1.ฐานการเงินและปริมาณเงิน
-ฐานเงินและปริมาณเงินขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 800.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 43.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 14.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของฐานเงินจากเดือนก่อน ได้แก่ (1)สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของทางการเพิ่มขึ้น (2)สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่รัฐบาลเพิ่มขึ้นจากการลดลงของเงินฝากภาครัฐที่ ธปท.เพื่อนำไปชดเชยการขาดดุลเงินสดและ(3)สินเชื่อสุทธิ ธปท.ให้แก่สถาบันการเงินลดลง เนื่องจากสถาบันการเงินลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรเพิ่มขึ้น
ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ในเดือนธันวาคม 2547 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.4 6.3 และ 6.2 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนตามการลดลงของเงินฝาก
2.อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
-เงินบาทปรับค่าขึ้นตามค่าเงินในภูมิภาคจาก Sentiment ของเงินดอลลาร์ สรอ.ที่อ่อนแอ
-อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดการเงินปรับสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะกลางและระยะยาวปรับลดลง เนื่องจากมีความต้องการลงทุนจากนักลงทุนประเภทสถาบันค่อนข้างมาก
อัตราแลกเปลี่ยน ในเดือนธันวาคม 2547 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 39.22 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนพฤศจิกายนที่ระดับ 40.34 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แต่เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับค่าเงินสกุลหลักและค่าเงินในภูมิภาคจาก Sentiment ของดอลลาร์ สรอ. ที่ยังคงอ่อนแอเนื่องจากปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลงบประมาณของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ค่าเงินบาทโน้มอ่อนลงระยะสั้นๆ ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนจากการคาดการณ์ของนักลงทุนต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ และในช่วงปลายเดือนภายหลังจากมีเหตุการณ์ภัยธรรมชาติในภาคใต้
สำหรับค่าเงินบาทในช่วงวันที่ 1-26 มกราคม 2548 โน้มแข็งค่าขึ้นมาเฉลี่ยอยู่ที่ 38.79 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากมีความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ.ของผู้ส่งออกและกองทุนต่างชาติเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยค่อนข้างมาก นอกจากนี้ ยังเป็นการแข็งค่าขึ้นตามค่าเงินในภูมิภาค
สำหรับทั้งปี 2547 เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 38.87 -41.70 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และเฉลี่ยอยู่ที่ 40.28 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับปี 2546 ทั้งนี้ แม้ว่าค่าเงินบาทจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบภายในประเทศ ทั้งไข้หวัดนกและสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ และปัจจัยภายนอก เช่น การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่ค่าเงินบาทโดยรวมยังคงปรับตัวแข็งขึ้นจากปัจจัยสนับสนุน ดังนี้ (1)การปรับตัวตามค่าเงินในภูมิภาค เนื่องจาก Sentiment ของเงินดอลลาร์ สรอ. ที่เปราะบางจากปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและขาดดุลงบประมาณ (2)การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ธปท.ในเดือนสิงหาคม ตุลาคมและธันวาคม (3)การเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นในตลาดหลักทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างประเทศ และ(4)ข่าวลือการปรับค่าเงินหยวน
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนธันวาคม 2547 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนมาเฉลี่ยเท่ากันอยู่ที่ร้อยละ 1.79 ต่อปี เนื่องจากธปท.มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม กอปรกับสภาพคล่องในตลาดซื้อคืนตึงตัวขึ้นในช่วงใกล้สิ้นปักษ์ ทั้งนี้ในช่วงก่อนการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายสภาพคล่องมีค่อนข้างมาก เนื่องจากภาครัฐได้ปล่อยเงินเข้าสู่ระบบสถาบันการเงินผ่านกองทุนต่างๆ
สำหรับในช่วงวันที่ 1-26 มกราคม 2548 อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.85 และ 1.89 ต่อปี ตามลำดับ โดยสภาพคล่องตึงตัวในช่วงต้นเดือน เนื่องจากสถาบันการเงินดำรงเงินสดในระดบต่ำจึงลดการลงทุนระยะสั้นในตลาดเงินลงอย่างไรก็ดี สภาพคล่องกับสูงขึ้นอีกครั้งภายหลังปริมาณเงินได้ทยอยไหลกลับสู่ระบบหลังพ้นช่วงเทศกาลปีใหม่
ทั้งนี้ในปี 2547 อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหลักจากสภาพคล่องในระบบที่ตึงตัวขึ้น และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.3ครั้งในปีนี้ จากร้อยละ 1.25 ต่อปีเป็นร้อยละ 2.00 ต่อปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน โดยเฉลี่ยของปี 2547 อยู่ที่ร้อยละ 1.21 และ 1.23 ต่อปี ตามลำดับ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ในเดือนธันวาคม 2547 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.และผลการประมูลตั๋วเงินคลังในตลาดแรก ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางและระยะยาวปรับลดลง เนื่องจากมีความต้องการลงทุนค่อนข้างสูงทั้งจากบริษัทประกันชีวิตและกองทุนรวม
ในช่วงวันที่ 1-26 มกราคม 2548 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกระยะปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพันธบัตรระยะสั้นเนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ชะลอการลงทุนเพื่อรอผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน กอปรกับนักลงทุนบางส่วนที่คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับขึ้นอีกได้ทยอยขายพันธบัตรออกมา อย่างไรก็ตาม พันธบัตรระยะปานกลางและระยะยาวยังคงมีความต้องการซื้อจากนักลงทุนประเภทสภาบัน อัตราผลตอบแทนในระยะดังกล่าวจึงปรับสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย
สำหรับปี 2547 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกระยะปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยเมื่อเทียบกับปี 2546 ส่วนใหญ่เป็นการปรับตัวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่สูงขึ้น เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯจะปรับเพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ดี นอกจากนี้ ยังเป็นการปรับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.
