วันนี้ (5 มิ.ย.48) เวลา 14.00 น. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลไม่ยอมแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของกรรมการสรรหาองค์กรอิสระอื่นๆ นอกเหนือจากการสรรหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เป็นเพราะรัฐบาลต้องการใช้ช่องว่างตามเจตนารมณ์ที่ดีของรัฐธรรมนูญในการแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง
นายองอาจ ยังกล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของการสรรหาองค์กรอิสระ ทั้ง ป.ป.ช. คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ฝ่ายค้านนำเสนอไปนั้น เป็นการกระทำเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนที่ต้องการสกัดกั้น มิให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงการตรวจสอบขององค์กรอิสระ แต่แม้ว่าเราจะพยายามเพียงใด สิ่งที่เราแก้ก็เป็นเพียงตัวอักษร ซึ่งถ้าผู้ปฏิบัติ โดยเฉพาะนักการเมืองนั้นไร้ซึ่งจริยธรรม ขาดจิตสำนึก นักการเมืองเหล่านี้ก็จะเข้าไปใช้รัฐธรรมนูญให้เกิดประโยชน์กับตัวเองมากกว่าที่จะปล่อยให้รัฐธรรมนูญดำเนินการไปตามเจตนารมณ์ พร้อมทั้งยืนยันจุดยืนของพรรคว่า จะไม่ทำเพื่อสนองอำนาจหรือเพื่อประโยชน์ของตนเอง แต่เพื่อพี่น้องประชาชน 2. จะพยายามไม่ให้มีการบล็อกโหวต 3. เพื่อป้องกันการแทรกแซงการสรรหาองค์กรอิสระจากฝ่ายการเมือง
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังผูกขาดอำนาจไว้ทั้งหมด ทั้งนิติบัญญัติที่สามารถคุมเสียง ส.ส.ได้เกือบ 400 เสียง การเข้าไปแทรกแซง การตัดสินใจของสมาชิกวุฒิสภา ตลอดจนล่าสุดจะมีการเข้ามาผูกขาดรัฐธรรมนูญด้วย
นอกจากนี้นายองอาจ ยังกล่าวถึง กรณีการทุจริตเครื่องตรวจวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000 ว่า ทางพรรคยังคงติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการที่รัฐบาลตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบเรื่องนี้ ซึ่งจะเห็นว่ารัฐบาลได้เลื่อนระยะเวลาการทำงานของคณะกรรมการชุดนี้มาแล้วถึง 2 ครั้ง โดยทางพรรคหวังว่าคงจะได้เห็นผลการตรวจสอบของคณะกรรมการชุดนี้ และอยากจะเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้ประชาชนได้รับทราบว่า ผลการดำเนินการของคณะกรรมการชุดนี้ออกมาเป็นอย่างไร รัฐบาลไม่ควรซื้อเวลา เสมือนหนึ่งว่าพยายามที่จะทำให้การตรวจสอบของคณะกรรมการยืดเยื้ออย่างไม่มีกำหนด หรือต้องการตกแต่งรายงานให้เป็นที่พอใจของท่านนายกฯ ก่อนจะเปิดเผยให้ประชาชนทราบกันแน่
และจากกระแสข่าวระบุว่าพรรคประชาธิปัตย์เกิดความขัดแย้งขึ้นภายในเกี่ยวกับการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายองอาจ ยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้มีความขัดแย้งภายใน ในเรื่องการยื่นหรือไม่ยื่นอภิปรายในครั้งนี้ แต่กระบวนการเป็นการทำงานในระบอบประชาธิปไตยที่จะนำข้อมูลจากทุกส่วนมาปรึกษาหารือกัน ซึ่งการปรึกษาหารืออาจจะมีความเห็นตรงและไม่ตรงกันบ้าง แต่ไม่ใช่ความขัดแย้ง ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์นั้นเรื่องการตรวจสอบเป็นเรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์ให้ความสำคัญและเอาจริงเอาจังอย่างแน่นอน
นอกจากนี้นายองอาจ ยังกล่าวถึง หลักเกณฑ์การอภิปรายของพรรคประชาธิปัตย์ว่า ทางพรรคจะดูใน 3 ข้อหลัก คือ 1. ข้อมูล 2.ข้อกฎหมาย 3. ข้อกล่าวหา ซึ่งหลักเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อนี้จะนำไปพิจารณาในที่ประชุมพรรคอีกครั้งในวันอังคารที่ 7 มิ.ย. นี้ หลังจากนั้นจะมีมติออกมาว่าจะดำเนินการอย่างไรในเรื่องการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ และยืนยันว่า ไม่มีมวยล้ม ต้มคนดู มีแต่เดินหน้าสู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ
ด้านนายอภิมงคล โสณกุล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีการทุจริต ว่า นอกจากการทุจริตการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000 แล้วยังมีอีกหลายเรื่องที่ส่อไปในทางทุจริต เช่น งานด้านการเกษตร ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานด้านการเกษตรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้น โดยมีดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองหัวหน้าพรรค เป็นประธาน
ซึ่งคณะทำงานชุดนี้ได้ตั้งข้อสังเกตและมีประเด็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต เช่น การทุจริตกล้ายาง หลายประเด็น และเพื่อให้การทำงานตรวจสอบเรื่องที่มีการส่อไปทางทุจริตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทางพรรคจึงได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมา 3 คณะคือ 1. คณะทำงานเรื่องการทุจริตกล้ายาง 2. คณะทำงานเรื่องการทุจริตซื้อข้าวหอมมะลิ และ 3. คณะทำงานเรื่องการทุจริตการซื้อลำไยอบแห้ง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 มิ.ย. 2548--จบ--
