กรุงเทพ--31 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
พวกเรารัฐมนตรีและผู้แทนพิเศษจากออสเตรเลีย เบลเยี่ยม บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา แคนาดา จีน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เคนยา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย มัลดีฟส์ มอริเชียส โมซัมบิก พม่า เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐเกาหลี รัสเซีย ซีเชลส์ สิงคโปร์ โซมาเลีย แอฟริกาใต้ สเปน ศรีลังกา สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ แทนซาเนีย ไทย ติมอร์-เลสเต้ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม ลักเซมเบิร์กในฐานะประธาน สหภาพยุโรป และคณะกรรมการยุโรป ได้พบกันเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2548 ตามคำเชิญของรัฐบาลไทย เพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเกี่ยวกับการจัดการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้าในกรณีคลื่นยักษ์สำหรับมหาสมุทรอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พวกเราตกลงตามปฏิญญาทางการเมืองดังต่อไปนี้
อารัมภบท
1. พวกเรามารวมตัวกันหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 และ
ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นต่อชีวิตมนุษย์และวิถีชีวิต โศกนาฏกรรมครั้งนี้ไม่เพียงแต่กระทบต่อความมั่นคง และการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาตินั้นไร้พรมแดน ผลกระทบในระดับโลกของโศกนาฏกรรมครั้งนี้ได้ย้ำถึงความรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการกับภัยคุกคามจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ
2. พวกเราตระหนักถึงบทบาทนำของประเทศที่ได้รับผลกระทบในการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ และบทบาทอันมีค่าของประชาคมระหว่างประเทศและสหประชาชาติในการให้ความช่วยเหลือประเทศและชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ตั้งแต่ช่วงระยะของการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนไปจนถึงการบูรณะฟื้นฟู พวกเราขอย้ำความจำเป็นที่จะดำรงความพยายามนี้ไว้ต่อไป
3. พวกเราชื่นชมคำกล่าวเปิดการประชุมของนายกรัฐมนตรีของไทย และถ้อยแถลงของผู้ประสานงานพิเศษแห่งสหประชาชาติสำหรับความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมต่อชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์ในฐานะผู้แทนของเลขาธิการสหประชาชาติ พวกเรายังได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมที่มีคุณค่าของเจ้าหน้าที่อาวุโส
จากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลด้านสมุทรศาสตร์ (IOC) โครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) โครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาชาติ (UNEP) องค์การอุตุนิยมวิทยาของโลก (WMO) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) สำนักงานเพื่อความร่วมมือด้านกิจการมนุษยธรรม (UNOCHA) สำนักเลขาธิการระหว่างองค์กรด้านยุทธศาสตร์ ระหว่างประเทศเพื่อการลดภัยพิบัติ (UNISDR) ศูนย์ข้อมูลระหว่างประเทศเกี่ยวกับคลื่นยักษ์ (ITIC) และศูนย์เตือนภัยคลื่นยักษ์สำหรับแปซิฟิก (PWTC) เลขาธิการบริหารคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) เลขาธิการสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ผู้แทนธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งอิสลาม (IDB) และผู้อำนวยการใหญ่ศูนย์เตรียมความพร้อมสำหรับภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) ซึ่งเข้าร่วมการประชุม พวกเรายังชื่นชมเอกสารแนวคิดซึ่งจัดเตรียมโดยประเทศไทยสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรี ณ จังหวัดภูเก็ต
4. พวกเราย้ำความจำเป็นในการลงทุนเพื่อเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะการเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อลดความสูญเสียจากภัยพิบัติในลักษณะที่คล้ายคลึงกันในอนาคต การลงทุนเพื่อการลดภัยอันตรายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งสามารถประสบผลสำเร็จได้ดีที่สุดโดยผ่านความพยายามที่เข้มแข็งในระดับประเทศ ควบคู่กับการสนับสนุนผ่านความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศ อันจะเป็นการสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) รวมทั้งวัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการบาร์เบโดสเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก (SIDS) เมื่อวันที่ 10-14 มกราคม 2548 ณ ประเทศมอริเชียส ได้ ในส่วนของแนวทางที่สมบูรณ์เพื่อลดและจัดการกับภัยพิบัตินั้น พวกเราตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องแสวงหาแนวทางและวิธีการที่จะเพิ่มพูน ประสิทธิภาพของการปฏิบัติการร่วมกัน รวมทั้งผ่านการพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะมีระบบเตรียมการป้องกันทั้งในระดับภูมิภาค และระดับโลก
