นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในงานครบรอบ 59 ปีของพรรคประชาธิปัตย์ ว่า 59 ปี ที่พรรคได้ก่อตั้งและผ่านประสบการณ์ทางการเมืองมาอย่างยาวนาน โดยหลังจากนี้การทำงานจะมีการร่วมมือกันมากขึ้นและอาจมีการปรับปรุงรูบแบบการทำงานให้ทันสถานการณ์ จึงขอความร่วมมือสมาชิกพรรคให้ความร่วมมือกับหัวหน้าพรรคอย่างเต็มที่ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานบ้าง แต่ในหลักการและอุดมการณ์พรรคยังคงไว้เช่นเดิม และพรรคก็พร้อมให้การสนับสนุนและให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการแก้ปัญหาชาติบ้านเมือง พร้อมกับแสดงความคิดเห็นว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคคนใหม่ จะสามารถนำพาพรรคก้าวไปสู่ความสำเร็จได้
นายชวน กล่าวว่าต้องยอมรับว่าความเปลี่ยนแปลงต้องมีเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ต้องปรับปรุงเสมอ แต่ว่าจุดยืนอุดมการณ์ หลักการ ความจริง เป็นสิ่งที่พรรคจะต้องยืนยันในสิ่งนี้
‘ผมเตือนเชื่อ 4 ปี ที่แล้ว ที่ท่านหัวหน้าอภิสิทธิ์ พูดอย่างไร วันนี้ ท่านก็ยังพูดเหมือนเดิม เพียงแต่ว่ารัฐบาลเปลี่ยนไป 4ปีที่แล้ว ท่านหัวหน้าพรรค พูดอย่างนี้ รัฐบาลเขาไม่รับ อย่างเช่นภาคใต้เขาจะไม่รับเลย แต่วันนี้ ถือว่ารัฐบาลเปลี่ยนไป แต่ว่าประชาธิปัตย์ ยังยืนยันจุดเดิม ก็คือว่าเราไม่เห็นด้วยเราก็ค้าน เราเห็นด้วยเราก็สนับสนุน ผมยืนยันสิ่งนี้นะครับ’นายชวน กล่าว
ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ช่วง 4 ปี ที่ ผ่านมากฎหมายเข้าสภาส่วนใหญ่พรรคยกมือให้ความเห็นชอบด้วย แต่ว่าเรื่องหลายเรื่องที่พรรคเห็นว่าไม่ถูกต้องพรรคก็ค้าน ซึ่งวันนี้พรรคก็ยังค้าน ส่วนปัญหาในเรื่องความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตนขอยืนยันว่าพรรคเคยพูดเรื่องนี้ไว้แล้ว ตั้งแต่ต้น เมื่อ4 ปี ที่แล้ว แต่ว่าขณะนั้น รัฐบาลไม่ยอมรับฟัง ปฏิเสธ และยังขอร้องไม่ให้ฝ่ายค้านพูดด้วย
ตนคิดว่าเมื่อรัฐบาลยอมรับความจริงมากขึ้น แนวปฏิบัติก็คงจะมาอิงความจริงมากขึ้น และก็จะรู้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร พยายามที่จะย้อนกลับไปคลี่คลายเหตุการณ์ที่เป็นจุดเริ่มต้น ว่าประชาชนรู้สึกอย่างไร เช่นความเป็นธรรม อันนี้ต้องทำให้ได้ อย่าให้แต่ละเรื่องต้องผ่านเลยไป โดยคิดว่านานไป ก็จะลืมไปเอง ขอยืนยันว่าคนส่วนใหญ่เขาไม่เป็นด้วย กับความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ตนคิดว่า การยอมรับความจริงเป็นสิ่งที่ดี แต่ว่าอาจจะช้าไป เพราะว่าในที่สุดสถานการณ์ก็ได้บานปลายไปมากแล้ว
‘แต่ว่ากรณีใดที่เห็นว่าประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็ต้องหาความเป็นธรรมให้เขา เช่นเดียวกับกรณีที่เจ้าหน้าที่ของเราถูกทำร้าย หรือฆ่า ก็ต้องหาคนร้ายให้ได้ คือต้องใช้หลักว่าทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเท่าเทียมกัน
ไม่จำเป็นต้องไปเอาใจฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ทั้งพี่น้องชาวพุทธ มุสลิม ย่อมต้องการความเสมอภาคทั้งสิ้น’ ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์
การประชุมร่วม 2 สภา เป็นการระดมความคิดความเห็นของฝ่ายปฏิบัติคือฝ่ายผู้บริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติให้ได้ก็คือความเห็น
ต่อคถามว่าคณะกรรมการสมานฉันท์ จะแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ นายชวน กล่าวว่ายังไม่ทราบบทบาทของคณะกรรมการสมานฉันท์ ที่ออกมานี้เป็นอย่างไร คณะกรรมการอาจจะเสนอความคิดเห็น ซึ่งผู้ปฏิบัติก็ยังเป็นฝ่ายบริหารนั้นเอง ก็ต้องรอดูว่าคณะกรรมการสมานฉันท์จะให้ข้อมูลว่าอย่างไร เสนอแนะว่าอย่างไร แต่ในที่สุด ความเป็นรูปธรรมจริงๆยังคงต้องอยู่ที่ฝ่ายบริหาร
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 6 เม.ย. 2548--จบ--
-ดท-
นายชวน กล่าวว่าต้องยอมรับว่าความเปลี่ยนแปลงต้องมีเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ต้องปรับปรุงเสมอ แต่ว่าจุดยืนอุดมการณ์ หลักการ ความจริง เป็นสิ่งที่พรรคจะต้องยืนยันในสิ่งนี้
‘ผมเตือนเชื่อ 4 ปี ที่แล้ว ที่ท่านหัวหน้าอภิสิทธิ์ พูดอย่างไร วันนี้ ท่านก็ยังพูดเหมือนเดิม เพียงแต่ว่ารัฐบาลเปลี่ยนไป 4ปีที่แล้ว ท่านหัวหน้าพรรค พูดอย่างนี้ รัฐบาลเขาไม่รับ อย่างเช่นภาคใต้เขาจะไม่รับเลย แต่วันนี้ ถือว่ารัฐบาลเปลี่ยนไป แต่ว่าประชาธิปัตย์ ยังยืนยันจุดเดิม ก็คือว่าเราไม่เห็นด้วยเราก็ค้าน เราเห็นด้วยเราก็สนับสนุน ผมยืนยันสิ่งนี้นะครับ’นายชวน กล่าว
ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ช่วง 4 ปี ที่ ผ่านมากฎหมายเข้าสภาส่วนใหญ่พรรคยกมือให้ความเห็นชอบด้วย แต่ว่าเรื่องหลายเรื่องที่พรรคเห็นว่าไม่ถูกต้องพรรคก็ค้าน ซึ่งวันนี้พรรคก็ยังค้าน ส่วนปัญหาในเรื่องความสงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตนขอยืนยันว่าพรรคเคยพูดเรื่องนี้ไว้แล้ว ตั้งแต่ต้น เมื่อ4 ปี ที่แล้ว แต่ว่าขณะนั้น รัฐบาลไม่ยอมรับฟัง ปฏิเสธ และยังขอร้องไม่ให้ฝ่ายค้านพูดด้วย
ตนคิดว่าเมื่อรัฐบาลยอมรับความจริงมากขึ้น แนวปฏิบัติก็คงจะมาอิงความจริงมากขึ้น และก็จะรู้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร พยายามที่จะย้อนกลับไปคลี่คลายเหตุการณ์ที่เป็นจุดเริ่มต้น ว่าประชาชนรู้สึกอย่างไร เช่นความเป็นธรรม อันนี้ต้องทำให้ได้ อย่าให้แต่ละเรื่องต้องผ่านเลยไป โดยคิดว่านานไป ก็จะลืมไปเอง ขอยืนยันว่าคนส่วนใหญ่เขาไม่เป็นด้วย กับความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ตนคิดว่า การยอมรับความจริงเป็นสิ่งที่ดี แต่ว่าอาจจะช้าไป เพราะว่าในที่สุดสถานการณ์ก็ได้บานปลายไปมากแล้ว
‘แต่ว่ากรณีใดที่เห็นว่าประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็ต้องหาความเป็นธรรมให้เขา เช่นเดียวกับกรณีที่เจ้าหน้าที่ของเราถูกทำร้าย หรือฆ่า ก็ต้องหาคนร้ายให้ได้ คือต้องใช้หลักว่าทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเท่าเทียมกัน
ไม่จำเป็นต้องไปเอาใจฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ทั้งพี่น้องชาวพุทธ มุสลิม ย่อมต้องการความเสมอภาคทั้งสิ้น’ ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์
การประชุมร่วม 2 สภา เป็นการระดมความคิดความเห็นของฝ่ายปฏิบัติคือฝ่ายผู้บริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติให้ได้ก็คือความเห็น
ต่อคถามว่าคณะกรรมการสมานฉันท์ จะแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ นายชวน กล่าวว่ายังไม่ทราบบทบาทของคณะกรรมการสมานฉันท์ ที่ออกมานี้เป็นอย่างไร คณะกรรมการอาจจะเสนอความคิดเห็น ซึ่งผู้ปฏิบัติก็ยังเป็นฝ่ายบริหารนั้นเอง ก็ต้องรอดูว่าคณะกรรมการสมานฉันท์จะให้ข้อมูลว่าอย่างไร เสนอแนะว่าอย่างไร แต่ในที่สุด ความเป็นรูปธรรมจริงๆยังคงต้องอยู่ที่ฝ่ายบริหาร
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 6 เม.ย. 2548--จบ--
-ดท-