อาหารฮาลาล (Halal Food) คือ อาหารที่ผู้นับถือศาสนาอิสลามสามารถรับประทานได้ตามบทบัญญัติศาสนาอิสลาม ได้แก่ สัตว์บก สัตว์น้ำ ผัก ผลไม้ และเครื่องดื่ม อาหารดังกล่าวต้องเป็นอาหารที่ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต และปราศจากส่วนผสมของสิ่งที่ศาสนาอิสลามห้ามบริโภค อาทิ เนื้อสุกร เนื้อสุนัข เนื้อสัตว์เลื้อยคลาน และแอลกอฮอล์ อีกทั้งต้องผ่านกระบวนการผลิต การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง และการเก็บรักษา ที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม อาทิ ห้ามขนส่งร่วมกับอาหารที่มิใช่ฮาลาล และเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตต้องสะอาดและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ตลาดอาหารฮาลาลนับเป็นตลาดส่งออกที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ด้วยมูลค่านำเข้าทั่วโลกที่สูงกว่า 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยมีผู้บริโภคทั้งจากผู้นับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีมากกว่า 1,800 ล้านคนในปัจจุบันและผู้ที่มิได้นับถือศาสนาอิสลามแต่นิยมบริโภคอาหารฮาลาล ซึ่งนับวันยิ่งมีมากขึ้นเป็นลำดับ เพราะมั่นใจว่าอาหารฮาลาลเป็นอาหารที่สะอาดและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากมีการควบคุมอย่างเข้มงวดในทุกขั้นตอนการผลิต
เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการขยายการส่งออกอาหารฮาลาล ผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารฮาลาลของไทยควรให้ความสำคัญกับการติดเครื่องหมายฮาลาลบนผลิตภัณฑ์อาหาร เพราะการติดเครื่องหมายดังกล่าวเป็นการแยกแยะอาหารฮาลาลได้อย่างเด่นชัด อันจะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่ต้องการบริโภคอาหารฮาลาลได้เป็นอย่างดี
การติดเครื่องหมายฮาลาลบนผลิตภัณฑ์อาหารส่งออกของไทย มีลำดับขั้นตอนสำคัญ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : ยื่นขอหนังสือรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล หรือการรับรองสถานประกอบการ ผู้ผลิตอาหารฮาลาลสามารถยื่นคำขอหนังสือรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลและยื่นเอกสารประกอบ อาทิ สำเนาจดทะเบียนนิติบุคคล หนังสือแสดงรายละเอียดขั้นตอนวิธีการผลิตและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต และบัญชีรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่ขอมาตรฐานฮาลาล ได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดหรือสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ หลังจากตรวจสอบเอกสารและรับชำระ ค่าธรรมเนียมการตรวจรับรองและค่าหนังสือรับรองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำนักงานฯ จะดำเนินการตรวจสอบสถานประกอบการ และออกหนังสือรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลให้กับสถานประกอบการที่ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบ ทั้งนี้ หนังสือรับรองมาตรฐานดังกล่าวมีอายุ 1 ปี ซึ่งสามารถขอต่ออายุได้ทุกปี
ขั้นตอนที่ 2 : ยื่นขอใช้เครื่องหมายฮาลาล หรือขอการรับรองผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท หลังจาก ผู้ผลิตอาหารฮาลาลได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลแล้ว สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดจะส่งผลการรับรองมาตรฐานดังกล่าวพร้อมเอกสารประกอบการพิจารณารับรองให้สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณาออกหนังสือสำคัญให้ใช้เครื่องหมายฮาลาลแก่ ผู้ผลิตอาหารฮาลาล ทั้งนี้ ผู้ผลิตอาหารฮาลาลต้องชำระค่าหนังสือสำคัญให้ใช้เครื่องหมายฮาลาลเป็นรายผลิตภัณฑ์อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลที่ได้รับการรับรองเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น
ขั้นตอนที่ 3 : ยื่นขอใบรับรองสินค้าอาหารฮาลาลส่งออก หากผู้ผลิตอาหารฮาลาลซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายฮาลาล มีความประสงค์จะส่งออก จะต้องดำเนินการยื่นสำเนาหนังสือสำคัญอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายฮาลาลฉบับภาษาไทยและ/หรือฉบับภาษาอังกฤษ สำเนารายการผลิตภัณฑ์ที่อนุญาตให้ใช้เครื่องหมายฮาลาล และสำเนาใบกำกับสินค้า (Invoice) ที่ศูนย์บริการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จ กรมส่งเสริมการส่งออกเพื่อขอใบรับรองสินค้าอาหารฮาลาลส่งออก ทั้งนี้ ผู้ยื่นขอต้องชำระค่าธรรมเนียมเป็นรายผลิตภัณฑ์
