คณะกรรมการบริหาร ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ท่านประธานสาขา และพี่น้องชาวประชาธิปัตย์ที่เคารพรักทุกท่านครับ
วันนี้การประชุมจะดำเนินการไปด้วยความรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตามยังมีอาหารกลางวันนะครับ สำหรับที่ประชุมใหญ่ที่ได้เตรียมไว้แล้ว และไม่ต้องห่วงครับวันนี้ผมคงไม่ได้ใช้เวลาเหมือนที่อภิปรายในการแถลงนโยบายของ
รัฐบาลต่อรัฐสภานะครับ พี่น้องประชาธิปัตย์ที่เคารพครับ ปีนี้เป็นปีที่รู้สึกว่าพรรคของเราก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ ของการเป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ซึ่งผมเชื่อว่าพวกเราทุกคนในห้องนี้ทราบดีมาโดยว่า นั่นคือ การประกอบกันเป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ และได้อยู่เคียงคู่กับประชาธิปไตยของไทย กับสังคมไทย กับพี่น้องประชาชนคนไทยมายาวนาน แต่ว่าหลายท่านอาจจะไม่ทราบว่า 60 ปีนี้ไม่เพียงแต่ยาวนานที่สุดในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และสำหรับหลายประเทศที่เป็นปรพเทศกำลังพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและทางด้านการเมือง คิดว่าเป็นระบบการเมืองแปรปรวนสูง
และประเทศไทย การเมืองไทยก็ไม่มีข้อยกเว้น ในช่วง 70 - 80 ปี ก็ต้องถือว่าพรรคของเรานั้น มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีรากฐานที่แข็งแกร่ง และเป็นไปอย่างที่ท่านเลขาธิการได้กล่าวก่อนหน้านี้ ก็คือ เป็นสถาบันการเมืองของประเทศไทยอย่างแท้จริง ในวาระที่เราก้าวย่างสู่ปีที่ 60 ก็จะมีวาระสำคัญอีกวาระหนึ่ง ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์ก็จะมีการจัดงานครบรอบ 100 ปีของอดีตท่านหัวหน้าพรรค เสนีย์ ปราโมทย์ เราก็จะมีการจัดงาน 100 ปีของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมทย์ ในวันที่ 26 พ.ค. ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของท่านจนถึงสิ้นปีนี้ ผมกราบเรียนว่าเรื่องของสถาบันการเมืองนั้นคงไม่ได้บ่งบอกจากอายุของพรรคการเมืองเท่านั้น ไม่ได้บ่งบอกจากการที่พรรคของเรามีสมาชิก 4 ล้านคน และมีสาขาพรรคเกือบ 200 สาขา แต่จริงๆหัวใจของการเป็นสถาบันการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ก็คือ พรรคของเราตั้งขึ้นมา โดยให้พี่น้องประชาชนเป็นเจ้าของ เครื่องมือหรือกลไกของบุคคลใด หรือกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และการที่เรามีพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมา เพื่อให้พี่น้องประชาชนเป็นเจ้าของนั้น คือ สิ่งที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ยืนยาวมาจนถึงทุกวันนี้ และสิ่งที่หล่อหลอมให้คนของพรรคประชาธิปัตย์ เป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของ อุดมการณ์ ที่ผู้ก่อตั้งของพรรคได้ประกาศเอาไว้เมื่อ 60 ปีที่แล้ว สิ่งนี้คือสิ่งที่เราประชาธิปัตย์ทุกคนนั้น มีความภาคภูมิใจ และสิ่งนี้คือสิ่งที่ผมและคณะกรรมการบริหารพรรคจะตระหนักสำนึกอยู่ตลอดเวลาว่า ทำอย่างไรเราจะรักษาสิ่งที่เป็นความภาคภูมืใจของพวกเราชาวประชาธิปัตย์ไว้ได้ตลอด
รายละเอียด
คำต่อคำ ::
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
คณะกรรมการบริหาร ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ท่านประธานสาขา และพี่น้องชาวประชาธิปัตย์ที่เคารพรักทุกท่านครับ
