ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ผู้ว่าการ ธปท. ขอให้ ธ.พาณิชย์ระมัดระวังการจ่ายผลตอบแทนให้กรรมการธนาคาร ม.ร.ว.
ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวภายในงานเลี้ยงอาหารค่ำประจำปีของสมาคมธนาคารไทยว่า ขอให้คณะ
กรรมการธนาคารทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของตำแหน่งหน้าที่ ต้องมีความระมัดระวังที่จะไม่เอาเปรียบหรือเอา
ผลประโยชน์ขององค์กรไว้จนเกินความจำเป็นในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งในระยะหลังมีเรื่องหนึ่งที่สังเกตว่าอาจ
เข้าลักษณะได้ประโยชน์จากองค์กรจนเกินสมควร คือ เรื่องผลตอบแทนที่จ่ายให้แก่กรรมการของบางธนาคารที่สูงจน
เกินสมควร ซึ่งบางธนาคารจ่ายทั้งเบี้ยประชุมในจำนวนสูงและจ่ายโบนัสในอัตราที่สูง ทั้งนี้ สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษก็
คือ การจ่ายโบนัสที่แปรผันตามกำไรในแต่ละปี ซึ่งเป็นวิธีการจ่ายโบนัสที่มีความเสี่ยงในตัวเอง เพราะอาจมีผลให้
กรรมการขาดความระมัดระวังที่จะดูแลฐานะของธนาคารให้มั่นคงด้วยการเพิ่มสำรองหนี้สูงมากได้ นอกจากนี้ การที่
ธนาคารดำเนินการตามปกติโดยไม่ต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษก็จะมีกำไรที่เรียกการทำกำไรธรรมดา ซึ่งการนำ
กำไรนี้มาคำนวณโบนัสให้กรรมการจะไม่ดูเอาเปรียบกิจการจนเกินไปหรือ เพราะหากกรรมการได้ผลประโยชน์จาก
องค์กรเกินสมควร น้ำหนักในการควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาจะน้อยลงทันที อย่างไรก็ตาม การจะดูแลธนาคารให้
มั่นคงเป็นที่ยอมรับของสากล นอกจากพัฒนากฎเกณฑ์ต่าง ๆ แล้ว สิ่งที่สำคัญคือ การบริหารให้ถูกทำนองคลองธรรม (เดลินิวส์)
2. เงินไหลเข้าในระบบช่วยชะลอการขึ้นดอกเบี้ยของ ธ.พาณิชย์ คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กก.
ผจก.ใหญ่ ธ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ธ.พาณิชย์อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และดอกเบี้ยเงินกู้ใน
ช่วงครึ่งหลังของปีนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากปัจจุบันยังมีสภาพคล่องในระบบเพียงพอต่อ
ความต้องการลงทุนของภาคเอกชนและภาครัฐ นอกจากนี้ ยังมีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนใน
ตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีมากกว่า 1 แสนล้านบาท ประกอบกับรายได้จากการส่งออกยังขยายตัวดี ทำให้สภาพ
คล่องยังมีพอเพียง ด้านนายชาติศิริ โสภณพนิช กก.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า คาดว่าจะยังไม่มีการปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า แต่หลังจากนั้นอาจประเมินความเหมาะสมอีกครั้ง ขณะนี้สภาพ
คล่องในระบบยังไม่เปลี่ยนแปลงมาก แม้สินเชื่อจะยังขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กก.
