กรุงเทพ--27 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้ลงนามในสัญญาจัดจ้างกับบริษัทผู้ชนะการประกวดราคา
คือกลุ่มบริษัท ซึ่งประกอบด้วยบริษัทจันวาณิชย์จำกัด และบริษัทจันวาณิชย์ซีเคียวริตี้พริ้นติ้งจำกัด และ บริษัท NEC Solutions Asia Pacific Pte., Ltd. เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2548 เพื่อพัฒนาระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์หรือe-passport ของไทยนั้น กระทรวงการต่างประเทศจะเริ่มนำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ออกใช้ตามโครงการซึ่งแบ่งเป็น 4 ช่วง ดังนี้
ช่วงระยะที่ 1 เริ่มวันที่ 26 พฤษภาคม 2548 โดยเป็นโครงการนำร่อง ซึ่งทดลองใช้งาน
สำหรับหนังสือเดินทางทูตและราชการ และเปิดบริการเฉพาะที่อาคารกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ
ช่วงระยะที่ 2 ช่วงระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน — 31 กรกฎาคม 2548 เป็นช่วงทำลองใช้งานในโครงการนำร่องสำหรับประชาชนทั่วไป โดยเปิดให้บริการเฉพาะที่อาคารกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ
ช่วงระยะที่ 3 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2548 โดยกระทรวงการต่างประเทศจะออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนหนังสือเดินทางรูปแบบเดิม โดยเปิดให้บริการรับคำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่อาคารกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ สำนักงานสาขาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำนักงานสาขาในต่างจังหวัด รวมทั้งสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลไทยในต่างประเทศ
ช่วงระยะที่ 4 ช่วงพัฒนาระบบ รวมทั้งเปิดสำนักงานบริการรับคำร้องเพิ่มเติมอีก 10 สาขา และหน่วยสัญจรอีก 5 หน่วย ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะติดตามมาตรฐานขององค์การการบิน พลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization — ICAO) เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงระบบในกรณีที่ ICAO มีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดทางเทคนิค
หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยเป็นไปตามมาตรฐาน ICAO มีการบันทึก ข้อมูลทางชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทางไว้ใน microchip ที่ฝังไว้ในหนังสือเดินทาง โดยหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ของไทยจะใช้ข้อมูลรูปใบหน้า และลายพิมพ์นิ้วมือ ดังนั้น ผู้ร้องขอหนังสือเดินทางจะต้องไปติดต่อด้วยตัวเองที่สำนักงานที่ให้บริการ เพื่อการเก็บข้อมูลใบหน้าและลายพิมพ์นิ้วมือ และไม่สามารถใช้วิธีส่งรูปถ่ายมาดำเนินการเช่นเดิมได้ ทั้งนี้ เป็นการป้องกันการปลอมแปลงหนังสือเดินทาง
นอกจากนี้ หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้มีการพัฒนาเพื่อให้มีความปลอดภัยสูงยิ่งขึ้น ทั้งในตัวเล่มเองซึ่งมีคุณลักษณะด้านความปลอดภัยป้องกันการปลอมแปลง ในระบบการออกหนังสือเดินทางที่มีการป้องกันความปลอดภัยอย่างเข้มงวด และมีการตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือเดินทางควบคู่ไปกับผู้ถือหนังสือเดินทาง และได้ประยุกต์ใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง เพื่อความสะดวกรวดเร็วของผู้ถือหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเครื่องอ่านหนังสือเดินทางจะทำการตรวจสอบข้อมูลที่เก็บใน microchip ที่ฝังอยู่ในหนังสือเดินทางเปรียบเทียบกับใบหน้าและลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ถือ เพื่อยื่นยันว่าผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นเจ้าของตัวจริง
สำหรับเอกสารที่ใช้ยื่นประกอบการขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ บัตรประจำตัว
ประชาชนเท่านั้น และในบางกรณีจะต้องมีเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ นามสกุล โดยมีอัตรา
ค่าธรรมเนียมเล่มละ 1,000 บาท
