เศรษฐกิจภาคเหนือเดือนมกราคม 2548 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดี เนื่องจากรายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักเพิ่มขึ้นจากราคาเป็นสำคัญ ส่วนการลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างกระเตื้องขึ้นโดยเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยของครัวเรือนทั่วไป สำหรับการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะผลิตเพื่อการส่งออกชะลอตัว เป็นผลจากการชะลอตัวของอุปสงค์จากต่างประเทศ ภาคบริการแม้จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติในฝั่งทะเลอันดามัน ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง แต่นักท่องเที่ยวชาวไทยเพิ่มขึ้น ทำให้นักท่องเที่ยวรวมยังคงเพิ่มขึ้น แต่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงมาก สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอตัวลง ด้านภาวะการเงิน เงินฝากยังเร่งตัว ขณะที่สินเชื่อชะลอตัวตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง พืชสำคัญ ได้แก่ ข้าวและอ้อยมีผลผลิตลดลง ส่วนพืชผลอื่นๆ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมันสำปะหลัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และ ร้อยละ 1.0 ตามลำดับ จากการขยายพื้นที่เพาะปลูกตามแรงจูงใจราคาปีก่อน แต่รายได้เกษตรกรจากการขายพืชผลหลักขยายตัวถึงร้อยละ 17.8 จากราคาสินค้าเกษตรหลักที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในเดือนนี้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.3 ราคาข้าวเพิ่มขึ้นจากมาตรการของรัฐบาลและสต็อกข้าวโลกที่ลดลง โดยเฉพาะราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5 % เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 ราคามันสำปะหลังเพิ่มขึ้นเกือบครึ่งหนึ่ง ขณะที่ราคาอ้อยโรงงานและ ข้าวโพดความชื้นไม่เกิน 14 % เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 และร้อยละ 14.2
2. ภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ชะลอลงต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.5 เป็น 555.7 พันเมตริกตัน ชะลอลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่การผลิตและส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงร้อยละ 1.1 เหลือ 120.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากสินค้าประเภทเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้าและทรานสฟอร์เมอร์ จากความต้องการจากต่างประเทศลดลง อย่างไรก็ดีสำหรับผลผลิตหมวดวัสดุก่อสร้างกลับเพิ่มขึ้นมาก ตามความต้องการ ก่อสร้างที่อยู่อาศัยของครัวเรือนซึ่งสร้างเพื่ออยู่อาศัยเอง รวมทั้งโครงสร้างก่อสร้างของภาครัฐบาล
3. ภาคบริการ ชะลอตัว เนื่องจากผลกระทบจากเหตุธรณีพิบัติภัยและสถานการณ์ความไม่สงบของจังหวัดภาคใต้ ทำให้นักท่องเที่ยวบางกลุ่มโดยเฉพาะชาวต่างประเทศยกเลิกการเดินทาง แต่สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยยังเดินทางมาภาคเหนือเพิ่มขึ้น ทั้งนี้จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.2 ตามแรงจูงใจในด้านราคาของสายการบินต้นทุนต่ำ ( Low Cost Airline ) จากการเพิ่มจำนวนเที่ยวบิน รวมทั้งความนิยมในการเดินทางอากาศมากขึ้น อย่างไรก็ตามการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโรงแรมและภัตตาคาร และอัตราการเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรมลดลงร้อยละ 13.0 และ ร้อยละ 5.8 ตามลำดับ แต่ราคาห้องพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0 เนื่องจากช่วงก่อนหน้านั้นได้มีการปรับปรุงห้องพัก
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ยังขยายตัว กิจกรรมด้านการใช้จ่ายปรับตัวดีขึ้น โดย ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 เดือนก่อน เป็น 25,147 คัน เร่งตัวขึ้นโดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนล่าง เนื่องจากรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น สำหรับยอดจดทะเบียนรถยนต์ชะลอตัวจากเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 เป็น 8,741 คัน ทั้งประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ เนื่องจากยังมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการ อาทิ เช่น อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ การออกรถยนต์รุ่นใหม่ รวมทั้งการปรับลดภาษี สรรพสามิต ส่วนยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภท การขายส่งและขายปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8
5. การลงทุนภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยของครัวเรือนในอำเภอ อบนอกซึ่งสร้างเพื่ออยู่อาศัยเอง อย่างไรก็ดีสำหรับพื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 15.1 ตามการลดลงของประเภทที่อยู่อาศัย เป็นสำคัญ ส่วนค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.7 ขณะที่ทางด้านการลงทุนเพื่อการผลิตยังทรงตัวจากเดือนก่อน
6. ภาคการค้าต่างประเทศ มูลค่าส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เป็น 176.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกผ่านด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.3 เป็น 47.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 53.5 ในสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค การส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว ประเภทยานพาหนะ วัสดุก่อสร้างและน้ำมันเชื้อเพลิง ขณะที่การส่งออกไปจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ประเภทยางแผ่นรมควันและยางแท่ง ส่วนการส่งออกผ่านด่านนิคมฯ ลดลงร้อยละ 1.1 เหลือ 120.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงเป็นเดือนแรกนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2545 จากสินค้าเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ทรานส์ฟอร์เมอร์ มอเตอร์ และเครื่องมือแพทย์ ซึ่งลดลงจากการส่งออกไปฮ่องกง สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และเกาหลีใต้ แต่ส่งไปประเทศที่ญี่ปุ่น สิงคโปร์และจีนเพิ่มขึ้น กรณีจีนเป็นการส่งออกเครื่องจักรจากการย้ายสายการผลิตสินค้าบางประเภทที่ใช้แรงงานมากไปประเทศจีน มูลค่าการนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือ ลดลงร้อยละ 0.4 เหลือ 101.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยลดลงที่ด่านนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือร้อยละ 2.3 จากสินค้าประเภทเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรและเครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์พลาสติกและเรซิน ลดลง เป็นสำคัญ แต่การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 จากการนำเข้าสินค้าจากพม่าร้อยละ 24.0 ประเภทสินค้าประมงและ โค-กระบือซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว การนำเข้าจากลาวเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ประเภทลิกไนต์ และการนำเข้าจากจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากผลไม้ประเภทสาลี่ แอปเปิล
ดุลการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเดือนมกราคม 2548 เกินดุล 74.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 57.5 ล้านดอลลาร์ สรอ.
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 จากราคาเนื้อสุกร ปลา สัตว์น้ำ ผักสด และไข่ สำหรับราคาหมวดอื่นที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามจากการปรับลดราคาน้ำมันเบนซินเป็นสำคัญ ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6 ทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน
8. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนธันวาคม 2547 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.8 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำคิดเป็นร้อยละ 98.3 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าร้อยละ 98.1 ในระยะเดียวกันปีก่อน แม้ว่าการจ้างงานภาคเกษตรลดลงร้อยละ 3.8 เนื่องจากพื้นที่บางส่วนประสบภัยแล้ง แต่การจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 ในสาขาการขายส่ง-ปลีก อุตสาหกรรมการผลิต และการก่อสร้าง ส่งผลให้อัตราการว่างงานเหลือเพียงร้อยละ 1.3 ลดลงจากร้อยละ1.4 ของระยะเดียวกันปีก่อน