-ดท-
นายองอาจ ยังกล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนของการสรรหาองค์กรอิสระ ทั้ง ป.ป.ช. คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ฝ่ายค้านนำเสนอไปนั้น เป็นการกระทำเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนที่ต้องการสกัดกั้น มิให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงการตรวจสอบขององค์กรอิสระ แต่แม้ว่าเราจะพยายามเพียงใด สิ่งที่เราแก้ก็เป็นเพียงตัวอักษร ซึ่งถ้าผู้ปฏิบัติ โดยเฉพาะนักการเมืองนั้นไร้ซึ่งจริยธรรม ขาดจิตสำนึก นักการเมืองเหล่านี้ก็จะเข้าไปใช้รัฐธรรมนูญให้เกิดประโยชน์กับตัวเองมากกว่าที่จะปล่อยให้รัฐธรรมนูญดำเนินการไปตามเจตนารมณ์ พร้อมทั้งยืนยันจุดยืนของพรรคว่า จะไม่ทำเพื่อสนองอำนาจหรือเพื่อประโยชน์ของตนเอง แต่เพื่อพี่น้องประชาชน 2. จะพยายามไม่ให้มีการบล็อกโหวต 3. เพื่อป้องกันการแทรกแซงการสรรหาองค์กรอิสระจากฝ่ายการเมือง
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังผูกขาดอำนาจไว้ทั้งหมด ทั้งนิติบัญญัติที่สามารถคุมเสียง ส.ส.ได้เกือบ 400 เสียง การเข้าไปแทรกแซง การตัดสินใจของสมาชิกวุฒิสภา ตลอดจนล่าสุดจะมีการเข้ามาผูกขาดรัฐธรรมนูญด้วย
นอกจากนี้นายองอาจ ยังกล่าวถึง กรณีการทุจริตเครื่องตรวจวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000 ว่า ทางพรรคยังคงติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการที่รัฐบาลตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบเรื่องนี้ ซึ่งจะเห็นว่ารัฐบาลได้เลื่อนระยะเวลาการทำงานของคณะกรรมการชุดนี้มาแล้วถึง 2 ครั้ง โดยทางพรรคหวังว่าคงจะได้เห็นผลการตรวจสอบของคณะกรรมการชุดนี้ และอยากจะเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้ประชาชนได้รับทราบว่า ผลการดำเนินการของคณะกรรมการชุดนี้ออกมาเป็นอย่างไร รัฐบาลไม่ควรซื้อเวลา เสมือนหนึ่งว่าพยายามที่จะทำให้การตรวจสอบของคณะกรรมการยืดเยื้ออย่างไม่มีกำหนด หรือต้องการตกแต่งรายงานให้เป็นที่พอใจของท่านนายกฯ ก่อนจะเปิดเผยให้ประชาชนทราบกันแน่
และจากกระแสข่าวระบุว่าพรรคประชาธิปัตย์เกิดความขัดแย้งขึ้นภายในเกี่ยวกับการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายองอาจ ยืนยันว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้มีความขัดแย้งภายใน ในเรื่องการยื่นหรือไม่ยื่นอภิปรายในครั้งนี้ แต่กระบวนการเป็นการทำงานในระบอบประชาธิปไตยที่จะนำข้อมูลจากทุกส่วนมาปรึกษาหารือกัน ซึ่งการปรึกษาหารืออาจจะมีความเห็นตรงและไม่ตรงกันบ้าง แต่ไม่ใช่ความขัดแย้ง ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์นั้นเรื่องการตรวจสอบเป็นเรื่องที่พรรคประชาธิปัตย์ให้ความสำคัญและเอาจริงเอาจังอย่างแน่นอน
นอกจากนี้นายองอาจ ยังกล่าวถึง หลักเกณฑ์การอภิปรายของพรรคประชาธิปัตย์ว่า ทางพรรคจะดูใน 3 ข้อหลัก คือ 1. ข้อมูล 2.ข้อกฎหมาย 3. ข้อกล่าวหา ซึ่งหลักเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อนี้จะนำไปพิจารณาในที่ประชุมพรรคอีกครั้งในวันอังคารที่ 7 มิ.ย. นี้ หลังจากนั้นจะมีมติออกมาว่าจะดำเนินการอย่างไรในเรื่องการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ และยืนยันว่า ไม่มีมวยล้ม ต้มคนดู มีแต่เดินหน้าสู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ
ด้านนายอภิมงคล โสณกุล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีการทุจริต ว่า นอกจากการทุจริตการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000 แล้วยังมีอีกหลายเรื่องที่ส่อไปในทางทุจริต เช่น งานด้านการเกษตร ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์ก็ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานด้านการเกษตรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้น โดยมีดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองหัวหน้าพรรค เป็นประธาน
ซึ่งคณะทำงานชุดนี้ได้ตั้งข้อสังเกตและมีประเด็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต เช่น การทุจริตกล้ายาง หลายประเด็น และเพื่อให้การทำงานตรวจสอบเรื่องที่มีการส่อไปทางทุจริตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทางพรรคจึงได้จัดตั้งคณะทำงานขึ้นมา 3 คณะคือ 1. คณะทำงานเรื่องการทุจริตกล้ายาง 2. คณะทำงานเรื่องการทุจริตซื้อข้าวหอมมะลิ และ 3. คณะทำงานเรื่องการทุจริตการซื้อลำไยอบแห้ง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 มิ.ย. 2548--จบ--
-ดท-