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้ลงนามในสัญญาจัดจ้างกับบริษัทผู้ชนะการประกวดราคา
คือกลุ่มบริษัท ซึ่งประกอบด้วยบริษัทจันวาณิชย์จำกัด และบริษัทจันวาณิชย์ซีเคียวริตี้พริ้นติ้งจำกัด และ บริษัท NEC Solutions Asia Pacific Pte., Ltd. เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2548 เพื่อพัฒนาระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์หรือe-passport ของไทยนั้น กระทรวงการต่างประเทศจะเริ่มนำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ออกใช้ตามโครงการซึ่งแบ่งเป็น 4 ช่วง ดังนี้
ช่วงระยะที่ 1 เริ่มวันที่ 26 พฤษภาคม 2548 โดยเป็นโครงการนำร่อง ซึ่งทดลองใช้งาน
สำหรับหนังสือเดินทางทูตและราชการ และเปิดบริการเฉพาะที่อาคารกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ
ช่วงระยะที่ 2 ช่วงระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน — 31 กรกฎาคม 2548 เป็นช่วงทำลองใช้งานในโครงการนำร่องสำหรับประชาชนทั่วไป โดยเปิดให้บริการเฉพาะที่อาคารกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ
ช่วงระยะที่ 3 เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2548 โดยกระทรวงการต่างประเทศจะออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนหนังสือเดินทางรูปแบบเดิม โดยเปิดให้บริการรับคำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่อาคารกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ สำนักงานสาขาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สำนักงานสาขาในต่างจังหวัด รวมทั้งสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลไทยในต่างประเทศ
ช่วงระยะที่ 4 ช่วงพัฒนาระบบ รวมทั้งเปิดสำนักงานบริการรับคำร้องเพิ่มเติมอีก 10 สาขา และหน่วยสัญจรอีก 5 หน่วย ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะติดตามมาตรฐานขององค์การการบิน พลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization — ICAO) เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงระบบในกรณีที่ ICAO มีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดทางเทคนิค
หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยเป็นไปตามมาตรฐาน ICAO มีการบันทึก ข้อมูลทางชีวภาพของผู้ถือหนังสือเดินทางไว้ใน microchip ที่ฝังไว้ในหนังสือเดินทาง โดยหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ของไทยจะใช้ข้อมูลรูปใบหน้า และลายพิมพ์นิ้วมือ ดังนั้น ผู้ร้องขอหนังสือเดินทางจะต้องไปติดต่อด้วยตัวเองที่สำนักงานที่ให้บริการ เพื่อการเก็บข้อมูลใบหน้าและลายพิมพ์นิ้วมือ และไม่สามารถใช้วิธีส่งรูปถ่ายมาดำเนินการเช่นเดิมได้ ทั้งนี้ เป็นการป้องกันการปลอมแปลงหนังสือเดินทาง
นอกจากนี้ หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้มีการพัฒนาเพื่อให้มีความปลอดภัยสูงยิ่งขึ้น ทั้งในตัวเล่มเองซึ่งมีคุณลักษณะด้านความปลอดภัยป้องกันการปลอมแปลง ในระบบการออกหนังสือเดินทางที่มีการป้องกันความปลอดภัยอย่างเข้มงวด และมีการตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือเดินทางควบคู่ไปกับผู้ถือหนังสือเดินทาง และได้ประยุกต์ใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง เพื่อความสะดวกรวดเร็วของผู้ถือหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเครื่องอ่านหนังสือเดินทางจะทำการตรวจสอบข้อมูลที่เก็บใน microchip ที่ฝังอยู่ในหนังสือเดินทางเปรียบเทียบกับใบหน้าและลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ถือ เพื่อยื่นยันว่าผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นเจ้าของตัวจริง
สำหรับเอกสารที่ใช้ยื่นประกอบการขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ คือ บัตรประจำตัว
ประชาชนเท่านั้น และในบางกรณีจะต้องมีเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ นามสกุล โดยมีอัตรา
ค่าธรรมเนียมเล่มละ 1,000 บาท
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-