นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเตรียมจะใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 213 เปิดสภาทั่วไปเพื่อสังคายนากฎหมาย 377 ฉบับ ว่า ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ คิดว่า ควรจะแยกออกเป็น 2 ส่วนคือ เปิดสภาเพื่อรับฟังความคิดเห็น หลังจากนั้น รัฐบาลควรจะมีการแบ่งหมวดหมู่ของกฎหมายทั้ง 377 ฉบับว่า ในแต่ละฉบับ สามารถจัดหมวดหมู่เข้าด้วยกันได้หรือไม่ โดยแบ่งเป็น 2 หมวด คือ 1. กฎหมายที่ต้องยกเลิกการใช้ไปเลย เพราะมีกฎหมายหลายฉบับที่ไม่จำเป็นที่ต้องใช้ในยุคปัจจุบันแล้ว 2. กฎหมายที่จะต้องมีการแก้ไขปรับปรุงให้ทันสมัยกับกาลเวลา
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยังกล่าวว่า รัฐบาลต้องรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย ไม่เฉพาะแต่สมาชิกรัฐสภาเท่านั้น โดยควรรับฟังจากผู้ปฎิบัติ หรือผู้ที่กำกับดูแลกฎหมาย ซึ่งเป็นข้าราชการทุกระดับ ไม่ใช่รับฟังแต่ข้าราชการระดับสูงเท่านั้น หรือนักวิชาการที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกฎหมาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์หากรัฐบาลจะรับฟังความคิดจากทุกฝ่ายตามที่ได้เสนอไป หรืออาจจะเรียกได้ว่า เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสังคายนากฎหมายของประเทศไทยร่วมกัน ของทุก ๆ ส่วนของสังคมไทย และคิดว่า รัฐบาลอาจจะเริ่มต้นในการเสนอกฎหมายใหม่ ด้วยการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่จะเกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนั้น ๆ ที่จะออกมาด้วย และน่าจะเป็นมิติใหม่ของการเสนอกฎหมายของรัฐบาล แทนที่จะเป็นลักษณะที่ฝ่ายข้าราชการประจำเสนอต่อฝ่ายการเมือง และฝ่ายการเมืองนำมาพิจารณาในสภาฯ โดยจุดนี้ จะเป็นการเริ่มต้นที่รัฐบาลจะรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายค้าน ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎหมาย ซึ่งก็จะเป็นกฎหมายที่ได้ประโยชน์
นอกจากนี้ ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่า การแก้ไขกฎหมาย น่าจะแก้ไขมากกว่า 377 ฉบับ เพราะไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นกฎหมาย ที่มีการประกาศบังคับใช้มานานแล้ว เนื่องจากมีกฎหมายบางฉบับที่ใช้เพียง 2-3 ปี สมควรที่จะต้องมีการแก้ไขเนื้อหาก็มี ดังนั้น จึงควรจะมีการพิจารณาในเรื่องของเนื้อหาและความจำเป็น รวมทั้งการบังคับใช้ที่ผ่านมาก่อให้เกิดผลกระทบหรือสมควรจะต้องแก้ไขหรือไม่ เพราะจะเห็นได้ว่า กฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ไม่กี่ปี หรือกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ในช่วงรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ก็ควรที่จะนำเข้ามาพิจารณา สังคายนาด้วย
ด้านนายเกียรติ สิทธิอมร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวแสดงความเป็นห่วงและตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการเจรจาการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ หรือ เอฟทีเอ ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 4-8 เม.ย.นี้ ว่า ประเด็นหารือของไทยยังไม่มีความชัดเจน และแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องสินค้าเกษตรที่พบว่า ยังมีปัญหาการอุดหนุนภายใน ปัญหามาตรการสุขอนามัย ความปลอดภัยด้านอาหาร และการลดกำแพงภาษี นอกจากนี้ยังมีเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้าประเภทสิ่งทอ การเปิดเสรีภาคบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งปัญหาอุปสรรคทางการค้าของไทยที่ยังไม่ปรากฏในวาระ