9 . ภาคการเงิน ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2547 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือมียอดเงินฝากคงค้างทั้งสิ้น 297,566 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.1 ชะลอลงจากเดือนก่อน แต่ยังเร่งตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกัน ปีก่อน โดยเงินฝากเพิ่มขึ้นมากบริเวณจังหวัดที่เป็นแหล่งเพาะปลูกพืชเกษตรสำคัญ อาทิ จังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ ลำพูน และตาก ส่วนเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 214,795 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.1 โดยเพิ่มขึ้นที่จังหวัดนครสวรรค์และลำพูน จากความต้องการใช้วงเงินของอุตสาหกรรมโรงสีและบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมแต่สินเชื่อลดลงมากที่จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก แพร่ และน่าน เนื่องจากมีลูกค้ารายใหญ่ชำระและมีการโอนลูกหนี้บางส่วนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ ทำให้สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 72.2 สูงกว่าร้อยละ 70.8 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง พืชสำคัญ ได้แก่ ข้าวและอ้อยมีผลผลิตลดลง ส่วนพืชผลอื่นๆ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมันสำปะหลัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และ ร้อยละ 1.0 ตามลำดับ จากการขยายพื้นที่เพาะปลูกตามแรงจูงใจราคาปีก่อน แต่รายได้เกษตรกรจากการขายพืชผลหลักขยายตัวถึงร้อยละ 17.8 จากราคาสินค้าเกษตรหลักที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในเดือนนี้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.3 ราคาข้าวเพิ่มขึ้นจากมาตรการของรัฐบาลและสต็อกข้าวโลกที่ลดลง โดยเฉพาะราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5 % เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 ราคามันสำปะหลังเพิ่มขึ้นเกือบครึ่งหนึ่ง ขณะที่ราคาอ้อยโรงงานและ ข้าวโพดความชื้นไม่เกิน 14 % เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 และร้อยละ 14.2
2. ภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน แต่ชะลอลงต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.5 เป็น 555.7 พันเมตริกตัน ชะลอลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่การผลิตและส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือลดลงร้อยละ 1.1 เหลือ 120.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากสินค้าประเภทเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้าและทรานสฟอร์เมอร์ จากความต้องการจากต่างประเทศลดลง อย่างไรก็ดีสำหรับผลผลิตหมวดวัสดุก่อสร้างกลับเพิ่มขึ้นมาก ตามความต้องการ ก่อสร้างที่อยู่อาศัยของครัวเรือนซึ่งสร้างเพื่ออยู่อาศัยเอง รวมทั้งโครงสร้างก่อสร้างของภาครัฐบาล
3. ภาคบริการ ชะลอตัว เนื่องจากผลกระทบจากเหตุธรณีพิบัติภัยและสถานการณ์ความไม่สงบของจังหวัดภาคใต้ ทำให้นักท่องเที่ยวบางกลุ่มโดยเฉพาะชาวต่างประเทศยกเลิกการเดินทาง แต่สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยยังเดินทางมาภาคเหนือเพิ่มขึ้น ทั้งนี้จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.2 ตามแรงจูงใจในด้านราคาของสายการบินต้นทุนต่ำ ( Low Cost Airline ) จากการเพิ่มจำนวนเที่ยวบิน รวมทั้งความนิยมในการเดินทางอากาศมากขึ้น อย่างไรก็ตามการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโรงแรมและภัตตาคาร และอัตราการเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรมลดลงร้อยละ 13.0 และ ร้อยละ 5.8 ตามลำดับ แต่ราคาห้องพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0 เนื่องจากช่วงก่อนหน้านั้นได้มีการปรับปรุงห้องพัก
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ยังขยายตัว กิจกรรมด้านการใช้จ่ายปรับตัวดีขึ้น โดย ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 เดือนก่อน เป็น 25,147 คัน เร่งตัวขึ้นโดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนล่าง เนื่องจากรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น สำหรับยอดจดทะเบียนรถยนต์ชะลอตัวจากเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 เป็น 8,741 คัน ทั้งประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ เนื่องจากยังมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการ อาทิ เช่น อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ การออกรถยนต์รุ่นใหม่ รวมทั้งการปรับลดภาษี สรรพสามิต ส่วนยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภท การขายส่งและขายปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8
5. การลงทุนภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยของครัวเรือนในอำเภอ อบนอกซึ่งสร้างเพื่ออยู่อาศัยเอง อย่างไรก็ดีสำหรับพื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 15.1 ตามการลดลงของประเภทที่อยู่อาศัย เป็นสำคัญ ส่วนค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.7 ขณะที่ทางด้านการลงทุนเพื่อการผลิตยังทรงตัวจากเดือนก่อน
