สศก.แจ้งข่าวดี หลังผลการเจรจานำเข้าถั่วเหลืองจากประเทศเพื่อนบ้านผ่านฉลุย พร้อมแต่งตั้งกลุ่มนักธุรกิจชายแดน 20 ราย เป็นผู้ นำเข้า ย้ำเป็นการสร้างกลไกในการค้าชายแดนและเพิ่มปริมาณการค้าสินค้าเกษตร เพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ที่ผ่านมา ถึงผลการประชุมหลังจากที่ได้มีการไกล่เกลี่ยจนได้ข้อยุติของการนำเข้าถั่วเหลืองจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยได้เรียนเชิญผู้ประกอบ การค้าชายแดนจำนวน 20 ราย ที่ได้ลงทะเบียนในแผนลงทุนผลิตถั่วเหลืองกับจังหวัดนำร่องได้แก่ จันทบุรี เลย และตาก ภายใต้โครงการ ลงทุน Contract Farming ผลิตสินค้าเกษตรในประเทศเพื่อนบ้าน กับ 10 สมาคม และ 3 บริษัทที่ได้รับสิทธิการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองภายใต้ ข้อผูกพันองค์การการค้าโลก
สำหรับการประชุมได้มีการเสนอรูปแบบการนำเข้าถั่วเหลืองในหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นการเจรจาต่อรองระหว่างกลุ่มนักธุรกิจกับกลุ่ม ธุรกิจที่ได้รับสิทธินำเข้า โดยได้มีการเสนอแนวทางกันอย่างกว้างขวาง จนได้ข้อสรุปว่า กลุ่มธุรกิจที่ได้รับสิทธิการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง ตกลง แต่งตั้งให้นักธุรกิจชายแดนจำนวน 20 ราย เป็นผู้แทนนำเข้าถั่วเหลืองจากประเทศเพื่อนบ้าน สามารถใช้สิทธิการนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายให้กับ กลุ่มธุรกิจทั้ง 13 รายดังกล่าว ส่วนวิธีการจำหน่ายและราคาขอให้เป็นไปตามกลไกตลาดที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะทำการตกลงกัน ซึ่งเชื่อว่าทุกฝ่ายมีความ ยินดีและพึงพอใจที่จะประกอบธุรกิจร่วมกัน จากข้อสรุปในการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นการสร้างกลไกการทำการค้าชายแดนที่จะส่งผล ทำให้มีการ เพิ่มปริมาณการค้าสินค้าเกษตรภายใต้ Contract Farming กับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น และในขณะเดียวกันทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) จะได้แจ้งให้ทางจังหวัดชายแดนและรายงานต่อนายกรัฐมนตรีรับทราบ ตลอดจนแจ้งต่อการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ( Ayeyawady — Chao Phraya — Mekong Economic Cooperation Strategy ) ในวันที่ 1- 3 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้ ทราบต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ที่ผ่านมา ถึงผลการประชุมหลังจากที่ได้มีการไกล่เกลี่ยจนได้ข้อยุติของการนำเข้าถั่วเหลืองจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยได้เรียนเชิญผู้ประกอบ การค้าชายแดนจำนวน 20 ราย ที่ได้ลงทะเบียนในแผนลงทุนผลิตถั่วเหลืองกับจังหวัดนำร่องได้แก่ จันทบุรี เลย และตาก ภายใต้โครงการ ลงทุน Contract Farming ผลิตสินค้าเกษตรในประเทศเพื่อนบ้าน กับ 10 สมาคม และ 3 บริษัทที่ได้รับสิทธิการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองภายใต้ ข้อผูกพันองค์การการค้าโลก
สำหรับการประชุมได้มีการเสนอรูปแบบการนำเข้าถั่วเหลืองในหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นการเจรจาต่อรองระหว่างกลุ่มนักธุรกิจกับกลุ่ม ธุรกิจที่ได้รับสิทธินำเข้า โดยได้มีการเสนอแนวทางกันอย่างกว้างขวาง จนได้ข้อสรุปว่า กลุ่มธุรกิจที่ได้รับสิทธิการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง ตกลง แต่งตั้งให้นักธุรกิจชายแดนจำนวน 20 ราย เป็นผู้แทนนำเข้าถั่วเหลืองจากประเทศเพื่อนบ้าน สามารถใช้สิทธิการนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายให้กับ กลุ่มธุรกิจทั้ง 13 รายดังกล่าว ส่วนวิธีการจำหน่ายและราคาขอให้เป็นไปตามกลไกตลาดที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะทำการตกลงกัน ซึ่งเชื่อว่าทุกฝ่ายมีความ ยินดีและพึงพอใจที่จะประกอบธุรกิจร่วมกัน จากข้อสรุปในการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นการสร้างกลไกการทำการค้าชายแดนที่จะส่งผล ทำให้มีการ เพิ่มปริมาณการค้าสินค้าเกษตรภายใต้ Contract Farming กับประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น และในขณะเดียวกันทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) จะได้แจ้งให้ทางจังหวัดชายแดนและรายงานต่อนายกรัฐมนตรีรับทราบ ตลอดจนแจ้งต่อการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ( Ayeyawady — Chao Phraya — Mekong Economic Cooperation Strategy ) ในวันที่ 1- 3 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้ ทราบต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-