นอกจากนี้นายเกียรติ ยังกล่าวว่า รู้สึกแปลกใจกับกรณีที่ไทยจัดเตรียมงบประมาณให้กับสหรัฐฯ ในการให้ผู้เชี่ยวชาญมาอบรมเตรียมความพร้อมให้เอกชนไทย ซึ่งเห็นว่าไม่มีเหตุผลที่ต้องทำเช่นนั้น อีกทั้งตั้งข้อสงสัยว่าไทยพยายามที่จะปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ จึงขอให้รัฐบาลทบทวนในเรื่องดังกล่าว และระมัดระวังเป็นพิเศษในการเจรจาครั้งนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทสรุปของการเจรจา ไทยควรจะได้ผลเชิงบวกมากที่สุดและมีผลกระทบน้อยที่สุดต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 3 เม.ย. 2548--จบ--
-ดท-
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยังกล่าวว่า รัฐบาลต้องรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย ไม่เฉพาะแต่สมาชิกรัฐสภาเท่านั้น โดยควรรับฟังจากผู้ปฎิบัติ หรือผู้ที่กำกับดูแลกฎหมาย ซึ่งเป็นข้าราชการทุกระดับ ไม่ใช่รับฟังแต่ข้าราชการระดับสูงเท่านั้น หรือนักวิชาการที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกฎหมาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์หากรัฐบาลจะรับฟังความคิดจากทุกฝ่ายตามที่ได้เสนอไป หรืออาจจะเรียกได้ว่า เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อสังคายนากฎหมายของประเทศไทยร่วมกัน ของทุก ๆ ส่วนของสังคมไทย และคิดว่า รัฐบาลอาจจะเริ่มต้นในการเสนอกฎหมายใหม่ ด้วยการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่จะเกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนั้น ๆ ที่จะออกมาด้วย และน่าจะเป็นมิติใหม่ของการเสนอกฎหมายของรัฐบาล แทนที่จะเป็นลักษณะที่ฝ่ายข้าราชการประจำเสนอต่อฝ่ายการเมือง และฝ่ายการเมืองนำมาพิจารณาในสภาฯ โดยจุดนี้ จะเป็นการเริ่มต้นที่รัฐบาลจะรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายค้าน ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้กฎหมาย ซึ่งก็จะเป็นกฎหมายที่ได้ประโยชน์
นอกจากนี้ ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่า การแก้ไขกฎหมาย น่าจะแก้ไขมากกว่า 377 ฉบับ เพราะไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นกฎหมาย ที่มีการประกาศบังคับใช้มานานแล้ว เนื่องจากมีกฎหมายบางฉบับที่ใช้เพียง 2-3 ปี สมควรที่จะต้องมีการแก้ไขเนื้อหาก็มี ดังนั้น จึงควรจะมีการพิจารณาในเรื่องของเนื้อหาและความจำเป็น รวมทั้งการบังคับใช้ที่ผ่านมาก่อให้เกิดผลกระทบหรือสมควรจะต้องแก้ไขหรือไม่ เพราะจะเห็นได้ว่า กฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ไม่กี่ปี หรือกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ในช่วงรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ก็ควรที่จะนำเข้ามาพิจารณา สังคายนาด้วย
ด้านนายเกียรติ สิทธิอมร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวแสดงความเป็นห่วงและตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการเจรจาการค้าเสรีไทย-สหรัฐฯ หรือ เอฟทีเอ ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 4-8 เม.ย.นี้ ว่า ประเด็นหารือของไทยยังไม่มีความชัดเจน และแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องสินค้าเกษตรที่พบว่า ยังมีปัญหาการอุดหนุนภายใน ปัญหามาตรการสุขอนามัย ความปลอดภัยด้านอาหาร และการลดกำแพงภาษี นอกจากนี้ยังมีเรื่องแหล่งกำเนิดสินค้าประเภทสิ่งทอ การเปิดเสรีภาคบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งปัญหาอุปสรรคทางการค้าของไทยที่ยังไม่ปรากฏในวาระ
นอกจากนี้นายเกียรติ ยังกล่าวว่า รู้สึกแปลกใจกับกรณีที่ไทยจัดเตรียมงบประมาณให้กับสหรัฐฯ ในการให้ผู้เชี่ยวชาญมาอบรมเตรียมความพร้อมให้เอกชนไทย ซึ่งเห็นว่าไม่มีเหตุผลที่ต้องทำเช่นนั้น อีกทั้งตั้งข้อสงสัยว่าไทยพยายามที่จะปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ จึงขอให้รัฐบาลทบทวนในเรื่องดังกล่าว และระมัดระวังเป็นพิเศษในการเจรจาครั้งนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทสรุปของการเจรจา ไทยควรจะได้ผลเชิงบวกมากที่สุดและมีผลกระทบน้อยที่สุดต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 3 เม.ย. 2548--จบ--
-ดท-