วันนี้การประชุมจะดำเนินการไปด้วยความรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตามยังมีอาหารกลางวันนะครับ สำหรับที่ประชุมใหญ่ที่ได้เตรียมไว้แล้ว และไม่ต้องห่วงครับวันนี้ผมคงไม่ได้ใช้เวลาเหมือนที่อภิปรายในการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภานะครับ พี่น้องประชาธิปัตย์ที่เคารพครับ ปีนี้เป็นปีที่รู้สึกว่าพรรคของเราก้าวย่างเข้าสู่ปีที่ของการเป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ซึ่งผมเชื่อว่าพวกเราทุกคนในห้องนี้ทราบดีมาโดยว่า นั่นคือ การประกอบกันเป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ และได้อยู่เคียงคู่กับประชาธิปไตยของไทย กับสังคมไทย กับพี่น้องประชาชนคนไทยมายาวนาน แต่ว่าหลายท่านอาจจะไม่ทราบว่า 60 ปีนี้ไม่เพียงแต่ยาวนานที่สุดในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และสำหรับหลายประเทศที่เป็นปรพเทศกำลังพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและทางด้านการเมือง คิดว่าเป็นระบบการเมืองแปรปรวนสูง
และประเทศไทย การเมืองไทยก็ไม่มีข้อยกเว้น ในช่วง 70 - 80 ปี ก็ต้องถือว่าพรรคของเรานั้น มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีรากฐานที่แข็งแกร่ง และเป็นไปอย่างที่ท่านเลขาธิการได้กล่าวก่อนหน้านี้ ก็คือ เป็นสถาบันการเมืองของประเทศไทยอย่างแท้จริง ในวาระที่เราก้าวย่างสู่ปีที่ 60 ก็จะมีวาระสำคัญอีกวาระหนึ่ง ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์ก็จะมีการจัดงานครบรอบ 100 ปีของอดีตท่านหัวหน้าพรรค เสนีย์ ปราโมทย์ เราก็จะมีการจัดงาน 100 ปีของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมทย์ ในวันที่ 26 พ.ค. ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของท่านจนถึงสิ้นปีนี้ ผมกราบเรียนว่าเรื่องของสถาบันการเมืองนั้นคงไม่ได้บ่งบอกจากอายุของพรรคการเมืองเท่านั้น ไม่ได้บ่งบอกจากการที่พรรคของเรามีสมาชิก 4 ล้านคน และมีสาขาพรรคเกือบ 200 สาขา แต่จริงๆหัวใจของการเป็นสถาบันการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ก็คือ พรรคของเราตั้งขึ้นมา โดยให้พี่น้องประชาชนเป็นเจ้าของ เครื่องมือหรือกลไกของบุคคลใด หรือกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และการที่เรามีพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมา เพื่อให้พี่น้องประชาชนเป็นเจ้าของนั้น คือ สิ่งที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ยืนยาวมาจนถึงทุกวันนี้ และสิ่งที่หล่อหลอมให้คนของพรรคประชาธิปัตย์ เป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของ อุดมการณ์ ที่ผู้ก่อตั้งของพรรคได้ประกาศเอาไว้เมื่อ 60 ปีที่แล้ว สิ่งนี้คือสิ่งที่เราประชาธิปัตย์ทุกคนนั้น มีความภาคภูมิใจ และสิ่งนี้คือสิ่งที่ผมและคณะกรรมการบริหารพรรคจะตระหนักสำนึกอยู่ตลอดเวลาว่า ทำอย่างไรเราจะรักษาสิ่งที่เป็นความภาคภูมืใจของพวกเราชาวประชาธิปัตย์ไว้ได้ตลอด
แน่นอนที่สุดหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ผ่านมา เมื่อเราไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง และถ้าดูกันอย่างเคร่งครัดแล้ว ก็ต้องถือว่าพรรคประชาธิปัตย์นั้น ไม่ประสบความสำเร็จ คือ ไม่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไป มาถึง 4 สมัยติดต่อกัน สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ผมได้มายืนอยู่ที่ประชุมแห่งนี้เมื่อเดือนที่แล้ว ในวันที่ท่านได้กรุณามอบความไว้วางใจให้กับผม ว่า มันทำให้เราต้องมาทบทวนตัวเอง เพื่อนำทางพรรคให้เดินไปข้างหน้า โดยสามารถที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะความเปลี่ยนแปลงของสังคม และความเปลี่ยนแปลงของการเมือง เมื่อวานนี้ผมได้มีโอกาสพบกับท่านประธานสาขาพรรคในช่วงบ่าย