1. เสถียรภาพในประเทศ
เครื่องชี้เสถียรภาพในประเทศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ราคาน้ำมันที่ปรับลดลงได้คลายแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อบ้าง สำหรับหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการออกตั๋วเงินคลังเพื่อรักษาระดับเงินคงคลังไว้ใช้ช่วงต้นปีงบประมาณ 2548
รายละเอียดของเครื่องชี้เสถียรภาพในประเทศมีดังนี้
- อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือนพฤศจิกายน 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0 โดยราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ชะลอลงจากเดือนก่อนตามราคาในหมวดผักสดและผลไม้ที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น รวมทั้งราคาไข่และผลิตภัณฑ์นมที่ชะลอลงต่อเนื่อง สำหรับราคาหมวดที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เป็นผลจากการปรับลดลงราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 3 ครั้ง รวม 1.20 บาทต่อลิตร ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ทรงตัวเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน
- อัตราการว่างงาน
ในเดือนตุลาคม 2547 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.6 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงมากจากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ การจ้างงานในภาคเกษตรกลับมาขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 2.0 ขณะที่การจ้างงานในภาคนอกเกษตรขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงในอัตราร้อยละ 4.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน สาขาที่การจ้างงานขยายตัวดี ได้แก่ การก่อสร้าง โรงแรมและภัตตาคาร และการผลิตอุตสาหกรรมในอัตราร้อยละ 13.1 4.7 และ 3.1 ตามลำดับ
- หนี้สาธารณะ
ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 หนี้สาธารณะมีจำนวน 3,110.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิจากเดือนก่อน 125.5 พันล้านบาท ทั้งนี้เป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยออกตั๋วเงินคลัง และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นสำคัญ ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นจากประมาณร้อยละ 46.2 ในเดือนสิงหาคมมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 48.2 ในเดือนนี้
2. เสถียรภาพต่างประเทศ
- หนี้ต่างประเทศ
ในเดือนนี้มีการปรับตัวเลขหนี้ต่างประเทศย้อนหลังถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ตามผลสำรวจหนี้ภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารไตรมาสที่ 3/2547 กาปรับหนี้ภาคธนาคารตามรายงานข้อมูลของธนาคารพาณิชย์ และการปรับข้อมูลการซื้อคืนตราสารหนี้รัฐบาล ทำให้หนี้ต่าประเทศ ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้นสุทธิ 0.1 และ 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. มาอยู่ที่ 49.8 และ 50.4 พันดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2547 มียอดคงค้าง 50.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยแม้ว่าจะมีการชำระคืนเงินกู้ของภาคเอกชนและภาครัฐจำนวน 1.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ผลของค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นทำให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศลดลงเพียง 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ หนี้ระยะสั้นคิดเป็นส่วนร้อยละ 22.5 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมดใกล้เคียงกับร้อยละ 22.6 ในเดือนก่อน
หนี้ภาคเอกชนมียอดคงค้าง 35.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยในเดือนนี้ภาคธนาคารชำระหนี้สุทธิ 0.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นที่ธนาคารญี่ปุ่นนำเข้ามาในช่วงปิดงบบัญชีในเดือนก่อนและการชำระคืนเงินเบิกเกินบัญชีของธนาคารพาณิชย์ไทย ขณะที่ภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคาร มีหนี้เพิ่มขึ้นสุทธิ 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าสินเชื่อการค้าของกลุ่มธุรกิจน้ำมัน สุทธิแล้วจึงมีการชำระคืนในภาคเอกชน 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ผลของค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นทำให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนเมื่อตีราคาเป็นสกุลดอลลาร์ สรอ. อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน
หนี้ภาคทางการลดลง 0.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการชำระคืนเงินกู้ของทั้งรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ โดยบางส่วนเป็นการชำระหนี้ก่อนกำหนด และจากการที่ธนาคารพาณิชย์ในประเทศมีการซื้อตราสารหนี้ระยะสั้น (Euro Commercial Paper-ECP) ของรัฐบาลในตลาดรองต่างประเทศด้วย อย่างไรก็ดีเมื่อรวมกับผลของค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น ทำให้หนี้ภาครัฐลดลงเพียง 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
- เงินสำรองระหว่างประเทศ
เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2547 เท่ากับ 48.3 พันล้านดอลลาร์ สรอง และมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 4.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
- ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศ
เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีโดยสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้นและสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อการนำเข้าเพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 และอยู่ในเกณฑ์ดี
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
