่วยงานวางแผนกลางที่บริษัทแม่หรือศูนย์กลางบริหารในภูมิภาคเป็นผู้ตัดสินใจวางแผนการผลิต (Production Portfolio) ทั้งภูมิภาค การแลกเปลี่ยนสินค้าภายใต้ AICO จะทำให?บริษัทสามารถได้ประโยชน์ทั้งจากการประหยัดต่อขนาดและประเภท (Economies of Scale and Economies of Scope) นำไปสู่การผลิตยานยนต์ที่มีต้นทุนการผลิตรวมลดลง สามารถแข่งขันกับกลุ่มการค้าอื่นๆทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทที่เข้าร่วมโครงการจะเป็นบรรษัทข้ามชาติก็ตาม แต่ผลิตภัณฑ์ที่แลกเปลี่ยนภายใต้โครงการ ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจาก Suppliers ที่เป็น SMEs ในประเทศ ซึ่งในที่สุดโครงการ AICO จะส่งผลให้เกิดการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจในระดับกลางและระดับล่างควบคู่กันไปด้วย” ผอ.สศอ. กล่าวในที่สุด
สำหรับผลศึกษาโครงการความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน AICO รวมทั้งข้อมูลเปรียบเทียบโดยละเอียด ผู้ประกอบการทั่วไป หรือผู้สนใจข้อมูลผลการศึกษานี้ สามารถเข้าไปดูได้ที่ WWW.OIE.GO.TH
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-