ได้ชี้ให้เห็นครับว่า ในอดีตที่ผ่านมานั้น ตลอดระยะเวลาเกือบ 60 ปี พรรคประชาธิปัตย์นั้น ดูไปแล้วมักจะเป็นพรรคการเมืองที่ทำหน้าที่ฝ่ายค้าน เป็นพรรคเสียงข้างน้อย เป็นข้อเท็จจริงที่เราต้องยอมรับเพราะว่า ตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา เราจะสังเกตเห็นว่าเมื่อใดก็ตามที่คู่แข่งการเมืองของเรารวมตัวได้ เราไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง นี่เป็นข้อเท็จจริงมาตั้งแต่สมัยจอมพล ป. จอมพลสฤษฏ์ จอมพลถนอม ยาวนานมาจนถึงคุณบรรหาร พล.อ.ชวลิต หรือคุณทักษิณ และแม้เราจะมีโอกาสเข้าไปบริหารบ้านเมืองในอดีตที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ก็อยู่บนเงื่อนไขที่ บ้านเมืองของเราประสบกับภาวะวิกฤติ และคู่แข่งของเราไม่สามารถรวมตัวกันได้ แม้แต่ 2 ครั้งสุดท้ายที่เรามีโอกาสเข้าไปบริหารราชการแผ่นดินนั้น ภายใต้การนำของท่านอดีตหัวหน้าชวน หลีกภัย ข้อเท็จจริงก็คือ เราก็ไม่ได้เสียงมากกว่าสมัยแรก สมัยแรกมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพียง 70 กว่าท่านเท่านั้น สมัยที่ 2 ไม่ได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดด้วยซ้ำ แต่ว่าโดยเงื่อนไขคู่แข่งของเรารวมตัวไม่ได้ และโดยสภาพของบ้านเมืองที่ต้องการที่จะให้บุคคลที่มีความเชื่อมั่นจากหมู่สมาชิกรัฐสภา และพี่น้องประชาชนจึงทำให้เราเข้าไปมีโอกาสบริหารราชการแผ่นดิน ฟื้นฟูประเทศชาติ ประวัติศาสตร์ของพรรค จึงเป็นไปด้วยการเข้าไปบริหารราชการแผ่นดินในยามวิกฤติ หรือหลังสงครามบ้าง หลัง 14 ตุลา หลังพฤษภาทมิฬ หลังวิกฤติเศรษฐกิจ
วันนี้แม้เราไม่สามารถที่จะพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำ 100%ว่า บ้านเมืองจะไม่เผชิญวิกฤติอีก แต่ผมคิดว่าในฐานะพรรคการเมือง เราควรจะต้องตั้งเป้าว่า เราจะต้องสามารถเข้าไปบริหารราชการแผ่นดิน แม้แต่ยามที่บ้านเมืองไม่เผชิญกับวิกฤติ เราต้องอาสาตัวเข้าไปบริหารราชการแผ่นดิน โดยสามารถที่จะมีหลักคิด นโยบายในเชิงรุกว่า เราต้องการนำพาประเทศไปที่ไหน ไม่เพียงแต่เป็นการเตรียมตัวรับมือกับสภาพปัญหาในเชิงวิกฤติที่เกิดขึ้น เหมือนกับปีที่ผ่านมา และข้อเท็จจริงของการเมืองในวันนี้ก็คือ เมื่อรัฐธรรมนูญได้มีบทบัญญัติ เพื่อเสริมความเข้มแข็งของพรรคการเมือง โดยเฉพาะพรรคการเมืองขนาดใหญ่ และพรรคการเมืองที่เข้าไปทำหน้าที่เป็นรัฐบาล ผมมีความเชื่อว่า ระบบการเมืองของไทย ก็ก้าวเข้าไปสู่ระบบการเมืองน้อยพรรค หรือการเมือง 2 พรรค นั่นหมายความว่าการที่พรรคประชาธิปัตย์จะมีโอกากลับเข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีสภาผู้แทนราษฎรเกิน 100 เพียงเล็กน้อย ดูจะเป็นเรื่องที่ยากหรือเป็นไปไม่ได้ เมื่อเช้าใครที่หยิบหนังสือพิมพ์ขึ้นมาบางฉบับใช้พาดหัวว่า ผมเคยพูดว่าเราอยากจะมี ส.ส. เพิ่มอีก 200 คน ท่านคงตกใจคิดว่าผมพูดเล่น ผมขอยืนยันว่าผมพูดจริง ตั้งใจ
แต่ว่าภาระที่ตกอยู่กับพวกเรา ไม่ใช่เฉพาะที่นั่งอยู่ในห้องนี้ แต่สมาชิกทั่วประเทศถือว่าใหญ่โตมาก ในกระบวนการที่เขาบอกว่า เราต้องเริ่มต้นจากการกอบกู้ ฟื้นฟู จากสภาวะที่พรรคได้รับคะแนนนิยมน้อยในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ไปสู่เป้าหมายที่สูงเหลือเกินว่า เราจะต้องเพิ่มจำนวน ส.ส. ของเรา ไม่ใช่ 1 หรือ 2 เท่าตัว แต่มากกว่านั้น นั่นคือสิ่งที่ทำให้ผมได้ไปเรียนต่อที่ประชุมเมื่อเดือนที่แล้ว ว่า เราจะต้องมีการ ปรับปรุงพัฒนาการทำงานของพรรคอย่างชัดเจน 1 เดือนกว่าๆที่ผ่านมา แม้เป็นระยะเวลาที่ไม่ยาวนานนัก ผม คณะกรรมการบริหารพรรค ท่านสภาที่ปรึกษา เพื่อน ส.ส. รวมไปถึงสาขา และสมาชิกพรรคจำนวนมาก ได้พยายามที่จะกระตุ้นตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้รูปแบบการทำงานของเรานั้น สามารถนำเราไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ 1 เดือนกว่าๆที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสแสดงบทบาทในรัฐสภา ซึ่งจะอย่างไรก็ตามในนาทีที่ประชาชนทั่วไปยอมรับว่าเป็นจุดแข็งของพรรคประชาธิปัตย์ การทำงานของเราแม้ว่าจะมีจำนวน ส.ส. น้อยลง แต่ผมขอให้ความมั่นใจกับพวกเราว่า ความเข้มข้น ประสิทธิภาพ จะเป็นสิ่งที่ทำให้พี่น้องประชาชนได้มองเห็นถึงศักยภาพของเราในการทำงานทางด้ายนิติบัญญัติ
เมื่อเราเป็นเสียงข้างน้อย เราก็คือฝ่ายค้าน แต่พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองเดียวที่ผมกล้าพูดเต็มปากเต็มคำว่า เมื่อไหร่ที่เราต้องเป็นฝ่ายค้าน ก็เป็นด้วยความเต็มใจ เป็นด้วยความภาคภูมิใจ และพร้อมที่จะทำงานด้วยใจ การดำเนินงานในฐานะฝ่ายค้าน ก็คือเป็นการติดตาม ตรวจสอบรัฐบาล ซึ่งผมขอยืนยันว่า ความเข้มแข็ง ความเข้มข้นของการเป็นฝ่ายค้าน จะไม่มีการลดหย่อนลงแต่ประการใด ไม่ว่าจะจากจำนวน ส.ส. ที่น้อยลง หรือจากการที่เรามีแนวทางใหม่เข้ามาในการบริหารจัดการ เพียงแต่ว่าการทำงานในฐานะฝ่ายค้าน เราจะเพิ่มมุมมอง มิติใหม่ๆ ให้เห็นว่าคนที่เป็นฝ่ายค้านวันนี้ พร้อมที่จะเป็นรัฐบาลในวันหน้า เราจะให้ความสำคัญกับการติดตามตรวจสอบในเชิงนโยบาย และจากการอภิปรายของผมและเพื่อนสมาชิกในโอกาสที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายนั้น ผมคิดว่าเราได้แสดงให้เห็นว่า เราไม่ได้มีเพียงแต่คำวิพากษ์วิจารณ์ คำติติง แต่เราพร้อมที่จะจัดทำข้อเสนอที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้พี่น้องประชาชนมองเห็นว่า เราไม่ได้ค้านโดยปราศจากเหตุผล เราไม่ได้ค้านโดยปราศจากทางเลือก เราไม่ได้ค้านโดยปราศจากทางออก สำหรับประเทศชาติบ้านเมือง เช่นเดียวกันเรื่องใดที่เป็นปัญหาเข้าขั้นวิกฤติประเทศ แม้เราจะเสนอความจริง เราก็จะคำนึงถึงความละเอียดอ่อนปัญหา เช่น เรามีกองกำลัง 3 จังหวัดชายแดนใต้ ใครที่ฟังเราอภิปรายในวันนั้น จะพบความจริงว่า จุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ ความคิดพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเลย ข้อเท็จจริง มุมมอง ข้อเสนอ เหมือนเดิมทุกประการ แต่เป็นการนำเสนอในบรรยากาศที่เรารู้ว่า สังคมต้องการความสมานฉันท์ ที่น่าดีใจก็คือว่า ไม่ใช่เราที่เปลี่ยนไป แต่ท่านนายกฯและรัฐบาลต้องปรับเปลี่ยนท่าที เพื่อจะยอมรับข้อเสนอและแนวคิดของเรา นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่า ทำให้มองว่า เรามีเสถียรภาพ ในการที่จะชี้นำในการบริหารบ้านเมืองอย่างแท้จริง เรื่องใดก็ตามที่เราเห็นว่าเป็นความไม่ถูกต้อง เราก็ไม่ลังเลที่จะแสดงจุดยืน คัดค้าน เช่น การที่รัฐบาลประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และคิดว่าการจัดเก็บภาษีได้เกินกว่าเป้า ประมาณ 50,000 ล้านในปีงบประมาณนี้ เป็นเหตุผลที่จะให้รัฐบาลนำเงินนี้ไปจัดตั้งเป็นงบกลาง เพื่อใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่เรามองเห็นชัดเจนว่า ภาษีที่เพิ่มขึ้นมา 50,000 ล้าน ไม่เพียงพอแม้แต่การเอาไปใช้หนี้กองทุนน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมา โดยที่รัฐบาลไม่ได้คาดคิดมากถึง 80,000 ล้าน