5. พวกเราได้รับแรงบันดาลใจจากความมุ่งมั่นของการประชุมระดับผู้นำอาเซียนวาระพิเศษว่าด้วยภายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2548 ณ กรุงจาการ์ตา เกี่ยวกับการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า สำหรับภูมิภาค พวกเรายินดีต่อบทบาทนำของอาเซียน รวมถึงการเสนอปณิธานว่าด้วยการเสริมสร้างการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน การฟื้นฟู การบูรณะ และการป้องกัน ภายหลังจากภัยพิบัติคลื่นยักษ์ในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 59 เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2548 ได้ให้การรับรองโดยฉันทามติ พวกเราตระหนักถึง การหารือเกี่ยวกับการเตือนภัยคลื่นยักษ์ล่วงหน้าในการประชุมสหประชาชาติเพื่อทบทวนแนวทางการดำเนินการของแผนปฏิบัติการบาร์เบโดสเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก (SIDS) เมื่อวันที่ 10-14 มกราคม 2548 ณ ประเทศมอริเชียส และการประชุมระดับโลกว่าด้วยการลดภัยพิบัติ (WCDR) เมื่อวันที่ 18-22 มกราคม 2548 ณ เมืองโกเบ และการประชุมเชิงปฏิบัติการอาเซียน-จีน ว่าด้วยการเตือนภัยคลื่นยักษ์ เมื่อวันที่ 25-26 มกราคม 2548 ณ กรุงปักกิ่ง
6. พวกเรายินดีต่อการหารือและข้อสรุปของการประชุมพิเศษว่าด้วยภัยพิบัติคลื่นยักษ์ในมหาสมุทรอินเดียในการประชุม WCDR และรับทราบข้อเสนอต่างๆ สำหรับการจัดตั้งระบบเตือนภัยคลื่นยักษ์ในมหาสมุทรอินเดียซึ่งแต่ละประเทศได้ประกาศไว้ พวกเราขอย้ำว่า ระบบเตือนภัยล่วงหน้าในภูมิภาคควรสอดคล้องกับสภาวการณ์และความต้องการเฉพาะของประเทศที่เกี่ยวข้อง
7. พวกเราตระหนักถึงความจำเป็นของการเสริมสร้างขีดความสามารถในระดับประเทศและระดับภูมิภาคเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของสาธารณชนในการป้องกันภัยคลื่นยักษ์ ดังนั้น ระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพควรมีองค์ประกอบคือ การประเมินความเสี่ยง การติดตามภัย การพยากรณ์ และการจัดรูปแบบการเตือนภัยการเผยแพร่และการสื่อสารข้อมูลการเตือนภัย รวมทั้งความรู้และการเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติการด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นต้องมีทั้งเทคโนโลยีและโครงสร้างสนับสนุนพื้นฐานที่เพียงพอที่สามารถสร้างการตระหนักรู้ การแบ่งปันข้อมูลและความรู้ ตลอดจนการฝึกอบรม การเสริมสร้างขีดความสามารถซึ่งครอบคลุมถึงการให้การสนับสนุนด้านเทคนิค เพื่อให้ประเทศและชุมชนสามารถรับและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการดำเนินการในระดับต่างๆ และอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างสถาบันด้านเทคนิค องค์กรของรัฐ ภาคประชาสังคม และชุมชนท้องถิ่น ยุทธศาสตร์การเตือนภัยที่ครอบคลุมรอบด้านจะเริ่มตั้งแต่การป้องกัน การบรรเทา และการตอบสนองในกรณีเกิดภัยพิบัติ ขณะเดียวกันระบบการเตือนภัยล่วงหน้ากรณีคลื่นยักษ์ควรได้รับการเชื่อมโยงเข้ากับระบบเตือนภัยที่มีอยู่ เพื่อส่งเสริมการเตือนภัยแบบหลายมิติ และผนวกเข้ากับแผนพัฒนาประเทศ
การดำเนินการต่อไป
8. พวกเราขอประกาศเจตจำนงทางการเมืองที่จะไม่ยอมให้โศกนาฏกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นอีก และมุ่งมั่นในการจัดตั้งระบบการจัดการเตือนภัยล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพและอย่างทันท่วงทีทั่วทั้งมหาสมุทรอินเดียและ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเร็ว