3.เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์
-เงินฝากขยายตัวในอัตราที่ทรงตัวจากเดือนก่อน ขณะที่สินเชื่อขยายตัวชะลอลง
-อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ไม่เปลี่ยนแปลง
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในเดือนธันวาคม 2547 ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ทรงตัวจากเดือนพฤศจิกายน โดยเงินฝากที่เพิ่มขึ้นในเดือนนี้เทียบกับเดือนก่อนส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของประชาชนที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ขณะที่เงินฝากของภาคธุรกิจปรับลดลง
ในปี 2547 ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม อัตราการขยายตัวของเงินฝากอยู่ในระดับสูง ส่วนหนึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากจากการไถ่ถอน SLIPS/CAPS ของธนาคารพาณิชย์หลายแห่งที่ได้โอนเงินค่าไถ่ถอนเข้าบัญชีเงินฝากของลูกค้า อย่างไรก็ดี ตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมาเงินฝากขยายตัวชะลอลงอย่างต่อเนื่องส่วนหนึ่งเป็นผลจากการถอนเงินฝากของประชาชนไปลงทนในพันธบัตรออมทรัพย์
สินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ ในเดือนธันวาคม 2547 ขยายตัวร้อยละ 6.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากในเดือนนี้มียอดชำระคืนหนี้จากลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศค่อนข้างสูงกอปรกับมีการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งหนึ่ง
สำหรับสินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน)ของธนาคารพาณิชย์ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2547 มียอดคงค้าง 6,325.5 พันล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน
สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในปี 2547 ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ให้แก่ภาคธุรกิจและประชาชน
อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งในเดือนธันวาคม 2547 และในช่วงวันที่ 1-26 มกราคม 2548 คงอยู่ระดับเดิมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.00 และ 5.69 ต่อปี ตามลำดับ
สำหรับปี 2547 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ไม่มีการเปลี่ยแปลงอัตราดอกเบี้ยทั้งดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้เนื่องจากสภาพคล่องในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับสูง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ฐานเงินและปริมาณเงินขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2547 อยู่ที่ระดับ 800.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 43.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 14.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของฐานเงินจากเดือนก่อน ได้แก่ (1)สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิของทางการเพิ่มขึ้น (2)สินเชื่อสุทธิที่ ธปท. ให้แก่รัฐบาลเพิ่มขึ้นจากการลดลงของเงินฝากภาครัฐที่ ธปท.เพื่อนำไปชดเชยการขาดดุลเงินสดและ(3)สินเชื่อสุทธิ ธปท.ให้แก่สถาบันการเงินลดลง เนื่องจากสถาบันการเงินลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรเพิ่มขึ้น
ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ในเดือนธันวาคม 2547 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.4 6.3 และ 6.2 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนตามการลดลงของเงินฝาก
2.อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
-เงินบาทปรับค่าขึ้นตามค่าเงินในภูมิภาคจาก Sentiment ของเงินดอลลาร์ สรอ.ที่อ่อนแอ
-อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดการเงินปรับสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะกลางและระยะยาวปรับลดลง เนื่องจากมีความต้องการลงทุนจากนักลงทุนประเภทสถาบันค่อนข้างมาก
อัตราแลกเปลี่ยน ในเดือนธันวาคม 2547 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 39.22 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.แข็งค่าขึ้นจากค่าเฉลี่ยในเดือนพฤศจิกายนที่ระดับ 40.34 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แต่เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับค่าเงินสกุลหลักและค่าเงินในภูมิภาคจาก Sentiment ของดอลลาร์ สรอ. ที่ยังคงอ่อนแอเนื่องจากปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลงบประมาณของสหรัฐฯ อย่างไรก็ดี ค่าเงินบาทโน้มอ่อนลงระยะสั้นๆ ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนจากการคาดการณ์ของนักลงทุนต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ และในช่วงปลายเดือนภายหลังจากมีเหตุการณ์ภัยธรรมชาติในภาคใต้
สำหรับค่าเงินบาทในช่วงวันที่ 1-26 มกราคม 2548 โน้มแข็งค่าขึ้นมาเฉลี่ยอยู่ที่ 38.79 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากมีความต้องการขายเงินดอลลาร์ สรอ.ของผู้ส่งออกและกองทุนต่างชาติเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยค่อนข้างมาก นอกจากนี้ ยังเป็นการแข็งค่าขึ้นตามค่าเงินในภูมิภาค
สำหรับทั้งปี 2547 เงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 38.87 -41.70 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. และเฉลี่ยอยู่ที่ 40.28 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับปี 2546 ทั้งนี้ แม้ว่าค่าเงินบาทจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบภายในประเทศ ทั้งไข้หวัดนกและสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ และปัจจัยภายนอก เช่น การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่ค่าเงินบาทโดยรวมยังคงปรับตัวแข็งขึ้นจากปัจจัยสนับสนุน ดังนี้ (1)การปรับตัวตามค่าเงินในภูมิภาค เนื่องจาก Sentiment ของเงินดอลลาร์ สรอ. ที่เปราะบางจากปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและขาดดุลงบประมาณ (2)การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ธปท.ในเดือนสิงหาคม ตุลาคมและธันวาคม (3)การเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นในตลาดหลักทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างประเทศ และ(4)ข่าวลือการปรับค่าเงินหยวน
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนธันวาคม 2547 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายนมาเฉลี่