ไตรรงค์ สุวรรณคีรี’ ร่วมอภิปรายนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล พร้อมใส่ข้อเสนอแนะให้รัฐบาลพิจารณาเพื่อปรับแนวทาว แอบเหน็บ ‘ผมดีใจที่รัฐบาลฟังเสียงคนไทยบ้าง ไม่ใช่เอะอะก็ฟังแต่ฝรั่ง แนะนำแต่หนังสือฝรั่ง’
เมื่อเวลา 17.40น. ที่ห้องประชุมอาคารรัฐสภา ในการประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่ออภิปรายนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อสภา นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยกล่าวว่า ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเรื่องทุนก่อน เพราะตนรู้สึกว่ารัฐบาลเข้าใจว่าทุนคือปัจจัยที่จำเป็นอันดับแรกในภาคการผลิต แต่ความจริงแล้วทุนคือปัจจัยที่จำเป็นตัวสุดท้ายในภาคการผลิต
นายไตรรงค์กล่าวว่า ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลคิดมาโดยตลอดว่าเอาทุนเอาเงินไปโยนให้กับประชาชนแล้วจะเกิดภาคการผลิตอย่างแท้จริง แต่จริงๆแล้วประชาชนนำเงินที่รัฐบาลให้โดยผ่านโครงการกองทุนหมู่บ้าน นำไปใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์ โดยการนำไปซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค หรือนำเงินดังกล่าวไปซื้อโทรศัพท์มือถือเป็นต้น ผลคือ ภาคการผลิตก็ไม่เกิด แถมประชาชนยังเป็นหนี้สินกองทุน จนต้องไปกู้เงินนอกระบบมาใช้หนี้กองทุนของรัฐบาล
ทั้งนี้นายไตรรงค์ได้กล่าวถึงนโยบายที่รัฐบาลจะแปลงกองทุนหมู่บ้านเป็นธนาคารหมู่บ้าน เรื่องนี้ตนขอเตือนว่าจะเกิดปัญหาตามมาคือ หากเงินกองทุนดังกล่าวเป็นเงินที่ไม่มีเจ้าภาพ หรือเป็นเงินของรัฐบาลแล้ว ผู้ที่ดูแลหรือรับผิดชอบกองทุนก็จะขาดความละ เอียดรอบคอบ ส่วนที่กูเงินจากกองทุนไปก็จะรู้สึกว่าไม่อยากใช้หนี้เพราะคิดว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินของรัฐบาล เป็นเงินของนายกฯ ไม่ใช่เงินของตนเอง ดังนั้นตนจึงอยากจะเสนอว่า รัฐบาลต้องให้องค์กรที่ปล่อยกู้ เข้าไปผสมผสานกับเงินกู้จากประชาชนบริเวณนั้น วิธีนี้จะทำให้ประชาชนสนใจติดตามที่จะใช้หนี้ เพราะถือว่าส่วนหนึ่งของเงินที่ปล่อยกู้นั้นเป็นเงินของตนเอง
สำหรับนโยบายที่รัฐบาลเขียนไว้ว่าจะเร่งการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนนั้น นายไตรรงค์กล่าวว่า เป็นแนวคิดของ เดอซาโต นักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวคิดตามสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศเปรู ซึ่งไม่ใช่แนวทางของประเทศไทยเลย ตนคิดว่าหากรัฐบาลยืนยันที่จะนำนโยบายนี้มาปฏิบัติแล้ว ในอนาคตจะเกิดปัญหาแน่นอน ส่วนนโยบายการปรับปรุงคุณภาพดินโดยลดการใช้ปุ๋ยเคมี มาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนนั้น นายไตรรงค์กล่าวว่า ตนดีใจที่รัฐบาลเขียนนโยบายนี้ขึ้นมา เพราะเป็นนโยบายเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ แต่ทั้งนี้ก็อยากจะฝากไปถึงรัฐบาลด้วยว่า เหตุใดรัฐบาลจึงไม่เขียนไปอีกหนึ่งประเด็นคือ ยาฆ่าแมลงลงไปด้วย เพราะยาฆ่าแมลงก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้อากาศเสีย ส่วนนี้ควรนำมาพิจารณาเป็นโยบายด้วย
นโยบายสุดท้ายที่นายไตรรงค์ได้หยิบยกขึ้นมาอภิปรายคือ การส่งเสริมระบบสหกรณ์การเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยกล่าวว่า นโยบายนี้ตนเห็นด้วย แต่รัฐบาลควรนำแนวนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงมาผนวกใช้ด้วย เพราะแนวดังกล่าวจะไม่ใช้แนวคิด วัดคนด้วยเงิน แต่วัดคนด้วยความดีและความอาวุโส ‘ผมดีใจที่นโยบายนี้ เป็นการฟังจากเสียงของคนไทย ไม่ใช่เอะอะอะไรก็ฟังแต่เสียงฝรั่ง แนะนำแต่ตำราฝรั่ง’ แนวคิดของฝรั่งคือสอนให้คนแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันเอง’ นายไตรรงค์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 24 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-