9. พวกเราตกลงที่จะดำเนินการเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งระบบการเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับภูมิภาค และย้ำความจำเป็นที่จะต้องเริ่มดำเนินการโดยทันที พวกเราตระหนักดีว่า การเชื่อมโยงกลไกระดับประเทศเข้ากับกลไกในระดับ อนุภูมิภาคและภูมิภาคจะเป็นการช่วยสนับสนุนกลไกในระดับโลก ซึ่งสหประชาชาติควรมีบทบาทหลัก พวกเราตระหนักดี ถึงประสบการณ์และความเชี่ยวชาญอันยาวนานในภูมิภาคแปซิฟิกผ่านระบบการเตือนภัยคลื่นยักษ์ระหว่างประเทศ ในแปซิฟิก (ITSU) ซึ่งประสานงานโดยคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลด้านสมุทรศาสตร์ (IOC) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) รวมทั้งการดำเนินงานของ Global Earth Observation System of Systems (GEOSS) ภายใต้ Intergovernmental Group on Earth Observations รวมทั้ง The Tropical Cyclone Centre of Reunion Island และ European Meteorological Satellite (METEOSAT)
10. เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ พวกเราตัดสินใจที่จะดำเนินการตามขั้นตอนซึ่งสามารถปฏิบัติได้ในขณะนี้ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการเตือนภัยล่วงหน้าภายในมหาสมุทรอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พวกเราเห็นพ้องที่จะร่วมมือเพื่อจัดตั้งการเตรียมการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้าเฉพาะกิจ และยกระดับระบบ เตือนภัยล่วงหน้าประเทศ พร้อมกับการมุ่งสู่ระบบความร่วมมือในระดับภูมิภาค พวกเรายินดีรับการเสนอให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินและเทคนิคจากนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศที่สนับสนุนกิจกรรมการเสริมสร้างขีดความสามารถในกระบวนการนี้
11. พวกเราตัดสินใจที่จะพัฒนาระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตือนภัยล่วงหน้าระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและศูนย์ระดับชาติต่าง ๆ ที่มีอยู่ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการขยายความร่วมมือ
ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศเกี่ยวกับระบบเตือนภัยล่วงหน้ากรณีคลื่นยักษ์ พวกเราสนับสนุนให้
มีการขยายเครือข่ายระหว่างหน่วยงานหลักต่าง ๆ ของเรา รวมทั้งผ่านเวทีระดับภูมิภาค เช่นคณะกรรมการ ประจำอาเซียนว่าด้วยการจัดการด้านภัยพิบัติ (ACDM) และคณะกรรมการมหาสมุทรอินเดีย เพื่อยกระดับ องค์ความรู้ และขีดความสามารถ รวมทั้งร่วมแบ่งปันการดำเนินการที่เป็นประโยชน์
12. พวกเรามุ่งมั่นที่จะกำหนดเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินการที่สำคัญในการวางรากฐานสำหรับการจัดตั้งระบบการเตือนภัยล่วงหน้าในกรณีคลื่นยักษ์ในภูมิภาคภายในกรอบเวลาไม่เกินกลางปี 2549 ระบบที่จะได้รับการพัฒนาต่อไปควรมีความครอบคลุมและส่งเสริมยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศในการพัฒนาระบบการเตือนภัยล่วงหน้าในระดับโลก รวมถึงในส่วนที่คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลด้านสมุทรศาสตร์ (IOC) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และสำนักเลขาธิการระหว่างองค์กรด้านยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศเพื่อการลดภัยพิบัติ (UNISDR) กำลังดำเนินการอยู่ ระบบดังกล่าวควรประกอบด้วยยุทธศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยงและหลีกเลี่ยงภัยพิบัติ โดยเสริมสร้างขีดความสามารถของกลไกที่มีอยู่เท่าที่จะสามารถกระทำได้ นอกจากนี้ แนวทางการดำเนินการของระบบควรจะครอบคลุมถึงภัยพิบัติอื่นๆ ด้วย
13. พวกเราตกลงที่จะพัฒนาการจัดตั้งระบบการเตือนภัยดังกล่าวโดยควรมีการจัดประชุมในระดับผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความต้องการของแต่ละประเทศ โดยการสนับสนุนจากสถาบันและองค์การในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ และจากรัฐบาลต่างๆ ตามความเหมาะสม กิจกรรมดังกล่าวควรเน้นเรื่องการระบุถึงความแตกต่างในด้านความพร้อมในปัจจุบัน รวมถึงข้อพิจารณาด้านเทคนิค เพื่อจะได้มีเทคโนโลยีและรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการตรวจสอบ การวิเคราะห์ และการกระจายข้อมูลการเตือนภัยล่วงหน้า รวมทั้งมาตรการสนับสนุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการเตือนภัยล่วงหน้า และควรพิจารณาถึงวิธีการเสริมสร้างศักยภาพของสถาบันของระดับชาติและภูมิภาคผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศและความเป็นหุ้นส่วน โดยควรให้ความสำคัญต่อวิธีและแนวทางการเสริมสร้างโครงสร้างสนับสนุนพื้นฐาน โดยเฉพาะด้านการศึกษา การส่งเสริมองค์ความรู้ ตลอดจนการเข้าไปมีส่วนร่วมของชุมชนต่าง ๆ ทั้งในภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องภัยพิบัติ การเตรียมความพร้อม และการเตรียมการป้องกัน ข้อพิจารณาเหล่านี้ควรคำนึงถึงการประชุมประสานงานระดับภูมิภาคครั้งที่ 1 ซึ่งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลด้านสมุทรศาสตร์ (IOC) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จะจัดขึ้น ณ กรุงปารีส ระหว่างวันที่ 3-8 มีนาคม 2548
14. พวกเราตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของกลไกระดับประเทศและระดับภูมิภาค และตกลงที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกเหล่านี้ ในการนี้ พวกเรายอมรับเป้าประสงค์และความพร้อมของศูนย์เตรียมความพร้อมสำหรับภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) ซึ่งมีประสบการณ์ยาวนานในฐานะเป็นศูนย์ที่มีศักยภาพและมีสถานะเป็นองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งจะพัฒนาขีดความสามารถของตนเอง โดยรวมถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถทางเทคโนโลยีเพิ่มเติม เพื่อเป็นศูนย์เตือนภัยภูมิภาคหรือศูนย์กลางสำหรับการจัดตั้งระบบเครือข่ายเตือนภัยคลื่นยักษ์ล่วงหน้าในภูมิภาค โดยจะทำงานร่วมกับกลไกที่เกี่ยวข้องต่างๆ ที่มีอยู่ทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และระหว่างประเทศ อาทิ ศูนย์ข้อมูลธรณีพิบัติภัยของอาเซียน (AEIC) ศูนย์อุตุนิยมพิเศษของอาเซียน (ASMC) และศูนย์ลดภัยพิบัติของเอเชีย (ADRC) และ Indian Ocean Global Ocean Observing System (IOGOSS) การดำเนินดังกล่าวจะได้รับการพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ ซึ่งมีคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลด้านสมุทรศาสตร์ (IOC) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เป็นผู้ประสานงาน
15. พวกเราให้คำมั่นจะระดมงบประมาณและความเชี่ยวชาญทางเทคนิคเพื่อแนวคิดริเริ่มดังกล่าว โดยพวกเรายินดีต่อการจัดตั้งกองทุนตามความสมัครใจสำหรับการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าคลื่นยักษ์ ในมหาสมุทรอินเดียและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้มีเงินทุนที่เพียงพอสำหรับการเสริมสร้างขีดความสามารถของกลไกระดับประเทศและภูมิภาค กองทุนนี้จะดำเนินการบนพื้นฐานของความมีประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่น และความยั่งยืน โดยมี ESCAP เป็นผู้บริหารกองทุน พวกเรายินดีต่อคำมั่นของไทยที่จะมอบเงินทุนจำนวน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อจัดตั้งกองทุนดังกล่าว พวกเราขอเชิญให้ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล องค์การระหว่างประเทศ และบรรษัท ร่วมกันสนับสนุนข้อริเริ่มเหล่านี้ รวมทั้งสนับสนุนกองทุนนี้
16. พวกเราแสดงความหวังว่า เมื่อคำนึงถึงการที่ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติมีผลกระทบในระดับโลก ดังนั้น ระบบการเตือนภัยและการตอบสนองต่อความเสี่ยงดังกล่าว จึงควรจะอยู่ภายใต้กรอบของสหประชาชาติ พวกเราร้องขอให้องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เริ่มศึกษาวิธีการและการดำเนินการเพื่อบรรลุแนวทางนี้ รวมทั้งช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงแนวทางดังกล่าว
17. พวกเรามุ่งมั่นที่จะให้มีการติดตามผลที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับข้อริเริ่มอื่นๆ รวมถึงการประชุมระหว่างประเทศภายใต้คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลด้านสมุทรศาสตร์ (IOC) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ และ GEOSS พวกเราเห็นชอบที่จะจัดตั้งกลุ่มประสานงานเพื่อเป็นกลไกสานต่อผลการประชุม และเพื่อนำเสนอแนวทางปฏิบัติต่อไป กลุ่มประสานงานดังกล่าวควรที่จะจัดประชุมครั้งแรกโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และควรที่จะมีการจัดการประชุมพิจารณาทบทวนผลการประชุมระดับรัฐมนตรีในครั้งนี้ภายใน 1 ปีในภูมิภาค
18. พวกเราขอแสดงความชื่นชมต่อการตอบสนองที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งของรัฐบาลไทยต่อเหตุการณ์ คลื่นยักษ์ในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 พวกเรายินดีต่อภาวะความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลไทย ในการจัดการประชุมที่ภูเก็ตในครั้งนี้ และต่อการส่งเสริมการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับคลื่นยักษ์ของภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