และเรามองเห็นว่าสัญญาณทางเศรษฐกิจ บ่งบอกว่ารัฐบาลในวันนี้ จำเป็นจะต้องบริหารเสถียรภาพ และรับมือกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆมากมาย เราจึงไม่ลังเลที่จะยกมือไม่รับงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมที่รัฐบาลเสนอต่อสภามา และการทำงานอะไรที่เป็นความไม่ถูกต้อง เราก็ไม่ลังเลที่จะฟ้องประชาชน ส.ส.รังสิมา ได้แสดงบทบาทว่าไม่ประสงค์ที่จะอยู่ ความฉ้อฉลในการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส. เมื่อมีการทักท้วง เมื่อท่านประธานสอบถาม ต้องการให้ระบุชื่อ ส.ส.รังสิมาให้ความร่วมมือทุกประการ แต่สุดท้ายถูกให้ออกจากที่ประชุม ท่านเห็นมั้ยครับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ไม่โต้แย้ง พร้อมที่จะออก เพื่อยืนยันความรับผิดชอบ และความถูกต้องในสิ่งที่ตัวเองได้มองเห็นกับตา แต่มีความพยายามให้คนของพรรคประชาธิปัตย์ กรณีของท่านประธานสภาที่ปรึกษา ท่านไม่ได้ขอใช้อภิสิทธิ์นะครับ ท่านขอใช้สิทธิของ ส.ส. ที่ถูกพาดพิงเหมือนกับที่อดีตรัฐมนตรีของพรรคไทยรักไทยใช้สิทธิ คือก่อนหน้านั้น ในเมื่อประธานสภาไม่อนุญาตโดยปราศจากเหตุผล หรือการวินิจฉัยในบรรทัดฐานเดียวกัน เราก็พร้อมที่จะแสดงออกว่า เราไม่สามารถร่วมประชุมต่อไปได้
สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่บ่งบอกครับว่า การทำงานในสภาของเรานั้น เข้มข้นกว่าเดิม แต่เป็นความเข้มข้นที่เพิ่มมุมมอง เพิ่มมิติ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น และผมยืนยันครับว่า ได้ซักซ้อมกับเพื่อน ส.ส. ว่าจากนี้ไปงานในสภา มันไม่ได้มีแต่การทำงานวันที่เขาถ่ายทอดการประชุมทางโทรทัศน์เท่านั้น แต่การประชุมทุกครั้ง ให้ความสำคัญ การประชุมรัฐสภาในเรื่องของการยืนยันกฎหมายก็ดี คนของเราก็ได้มีการติดตามวิเคราะห์ ศึกษาเรื่องของกฎหมายอย่างละเอียด เพราะฉะนั้นจากนี้ไปวาระของกระทู้ถามก็ดี วาระของการนำเสนอญัตติก็ดี เราจะเดินหน้าอย่างจริงจัง สัปดาห์หน้าเราก็จะพยายามยืนยันที่จะขอนำเรื่องของภัยแล้งขึ้นท่พิจารณา เพราะมีประเด็นหลายประเด็นที่คณะทำงาน คือ ท่านรองวิฑูรย์ ซึ่งเป็นประธานได้ไปค้นพบ เกี่ยวกับเนื่องของการช่วยเหลือภัยแล้ง ที่คิดว่าจำเป็นที่จะต้องหยิบยกขึ้นมาเพื่อให้พี่น้องประชาชน รัฐสภา รวมทั้งรัฐบาลได้รับทราบ ที่สำคัญก็คือว่า แม้เรื่องของกฎหมายเอง แม้เสียงเรามีน้อย แต่เราต้องยืนยันในการเป็นผู้นำทางความคิดในเรื่องนิติบัญญัติ
สิ่งที่เราภาคภูมิใจมาโดยตลอด ก็คือเราเปิดโอกาส เราให้บทบาท คนของเราที่เป็น ส.ส. มีความคิด มีความอิสระในการที่จะผลักดัน สิ่งเหล่านี้ที่เป็นหน้าที่ของเราอย่างแท้จริง กฎหมายที่เราจะต้องดำเนินการในเชิงรุก เริ่มต้นตั้งแต่เรื่องของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ท่านส.ส.พีระพันธุ์ได้รับมอบหมายที่ไปยกร่างรัฐธรรมนูญใน 1 หรือ 2 สัปดาห์นี้
ประเด็นเดียวเป็นประเด็นที่พรรคประชาธิปัตย์แสดงจุดยืนมาโดยตลอด ก็คือ เราต้องการจะตัดตัวแทนนักการเมืองออกจากคณะกรรมการสรรหา เพราะปัจจุบัน สิ่งที่เป็นปัญหาของระบบการเมืองสืบเนื่องจากฝ่ายบริหารมีความเข้มแข็ง มีความมั่นคง มีเสถียรภาพ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แต่กลไกการตรวจสอบถ่วงดุล กลไกที่จะมาคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมของประชาชน กลับยังไม่สามารถทำงานให้สมกับความคาดหวังของประชาชน และของทุกคนที่รอคอยการปฏิรูปการเมืองมานาน เราก็จะเสนอแก้ไขในประเด็นนี้ และก็จะเดินหน้าหาเสียงสนับสนุนจากพรรคการเมืองอื่น และ ส.ว. ต่อไป ผมเรียนว่าหยิบเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อสะท้อนให้เห็นอีกอย่างหนึ่งครับว่า เราจะสังเกตประเด็นที่เราขอแก้ไข เพื่อลดอำนาจ จึงเป็นการยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์ดำเนินงานทางการเมือง โดยไม่คิดถึงผลประโยชน์ของตนเอง และเราต้องการประโนนี้เพียงประเด็นเดียวเพราะขณะนี้ก็มีแนวโน้มว่า หลายกลุ่มหลายฝ่ายเรียกร้องที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นนู้น ประเด็นนี้ ซึ่งส่วนใหญ่กลับกลายเป็นการขอเพิ่มอำนาจบทบาทของตัวเอง หรือเพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของตนเอง
แต่พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นสถาบันการเมือง ที่เป็นพรรคการเมืองที่อยู่ยืนยาวด้วยอุดมการณ์ต้องการยืนยันครับว่า การเมืองที่ดี เป็นการเมืองที่เอาผลประโยชน์ส่วนรวมมาก่อน นี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้น ในแง่ของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้นยังมีกฎหมายหลายฉบับครับ ที่เราจะเดินหน้ายกร่างนำเสนอ เรียกร้องอย่างจริงจัง เช่น กฎหมายที่ยังไม่ได้ตราขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ท่านรองจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ จะได้นำเสนอกฎหมายเพื่อตั้งองค์การอิสระ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ และผมก็ได้ทำงาน โดยประสานงานกับองค์กรภาคเอกชนที่จะผลักดันเรื่องนี้ และก็จะตามมาด้วยเรื่องขององค์กรอิสระ ว่าด้วยเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเรื่องของการประชาพิจารณ์ การมีส่วนร่วมของประชาชน เรายังยืนยันที่จะเดินหน้าเสนอกฎหมายที่เป็นข้อเรียกร้องของประชาคม สาธารณสุข คือ กฎหมายสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นงานที่ท่านอดีตนายกฯชวน ได้เริ่มไว้โดยการตั้งสำนักงานปฏิรูประบบสาธารณสุข และความจริงงานนี้ควรจะแล้วเสร็จไปเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว แต่เมื่อรัฐบาลไม่พร้อม หรือไม่เต็มใจทำ
พรรคประชาธิปัตย์ยืนยันที่จะเดินเคียงคู่กับพี่น้องประชาชน องค์กรประชาชน ที่ได้ผลักดันเรื่องนี้มาโดยตลอด เช่นเดียวกับกฎหมายที่สมาชิกของเราเคยเสนอ อย่างที่ท่านเลขาธิการ ซึ่งเรายืนยันว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วน กฎหมายบัตรเครดิต ในภาวะที่พี่น้องประชาชนคนไทยเป็นหนี้บัตรเครดิตมากขึ้น และกำลังถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างมาก หรือกฎหมายขจัดความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งปัญหาความรุนแรงในครอบครัวยังเป็นปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันดับหนึ่งก็ว่าได้ในสังคม เพียงแต่ว่าไม่ได้ปรากฎต่อสาธารณะ สิ่งเหล่านี้จะเป็นการยืนยันความเป็นผู้นำทางความคิดในเชิงรุก นอกจากนั้นงานของคณะกรรมาธิการ ซึ่งจะเป็นงานที่มีความสำคัญมากหลายท่านอาจจะเป็นห่วงว่าครั้งนี้ประชาธิปัตย์ ส.ส.น้อย ก็มีสัดส่วนของกรรมาธิการน้อย มีสัดส่วนของประธานกรรมาธิการน้อย แต่ผมก็ได้ให้นโยบายเช่นเดียวกันว่า ผมต้องการเห็นการทำงานของคณะกรรมาธิการที่เข้มแข็ง ในอดีต ส.ส. อดีตรัฐมนตรีที่ทีความอาวุโส มักจะมีความเกรงอกเกรงใจ สมาชิกรุ่นใหม่ๆ เกรงว่าจะไปแย่งตำแหน่งในกรรมาธิการ
แต่ครั้งนี้ผมได้ขอว่า ทุกท่านซึ่งมีศักยภาพในการทำงาน เพื่อพรรคในทางการตรวจสอบทางนิติบัญญัติ ขอให้ทุกท่านได้มีส่วนเข้าไปในคณะกรรมาธิการด้วย จะยกเว้นให้ก็อดีตท่านหัวหน้าพรรคทั้งสอง และก็ขออนุญาตสำหรับผม และท่านเลขาธิการ ซึ่งก็มีภารกิจในเรื่องของการบริหารจัดการ แต่ทุกท่านที่เหลือนั้น ผมต้องกราบขอขอบพระคุณ วันนี้พร้อมที่จะเข้าไปทำงาน เพื่อเข้าไปทำงานในฐานะกรรมาธิการ ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ และเสรอมคงวามเข้มแข็งของพรรคของเราในการทำงานในสภา