เครื่องชี้เสถียรภาพในประเทศโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ราคาน้ำมันที่ปรับลดลงได้คลายแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อบ้าง สำหรับหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการออกตั๋วเงินคลังเพื่อรักษาระดับเงินคงคลังไว้ใช้ช่วงต้นปีงบประมาณ 2548
รายละเอียดของเครื่องชี้เสถียรภาพในประเทศมีดังนี้
- อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือนพฤศจิกายน 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0 โดยราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ชะลอลงจากเดือนก่อนตามราคาในหมวดผักสดและผลไม้ที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น รวมทั้งราคาไข่และผลิตภัณฑ์นมที่ชะลอลงต่อเนื่อง สำหรับราคาหมวดที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เป็นผลจากการปรับลดลงราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน 3 ครั้ง รวม 1.20 บาทต่อลิตร ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ทรงตัวเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน
- อัตราการว่างงาน
ในเดือนตุลาคม 2547 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.6 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงมากจากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ การจ้างงานในภาคเกษตรกลับมาขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 2.0 ขณะที่การจ้างงานในภาคนอกเกษตรขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงในอัตราร้อยละ 4.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน สาขาที่การจ้างงานขยายตัวดี ได้แก่ การก่อสร้าง โรงแรมและภัตตาคาร และการผลิตอุตสาหกรรมในอัตราร้อยละ 13.1 4.7 และ 3.1 ตามลำดับ
- หนี้สาธารณะ
ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 หนี้สาธารณะมีจำนวน 3,110.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิจากเดือนก่อน 125.5 พันล้านบาท ทั้งนี้เป็นการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยออกตั๋วเงินคลัง และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เป็นสำคัญ ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นจากประมาณร้อยละ 46.2 ในเดือนสิงหาคมมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 48.2 ในเดือนนี้
2. เสถียรภาพต่างประเทศ
- หนี้ต่างประเทศ
ในเดือนนี้มีการปรับตัวเลขหนี้ต่างประเทศย้อนหลังถึงไตรมาสที่ 2 ปี 2547 ตามผลสำรวจหนี้ภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคารไตรมาสที่ 3/2547 กาปรับหนี้ภาคธนาคารตามรายงานข้อมูลของธนาคารพาณิชย์ และการปรับข้อมูลการซื้อคืนตราสารหนี้รัฐบาล ทำให้หนี้ต่าประเทศ ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้นสุทธิ 0.1 และ 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. มาอยู่ที่ 49.8 และ 50.4 พันดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
หนี้ต่างประเทศรวม ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2547 มียอดคงค้าง 50.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยแม้ว่าจะมีการชำระคืนเงินกู้ของภาคเอกชนและภาครัฐจำนวน 1.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ผลของค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นทำให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศลดลงเพียง 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
โครงสร้างหนี้ต่างประเทศ หนี้ระยะสั้นคิดเป็นส่วนร้อยละ 22.5 ของหนี้ต่างประเทศทั้งหมดใกล้เคียงกับร้อยละ 22.6 ในเดือนก่อน
หนี้ภาคเอกชนมียอดคงค้าง 35.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยในเดือนนี้ภาคธนาคารชำระหนี้สุทธิ 0.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นที่ธนาคารญี่ปุ่นนำเข้ามาในช่วงปิดงบบัญชีในเดือนก่อนและการชำระคืนเงินเบิกเกินบัญชีของธนาคารพาณิชย์ไทย ขณะที่ภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคาร มีหนี้เพิ่มขึ้นสุทธิ 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าสินเชื่อการค้าของกลุ่มธุรกิจน้ำมัน สุทธิแล้วจึงมีการชำระคืนในภาคเอกชน 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ผลของค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นทำให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนเมื่อตีราคาเป็นสกุลดอลลาร์ สรอ. อยู่ในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน
หนี้ภาคทางการลดลง 0.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากการชำระคืนเงินกู้ของทั้งรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ โดยบางส่วนเป็นการชำระหนี้ก่อนกำหนด และจากการที่ธนาคารพาณิชย์ในประเทศมีการซื้อตราสารหนี้ระยะสั้น (Euro Commercial Paper-ECP) ของรัฐบาลในตลาดรองต่างประเทศด้วย อย่างไรก็ดีเมื่อรวมกับผลของค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น ทำให้หนี้ภาครัฐลดลงเพียง 0.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
- เงินสำรองระหว่างประเทศ
เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2547 เท่ากับ 48.3 พันล้านดอลลาร์ สรอง และมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 4.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
- ดัชนีชี้วัดเสถียรภาพต่างประเทศ
เสถียรภาพด้านต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดีโดยสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ระยะสั้นและสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อการนำเข้าเพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 และอยู่ในเกณฑ์ดี
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--