พวกเรารัฐมนตรีและผู้แทนพิเศษจากออสเตรเลีย เบลเยี่ยม บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา แคนาดา จีน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เคนยา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย มัลดีฟส์ มอริเชียส โมซัมบิก พม่า เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐเกาหลี รัสเซีย ซีเชลส์ สิงคโปร์ โซมาเลีย แอฟริกาใต้ สเปน ศรีลังกา สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ แทนซาเนีย ไทย ติมอร์-เลสเต้ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม ลักเซมเบิร์กในฐานะประธาน สหภาพยุโรป และคณะกรรมการยุโรป ได้พบกันเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2548 ตามคำเชิญของรัฐบาลไทย เพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเกี่ยวกับการจัดการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้าในกรณีคลื่นยักษ์สำหรับมหาสมุทรอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พวกเราตกลงตามปฏิญญาทางการเมืองดังต่อไปนี้
อารัมภบท
1. พวกเรามารวมตัวกันหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 และ
ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นต่อชีวิตมนุษย์และวิถีชีวิต โศกนาฏกรรมครั้งนี้ไม่เพียงแต่กระทบต่อความมั่นคง และการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาตินั้นไร้พรมแดน ผลกระทบในระดับโลกของโศกนาฏกรรมครั้งนี้ได้ย้ำถึงความรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการกับภัยคุกคามจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ
2. พวกเราตระหนักถึงบทบาทนำของประเทศที่ได้รับผลกระทบในการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ และบทบาทอันมีค่าของประชาคมระหว่างประเทศและสหประชาชาติในการให้ความช่วยเหลือประเทศและชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ตั้งแต่ช่วงระยะของการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนไปจนถึงการบูรณะฟื้นฟู พวกเราขอย้ำความจำเป็นที่จะดำรงความพยายามนี้ไว้ต่อไป
3. พวกเราชื่นชมคำกล่าวเปิดการประชุมของนายกรัฐมนตรีของไทย และถ้อยแถลงของผู้ประสานงานพิเศษแห่งสหประชาชาติสำหรับความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมต่อชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์ในฐานะผู้แทนของเลขาธิการสหประชาชาติ พวกเรายังได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมที่มีคุณค่าของเจ้าหน้าที่อาวุโส
จากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และคณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลด้านสมุทรศาสตร์ (IOC) โครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) โครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาชาติ (UNEP) องค์การอุตุนิยมวิทยาของโลก (WMO) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) สำนักงานเพื่อความร่วมมือด้านกิจการมนุษยธรรม (UNOCHA) สำนักเลขาธิการระหว่างองค์กรด้านยุทธศาสตร์ ระหว่างประเทศเพื่อการลดภัยพิบัติ (UNISDR) ศูนย์ข้อมูลระหว่างประเทศเกี่ยวกับคลื่นยักษ์ (ITIC) และศูนย์เตือนภัยคลื่นยักษ์สำหรับแปซิฟิก (PWTC) เลขาธิการบริหารคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) เลขาธิการสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ผู้แทนธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งอิสลาม (IDB) และผู้อำนวยการใหญ่ศูนย์เตรียมความพร้อมสำหรับภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) ซึ่งเข้าร่วมการประชุม พวกเรายังชื่นชมเอกสารแนวคิดซึ่งจัดเตรียมโดยประเทศไทยสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรี ณ จังหวัดภูเก็ต
4. พวกเราย้ำความจำเป็นในการลงทุนเพื่อเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะการเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อลดความสูญเสียจากภัยพิบัติในลักษณะที่คล้ายคลึงกันในอนาคต การลงทุนเพื่อการลดภัยอันตรายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งสามารถประสบผลสำเร็จได้ดีที่สุดโดยผ่านความพยายามที่เข้มแข็งในระดับประเทศ ควบคู่กับการสนับสนุนผ่านความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศ อันจะเป็นการสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) รวมทั้งวัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการบาร์เบโดสเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก (SIDS) เมื่อวันที่ 10-14 มกราคม 2548 ณ ประเทศมอริเชียส ได้ ในส่วนของแนวทางที่สมบูรณ์เพื่อลดและจัดการกับภัยพิบัตินั้น พวกเราตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องแสวงหาแนวทางและวิธีการที่จะเพิ่มพูน ประสิทธิภาพของการปฏิบัติการร่วมกัน รวมทั้งผ่านการพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะมีระบบเตรียมการป้องกันทั้งในระดับภูมิภาค และระดับโลก