6. ภาคการค้าต่างประเทศ มูลค่าส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เป็น 176.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกผ่านด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.3 เป็น 47.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 53.5 ในสินค้าประเภทอุปโภคบริโภค การส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัว ประเภทยานพาหนะ วัสดุก่อสร้างและน้ำมันเชื้อเพลิง ขณะที่การส่งออกไปจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ประเภทยางแผ่นรมควันและยางแท่ง ส่วนการส่งออกผ่านด่านนิคมฯ ลดลงร้อยละ 1.1 เหลือ 120.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงเป็นเดือนแรกนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2545 จากสินค้าเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ทรานส์ฟอร์เมอร์ มอเตอร์ และเครื่องมือแพทย์ ซึ่งลดลงจากการส่งออกไปฮ่องกง สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และเกาหลีใต้ แต่ส่งไปประเทศที่ญี่ปุ่น สิงคโปร์และจีนเพิ่มขึ้น กรณีจีนเป็นการส่งออกเครื่องจักรจากการย้ายสายการผลิตสินค้าบางประเภทที่ใช้แรงงานมากไปประเทศจีน มูลค่าการนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือ ลดลงร้อยละ 0.4 เหลือ 101.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยลดลงที่ด่านนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือร้อยละ 2.3 จากสินค้าประเภทเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรและเครื่องจักรกล ผลิตภัณฑ์พลาสติกและเรซิน ลดลง เป็นสำคัญ แต่การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 จากการนำเข้าสินค้าจากพม่าร้อยละ 24.0 ประเภทสินค้าประมงและ โค-กระบือซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว การนำเข้าจากลาวเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ประเภทลิกไนต์ และการนำเข้าจากจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากผลไม้ประเภทสาลี่ แอปเปิล
ดุลการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเดือนมกราคม 2548 เกินดุล 74.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 57.5 ล้านดอลลาร์ สรอ.
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 จากราคาเนื้อสุกร ปลา สัตว์น้ำ ผักสด และไข่ สำหรับราคาหมวดอื่นที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ชะลอลงจากเดือนก่อน ตามจากการปรับลดราคาน้ำมันเบนซินเป็นสำคัญ ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6 ทรงตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน
8. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนธันวาคม 2547 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.8 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำคิดเป็นร้อยละ 98.3 ของกำลังแรงงานรวม สูงกว่าร้อยละ 98.1 ในระยะเดียวกันปีก่อน แม้ว่าการจ้างงานภาคเกษตรลดลงร้อยละ 3.8 เนื่องจากพื้นที่บางส่วนประสบภัยแล้ง แต่การจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.0 ในสาขาการขายส่ง-ปลีก อุตสาหกรรมการผลิต และการก่อสร้าง ส่งผลให้อัตราการว่างงานเหลือเพียงร้อยละ 1.3 ลดลงจากร้อยละ1.4 ของระยะเดียวกันปีก่อน
9 . ภาคการเงิน ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2547 สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือมียอดเงินฝากคงค้างทั้งสิ้น 297,566 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.1 ชะลอลงจากเดือนก่อน แต่ยังเร่งตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกัน ปีก่อน โดยเงินฝากเพิ่มขึ้นมากบริเวณจังหวัดที่เป็นแหล่งเพาะปลูกพืชเกษตรสำคัญ อาทิ จังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ ลำพูน และตาก ส่วนเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 214,795 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.1 โดยเพิ่มขึ้นที่จังหวัดนครสวรรค์และลำพูน จากความต้องการใช้วงเงินของอุตสาหกรรมโรงสีและบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมแต่สินเชื่อลดลงมากที่จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก แพร่ และน่าน เนื่องจากมีลูกค้ารายใหญ่ชำระและมีการโอนลูกหนี้บางส่วนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ ทำให้สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 72.2 สูงกว่าร้อยละ 70.8 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--