ผจก. ธ.กสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารจะพิจารณาขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นในช่วงไตร
มาส 2 ถึงไตรมาส 3 เพราะปัจจุบันสภาพคล่องมีถึง 5 แสนล้านบาท คาดว่าตลอดปีนี้จะลดลงไปเหลือ 4 แสนล้าน
บาท (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ)
3. สภาอุตสาหกรรมฯ เตือนปัจจัยเสี่ยงจากการเปิดเสรีทางการค้า นายสันติ วิลาสศักดานนท์
รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่า สอท. อยู่ระหว่างการรวบรวมประเด็นปัญหาและ
ข้อเสนอแนะจากภาคอุตสาหกรรมเพื่อเสนอรัฐบาลชุดใหม่ โดยคาดว่าจะเสร็จในเร็ว ๆ นี้ เบื้องต้นภาค
อุตสาหกรรมต้องการให้รัฐบาลเร่งพัฒนาระบบลอจิสติกส์ (ระบบการขนส่งและกระจายสินค้า) ของประเทศ เพื่อ
สร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย พร้อมกันนี้จะต้องสนับสนุนเครือข่ายวิสาหกิจ หรือ
คลัสเตอร์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงการจัดตั้งเทรดดิ้งเฟิร์มมาส่งเสริมการตลาดของประเทศ เพื่อรองรับปัจจัย
เสี่ยงในอีก 4 ปีข้างหน้าที่การแข่งขันทางการค้าน่าจะรุนแรงขึ้น ซึ่งเกิดจากการเปิดเสรีทางการค้าระหว่าง
ประเทศ (เอฟทีเอ) โดยแหล่งข่าวจาก สอท. เปิดเผยว่า สอท. กำลังเตรียมข้อมูลเรื่องการขาดดุลการค้าจาก
การนำเข้าสินค้าต่างประเทศมากขึ้นเข้าหารือกับรัฐบาลชุดใหม่ เพราะถ้าไทยมีการเจรจาทำข้อตกลงการค้าเสรี
มากขึ้น การนำเข้าสินค้าที่เป็นสินค้าที่เข้ามาแข่งกับสินค้าไทยก็จะมีมากขึ้น ซึ่งล่าสุดสินค้าเกษตรของไทยกำลังถูก
ประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาชิงตลาดจำนวนมากเพราะการเปิดเอฟทีเอ นอกจากนี้ การทำเอฟทีเอกับประเทศต่าง
ๆ ล้วนแต่มีการนำรายการสินค้าเกษตรของไทยเปิดให้ ในขณะที่อุตสาหกรรมที่เข้าไปแลกเปลี่ยนและได้ประโยชน์
กลับเป็นอุตสาหกรรมของต่างชาติที่ลงทุนในไทย (มติชน, แนวหน้า)
4. อาเซียนสงสัยใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าของไทย รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์ แจ้งว่า ก.
พาณิชย์ได้รับแจ้งจากผู้ส่งออกสินค้าไทยหลายรายที่ส่งออกสินค้าไปยังประเทศในอาเซียนว่า ขณะนี้ได้เกิดปัญหาขึ้นใน
การส่งออก โดยบางประเทศแสดงข้อสงสัยว่าสินค้าที่ผลิตในไทยนั้นเป็นสินค้าที่ผลิตในไทยจริงหรือไม่ หรือว่าเป็น
สินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศอื่นนำมาแอบอ้างว่าเป็นสินค้าไทย เพื่อใช้สิทธิในการลดภาษีนำเข้าภายใต้เขตการค้า
เสรีอาเซียน (อาฟตา) และไม่เชื่อว่าใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่ออกโดยกรมการค้าต่างประเทศเป็นใบรับรองที่
เชื่อถือได้ ทำให้สินค้าไทยที่ส่งออกไปยังอาเซียนบางประเทศจะถูกตรวจสอบเข้มงวดขึ้น รวมถึงไม่เชื่อถือใบรับรอง
แหล่งกำเนิดสินค้า และหาทางเก็บภาษีเพิ่มขึ้น โดยอ้างว่าเป็นสินค้าจากที่อื่นไม่ใช่สินค้าไทย ไม่ให้ใช้สิทธิภายใต้อา
ฟตา ส่งผลให้การส่งออกของไทยเกิดการชะงัก (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของ สรอ.เพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่เดือน ธ.ค.41 ที่ร้อยละ 0.8 รายงานจาก
วอชิงตัน เมื่อ 21 ก.พ.48 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า แม้ราคาขายส่งโดยรวมของ สรอ.จะเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.3 ในเดือน ม.ค.48 แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมถึงราคาอาหารและพลังงานกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8
ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดตั้งแต่เดือน ธ.ค.41 เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อและราคาสินค้าเพิ่ม
สูงขึ้น ขณะที่ ประธาน ธ.กลางสรอ. (Alan Greenspan) เปิดเผยถึงการประชุมรัฐสภาอเมริกันเมื่อสัปดาห์ก่อน
ว่า ธ.กลาง สรอ.เฝ้าติดตามเหตุการณ์ภาวะกดดันด้านเงินเฟ้ออย่างระมัดระวัง โดยพยายามควบคุมภาวะเงินเฟ้อ
ไม่ให้สูงเกินจะควบคุมได้ โดยการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเป็นร้อยละ 2.5 จากร้อยละ 1.0 ในเดือน มิ.