5. พวกเราได้รับแรงบันดาลใจจากความมุ่งมั่นของการประชุมระดับผู้นำอาเซียนวาระพิเศษว่าด้วยภายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2548 ณ กรุงจาการ์ตา เกี่ยวกับการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า สำหรับภูมิภาค พวกเรายินดีต่อบทบาทนำของอาเซียน รวมถึงการเสนอปณิธานว่าด้วยการเสริมสร้างการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน การฟื้นฟู การบูรณะ และการป้องกัน ภายหลังจากภัยพิบัติคลื่นยักษ์ในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 59 เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2548 ได้ให้การรับรองโดยฉันทามติ พวกเราตระหนักถึง การหารือเกี่ยวกับการเตือนภัยคลื่นยักษ์ล่วงหน้าในการประชุมสหประชาชาติเพื่อทบทวนแนวทางการดำเนินการของแผนปฏิบัติการบาร์เบโดสเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก (SIDS) เมื่อวันที่ 10-14 มกราคม 2548 ณ ประเทศมอริเชียส และการประชุมระดับโลกว่าด้วยการลดภัยพิบัติ (WCDR) เมื่อวันที่ 18-22 มกราคม 2548 ณ เมืองโกเบ และการประชุมเชิงปฏิบัติการอาเซียน-จีน ว่าด้วยการเตือนภัยคลื่นยักษ์ เมื่อวันที่ 25-26 มกราคม 2548 ณ กรุงปักกิ่ง
6. พวกเรายินดีต่อการหารือและข้อสรุปของการประชุมพิเศษว่าด้วยภัยพิบัติคลื่นยักษ์ในมหาสมุทรอินเดียในการประชุม WCDR และรับทราบข้อเสนอต่างๆ สำหรับการจัดตั้งระบบเตือนภัยคลื่นยักษ์ในมหาสมุทรอินเดียซึ่งแต่ละประเทศได้ประกาศไว้ พวกเราขอย้ำว่า ระบบเตือนภัยล่วงหน้าในภูมิภาคควรสอดคล้องกับสภาวการณ์และความต้องการเฉพาะของประเทศที่เกี่ยวข้อง
7. พวกเราตระหนักถึงความจำเป็นของการเสริมสร้างขีดความสามารถในระดับประเทศและระดับภูมิภาคเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของสาธารณชนในการป้องกันภัยคลื่นยักษ์ ดังนั้น ระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพควรมีองค์ประกอบคือ การประเมินความเสี่ยง การติดตามภัย การพยากรณ์ และการจัดรูปแบบการเตือนภัยการเผยแพร่และการสื่อสารข้อมูลการเตือนภัย รวมทั้งความรู้และการเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติการด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นต้องมีทั้งเทคโนโลยีและโครงสร้างสนับสนุนพื้นฐานที่เพียงพอที่สามารถสร้างการตระหนักรู้ การแบ่งปันข้อมูลและความรู้ ตลอดจนการฝึกอบรม การเสริมสร้างขีดความสามารถซึ่งครอบคลุมถึงการให้การสนับสนุนด้านเทคนิค เพื่อให้ประเทศและชุมชนสามารถรับและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการดำเนินการในระดับต่างๆ และอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างสถาบันด้านเทคนิค องค์กรของรัฐ ภาคประชาสังคม และชุมชนท้องถิ่น ยุทธศาสตร์การเตือนภัยที่ครอบคลุมรอบด้านจะเริ่มตั้งแต่การป้องกัน การบรรเทา และการตอบสนองในกรณีเกิดภัยพิบัติ ขณะเดียวกันระบบการเตือนภัยล่วงหน้ากรณีคลื่นยักษ์ควรได้รับการเชื่อมโยงเข้ากับระบบเตือนภัยที่มีอยู่ เพื่อส่งเสริมการเตือนภัยแบบหลายมิติ และผนวกเข้ากับแผนพัฒนาประเทศ
การดำเนินการต่อไป
8. พวกเราขอประกาศเจตจำนงทางการเมืองที่จะไม่ยอมให้โศกนาฏกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นอีก และมุ่งมั่นในการจัดตั้งระบบการจัดการเตือนภัยล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพและอย่างทันท่วงทีทั่วทั้งมหาสมุทรอินเดียและ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเร็ว
