นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินได้เผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือนมกราคม 2548 ในวันที่ 28 มกราคม 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
เศรษฐกิจไทยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2547 ขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ทั้งจากภาคการส่งออกและการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชน รวมทั้งมาตรการของภาครัฐ สำหรับเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ (Tsunami) คณะกรรมการฯ ประเมินว่าผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
เสถียรภาพโดยรวมของเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2547 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.7 และมีแนวโน้มชะลอลงบ้างจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปี 2547 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.4 ด้านเสถียรภาพด้านต่างประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลในปี 2547 และมีแนวโน้มเกินดุลต่อเนื่องในปี 2548
การคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อเมื่อเทียบกับข้อสมมติประกอบการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนก่อนหน้า
1. อัตราดอกเบี้ย Fed Funds ปรับขึ้นต่อเนื่องอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยสูงขึ้นจากข้อสมมติในครั้งก่อนประมาณร้อยละ 0.25 ต่อปี
2. ราคาน้ำมันดิบดูไบปรับลดลงกว่าที่ประเมินไว้ครั้งก่อนตามแนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับลดลง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับปีก่อน ข้อสมมติราคาน้ำมันดิบดูไบที่ลดลง ทำให้คณะกรรมการฯ ปรับข้อสมมติราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศต่ำลงเมื่อเทียบกับที่ใช้ในครั้งก่อน
3. การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าขยายตัวใกล้เคียงกับข้อสมมติเดิม
คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2547 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 6.2 ซึ่งอยู่ในช่วงที่ประมาณการไว้เดิม สำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2548 หากไม่มีภัยธรรมชาติ ข้อสมมติที่ใช้ในการประมาณการครั้งนี้เป็นไปในทิศทางที่ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงขึ้นจากประมาณการเดิมร้อยละ 0.2 แต่ผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่มีต่อเศรษฐกิจไทยคิดเป็นร้อยละ 0.5 ของ GDP ส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2548 ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้เดิมร้อยละ 0.3 ส่วนในปี 2549 ข้อสมมติที่ให้เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงกว่าที่คาดไว้เดิม รวมทั้งสถานการณ์การท่องเที่ยวคาดว่าจะเริ่มเข้าสู่แนวโน้มปกติ ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง
สำหรับความเสี่ยงต่างๆ ที่มีต่อเศรษฐกิจในระยะต่อไป ได้แก่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่อาจมีเพิ่มเติม แนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อาจสูงขึ้น การขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่อาจขยายตัวต่ำกว่าที่คาด ความไม่สงบในภาคใต้ที่อาจยืดเยื้อกว่าที่คาด และผลกระทบจากภัยธรรมชาติสูงกว่าที่คาด ทำให้คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2548 จะขยายตัวลดลงจากประมาณการเดิมเล็กน้อย โดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5.25 — 6.25 ส่วนในปี 2549 ขยายตัวประมาณร้อยละ 5.5 — 7 โดยโอกาสที่เศรษฐกิจจะขยายตัวในช่วงดังกล่าวมีอยู่ประมาณร้อยละ 84 และ 80 ตามลำดับ
คณะกรรมการฯ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2548 และปี 2549 จะต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ครั้งก่อน ตามข้อสมมติราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับลดลง โดยคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 — 3.5 และ 1.5— 2.5 ตามลำดับ ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยในปี 2548 และ 2549 อยู่ที่ร้อยละ 1 — 2 และ 1.5 — 2.5 ตามลำดับ
การดำเนินนโยบายการเงินในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา การตัดสินด้านนโยบายของคณะกรรมการฯ มีประเด็นสำคัญในการพิจารณา ดังนี้
1. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2547 คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ แม้การใช้จ่ายในประเทศเริ่มขยายตัวในอัตราชะลอลง แต่แรงขับเคลื่อนของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในด้านอื่นยังคงดีอยู่ โดยเฉพาะการส่งออก สำหรับแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อในช่วงต่อไปผ่อนคลายลงจากที่ประเมินไว้เดิม จากการปรับลดของราคาน้ำมันและการแข็งขึ้นของค่าเงินบาท เสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี โดยดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล ทั้งนี้ แม้แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อในระยะสั้นมีแนวโน้มผ่อนคลายลง แต่อาจเป็นภาวะชั่วคราว ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยในประเทศควรปรับเข้าสู่ระดับที่สูงขึ้นเพื่อดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เพื่อมิให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวและเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.75 ต่อปี เป็นร้อยละ 2 ต่อปี
2. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2548 คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจ จากทั้งภาคการส่งออกและการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชน แต่เหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากการลดลงของรายได้จากการท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้จ่ายภาคเอกชน แต่จะได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการลงทุนและการใช้จ่ายของภาครัฐ สำหรับแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อในช่วงต่อไปยังคงมีอยู่ แต่มีแนวโน้มต่ำลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลงและการแข็งขึ้นของค่าเงินบาท ทั้งนี้ คณะกรรมการมีความเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่อยู่ในระดับต่ำ ควรปรับให้เข้าสู่ระดับที่เหมาะสมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะหากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงยังคงติดลบต่อเนื่อง อาจส่งผลให้หนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นและการออมในระบบเศรษฐกิจมีน้อยกว่าที่ควร อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น ตลอดจนความผันผวนของตลาดเงินตราต่างประเทศ และราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย คณะกรรมการฯ เห็นควรให้รอดูผลกระทบต่อเศรษฐกิจอีกระยะหนึ่ง จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ไว้ที่ร้อยละ 2 ต่อปี
