นายวิฑูรย์ นามบุตร รองหัวหน้า และ ส.ส.อุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รัฐบาลชุดนี้ได้ประกาศสงครามกับความยากจน แต่ปัจจุบันกลับมีคนจนมากขึ้น ประชาชาชนมีหนี้สินเพิ่มขึ้น หนี้สินต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าการประกาศสงครามกับความยากจนของรัฐบาลล้มเหลว
สิ่งที่รัฐบาลประสบความสำเร็จคือการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน เข้าใจว่า 4 ปีข้างหน้าจะหายจน แต่ในทางปฏิบัติแล้วสร้างความเสียหายแก่ประชาชนอย่างมาก เป็นต้นว่าโครงการ FTA ที่ทำให้ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ทำให้เกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก
‘ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งบอกว่าอย่าเลือกพรรคประชาธิปัตย์ เพราะหากเลือกไปก็เป็นฝ่ายค้าน ถ้าไปเป็นฝ่ายค้าน งบน้ำท่วมก็ไม่ได้นะ งบภัยแล้งก็จะไม่ได้นะ ท่านประธานครับผมขอทวงงบประมาณให้กับพี่น้องที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม และภัยแล้งทั้งประเทศ’ นายวิฑูรย์ กล่าว
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ปัญหาความยากจนเป็นเรื่องที่ สอดรับกับแนวนโยบายของพรรคไทยรักไทย ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมา คือนโยบายวัวแก้จน ให้เกษตรกรเลี้ยง 1 ล้านตัว ถือว่าเป็นนโยบายที่ได้รับคะแนนเสียงอย่างมาก แต่ตนได้เปิดอ่านนโยบายทั้ง 26 หน้า ไม่ปรากฎว่ามีนโยบายเกี่ยวกับโคล้านตัวแต่อย่างใด นโยบายที่หาเสียงไว้ต้องนำมาปฏิบัติ ไม่เช่นนั้นถือว่าผิดพันธสัญญา
‘ชาวบ้านเห็นตรงกันว่า รัฐบาลนี้ถ้าชนะเลือกตั้ง จะเอาโคไปแจก แต่วันที่ 6 ก.พ.48 พรรคไทยรักไทยชนะท่วมท้น วันที่ 25 ก.พ. นายกฯ และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน ได้ไปประชุมที่จ.ขอนแก่น ซึ่งนายสมศักดิ์ ได้แถลงชัดเจนว่าจะมีโคมาแจกให้กับเกษตรกรอย่างแน่นอน เป็นการพูดทั้งก่อน และหลังเลือกตั้ง ว่าเป็นการยืนยันจะมีการแจกวัวล้านตัวดังนั้นรัฐบาลต้องทำในสิ่งที่แถลงไว้ด้วย’
ซึ่งในส่วนที่มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ไปดำเนินการนั้น ตอนนี้ออกมาแล้ว แต่ออกมาในลักษณะของการนำน้ำเชื้อวัวไปแจก โดยมีวิธีการคือจัดทำทะเบียนแม่โค ที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการทั้งหมด เพื่อให้การปรับปรุงพันธุ์โคโดยวิธีการผสมเทียมโดยใช้น้ำเชื้อโคพันธุ์ดีในประเทศเป็นหลัก และฝึกอบรมเกษตกรจำนวน 20,000คน เพื่อทำหน้าที่ ให้บริการผสมเทียม โดยเกษตรกรผู้นำจะได้รับการตอบแทนผสมเทียมในอัตราตัวละ 150 บาท
หากเป็นเช่นนี้ต้องใช้เวลากว่า 2 ปีถึงจะมีวัวให้เกษตรกรเลี้ยง และตนเห็นว่าหากเป็นเช่นนี้อีก 4 ปี ยังต้องใช้นโยบายโคล้านตัวหาเสียงอีก
อีกประการหนึ่งคือเงื่อนไขคือต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์ หรือกลุ่มเกษตรกรและคณะกรรมการบริหารรับรองคุณสมบัติให้เข้าร่วมโครงการได้ไม่น้อยกว่า2 คน และต้องเข้ารับการฝึกอบรมและสอบผ่านการฝึกอบรมการเลี้ยงโคเนื้อและการจัดทำบัญชีฟาร์มจากหน่วยงานราชการ และประกาศสุดท้ายต้องไม่เป็นผู้ที่มีโคเลี้ยงอยู่แล้วในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าโครงการโคล้านตัวกลายเป็นโครงการโคล้านครอบครัวแทน เป็นเรื่องที่จะต้องอธิบายให้ชัดเจน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-