ย.47 ทั้งนี้ ปัจจัยที่เป็นสาเหตุสำคัญให้เงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มสูงขึ้น คือ cigarette prices เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4
passenger cars เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 light trucks เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.8 ขณะที่ราคาพลังงาน (ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาโดยรวมในปีที่ผ่านมา) ในเดือน ม.ค.48 ลดลง
ร้อยละ 1.0 หลังจากที่ลดลงถึงร้อยละ 2.5 ในเดือน ธ.ค.47 นอกจากนี้ จากการสำรวจดัชนีความคาดหวังของผู้
บริโภคของ University of Michigan เมื่อช่วงต้นเดือน ก.พ.48 พบว่า ดัชนีดังกล่าวลดลง 1.3 จุด อยู่ที่
ระดับ 94.2 ซึ่งการลดลงในครั้งนี้มีสาเหตุมาจากการลดลงของการประเมินความคาดหวังภาคการเงินส่วนบุคคล
นอกจากนี้ยังมีประเด็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าสังเกตอีก คือ การคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อระยะยาวจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง (Asian Wall Street Journal)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 ชะลอตัวจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 48 สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่าในเดือน ม.ค. value —
added ของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในจีนขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 20.9 อยู่ที่ระดับ 484.4 พัน
ล. หยวน (58.5 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) เนื่องจากการผลิตลดลงในช่วงวันหยุดหนึ่งสัปดาห์ของเทศกาลตรุษจีน
แต่เมื่อปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้ว value — added ดังกล่าวขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 8.9 ลดลง
อย่างมากจากร้อยละ 14.4 ในเดือน ธ.ค. เทียบต่อปี และชะลอตัวอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 เนื่อง
จากผลของนโยบายของรัฐบาลจีนในรอบกว่าปีที่พยายามจะลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของจีนลง รวมทั้งผลของ
การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของจีนเป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษเมื่อเดือนต.ค. 47 นักวิเคราะห์บางรายเห็น
ว่านักลงทุนไม่ควรมองเฉพาะตัวเลขในเดือนม.ค. เท่านั้นเพราะถูกบิดเบือนจากสาเหตุวันหยุดยาวเป็นสัปดาห์ใน
ช่วงเทศกาลตรุษจีนส่งผลให้เมื่อปีก่อน value — added ลดลงในเดือนม.ค. มากกว่าเดือนก.พ. จากผลผลิต
อุตสาหกรรมที่ลดลงในช่วงเวลาดังกล่าว (Asian Wall Street Journal)
3. จำนวนบริษัทล้มละลายของเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค.48 ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี
รายงานจากโซล ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า จำนวนบริษัทล้มละลายของเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค.48 ลดลงสู่
ระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี นับเป็นสัญญาณล่าสุดที่แสดงถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยจำนวนบริษัทล้มละลายมีจำนวน
286 บริษัท ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 413 และ 317 บริษัทตามลำดับ
เป็นการลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.45 ซึ่งมีจำนวน 285 บริษัท ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จาก ธ.กลาง กล่าวว่า กำลัง
