สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร เปิดเผยถึงยอดตัวเลขมูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตร จากประเทศเพื่อนบ้านในครึ่งปีแรก ช่วงเดือน มกราคม — มิถุนายน ของปี 2548 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 339% เมื่อเทียบกับปี 2547 โดยที่การนำเข้าสินค้าเกษตรจะมาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) มากที่สุดมีอัตราเพิ่ม 412% ในขณะที่กัมพูชามีอัตราเพิ่มเพียง 158% ส่วนสหภาพพม่ากลับมีอัตราการนำเข้าลดลง -16.6%
มูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรภายใต้ AISP จากประเทศเพื่อนบ้าน
ในช่วงเดือน มกราคม - มิถุนายน หน่วย:บาท
ประเทศ 2547 2548 อัตราเพิ่ม %
กัมพูชา 1,267,096 3,272,918 158.3
สปป.ลาว 29,145,723 149,347,353 412.4
พม่า 5,340,469 4,455,545 -16.6
รวม 35,753,288 157,075,816 339.3
*AISP (ASEAN Integration System of Preferences) หรือ การนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน (กัมพูชา ลาว และพม่า) ภายใต้สิทธิพิเศษทางศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน
สาเหตุสำคัญที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้าน มาจากการที่รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผลักดันโครงการลงทุน Contract Farming การผลิตสินค้าเกษตรกับประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้ ACMECS ( Ayeyawady — Chao Phraya — Mekong Economic Cooperation Strategy ) หรือกรอบการดำเนินงานความร่วมมือด้านการเกษตร ภายใต้ยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจตามปฎิญญาพุกาม และทั้งนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้ สศก. รับผิดชอบบูรณาการโครงการนี้ ซึ่ง สศก. ได้ทำการบูรณาการโครงการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน มีโครงการสำคัญ คือ โครงการปรับปรุงระบบการปลูกพืชเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน แผนความร่วมมือทางวิชาการด้านการเกษตร และแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงทำให้ประเทศเพื่อนบ้านมีความสามารถทำการผลิตพืชผลการเกษตรอันเป็นที่ต้องการของ ผู้ประกอบการไทย และทำให้ประเทศไทยมีโอกาสนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านได้มากขึ้น โดยที่พืชผลที่นำเข้าจะเป็นพืชผลที่ไทยผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงถือเป็นผลประโยชน์ที่เกิดกับประชาชนทั้งสองประเทศ และเป็นการสนองตอบต่อปฏิญญาพุกามตามที่ผู้นำไทยได้แถลงไว้
นอกจากนั้นแล้ว มูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มในปริมาณมากนี้ ยังได้แสดงให้เห็นว่า ระบบการค้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านได้ก้าวเข้าสู่ระบบสากลมากขึ้น การค้าในลักษณะใต้ดิน ผิดกฎหมายมีแนวโน้มปรับมาสู่บนดิน และเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ถือเป็นการพัฒนาความเจริญให้แก่ประชาชนทั้งสองประเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
มูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรภายใต้ AISP จากประเทศเพื่อนบ้าน
ในช่วงเดือน มกราคม - มิถุนายน หน่วย:บาท
ประเทศ 2547 2548 อัตราเพิ่ม %
กัมพูชา 1,267,096 3,272,918 158.3
สปป.ลาว 29,145,723 149,347,353 412.4
พม่า 5,340,469 4,455,545 -16.6
รวม 35,753,288 157,075,816 339.3
*AISP (ASEAN Integration System of Preferences) หรือ การนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน (กัมพูชา ลาว และพม่า) ภายใต้สิทธิพิเศษทางศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน
สาเหตุสำคัญที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้าน มาจากการที่รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผลักดันโครงการลงทุน Contract Farming การผลิตสินค้าเกษตรกับประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้ ACMECS ( Ayeyawady — Chao Phraya — Mekong Economic Cooperation Strategy ) หรือกรอบการดำเนินงานความร่วมมือด้านการเกษตร ภายใต้ยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจตามปฎิญญาพุกาม และทั้งนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้ สศก. รับผิดชอบบูรณาการโครงการนี้ ซึ่ง สศก. ได้ทำการบูรณาการโครงการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน มีโครงการสำคัญ คือ โครงการปรับปรุงระบบการปลูกพืชเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน แผนความร่วมมือทางวิชาการด้านการเกษตร และแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงทำให้ประเทศเพื่อนบ้านมีความสามารถทำการผลิตพืชผลการเกษตรอันเป็นที่ต้องการของ ผู้ประกอบการไทย และทำให้ประเทศไทยมีโอกาสนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านได้มากขึ้น โดยที่พืชผลที่นำเข้าจะเป็นพืชผลที่ไทยผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงถือเป็นผลประโยชน์ที่เกิดกับประชาชนทั้งสองประเทศ และเป็นการสนองตอบต่อปฏิญญาพุกามตามที่ผู้นำไทยได้แถลงไว้
นอกจากนั้นแล้ว มูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มในปริมาณมากนี้ ยังได้แสดงให้เห็นว่า ระบบการค้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านได้ก้าวเข้าสู่ระบบสากลมากขึ้น การค้าในลักษณะใต้ดิน ผิดกฎหมายมีแนวโน้มปรับมาสู่บนดิน และเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ถือเป็นการพัฒนาความเจริญให้แก่ประชาชนทั้งสองประเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-