9. พวกเราตกลงที่จะดำเนินการเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งระบบการเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับภูมิภาค และย้ำความจำเป็นที่จะต้องเริ่มดำเนินการโดยทันที พวกเราตระหนักดีว่า การเชื่อมโยงกลไกระดับประเทศเข้ากับกลไกในระดับ อนุภูมิภาคและภูมิภาคจะเป็นการช่วยสนับสนุนกลไกในระดับโลก ซึ่งสหประชาชาติควรมีบทบาทหลัก พวกเราตระหนักดี ถึงประสบการณ์และความเชี่ยวชาญอันยาวนานในภูมิภาคแปซิฟิกผ่านระบบการเตือนภัยคลื่นยักษ์ระหว่างประเทศ ในแปซิฟิก (ITSU) ซึ่งประสานงานโดยคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลด้านสมุทรศาสตร์ (IOC) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) รวมทั้งการดำเนินงานของ Global Earth Observation System of Systems (GEOSS) ภายใต้ Intergovernmental Group on Earth Observations รวมทั้ง The Tropical Cyclone Centre of Reunion Island และ European Meteorological Satellite (METEOSAT)
10. เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ พวกเราตัดสินใจที่จะดำเนินการตามขั้นตอนซึ่งสามารถปฏิบัติได้ในขณะนี้ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการเตือนภัยล่วงหน้าภายในมหาสมุทรอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พวกเราเห็นพ้องที่จะร่วมมือเพื่อจัดตั้งการเตรียมการเพื่อเตือนภัยล่วงหน้าเฉพาะกิจ และยกระดับระบบ เตือนภัยล่วงหน้าประเทศ พร้อมกับการมุ่งสู่ระบบความร่วมมือในระดับภูมิภาค พวกเรายินดีรับการเสนอให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินและเทคนิคจากนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศที่สนับสนุนกิจกรรมการเสริมสร้างขีดความสามารถในกระบวนการนี้
11. พวกเราตัดสินใจที่จะพัฒนาระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตือนภัยล่วงหน้าระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและศูนย์ระดับชาติต่าง ๆ ที่มีอยู่ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการขยายความร่วมมือ
ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศเกี่ยวกับระบบเตือนภัยล่วงหน้ากรณีคลื่นยักษ์ พวกเราสนับสนุนให้
มีการขยายเครือข่ายระหว่างหน่วยงานหลักต่าง ๆ ของเรา รวมทั้งผ่านเวทีระดับภูมิภาค เช่นคณะกรรมการ ประจำอาเซียนว่าด้วยการจัดการด้านภัยพิบัติ (ACDM) และคณะกรรมการมหาสมุทรอินเดีย เพื่อยกระดับ องค์ความรู้ และขีดความสามารถ รวมทั้งร่วมแบ่งปันการดำเนินการที่เป็นประโยชน์
12. พวกเรามุ่งมั่นที่จะกำหนดเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินการที่สำคัญในการวางรากฐานสำหรับการจัดตั้งระบบการเตือนภัยล่วงหน้าในกรณีคลื่นยักษ์ในภูมิภาคภายในกรอบเวลาไม่เกินกลางปี 2549 ระบบที่จะได้รับการพัฒนาต่อไปควรมีความครอบคลุมและส่งเสริมยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศในการพัฒนาระบบการเตือนภัยล่วงหน้าในระดับโลก รวมถึงในส่วนที่คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลด้านสมุทรศาสตร์ (IOC) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และสำนักเลขาธิการระหว่างองค์กรด้านยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศเพื่อการลดภัยพิบัติ (UNISDR) กำลังดำเนินการอยู่ ระบบดังกล่าวควรประกอบด้วยยุทธศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยงและหลีกเลี่ยงภัยพิบัติ โดยเสริมสร้างขีดความสามารถของกลไกที่มีอยู่เท่าที่จะสามารถกระทำได้ นอกจากนี้ แนวทางการดำเนินการของระบบควรจะครอบคลุมถึงภัยพิบัติอื่นๆ ด้วย
13. พวกเราตกลงที่จะพัฒนาการจัดตั้งระบบการเตือนภัยดังกล่าวโดยควรมีการจัดประชุมในระดับผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความต้องการของแต่ละประเทศ โดยการสนับสนุนจากสถาบันและองค์การในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ และจากรัฐบาลต่างๆ ตามความเหมาะสม กิจกรรมดังกล่าวควรเน้นเรื่องการระบุถึงความแตกต่างในด้านความพร้อมในปัจจุบัน รวมถึงข้อพิจารณาด้านเทคนิค เพื่อจะได้มีเทคโนโลยีและรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการตรวจสอบ การวิเคราะห์ และการกระจายข้อมูลการเตือนภัยล่วงหน้า รวมทั้งมาตรการสนับสนุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการเตือนภัยล่วงหน้า และควรพิจารณาถึงวิธีการเสริมสร้างศักยภาพของสถาบันของระดับชาติและภูมิภาคผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศและความเป็นหุ้นส่วน โดยควรให้ความสำคัญต่อวิธีและแนวทางการเสริมสร้างโครงสร้างสนับสนุนพื้นฐาน โดยเฉพาะด้านการศึกษา การส่งเสริมองค์ความรู้ ตลอดจนการเข้าไปมีส่วนร่วมของชุมชนต่าง ๆ ทั้งในภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องภัยพิบัติ การเตรียมความพร้อม และการเตรียมการป้องกัน ข้อพิจารณาเหล่านี้ควรคำนึงถึงการประชุมประสานงานระดับภูมิภาคครั้งที่ 1 ซึ่งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลด้านสมุทรศาสตร์ (IOC) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จะจัดขึ้น ณ กรุงปารีส ระหว่างวันที่ 3-8 มีนาคม 2548
14. พวกเราตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของกลไกระดับประเทศและระดับภูมิภาค และตกลงที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกเหล่านี้ ในการนี้ พวกเรายอมรับเป้าประสงค์และความพร้อมของศูนย์เตรียมความพร้อมสำหรับภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) ซึ่งมีประสบการณ์ยาวนานในฐานะเป็นศูนย์ที่มีศักยภาพและมีสถานะเป็นองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งจะพัฒนาขีดความสามารถของตนเอง โดยรวมถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถทางเทคโนโลยีเพิ่มเติม เพื่อเป็นศูนย์เตือนภัยภูมิภาคหรือศูนย์กลางสำหรับการจัดตั้งระบบเครือข่ายเตือนภัยคลื่นยักษ์ล่วงหน้าในภูมิภาค โดยจะทำงานร่วมกับกลไกที่เกี่ยวข้องต่างๆ ที่มีอยู่ทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และระหว่างประเทศ อาทิ ศูนย์ข้อมูลธรณีพิบัติภัยของอาเซียน (AEIC) ศูนย์อุตุนิยมพิเศษของอาเซียน (ASMC) และศูนย์ลดภัยพิบัติของเอเชีย (ADRC) และ Indian Ocean Global Ocean Observing System (IOGOSS) การดำเนินดังกล่าวจะได้รับการพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ ซึ่งมีคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลด้านสมุทรศาสตร์ (IOC) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เป็นผู้ประสานงาน
15. พวกเราให้คำมั่นจะระดมงบประมาณและความเชี่ยวชาญทางเทคนิคเพื่อแนวคิดริเริ่มดังกล่าว โดยพวกเรายินดีต่อการจัดตั้งกองทุนตามความสมัครใจสำหรับการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าคลื่นยักษ์ ในมหาสมุทรอินเดียและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้มีเงินทุนที่เพียงพอสำหรับการเสริมสร้างขีดความสามารถของกลไกระดับประเทศและภูมิภาค กองทุนนี้จะดำเนินการบนพื้นฐานของความมีประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่น และความยั่งยืน โดยมี ESCAP เป็นผู้บริหารกองทุน พวกเรายินดีต่อคำมั่นของไทยที่จะมอบเงินทุนจำนวน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อจัดตั้งกองทุนดังกล่าว พวกเราขอเชิญให้ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล องค์การระหว่างประเทศ และบรรษัท ร่วมกันสนับสนุนข้อริเริ่มเหล่านี้ รวมทั้งสนับสนุนกองทุนนี้
16. พวกเราแสดงความหวังว่า เมื่อคำนึงถึงการที่ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติมีผลกระทบในระดับโลก ดังนั้น ระบบการเตือนภัยและการตอบสนองต่อความเสี่ยงดังกล่าว จึงควรจะอยู่ภายใต้กรอบของสหประชาชาติ พวกเราร้องขอให้องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เริ่มศึกษาวิธีการและการดำเนินการเพื่อบรรลุแนวทางนี้ รวมทั้งช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงแนวทางดังกล่าว
17. พวกเรามุ่งมั่นที่จะให้มีการติดตามผลที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับข้อริเริ่มอื่นๆ รวมถึงการประชุมระหว่างประเทศภายใต้คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลด้านสมุทรศาสตร์ (IOC) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) และองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ และ GEOSS พวกเราเห็นชอบที่จะจัดตั้งกลุ่มประสานงานเพื่อเป็นกลไกสานต่อผลการประชุม และเพื่อนำเสนอแนวทางปฏิบัติต่อไป กลุ่มประสานงานดังกล่าวควรที่จะจัดประชุมครั้งแรกโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และควรที่จะมีการจัดการประชุมพิจารณาทบทวนผลการประชุมระดับรัฐมนตรีในครั้งนี้ภายใน 1 ปีในภูมิภาค
18. พวกเราขอแสดงความชื่นชมต่อการตอบสนองที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งของรัฐบาลไทยต่อเหตุการณ์ คลื่นยักษ์ในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 พวกเรายินดีต่อภาวะความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลไทย ในการจัดการประชุมที่ภูเก็ตในครั้งนี้ และต่อการส่งเสริมการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับคลื่นยักษ์ของภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-