รอดูตัวเลขอีกระยะหนึ่งเพื่อความชัดเจน เนื่องจากมีบริษัทที่ฐานะทางการเงินอ่อนแอจำนวนมากได้ทยอยเข้าสู่
กระบวนการล้มละลาย นอกจากนี้ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า จำนวนบริษัทล้มละลายมักจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายปี เนื่อง
จากเป็นช่วงที่สถาบันการเงินเข้มงวดการให้สินเชื่อเพื่อผลทางการรายงานฐานะการดำเนินงานของสถาบันการ
เงิน ในขณะที่จำนวนบริษัทล้มละลายจะลดลงในช่วงต้นปีเนื่องจากสถาบันการเงินผ่อนคลายการควบคุมสินเชื่อ เนื่อง
จากพ้นช่วงการรายงานฐานะการดำเนินงานแล้ว สำหรับจำนวนบริษัทล้มละลายในทุกภาคเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงภาค
การผลิต การก่อสร้าง และภาคบริการ ในเดือน ม.ค.48 ก็ลดลงเช่นกัน ในขณะที่จำนวนบริษัทที่ก่อตั้งใหม่เพิ่มขึ้น
เป็นจำนวน 2,957 บริษัทจากจำนวน 2,449 บริษัทในช่วงระหว่างเดือน นับเป็นการเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ
เกือบ 2 ปี นับตั้งแต่เดือน เม.ย.ซึ่งมีจำนวน 3,030 บริษัท (Asian Wall Street Journal)
4. รัฐบาลสิงคโปร์เตรียมลดอัตราภาษีเงินได้ส่วนบุคคลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รายงานจากสิงคโปร์
รัฐบาลสิงคโปร์เตรียมลดอัตราภาษีเงินได้ส่วนบุคคลขั้นสูงสุดจากร้อยละ 22 เป็นร้อยละ 20 โดยจะใช้เวลา 2ปีใน
การปรับลดซึ่งนักวิเคราะห์มองว่ารัฐบาลควรจะปรับลดไปเลยนับตั้งแต่ปีแรกในเมื่อรัฐบาลคาดว่าจะมีงบประมาณเกิน
ดุลร้อยละ 0.1 ของ GDP ในปีงบประมาณหน้าซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือน เม.ย.48 หลังจากขาดดุลงบประมาณร้อยละ
0.2 ของ GDP ในปีงบประมาณนี้ โดยประมาณการดังกล่าวได้รวมเงินที่รัฐบาลสิงคโปร์จะจ่ายให้ชาวสิงคโปร์เป็น
เงินบำนาญเพิ่มเติมและการบริการแก่ประชาชนในด้านอื่น ๆ แต่หากไม่รวมเงินที่รัฐบาลจะจ่ายดังกล่าวแล้ว รัฐบาล
จะมีงบประมาณเกินดุลร้อยละ 0.5 ของ GDP ในปีงบประมาณหน้าหลังจากเกินดุลร้อยละ 0.1 ของ GDP ในปีงบ
ประมาณนี้ ทั้งนี้เพื่อหวังกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ หลังจากเศรษฐกิจสิงคโปร์ประสบกับภาวะถดถอย 2 ครั้งนับ
ตั้งแต่ปี 41 ทำให้มีอัตราการว่างงานสูงผิดปรกติจากที่ไม่เคยสูญเสียงานเนื่องจากเศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
มาสองทศวรรษ โดยเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและขยายตัวถึงร้อยละ 8.4 ในปี 47 หลังจากขยายตัวเพียงร้อยละ 1.4
ในปี 46 และคาดว่า GDP ในปีนี้จะขยายตัวระหว่างร้อยละ 3 ถึง 5 (The Asian Wall Street Journal)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21 ก.พ. 48 18 ก.พ. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.556 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.3680/38.6630 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.1875 - 2.2000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 737.50/23.47 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,800/7,900 7,750/7,850 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 40.15 39.91 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 20.49*/14.59 20.49*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 18 ก.พ. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ผู้ว่าการ ธปท. ขอให้ ธ.พาณิชย์ระมัดระวังการจ่ายผลตอบแทนให้กรรมการธนาคาร ม.ร.ว.
ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวภายในงานเลี้ยงอาหารค่ำประจำปีของสมาคมธนาคารไทยว่า ขอให้คณะ
กรรมการธนาคารทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของตำแหน่งหน้าที่ ต้องมีความระมัดระวังที่จะไม่เอาเปรียบหรือเอา
ผลประโยชน์ขององค์กรไว้จนเกินความจำเป็นในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งในระยะหลังมีเรื่องหนึ่งที่สังเกตว่าอาจ
เข้าลักษณะได้ประโยชน์จากองค์กรจนเกินสมควร คือ เรื่องผลตอบแทนที่จ่ายให้แก่กรรมการของบางธนาคารที่สูงจน
เกินสมควร ซึ่งบางธนาคารจ่ายทั้งเบี้ยประชุมในจำนวนสูงและจ่ายโบนัสในอัตราที่สูง ทั้งนี้ สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษก็
คือ การจ่ายโบนัสที่แปรผันตามกำไรในแต่ละปี ซึ่งเป็นวิธีการจ่ายโบนัสที่มีความเสี่ยงในตัวเอง เพราะอาจมีผลให้
กรรมการขาดความระมัดระวังที่จะดูแลฐานะของธนาคารให้มั่นคงด้วยการเพิ่มสำรองหนี้สูงมากได้ นอกจากนี้ การที่
ธนาคารดำเนินการตามปกติโดยไม่ต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษก็จะมีกำไรที่เรียกการทำกำไรธรรมดา ซึ่งการนำ
กำไรนี้มาคำนวณโบนัสให้กรรมการจะไม่ดูเอาเปรียบกิจการจนเกินไปหรือ เพราะหากกรรมการได้ผลประโยชน์จาก
องค์กรเกินสมควร น้ำหนักในการควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาจะน้อยลงทันที อย่างไรก็ตาม การจะดูแลธนาคารให้
มั่นคงเป็นที่ยอมรับของสากล นอกจากพัฒนากฎเกณฑ์ต่าง ๆ แล้ว สิ่งที่สำคัญคือ การบริหารให้ถูกทำนองคลองธรรม (เดลินิวส์)
2. เงินไหลเข้าในระบบช่วยชะลอการขึ้นดอกเบี้ยของ ธ.พาณิชย์ คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กก.
ผจก.ใหญ่ ธ.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ธ.พาณิชย์อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และดอกเบี้ยเงินกู้ใน
ช่วงครึ่งหลังของปีนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากปัจจุบันยังมีสภาพคล่องในระบบเพียงพอต่อ
ความต้องการลงทุนของภาคเอกชนและภาครัฐ นอกจากนี้ ยังมีเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนใน
ตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีมากกว่า 1 แสนล้านบาท ประกอบกับรายได้จากการส่งออกยังขยายตัวดี ทำให้สภาพ
คล่องยังมีพอเพียง ด้านนายชาติศิริ โสภณพนิช กก.ผจก.ใหญ่ ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า คาดว่าจะยังไม่มีการปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า แต่หลังจากนั้นอาจประเมินความเหมาะสมอีกครั้ง ขณะนี้สภาพ
คล่องในระบบยังไม่เปลี่ยนแปลงมาก แม้สินเชื่อจะยังขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กก.
ผจก. ธ.กสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารจะพิจารณาขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นในช่วงไตร
มาส 2 ถึงไตรมาส 3 เพราะปัจจุบันสภาพคล่องมีถึง 5 แสนล้านบาท คาดว่าตลอดปีนี้จะลดลงไปเหลือ 4 แสนล้าน
บาท (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ)
3. สภาอุตสาหกรรมฯ เตือนปัจจัยเสี่ยงจากการเปิดเสรีทางการค้า นายสันติ วิลาสศักดานนท์
รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่า สอท. อยู่ระหว่างการรวบรวมประเด็นปัญหาและ
ข้อเสนอแนะจากภาคอุตสาหกรรมเพื่อเสนอรัฐบาลชุดใหม่ โดยคาดว่าจะเสร็จในเร็ว ๆ นี้ เบื้องต้นภาค
อุตสาหกรรมต้องการให้รัฐบาลเร่งพัฒนาระบบลอจิสติกส์ (ระบบการขนส่งและกระจายสินค้า) ของประเทศ เพื่อ
สร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย พร้อมกันนี้จะต้องสนับสนุนเครือข่ายวิสาหกิจ หรือ
คลัสเตอร์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงการจัดตั้งเทรดดิ้งเฟิร์มมาส่งเสริมการตลาดของประเทศ เพื่อรองรับปัจจัย
เสี่ยงในอีก 4 ปีข้างหน้าที่การแข่งขันทางการค้าน่าจะรุนแรงขึ้น ซึ่งเกิดจากการเปิดเสรีทางการค้าระหว่าง
ประเทศ (เอฟทีเอ) โดยแหล่งข่าวจาก สอท. เปิดเผยว่า สอท. กำลังเตรียมข้อมูลเรื่องการขาดดุลการค้าจาก
การนำเข้าสินค้าต่างประเทศมากขึ้นเข้าหารือกับรัฐบาลชุดใหม่ เพราะถ้าไทยมีการเจรจาทำข้อตกลงการค้าเสรี
มากขึ้น การนำเข้าสินค้าที่เป็นสินค้าที่เข้ามาแข่งกับสินค้าไทยก็จะมีมากขึ้น ซึ่งล่าสุดสินค้าเกษตรของไทยกำลังถูก
ประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาชิงตลาดจำนวนมากเพราะการเปิดเอฟทีเอ นอกจากนี้ การทำเอฟทีเอกับประเทศต่าง
ๆ ล้วนแต่มีการนำรายการสินค้าเกษตรของไทยเปิดให้ ในขณะที่อุตสาหกรรมที่เข้าไปแลกเปลี่ยนและได้ประโยชน์
กลับเป็นอุตสาหกรรมของต่างชาติที่ลงทุนในไทย (มติชน, แนวหน้า)
4. อาเซียนสงสัยใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าของไทย รายงานข่าวจาก ก.พาณิชย์ แจ้งว่า ก.
พาณิชย์ได้รับแจ้งจากผู้ส่งออกสินค้าไทยหลายรายที่ส่งออกสินค้าไปยังประเทศในอาเซียนว่า ขณะนี้ได้เกิดปัญหาขึ้นใน
การส่งออก โดยบางประเทศแสดงข้อสงสัยว่าสินค้าที่ผลิตในไทยนั้นเป็นสินค้าที่ผลิตในไทยจริงหรือไม่ หรือว่าเป็น
สินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศอื่นนำมาแอบอ้างว่าเป็นสินค้าไทย เพื่อใช้สิทธิในการลดภาษีนำเข้าภายใต้เขตการค้า
เสรีอาเซียน (อาฟตา) และไม่เชื่อว่าใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่ออกโดยกรมการค้าต่างประเทศเป็นใบรับรองที่
เชื่อถือได้ ทำให้สินค้าไทยที่ส่งออกไปยังอาเซียนบางประเทศจะถูกตรวจสอบเข้มงวดขึ้น รวมถึงไม่เชื่อถือใบรับรอง
แหล่งกำเนิดสินค้า และหาทางเก็บภาษีเพิ่มขึ้น โดยอ้างว่าเป็นสินค้าจากที่อื่นไม่ใช่สินค้าไทย ไม่ให้ใช้สิทธิภายใต้อา
ฟตา ส่งผลให้การส่งออกของไทยเกิดการชะงัก (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของ สรอ.เพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่เดือน ธ.ค.41 ที่ร้อยละ 0.8 รายงานจาก
วอชิงตัน เมื่อ 21 ก.พ.48 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า แม้ราคาขายส่งโดยรวมของ สรอ.จะเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.3 ในเดือน ม.ค.48 แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมถึงราคาอาหารและพลังงานกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8
ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดตั้งแต่เดือน ธ.ค.41 เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อและราคาสินค้าเพิ่ม
สูงขึ้น ขณะที่ ประธาน ธ.กลางสรอ. (Alan Greenspan) เปิดเผยถึงการประชุมรัฐสภาอเมริกันเมื่อสัปดาห์ก่อน
ว่า ธ.กลาง สรอ.เฝ้าติดตามเหตุการณ์ภาวะกดดันด้านเงินเฟ้ออย่างระมัดระวัง โดยพยายามควบคุมภาวะเงินเฟ้อ
ไม่ให้สูงเกินจะควบคุมได้ โดยการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเป็นร้อยละ 2.5 จากร้อยละ 1.0 ในเดือน มิ.