เมื่อเวลา 17.40น. ที่ห้องประชุมอาคารรัฐสภา ในการประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่ออภิปรายนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อสภา นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยกล่าวว่า ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเรื่องทุนก่อน เพราะตนรู้สึกว่ารัฐบาลเข้าใจว่าทุนคือปัจจัยที่จำเป็นอันดับแรกในภาคการผลิต แต่ความจริงแล้วทุนคือปัจจัยที่จำเป็นตัวสุดท้ายในภาคการผลิต
นายไตรรงค์กล่าวว่า ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลคิดมาโดยตลอดว่าเอาทุนเอาเงินไปโยนให้กับประชาชนแล้วจะเกิดภาคการผลิตอย่างแท้จริง แต่จริงๆแล้วประชาชนนำเงินที่รัฐบาลให้โดยผ่านโครงการกองทุนหมู่บ้าน นำไปใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์ โดยการนำไปซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค หรือนำเงินดังกล่าวไปซื้อโทรศัพท์มือถือเป็นต้น ผลคือ ภาคการผลิตก็ไม่เกิด แถมประชาชนยังเป็นหนี้สินกองทุน จนต้องไปกู้เงินนอกระบบมาใช้หนี้กองทุนของรัฐบาล
ทั้งนี้นายไตรรงค์ได้กล่าวถึงนโยบายที่รัฐบาลจะแปลงกองทุนหมู่บ้านเป็นธนาคารหมู่บ้าน เรื่องนี้ตนขอเตือนว่าจะเกิดปัญหาตามมาคือ หากเงินกองทุนดังกล่าวเป็นเงินที่ไม่มีเจ้าภาพ หรือเป็นเงินของรัฐบาลแล้ว ผู้ที่ดูแลหรือรับผิดชอบกองทุนก็จะขาดความละ เอียดรอบคอบ ส่วนที่กูเงินจากกองทุนไปก็จะรู้สึกว่าไม่อยากใช้หนี้เพราะคิดว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินของรัฐบาล เป็นเงินของนายกฯ ไม่ใช่เงินของตนเอง ดังนั้นตนจึงอยากจะเสนอว่า รัฐบาลต้องให้องค์กรที่ปล่อยกู้ เข้าไปผสมผสานกับเงินกู้จากประชาชนบริเวณนั้น วิธีนี้จะทำให้ประชาชนสนใจติดตามที่จะใช้หนี้ เพราะถือว่าส่วนหนึ่งของเงินที่ปล่อยกู้นั้นเป็นเงินของตนเอง
สำหรับนโยบายที่รัฐบาลเขียนไว้ว่าจะเร่งการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนนั้น นายไตรรงค์กล่าวว่า เป็นแนวคิดของ เดอซาโต นักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวคิดตามสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศเปรู ซึ่งไม่ใช่แนวทางของประเทศไทยเลย ตนคิดว่าหากรัฐบาลยืนยันที่จะนำนโยบายนี้มาปฏิบัติแล้ว ในอนาคตจะเกิดปัญหาแน่นอน ส่วนนโยบายการปรับปรุงคุณภาพดินโดยลดการใช้ปุ๋ยเคมี มาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนนั้น นายไตรรงค์กล่าวว่า ตนดีใจที่รัฐบาลเขียนนโยบายนี้ขึ้นมา เพราะเป็นนโยบายเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ แต่ทั้งนี้ก็อยากจะฝากไปถึงรัฐบาลด้วยว่า เหตุใดรัฐบาลจึงไม่เขียนไปอีกหนึ่งประเด็นคือ ยาฆ่าแมลงลงไปด้วย เพราะยาฆ่าแมลงก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้อากาศเสีย ส่วนนี้ควรนำมาพิจารณาเป็นโยบายด้วย
นโยบายสุดท้ายที่นายไตรรงค์ได้หยิบยกขึ้นมาอภิปรายคือ การส่งเสริมระบบสหกรณ์การเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยกล่าวว่า นโยบายนี้ตนเห็นด้วย แต่รัฐบาลควรนำแนวนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงมาผนวกใช้ด้วย เพราะแนวดังกล่าวจะไม่ใช้แนวคิด วัดคนด้วยเงิน แต่วัดคนด้วยความดีและความอาวุโส ‘ผมดีใจที่นโยบายนี้ เป็นการฟังจากเสียงของคนไทย ไม่ใช่เอะอะอะไรก็ฟังแต่เสียงฝรั่ง แนะนำแต่ตำราฝรั่ง’ แนวคิดของฝรั่งคือสอนให้คนแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันเอง’ นายไตรรงค์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 24 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-