ผู้ผลิตและผู้ส่งออกที่ได้รับการรับรองและได้รับอนุญาตให้ติดเครื่องหมายฮาลาลบนผลิตภัณฑ์อาหาร จำเป็นต้องควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นในเครื่องหมายฮาลาลของไทย ทั้งนี้ นอกจากเครื่องหมายฮาลาลจะเป็นจุดแข็งในการขยายตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลของไทยแล้ว การได้รับเครื่องหมายดังกล่าวยังช่วยให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารฮาลาลของไทยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขอรับรองเครื่องหมายฮาลาลเพิ่มเติมจากหน่วยงานของประเทศผู้นำเข้าอีก
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2548--
-พห-
ตลาดอาหารฮาลาลนับเป็นตลาดส่งออกที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ด้วยมูลค่านำเข้าทั่วโลกที่สูงกว่า 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยมีผู้บริโภคทั้งจากผู้นับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีมากกว่า 1,800 ล้านคนในปัจจุบันและผู้ที่มิได้นับถือศาสนาอิสลามแต่นิยมบริโภคอาหารฮาลาล ซึ่งนับวันยิ่งมีมากขึ้นเป็นลำดับ เพราะมั่นใจว่าอาหารฮาลาลเป็นอาหารที่สะอาดและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากมีการควบคุมอย่างเข้มงวดในทุกขั้นตอนการผลิต
เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการขยายการส่งออกอาหารฮาลาล ผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารฮาลาลของไทยควรให้ความสำคัญกับการติดเครื่องหมายฮาลาลบนผลิตภัณฑ์อาหาร เพราะการติดเครื่องหมายดังกล่าวเป็นการแยกแยะอาหารฮาลาลได้อย่างเด่นชัด อันจะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่ต้องการบริโภคอาหารฮาลาลได้เป็นอย่างดี
การติดเครื่องหมายฮาลาลบนผลิตภัณฑ์อาหารส่งออกของไทย มีลำดับขั้นตอนสำคัญ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : ยื่นขอหนังสือรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล หรือการรับรองสถานประกอบการ ผู้ผลิตอาหารฮาลาลสามารถยื่นคำขอหนังสือรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลและยื่นเอกสารประกอบ อาทิ สำเนาจดทะเบียนนิติบุคคล หนังสือแสดงรายละเอียดขั้นตอนวิธีการผลิตและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต และบัญชีรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่ขอมาตรฐานฮาลาล ได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดหรือสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ หลังจากตรวจสอบเอกสารและรับชำระ ค่าธรรมเนียมการตรวจรับรองและค่าหนังสือรับรองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำนักงานฯ จะดำเนินการตรวจสอบสถานประกอบการ และออกหนังสือรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลให้กับสถานประกอบการที่ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบ ทั้งนี้ หนังสือรับรองมาตรฐานดังกล่าวมีอายุ 1 ปี ซึ่งสามารถขอต่ออายุได้ทุกปี
ขั้นตอนที่ 2 : ยื่นขอใช้เครื่องหมายฮาลาล หรือขอการรับรองผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท หลังจาก ผู้ผลิตอาหารฮาลาลได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลแล้ว สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดจะส่งผลการรับรองมาตรฐานดังกล่าวพร้อมเอกสารประกอบการพิจารณารับรองให้สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณาออกหนังสือสำคัญให้ใช้เครื่องหมายฮาลาลแก่ ผู้ผลิตอาหารฮาลาล ทั้งนี้ ผู้ผลิตอาหารฮาลาลต้องชำระค่าหนังสือสำคัญให้ใช้เครื่องหมายฮาลาลเป็นรายผลิตภัณฑ์อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลที่ได้รับการรับรองเฉพาะภายในประเทศเท่านั้น
ขั้นตอนที่ 3 : ยื่นขอใบรับรองสินค้าอาหารฮาลาลส่งออก หากผู้ผลิตอาหารฮาลาลซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายฮาลาล มีความประสงค์จะส่งออก จะต้องดำเนินการยื่นสำเนาหนังสือสำคัญอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายฮาลาลฉบับภาษาไทยและ/หรือฉบับภาษาอังกฤษ สำเนารายการผลิตภัณฑ์ที่อนุญาตให้ใช้เครื่องหมายฮาลาล และสำเนาใบกำกับสินค้า (Invoice) ที่ศูนย์บริการส่งออกแบบเบ็ดเสร็จ กรมส่งเสริมการส่งออกเพื่อขอใบรับรองสินค้าอาหารฮาลาลส่งออก ทั้งนี้ ผู้ยื่นขอต้องชำระค่าธรรมเนียมเป็นรายผลิตภัณฑ์
ผู้ผลิตและผู้ส่งออกที่ได้รับการรับรองและได้รับอนุญาตให้ติดเครื่องหมายฮาลาลบนผลิตภัณฑ์อาหาร จำเป็นต้องควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นในเครื่องหมายฮาลาลของไทย ทั้งนี้ นอกจากเครื่องหมายฮาลาลจะเป็นจุดแข็งในการขยายตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลของไทยแล้ว การได้รับเครื่องหมายดังกล่าวยังช่วยให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารฮาลาลของไทยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขอรับรองเครื่องหมายฮาลาลเพิ่มเติมจากหน่วยงานของประเทศผู้นำเข้าอีก
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤศจิกายน 2548--
-พห-