ย.47 ทั้งนี้ ปัจจัยที่เป็นสาเหตุสำคัญให้เงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มสูงขึ้น คือ cigarette prices เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4
passenger cars เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 light trucks เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.8 ขณะที่ราคาพลังงาน (ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาโดยรวมในปีที่ผ่านมา) ในเดือน ม.ค.48 ลดลง
ร้อยละ 1.0 หลังจากที่ลดลงถึงร้อยละ 2.5 ในเดือน ธ.ค.47 นอกจากนี้ จากการสำรวจดัชนีความคาดหวังของผู้
บริโภคของ University of Michigan เมื่อช่วงต้นเดือน ก.พ.48 พบว่า ดัชนีดังกล่าวลดลง 1.3 จุด อยู่ที่
ระดับ 94.2 ซึ่งการลดลงในครั้งนี้มีสาเหตุมาจากการลดลงของการประเมินความคาดหวังภาคการเงินส่วนบุคคล
นอกจากนี้ยังมีประเด็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าสังเกตอีก คือ การคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อระยะยาวจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง (Asian Wall Street Journal)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 ชะลอตัวจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 48 สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่าในเดือน ม.ค. value —
added ของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในจีนขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 20.9 อยู่ที่ระดับ 484.4 พัน
ล. หยวน (58.5 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) เนื่องจากการผลิตลดลงในช่วงวันหยุดหนึ่งสัปดาห์ของเทศกาลตรุษจีน
แต่เมื่อปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้ว value — added ดังกล่าวขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 8.9 ลดลง
อย่างมากจากร้อยละ 14.4 ในเดือน ธ.ค. เทียบต่อปี และชะลอตัวอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 เนื่อง
จากผลของนโยบายของรัฐบาลจีนในรอบกว่าปีที่พยายามจะลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของจีนลง รวมทั้งผลของ
การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของจีนเป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษเมื่อเดือนต.ค. 47 นักวิเคราะห์บางรายเห็น
ว่านักลงทุนไม่ควรมองเฉพาะตัวเลขในเดือนม.ค. เท่านั้นเพราะถูกบิดเบือนจากสาเหตุวันหยุดยาวเป็นสัปดาห์ใน
ช่วงเทศกาลตรุษจีนส่งผลให้เมื่อปีก่อน value — added ลดลงในเดือนม.ค. มากกว่าเดือนก.พ. จากผลผลิต
อุตสาหกรรมที่ลดลงในช่วงเวลาดังกล่าว (Asian Wall Street Journal)
3. จำนวนบริษัทล้มละลายของเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค.48 ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี
รายงานจากโซล ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า จำนวนบริษัทล้มละลายของเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค.48 ลดลงสู่
ระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปี นับเป็นสัญญาณล่าสุดที่แสดงถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยจำนวนบริษัทล้มละลายมีจำนวน
286 บริษัท ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าและเดือนเดียวกันปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 413 และ 317 บริษัทตามลำดับ
