สรุปภาวะการค้าระหว่างไทย-สหรัฐระหว่างเดือน ม.ค.- ธ.ค. 2547

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 22, 2005 10:01 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          1. สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 1 ของโลก ในช่วงม.ค.-ธ.ค.47 มีมูลค่าการ
นำเข้า รวม 1,469,670,757,223 เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.91
2. แหล่งผลิตสำคัญที่สหรัฐอเมริกานำเข้าในปี 2547 (ม.ค.-ธ.ค.) ได้แก่
- แคนาดา ร้อยละ 17.41 มูลค่า 255,927.946 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.49
- จีน ร้อยละ 13.38 มูลค่า 196,698.977 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.04
- เม็กซิโก ร้อยละ 10.60 มูลค่า 155,843.011 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.88
- ญี่ปุ่น ร้อยละ 8.82 มูลค่า 129,594.660 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.79
ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 16 สัดส่วนร้อยละ 1.20 มูลค่า 17,577.131 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.80
3. อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)
นายอลัน กรีนสแปน ได้แถลงการณ์ว่า ในปี 2548 นี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวขึ้นในระดับที่พอเหมาะโดย
คาดว่าจะเติบโต 4.0% ในขณะที่ภาวะเงินเฟ้อจะอยู่ต่ำกว่า 1.75% ซึ่งยังอยู่ในสถานะที่ควบคุมได้ ทั้งนี้ปัจจัย
ที่มีอิทธิพลต่อภาวะเงินเฟ้อคือกำลังการผลิตที่ยังคงชะลอตัวลง ซึ่งนาย อลันกล่าวว่าปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งใน
การแก้ไขเรื่องดังกล่าวคือ การเพิ่มอัตราเงินออมของประเทศซึ่งขณะนี้กำลังทรุดตัวอย่างรุนแรง
4. สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับหนึ่งของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้
(ม.ค.-ธ.ค 2547) ร้อยละ 15.90 มีมูลค่า 15,516.81 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.06 หรือคิดเป็น
ร้อยละ 108.69 ของเป้าหมายการส่งออก
5. การค้าระหว่างประเทศไทย-สหรัฐฯ
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ
2545 2546 2546 2547 อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
2545 2546 2547
(ม.ค.- ธ.ค.) (ม.ค.- ธ.ค.) (ม.ค.- ธ.ค.)
มูลค่าการค้า 19,656.45 20,688.79 20,688.79 22,732.18 -3.45 5.25 9.88
สินค้าออก 13,509.42 13,596.19 13,596.19 15,516.81 2.35 0.64 14.13
สินค้าเข้า 6,147.03 7,092.60 7,092.60 7,215.37 -14.14 15.38 1.73
ดุลการค้า 7,362.39 6,503.59 6,503.59 8,301.44 21.89 -11.66 27.64
6. สินค้าไทยส่งออกไปสหรัฐอเมริกา (ม.ค.-ธ.ค.2547) 25 อันดับแรกมีสัดส่วนรวมกัน
ร้อยละ 77.76 ของมูลค่าการส่งออกโดยรวมไปตลาดนี้ สินค้าสำคัญที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ
80 มี 1 รายการ สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 50 มี 3 รายการและสินค้าที่มีมูลค่าลดลงเกิน
กว่าร้อยละ 15 มี 3 รายการ
7. สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐที่มีมูลค่าการเปลี่ยนแปลงสูง
อันดับที่ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการ % สัดส่วน ร้อยละ
ตลาด เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง 2546 2547
ม.ค.-ธ.ค.46 ม.ค.-ธ.ค.47 ม.ค.-ธ.ค. ม.ค.-ธ.ค.
1. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสูงมากกว่าร้อยละ 80 มี 1 รายการ
(1) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 14 161.07 328.16 167.09 103.74 1.18 2.11
2. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสูงมากกว่าร้อยละ 50 มี 3 รายการ
(1) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ 10 208.32 360.58 152.26 73.09 1.53 2.32
(2) ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน 11 212.70 348.98 136.28 64.07 1.56 2.25
(3) วงจรพิมพ์ 12 226.44 340.46 114.02 50.35 1.67 2.19
3. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ ลดลงมากกว่าร้อยละ 15 มี 3 รายการ
(1) กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง 9 449.80 373.02 -76.78 -17.07 3.31 2.40
(2) เครื่องวีดีโอ เครื่องเสียงอุปกรณ์และส่วนประกอบ 15 372.64 316.10 -56.54 -15.17 2.74 2.04
(3) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ 22 207.33 200.67 -6.66 -3.21 1.52 1.29
รวบรวมโดย : ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ
เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ (HS. 7214) Bar, Rod, H Rolld, I/ Nas
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 36 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ ตุรกี ยูเครน อิตาลี จีน
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 23 มูลค่า 4.778 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 0.41
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2,295.75 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 1,171.948 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 138.98 นำเข้าจาก ตุรกี แคนาดา เม็กซิโก ญี่ปุ่น เป็นหลัก (ม.ค-ธ.ค. 2547)
เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ (HS.8529) Part For Television, Radio And Radar Apparatus
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 16 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐฯ
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 10 มูลค่า 140.564 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 2.25
เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.07 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 6,244.034 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 42.81 นำเข้าจาก เม็กซิโก จีน ญี่ปุ่น แคนาดา เป็นหลัก (ม.ค.-ธ.ค. 2547)
ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน (HS.8803) Parts of Balloons, Pirigibles,
Gliders, Airplanes, Other Aircraft, Spacecraft And Spacecraft Launch
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 7 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ สหรัฐฯ ฝรั่งเศส เยอรมนี แคนาดา สเปน
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 36 มูลค่า 1.586 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 0.03
เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.41 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 4,649.830 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 7.34 นำเข้าจาก แคนาดา ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เป็นหลัก (ม.ค.-ธ.ค. 2547)
วงจรพิมพ์ (HS.8534) Printed Circuits
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 6 ของโลก รองจาก จีน ไต้หวัน ฮ่องกง ญี่ปุ่น สหรัฐฯ
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยอันดับที่ 9 มูลค่า 52.358 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.33 ด้าน
การนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 2,148.047 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.37 นำเข้าจาก
ไต้หวัน แคนาดา จีน ญี่ปุ่น เป็นหลัก (ม.ค.-ธ.ค. 2547)
กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง (HS. 0306.13) SHRIMPS AND PRAWNS, INCLUDING IN SHELL, COOKED BY
STEAMING OR BY BOILING IN WATER, FROZEN
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 1 ของโลกรองลงมาคือ อินโดนีเซีย อินเดีย จีน เม็กซิโก
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 1 มูลค่า 444.315 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 15.60
ลดลงร้อยละ 20.11 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 2,847.426 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง
ร้อยละ 4.42 นำเข้าจาก ไทย อินเดีย เม็กซิโก อินโดนีเซีย เป็นหลัก (ม.ค.-ธ.ค. 2547)
เครื่องวีดีโอ เครื่องเสียงอุปกรณ์และส่วนประกอบ (HS. 8521) Video Recording or Reproducing
Apparatus, Whether or Not Incorporating a Video Tuner
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 11 ของโลก รองจาก จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 7 มูลค่า 170.574 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ3.42
ลดลงร้อยละ30.43 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 4,988.811 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 12.66 นำเข้าจาก จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ เป็นหลัก (ม.ค.-ธ.ค. 2547)
หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ (HS. 8504) Electrical Transformers, Static Converters
or Inductors
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ
สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 8 มูลค่า 200.401 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 2.71
ลดลงร้อยละ 9.75 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของสหรัฐฯ มูลค่า 7,384.391 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 14.87 นำเข้าจาก จีน เม็กซิโก แคนาดา ญี่ปุ่น เป็นหลัก (ม.ค.-ธ.ค. 2547)
8. ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ
ในขณะนี้ประเทศไทยถูกสหรัฐฯ จับตามองเป็นพิเศษในเรื่องปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ประธานสหพันธ์ทรัพย์สินทางปัญญาสากล (ไอไอพีเอ) นายอิริค เอช สมิท ได้ออกแถลงการณ์เสนอต่อสำนักงาน
ผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา (ยูเอสทีอาร์) ให้เลื่อนขั้นให้ไทยเข้าไปอยู่ในบัญชีประเทศที่ถูกจับตาเป็นพิเศษ
(พีดับบลิวแอล) ซึ่งทางสหรัฐฯ จะกำหนดมาตรการให้ประเทศในบัญชีนี้ดำเนินการด้านการละเมิดลิขสิทธิ์อย่าง
เข้มงวดขึ้น และหากทำไม่ได้ก็จะมีมาตรการตอบโต้ที่รุนแรงกว่า เช่น การขึ้นภาษี การตัดสิทธิ์พิเศษทางภาษี
ศุลกากรหรือจีเอสพี เป็นต้น โดยปัจจุบันที่ไทยอยู่ในบัญชีประเทศที่ถูกจับตามอง (ดับบลิวแอล) เช่นเดียวกับอีก
14 ประเทศ เช่น เกาหลีใต้ อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จีน เลบานอน บราซิล อาร์เจนตินา เนื่องจากมี
การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสหรัฐฯ เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้จากสถิติล่าสุดของไอไอพีเอระบุว่า ในปี 2545
ไทยได้ละเมิดงานอันมีลิขสิทธิ์ของสหรัฐฯ และสร้างความเสียหายสูงถึง 188.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการนี้
ยูเอสทีอาร์จะประกาศผลการทบทวนประจำปีในช่วงเดือนมีนาคมของทุกๆ ปี
ประเด็นวิเคราะห์
การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบที่ 3 จะมีขึ้นในประเทศไทยช่วงเดือนเมษายน 2548
ซึ่งคณะเจรจาของประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมในเรื่องต่างๆ ที่จะต้องเจรจา ได้แก่
- การพิจารณาร่างบทของสหรัฐฯ ในรายละเอียดว่าหลักการใดของสหรัฐฯ ที่สอดคล้องกับท่าทีของ
ไทย เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบ และรวมร่างบทของทั้งสองฝ่าย
- การผลักดันให้สหรัฐฯ ยอมรับให้มีการเจรจาในประเด็นเรื่องการเปิดตลาด และการอำนวย
ความสะดวกให้คนไทยเข้าไปทำงาน โดยประเทศไทยจะมีการรวบรวมข้อมูลด้านคุณสมบัติ ของบุคลากรไทย
ที่น่าสนใจ และนำเสนอให้สหรัฐฯ พิจารณาให้ความร่วมมือในการเปิดตลาดหรืออำนวยความสะดวกในการทำงาน
ทั้งนี้มีภาคเอกชนหลายฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการที่ประเทศไทยจะเปิดเขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯเนื่อง
จากเห็นว่าสหรัฐฯ มิได้มีท่าทีที่จะประนีประนอบและยอมแก้กฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ประเทศไทย ดังจะเห็น
ได้จากผลการเจรจาในรอบที่ 2 เมื่อวันที่ 13-14 ตุลาคม 2547 ณ มลรัฐฮาวาย ฝ่ายสหรัฐฯ มีท่าที่ที่ไม่เห็นด้วย
กับฝ่ายไทยในประเด็นสำคัญหลายเรื่อง อาทิ
-ไทยต้องการใช้การเจรจาเปิดตลาดในลักษณะ -สหรัฐฯ ต้องการใช้การเจรจาเปิดตลาดในลักษณะ
Positive List ซึ่งเป็นการเปิดตลาดเฉพาะในสาขาที่ระบุไว้ Negative List ซึ่งเป็นการเปิดตลาดทุกสาขา
ยกเว้นในบางกิจกรรมที่มีการระบุข้อจำกัดการเปิดตลาด
-ไทยต้องการให้ข้อบทการค้าบริการครอบคลุมการให้บริการ -สหรัฐฯ ต้องการให้แยกการลงทุนในภาคบริการไปเจรจา
ในทุกรูปแบบ (Mode) รวมถึงการลงทุนในภาคบริการ ในกลุ่มเจรจาด้านการลงทุน (Invesment)
ไทยต้องการให้มีบทบัญญัติด้านมาตรการคุ้มครองในลักษณะต่างๆ เช่น มาตรการปกป้องฉุกเฉินสำหรับการค้าบริการ
(Emergency Safeguard) และมาตรการปกป้องดุลการชำระเงิน (Balance of Payment Safeguard)
รวมถึงเรื่องการเข้าไปทำงานของบุคลากร
นอกจากนี้หากมองถึงด้านการธนาคาร เลขาธิการสมาคมไทย นายธวัชชัย ยงกิตติกุล ได้เปิดเผยว่า
ธนาคารพาณิชย์ไทยยังขาดความพร้อมและยากที่จะแข่งขันกับสหรัฐฯ ได้เนื่องจากธนาคารพาณิชย์สหรัฐฯ ขนาดกลาง
มีการบริหารจัดการที่ทันสมัยกว่าไทยมากและยังมีขนาดใหญ่ทั้งต้นทุนการบริหารและสินทรัพย์มากกว่าธนาคารพาณิชย์
ไทยรวมกันถึง 10 แห่ง ประกอบกับระเบียบของสหรัฐฯ ให้อำนาจในแต่ละรัฐไม่ขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง ซึ่งจะ
ส่งผลให้เกิดปัญหากับไทยในอนาคตอย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลต่างๆ ที่เกิดขึ้นหากประเทศไทย จำเป็นต้องเปิด
เขตการค้าเสรีกับสหรัฐฯ จะต้องมีการกำหนดกรอบการเจรจาและระยะเวลาอย่างรอบคอบ นอกจากนี้ยังจะต้อง
เผื่อระยะเวลาในการพัฒนาศักยภาพด้านต่าง เช่น ทรัพยากร เทคโนโลยี การบริหารจัดการ บุคลากร และฯลฯ
เพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศอีกด้วย
ที่มา: http://www.depthai.go.th
-ดท-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