งานในสภาที่เราจะทำมีความเข้มแข็งขึ้น เพราะเรากำลังจะมีการเชื่อมโยงกับการทำงานนอกสภา ในส่วนของพรรคเองจะมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาติดตาม ตรวจสอบ การทำงานของรัฐบาล รวมไปถึงการพัฒนานโยบายของพรรค โดยในเบื้องต้น แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ภายในสัปดาห์ 2 สัปดาห์นี้ก็จะเรียบร้อยในเรื่องขององค์ประกอบ และเริ่มเดินหน้าทางการเมือง และผมได้ประกาศไปแล้วครับว่า ตรงนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น หลังจากคณะทำงานทำงานไประยะหนึ่งไม่เกิน 2 ปีเราจะพัฒนาระบบของเราไปสู่การมีคณะรัฐมนตรีเงา หรือ รัฐมนตรีเงา เพื่อให้พี่น้องประชาชนหรือสื่อมวลชน สามารถมองเห็นความชัดเจนของพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งในเรื่องของจุดยืน นโยบายและบุคลากร ในวันที่เราจะมีโอกาสเข้าไปบริหารราชการแผ่นดิน
ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือการทำงานของเราในสภา จะเชื่อมโยงกับการทำงานในพื้นที่มากขึ้น ตัวอย่างของการทำงานเรื่องของ 3 จังหวัดภาคใต้ ที่คณะกรรมการบริหารได้ร่วมกับ ส.ส.บัญชีรายชื่อส่วนหนึ่ง และ ส.ส. ในพื้นที่ เพื่อไปพบปะพี่น้องประชาชนใน 3 จังหวัด ที่เป็นรูปธรรมในการทำงาน ของการเชื่อมโยงการทำงานนอกสภาเข้ากับในสภาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขณะนี้แม้ว่ารัฐบาลจะยอมรับว่ามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงนโยบาย สิ่งที่เรากำลังติดตามอย่างใกล้ ก็คือ เราต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบายที่พี่น้องสัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรม
วันนี้ข้อเรียกร้องหรือข้อเสนอของเราเร่งด่วน มีเพียงเรื่องเดียวเท่านั้นที่รัฐบาลได้ตอบสนองชัดเจนไปแล้ว คือการยกเลิกความคิดเรื่องแบ่งโซนแบ่งสี เพื่อที่จะปิดกั้นโอกาส จากการพัฒนาในพื้นที่ที่เรา แต่ข้อเสนออื่นๆ เกี่ยวกับองค์กรในการบริหารจัดการในพื้นที่ที่ต้องบูรณาการที่ควรจะมีพลเรือนที่ควรจะมีบทบาทนำ ที่มีการกำหนดบทบาทของกองกำลัง ที่เรียกว่า กองกำลังพัฒนาอย่างชัดเจน สิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้รับการตอบรับ รวมไปถึงการชัดเจนที่ต้องสร้างเกี่ยวกับเรื่องของกรณีกรือเซะ หรือตากใบ ซึ่งขณะนี้ทราบว่าคณะกรรมการสมานฉันท์ ซึ่งคนของเราก็ไปร่วมอยู่ ก็กำลังผลักดัน เพราะฉะนั้นภายในสัปดาห์ 2 สัปดาห์ข้างหน้าเช่นเดียวกันครับ ท่านรองเลขาธิการนิพนธ์ บุญญามณี ก็คงจะได้นำ ส.ส. ในพื้นที่เข้าไปเพื่อให้ข้อคิด ให้ข้อมูล กับ กอ.สสส.จชต. ซึ่งเป็นการทำงานในพื้นที่ควบคู่ไปกับการทำงานในสภาของเรา
ในส่วนของการบริหารจัดการพรรค เมื่อวานผมใช้เวลาพูดคุยอยู่กับสาขา และท่านเลขาธิการอยู่ 3 กว่า เพื่อจะบอกว่างานในสภา งานในส่วนกลางทำไป ความจำเป็นของเราที่จะต้องมีการขยายฐานทางการเมือง และสิ่งที่ผมได้เรียกว่าเป็นหัวใจของการทำงานจากนี้ คือการเข้าถึงประชาชน นั่นหมายความถึงการบริหารจัดการ และแนวทางการทำงานที่หนักหน่วง เมื่อวานนี้ผมพูดไปแล้วเรื่องการที่จะต้องติดอาวุธให้กับสาขาของเราที่เป็นเครือข่ายของพรรคประชาธิปัตย์อย่าแท้จริง ผมได้มอบดร.