เป็นการลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.45 ซึ่งมีจำนวน 285 บริษัท ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จาก ธ.กลาง กล่าวว่า กำลัง
รอดูตัวเลขอีกระยะหนึ่งเพื่อความชัดเจน เนื่องจากมีบริษัทที่ฐานะทางการเงินอ่อนแอจำนวนมากได้ทยอยเข้าสู่
กระบวนการล้มละลาย นอกจากนี้ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า จำนวนบริษัทล้มละลายมักจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายปี เนื่อง
จากเป็นช่วงที่สถาบันการเงินเข้มงวดการให้สินเชื่อเพื่อผลทางการรายงานฐานะการดำเนินงานของสถาบันการ
เงิน ในขณะที่จำนวนบริษัทล้มละลายจะลดลงในช่วงต้นปีเนื่องจากสถาบันการเงินผ่อนคลายการควบคุมสินเชื่อ เนื่อง
จากพ้นช่วงการรายงานฐานะการดำเนินงานแล้ว สำหรับจำนวนบริษัทล้มละลายในทุกภาคเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงภาค
การผลิต การก่อสร้าง และภาคบริการ ในเดือน ม.ค.48 ก็ลดลงเช่นกัน ในขณะที่จำนวนบริษัทที่ก่อตั้งใหม่เพิ่มขึ้น
เป็นจำนวน 2,957 บริษัทจากจำนวน 2,449 บริษัทในช่วงระหว่างเดือน นับเป็นการเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ
เกือบ 2 ปี นับตั้งแต่เดือน เม.ย.ซึ่งมีจำนวน 3,030 บริษัท (Asian Wall Street Journal)
4. รัฐบาลสิงคโปร์เตรียมลดอัตราภาษีเงินได้ส่วนบุคคลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รายงานจากสิงคโปร์
รัฐบาลสิงคโปร์เตรียมลดอัตราภาษีเงินได้ส่วนบุคคลขั้นสูงสุดจากร้อยละ 22 เป็นร้อยละ 20 โดยจะใช้เวลา 2ปีใน
การปรับลดซึ่งนักวิเคราะห์มองว่ารัฐบาลควรจะปรับลดไปเลยนับตั้งแต่ปีแรกในเมื่อรัฐบาลคาดว่าจะมีงบประมาณเกิน
ดุลร้อยละ 0.1 ของ GDP ในปีงบประมาณหน้าซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือน เม.ย.48 หลังจากขาดดุลงบประมาณร้อยละ
0.2 ของ GDP ในปีงบประมาณนี้ โดยประมาณการดังกล่าวได้รวมเงินที่รัฐบาลสิงคโปร์จะจ่ายให้ชาวสิงคโปร์เป็น
เงินบำนาญเพิ่มเติมและการบริการแก่ประชาชนในด้านอื่น ๆ แต่หากไม่รวมเงินที่รัฐบาลจะจ่ายดังกล่าวแล้ว รัฐบาล
จะมีงบประมาณเกินดุลร้อยละ 0.5 ของ GDP ในปีงบประมาณหน้าหลังจากเกินดุลร้อยละ 0.1 ของ GDP ในปีงบ
ประมาณนี้ ทั้งนี้เพื่อหวังกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ หลังจากเศรษฐกิจสิงคโปร์ประสบกับภาวะถดถอย 2 ครั้งนับ
ตั้งแต่ปี 41 ทำให้มีอัตราการว่างงานสูงผิดปรกติจากที่ไม่เคยสูญเสียงานเนื่องจากเศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
มาสองทศวรรษ โดยเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและขยายตัวถึงร้อยละ 8.4 ในปี 47 หลังจากขยายตัวเพียงร้อยละ 1.4
ในปี 46 และคาดว่า GDP ในปีนี้จะขยายตัวระหว่างร้อยละ 3 ถึง 5 (The Asian Wall Street Journal)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21 ก.พ. 48 18 ก.พ. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.556 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.3680/38.6630 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.1875 - 2.2000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 737.50/23.47 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,800/7,900 7,750/7,850 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 40.15 39.91 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 20.49*/14.59 20.49*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 18 ก.พ. 48
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--