สศข. 5 แนะ เกษตรกรอย่าเผาฟางข้าวพร่ำเพรื่อ ชี้ตัวการสำคัญส่งผลให้โลกร้อนขึ้น ซ้ำทำลายห่วงโซ่อาหาร ก่อผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสาเหตุ จากการเผาฟางข้าวของเกษตรกรหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว เพียงเพื่อต้องการความสะดวกรวดเร็วและเอาใจผู้ที่จะมารับจ้างไถ โดยเมื่อทำการเผาฟางข้าวแล้ว ทำให้การไถเตรียมดินง่ายขึ้น เนื่องจากการเผา ถือว่าเป็นการทำลายอย่างดีเยี่ยม เพราะง่ายต่อการกำจัดและสะดวกรวดเร็ว แต่ถ้าหากจะนำกิจกรรมนี้ไปใช้ ต้องตรวจสอบด้วยว่า เกิดผลดีหรือผลเสียมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เกษตรกรยังขาดความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลที่จะนำมาใช้ในการไถกลบตอ ซังฟางข้าว และเกษตรกรต้องการเร่งรัดการใช้พื้นที่เพาะปลูกเดิมอย่างต่อเนื่อง ส่วนผลกระทบทางด้านการเกษตรที่จะเกิดขึ้นมีมากมายเช่น ทำให้พื้นที่ ปลูกเสื่อมโทรม ความร้อนที่เกิดจากการเผาจะทำให้อินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารในดินสูญเสียโครงสร้างดินที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกถูกทำลายต่อเนื่อง ทุกปี ก่อให้เกิดเขม่าควัน เถ้า ฝุ่นละออง ก๊าซพิษ ส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการเสียสมดุลของธรรมชาติ ทำลายห่วงโซ่อาหารของ เกษตรกรในชนบท ทำให้อากาศร้อนขึ้นทุก ๆ ปี รวมทั้งก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้
จะเห็นได้ว่า การเผาจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี ดังนั้นจึงควรที่จะนำเทคโนโลยีการเกษตรมาใช้ทดแทนการเผา เช่น การไถพลิกอย่างสมบูรณ์ก่อ ให้เกิดการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของดินให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก อีกทั้งความร้อนจากแสงแดดสามารถทำลายเชื้อโรค แมลง และวัชพืชที่อยู่ในดิน ได้อีกด้วย ฉะนั้นจึงควรจะรณรงค์ให้ความรู้แก่เกษตรกรถึงประโยชน์และโทษของการเผาฟางข้าวให้มากขึ้น เพื่อความสมดุลทางธรรมชาติกลับคืนมา
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสาเหตุ จากการเผาฟางข้าวของเกษตรกรหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว เพียงเพื่อต้องการความสะดวกรวดเร็วและเอาใจผู้ที่จะมารับจ้างไถ โดยเมื่อทำการเผาฟางข้าวแล้ว ทำให้การไถเตรียมดินง่ายขึ้น เนื่องจากการเผา ถือว่าเป็นการทำลายอย่างดีเยี่ยม เพราะง่ายต่อการกำจัดและสะดวกรวดเร็ว แต่ถ้าหากจะนำกิจกรรมนี้ไปใช้ ต้องตรวจสอบด้วยว่า เกิดผลดีหรือผลเสียมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เกษตรกรยังขาดความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลที่จะนำมาใช้ในการไถกลบตอ ซังฟางข้าว และเกษตรกรต้องการเร่งรัดการใช้พื้นที่เพาะปลูกเดิมอย่างต่อเนื่อง ส่วนผลกระทบทางด้านการเกษตรที่จะเกิดขึ้นมีมากมายเช่น ทำให้พื้นที่ ปลูกเสื่อมโทรม ความร้อนที่เกิดจากการเผาจะทำให้อินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารในดินสูญเสียโครงสร้างดินที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกถูกทำลายต่อเนื่อง ทุกปี ก่อให้เกิดเขม่าควัน เถ้า ฝุ่นละออง ก๊าซพิษ ส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการเสียสมดุลของธรรมชาติ ทำลายห่วงโซ่อาหารของ เกษตรกรในชนบท ทำให้อากาศร้อนขึ้นทุก ๆ ปี รวมทั้งก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้
จะเห็นได้ว่า การเผาจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี ดังนั้นจึงควรที่จะนำเทคโนโลยีการเกษตรมาใช้ทดแทนการเผา เช่น การไถพลิกอย่างสมบูรณ์ก่อ ให้เกิดการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของดินให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูก อีกทั้งความร้อนจากแสงแดดสามารถทำลายเชื้อโรค แมลง และวัชพืชที่อยู่ในดิน ได้อีกด้วย ฉะนั้นจึงควรจะรณรงค์ให้ความรู้แก่เกษตรกรถึงประโยชน์และโทษของการเผาฟางข้าวให้มากขึ้น เพื่อความสมดุลทางธรรมชาติกลับคืนมา
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-