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
เศรษฐกิจไทยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2547 ขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ทั้งจากภาคการส่งออกและการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชน รวมทั้งมาตรการของภาครัฐ สำหรับเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ (Tsunami) คณะกรรมการฯ ประเมินว่าผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
เสถียรภาพโดยรวมของเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2547 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.7 และมีแนวโน้มชะลอลงบ้างจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปี 2547 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.4 ด้านเสถียรภาพด้านต่างประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลในปี 2547 และมีแนวโน้มเกินดุลต่อเนื่องในปี 2548
การคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อเมื่อเทียบกับข้อสมมติประกอบการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนก่อนหน้า
1. อัตราดอกเบี้ย Fed Funds ปรับขึ้นต่อเนื่องอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยสูงขึ้นจากข้อสมมติในครั้งก่อนประมาณร้อยละ 0.25 ต่อปี
2. ราคาน้ำมันดิบดูไบปรับลดลงกว่าที่ประเมินไว้ครั้งก่อนตามแนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับลดลง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับปีก่อน ข้อสมมติราคาน้ำมันดิบดูไบที่ลดลง ทำให้คณะกรรมการฯ ปรับข้อสมมติราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศต่ำลงเมื่อเทียบกับที่ใช้ในครั้งก่อน
3. การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าขยายตัวใกล้เคียงกับข้อสมมติเดิม
คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2547 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 6.2 ซึ่งอยู่ในช่วงที่ประมาณการไว้เดิม สำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2548 หากไม่มีภัยธรรมชาติ ข้อสมมติที่ใช้ในการประมาณการครั้งนี้เป็นไปในทิศทางที่ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงขึ้นจากประมาณการเดิมร้อยละ 0.2 แต่ผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่มีต่อเศรษฐกิจไทยคิดเป็นร้อยละ 0.5 ของ GDP ส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2548 ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้เดิมร้อยละ 0.3 ส่วนในปี 2549 ข้อสมมติที่ให้เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงกว่าที่คาดไว้เดิม รวมทั้งสถานการณ์การท่องเที่ยวคาดว่าจะเริ่มเข้าสู่แนวโน้มปกติ ทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง
สำหรับความเสี่ยงต่างๆ ที่มีต่อเศรษฐกิจในระยะต่อไป ได้แก่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่อาจมีเพิ่มเติม แนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อาจสูงขึ้น การขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่อาจขยายตัวต่ำกว่าที่คาด ความไม่สงบในภาคใต้ที่อาจยืดเยื้อกว่าที่คาด และผลกระทบจากภัยธรรมชาติสูงกว่าที่คาด ทำให้คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2548 จะขยายตัวลดลงจากประมาณการเดิมเล็กน้อย โดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5.25 — 6.25 ส่วนในปี 2549 ขยายตัวประมาณร้อยละ 5.5 — 7 โดยโอกาสที่เศรษฐกิจจะขยายตัวในช่วงดังกล่าวมีอยู่ประมาณร้อยละ 84 และ 80 ตามลำดับ
คณะกรรมการฯ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2548 และปี 2549 จะต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ครั้งก่อน ตามข้อสมมติราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับลดลง โดยคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.5 — 3.5 และ 1.5— 2.5 ตามลำดับ ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยในปี 2548 และ 2549 อยู่ที่ร้อยละ 1 — 2 และ 1.5 — 2.5 ตามลำดับ
การดำเนินนโยบายการเงินในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา การตัดสินด้านนโยบายของคณะกรรมการฯ มีประเด็นสำคัญในการพิจารณา ดังนี้
1. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2547 คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ แม้การใช้จ่ายในประเทศเริ่มขยายตัวในอัตราชะลอลง แต่แรงขับเคลื่อนของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในด้านอื่นยังคงดีอยู่ โดยเฉพาะการส่งออก สำหรับแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อในช่วงต่อไปผ่อนคลายลงจากที่ประเมินไว้เดิม จากการปรับลดของราคาน้ำมันและการแข็งขึ้นของค่าเงินบาท เสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี โดยดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล ทั้งนี้ แม้แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อในระยะสั้นมีแนวโน้มผ่อนคลายลง แต่อาจเป็นภาวะชั่วคราว ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยในประเทศควรปรับเข้าสู่ระดับที่สูงขึ้นเพื่อดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เพื่อมิให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวและเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.75 ต่อปี เป็นร้อยละ 2 ต่อปี
2. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2548 คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจ จากทั้งภาคการส่งออกและการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชน แต่เหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่งผลให้เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากการลดลงของรายได้จากการท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้จ่ายภาคเอกชน แต่จะได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการลงทุนและการใช้จ่ายของภาครัฐ สำหรับแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อในช่วงต่อไปยังคงมีอยู่ แต่มีแนวโน้มต่ำลงตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลงและการแข็งขึ้นของค่าเงินบาท ทั้งนี้ คณะกรรมการมีความเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่อยู่ในระดับต่ำ ควรปรับให้เข้าสู่ระดับที่เหมาะสมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะหากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงยังคงติดลบต่อเนื่อง อาจส่งผลให้หนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นและการออมในระบบเศรษฐกิจมีน้อยกว่าที่ควร อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น ตลอดจนความผันผวนของตลาดเงินตราต่างประเทศ และราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย คณะกรรมการฯ เห็นควรให้รอดูผลกระทบต่อเศรษฐกิจอีกระยะหนึ่ง จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ไว้ที่ร้อยละ 2 ต่อปี
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--