บุญมากในเรื่องโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเชื่อมโยงกับส่วนกลาง และสาขา เพื่อให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันภายในได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และผมก็ได้พูดต่อไปว่า สิ่งที่เราได้คาดหวังจากสาขาพรรคของเรา จากนี้คือการเป็นหน้าเป็นตาของพรรคอย่างแท้จริง และเป็นหน้าเป็นตาที่พี่น้องประชาชนทั่วไปมองเห็น และอยากจะเข้ามามีความสัมพันธ์ อยากที่จะเข้ามาเยี่ยมเยียน อยากจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพรรค เพราะฉะนั้นได้มีการกำหนดแนวทางว่า สาขาพรรคต้องจัดให้มีบริการพื้นฐานบางอย่างให้พี่น้องประชาชน ด้วยการระดมสมาชิกหรืออาสาสมัครของพรรค จะเป็นบริการทางกฎหมาย จะเป็นบริการทางการแพทย์ หรืออะไรก็ตาม แต่สิ่งที่ทำให้พี่น้องประชาชนมองเห็นว่าพรรคของเรานั้น เป็นที่พึ่งที่หวัง และมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการรับใช้พี่น้องประชาชน และส่วนหนึ่งของการเชื่อมโยงพรรคเข้าหาประชาชนมากขึ้น เป็นเรื่องเล็กๆแต่ได้รับความสนใจกว้างขวาง ซึ่งเราได้พูดไปแล้ว ก็คือเรื่องของสภากาแฟ ซึ่งตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราวที่ที่ทำการพรรค ที่เป็นการชั่วคราวนั้น เพราะว่าเขาจะมีการปรับปรุงอาคารของพรรค ก่อนที่จะทำเป็นเรื่องถาวรต่อไป แต่ว่าวันอังคารที่จะถึงนี้ครับ สาขาพรรคที่ยานนาวาของท่านรองเลขาฯกรณ์ จาติกวนิช จะได้เปิดสภากาแฟ ในระดับสาขาเป็นสาขาแรก อันนี้ก็ถือโอกาสเชิญชวนทุกท่าน ผมไม่ทราบว่าเขาขาย หรือว่าเฉพาะวันเปิด มีแจกให้ฟรี และก็เชิญชวนพี่น้องประชาชนเข้าไปร่วม
สภากาแฟนี้เราต้องการให้เป็นจุดที่พี่น้องประชาชน สามารถที่จะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องของปัญหาทางการเมือง ของบ้านเมืองได้ แลกเปลี่ยนกันเอง แลกเปลี่ยนกับสมาชิกพรรค แลกเปลี่ยนกับผู้บริหารพรรคตามโอกาสต่างๆ และต่อไปเราก็จะมีการอาศัยสภากาแฟนี้ในการจัดทำกิจกรรมของพรรค ที่มีความหลากหลาย เข้มแข็ง อย่างมีประสิทธิภาพ แสดงออกถึงศักยภาพไม่เพียงในเชิงความคิด และในทางบริหารจัดการของพรรค เพื่อเป็นที่พึ่งที่หวังของพี่น้องประชาชนได้ พี่น้องชาวประชาธิปัตย์ที่เคารพครับ มันมีเรื่องอีกมากที่จะต้องมีการดำเนินการ ติดตาม ตรวจสอบ อย่างใกล้ชิด และทำงานเพื่อที่จะทำให้บ้านเมืองของเรานั้นเป็นบ้านมืองที่อยู่ในอุดมคติตามอุดมการณ์ของผู้ก่อตั้งพรรค ได้ประกาศไว้ งานบริหารจัดการก็ดี งานสภาก็ดี ที่เราดำเนินไปก็ดี ไม่ได้ดำเนินไปในสูญญากาศ มันดำเนินไปท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคม ของบ้านเมือง และดำเนินการไปท่ามกลางการดำเนินนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน หลายต่อหลายเรื่องที่จะต้องมีการเคลื่อนไหวอย่างเข้มข้นต่อไป เพราะเรากำลังมองเห็นว่าหลายต่อหลายเรื่องนั้น สิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่นั้น สร้างความเสี่ยงหรือกำลังทำงายความเข้มแข็งพื้นฐานของสังคมไทยและประเทศไทย
ในทางการเมืองเราจะต้องยืนหยัดต่อสู้ เรียกร้อง ในเรื่องของสิทธิ เสรีภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสรีภาพที่สำคัญที่สุดก็คือ เสรีภาพในการรับรู้ข่าวสาร วันนี้รัฐบาลกำลังคืบคลานเข้าไปในเรื่องของวิทยุชุมชน อ้างว่าเป็นการจัดระเบียบในเรื่องของปัญหาทางเทคนิค แต่ข้อเท็จจริงที่ได้ปรากฏออกมาแล้วว่า มีวัตถุประสงค์ในการที่จะเข้าไปควบคุมเนื้อหาสาระของการนำเสนอความคิดความอ่าน ซึ่งไม่ตรงกับรัฐบาลผ่านเครือข่ายเหล่านี้ นี่เป็นสิ่งหนึ่งที่ยังจำเป็นจะต้องเคลื่อนไหว เพื่อปกป้องรักษา ไม่ใช่เพื่อเราเองครับ แต่เพื่อให้สังคมไทยนั้นเป็นสังคมที่สามารถที่จะเรียนรู้และรับรู้ความเป็นมาเป็นไป ซึ่งกระทบกับชีวิตของคนทุกข์คนยาก เพราะฉะนั้นนอกเหนือจากการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือการพยายามผลักดันกฎหมายเพิ่มเติมแล้ว ปกป้องสิ่งที่เป็นสิทธิเสรีภาพนั้น ยังคงเป็นภารกิจสำคัญ
(ยังมีต่อ)