สิ่งที่รัฐบาลประสบความสำเร็จคือการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน เข้าใจว่า 4 ปีข้างหน้าจะหายจน แต่ในทางปฏิบัติแล้วสร้างความเสียหายแก่ประชาชนอย่างมาก เป็นต้นว่าโครงการ FTA ที่ทำให้ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ทำให้เกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก
‘ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งบอกว่าอย่าเลือกพรรคประชาธิปัตย์ เพราะหากเลือกไปก็เป็นฝ่ายค้าน ถ้าไปเป็นฝ่ายค้าน งบน้ำท่วมก็ไม่ได้นะ งบภัยแล้งก็จะไม่ได้นะ ท่านประธานครับผมขอทวงงบประมาณให้กับพี่น้องที่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม และภัยแล้งทั้งประเทศ’ นายวิฑูรย์ กล่าว
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ปัญหาความยากจนเป็นเรื่องที่ สอดรับกับแนวนโยบายของพรรคไทยรักไทย ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมา คือนโยบายวัวแก้จน ให้เกษตรกรเลี้ยง 1 ล้านตัว ถือว่าเป็นนโยบายที่ได้รับคะแนนเสียงอย่างมาก แต่ตนได้เปิดอ่านนโยบายทั้ง 26 หน้า ไม่ปรากฎว่ามีนโยบายเกี่ยวกับโคล้านตัวแต่อย่างใด นโยบายที่หาเสียงไว้ต้องนำมาปฏิบัติ ไม่เช่นนั้นถือว่าผิดพันธสัญญา
‘ชาวบ้านเห็นตรงกันว่า รัฐบาลนี้ถ้าชนะเลือกตั้ง จะเอาโคไปแจก แต่วันที่ 6 ก.พ.48 พรรคไทยรักไทยชนะท่วมท้น วันที่ 25 ก.พ. นายกฯ และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน ได้ไปประชุมที่จ.ขอนแก่น ซึ่งนายสมศักดิ์ ได้แถลงชัดเจนว่าจะมีโคมาแจกให้กับเกษตรกรอย่างแน่นอน เป็นการพูดทั้งก่อน และหลังเลือกตั้ง ว่าเป็นการยืนยันจะมีการแจกวัวล้านตัวดังนั้นรัฐบาลต้องทำในสิ่งที่แถลงไว้ด้วย’
ซึ่งในส่วนที่มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ไปดำเนินการนั้น ตอนนี้ออกมาแล้ว แต่ออกมาในลักษณะของการนำน้ำเชื้อวัวไปแจก โดยมีวิธีการคือจัดทำทะเบียนแม่โค ที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการทั้งหมด เพื่อให้การปรับปรุงพันธุ์โคโดยวิธีการผสมเทียมโดยใช้น้ำเชื้อโคพันธุ์ดีในประเทศเป็นหลัก และฝึกอบรมเกษตกรจำนวน 20,000คน เพื่อทำหน้าที่ ให้บริการผสมเทียม โดยเกษตรกรผู้นำจะได้รับการตอบแทนผสมเทียมในอัตราตัวละ 150 บาท
หากเป็นเช่นนี้ต้องใช้เวลากว่า 2 ปีถึงจะมีวัวให้เกษตรกรเลี้ยง และตนเห็นว่าหากเป็นเช่นนี้อีก 4 ปี ยังต้องใช้นโยบายโคล้านตัวหาเสียงอีก
อีกประการหนึ่งคือเงื่อนไขคือต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์ หรือกลุ่มเกษตรกรและคณะกรรมการบริหารรับรองคุณสมบัติให้เข้าร่วมโครงการได้ไม่น้อยกว่า2 คน และต้องเข้ารับการฝึกอบรมและสอบผ่านการฝึกอบรมการเลี้ยงโคเนื้อและการจัดทำบัญชีฟาร์มจากหน่วยงานราชการ และประกาศสุดท้ายต้องไม่เป็นผู้ที่มีโคเลี้ยงอยู่แล้วในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าโครงการโคล้านตัวกลายเป็นโครงการโคล้านครอบครัวแทน เป็นเรื่องที่จะต้องอธิบายให้ชัดเจน
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-