สศก.ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การดำเนินนโยบายและมาตรการต่างๆ ในการลดความยากจนทั่วโลก (Pro-Poor Policy Analysis and Dialogue at the Country Level)
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) โดยสำนักเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ เข้าร่วมการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง Pro-Poor Policy Analysis and Dialogue at the Country Level เมื่อ 26 — 28 เมษายน 2548 ซึ่ง สศก. ในนามของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าภาพร่วมกับกองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาด้านการเกษตร (International Fund for Agricultural Development — IFAD) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization — FAO) ร่วมกันจัดการสัมมนาดังกล่าวขึ้น
ทั้งนี้ นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ให้เกียรติกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดโดยเน้นถึงความสำเร็จของไทยในการดำเนินนโยบายและมาตรการต่างๆ ในการลดความยากจน จนสามารถลดจำนวนคนยากจนของประเทศให้เหลือเพียง 7.5 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals — MDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ที่ต้องการลดจำนวนคนยากจนทั่วโลกให้เหลือครึ่งหนึ่งภายในปี พ.ศ. 2558 และผู้แทน สศก. ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อประสบการณ์ในการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ตลอดจนแผนงาน / โครงการ แก้ไขปัญหาความยากจนของไทย รวมทั้งได้เปิดโอกาสให้ผู้แทนประเทศต่างๆ ในเอเชียและแปซิฟิคได้ร่วมกันซักถามเพื่อนำไปปรับใช้กับประเทศของตน
วัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการเรียนรู้ระหว่างกันในกลุ่มประเทศผู้เข้าร่วมสัมมนาในภูมิภาคนี้ในเรื่องการกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน และการประเมินความต้องการในการแก้ไขปัญหาความยากจนของแต่ละประเทศ เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายที่เหมาะสม รวมไปถึงการระดมความเห็นจากที่ประชุม เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำโครงการระดับภูมิภาค
ผลที่ได้จากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้คือ ได้เสนอโครงการต่างๆ เพื่อช่วยลดปัญหาความยากจนจากประเทศต่างๆ และได้แนวทางในการดำเนินโครงการต่างๆ เหล่านั้นจากการแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นจากประเทศต่างๆ จากผลที่ได้รับทำให้มีงานที่ต้องดำเนินการต่อไป คือ กองทุนระหว่างประเทศ เพื่อการพัฒนาด้านการเกษตรจะจัดทำโครงการที่มีรูปแบบการบริหารโครงการโดยมีคณะกรรมการดำเนินงานระดับภูมิภาค และมีการจัดตั้งเครือข่ายองค์ความรู้ โดยมีผู้ประสานหลักระดับประเทศทำหน้าที่ประสานงานในการเสริมสร้างความรู้ความสามารถในการหารือ การวิเคราะห์นโยบายและการดูแลภาพรวมในการนำโครงการไปปฎิบัติในแต่ละประเทศสมาชิก ซึ่ง สศก. จะได้ดำเนินงานต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) โดยสำนักเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ เข้าร่วมการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง Pro-Poor Policy Analysis and Dialogue at the Country Level เมื่อ 26 — 28 เมษายน 2548 ซึ่ง สศก. ในนามของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าภาพร่วมกับกองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาด้านการเกษตร (International Fund for Agricultural Development — IFAD) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization — FAO) ร่วมกันจัดการสัมมนาดังกล่าวขึ้น
ทั้งนี้ นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ให้เกียรติกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดโดยเน้นถึงความสำเร็จของไทยในการดำเนินนโยบายและมาตรการต่างๆ ในการลดความยากจน จนสามารถลดจำนวนคนยากจนของประเทศให้เหลือเพียง 7.5 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals — MDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ที่ต้องการลดจำนวนคนยากจนทั่วโลกให้เหลือครึ่งหนึ่งภายในปี พ.ศ. 2558 และผู้แทน สศก. ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อประสบการณ์ในการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ตลอดจนแผนงาน / โครงการ แก้ไขปัญหาความยากจนของไทย รวมทั้งได้เปิดโอกาสให้ผู้แทนประเทศต่างๆ ในเอเชียและแปซิฟิคได้ร่วมกันซักถามเพื่อนำไปปรับใช้กับประเทศของตน
วัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการเรียนรู้ระหว่างกันในกลุ่มประเทศผู้เข้าร่วมสัมมนาในภูมิภาคนี้ในเรื่องการกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน และการประเมินความต้องการในการแก้ไขปัญหาความยากจนของแต่ละประเทศ เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายที่เหมาะสม รวมไปถึงการระดมความเห็นจากที่ประชุม เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำโครงการระดับภูมิภาค
ผลที่ได้จากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้คือ ได้เสนอโครงการต่างๆ เพื่อช่วยลดปัญหาความยากจนจากประเทศต่างๆ และได้แนวทางในการดำเนินโครงการต่างๆ เหล่านั้นจากการแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นจากประเทศต่างๆ จากผลที่ได้รับทำให้มีงานที่ต้องดำเนินการต่อไป คือ กองทุนระหว่างประเทศ เพื่อการพัฒนาด้านการเกษตรจะจัดทำโครงการที่มีรูปแบบการบริหารโครงการโดยมีคณะกรรมการดำเนินงานระดับภูมิภาค และมีการจัดตั้งเครือข่ายองค์ความรู้ โดยมีผู้ประสานหลักระดับประเทศทำหน้าที่ประสานงานในการเสริมสร้างความรู้ความสามารถในการหารือ การวิเคราะห์นโยบายและการดูแลภาพรวมในการนำโครงการไปปฎิบัติในแต่ละประเทศสมาชิก ซึ่ง สศก. จะได้ดำเนินงานต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-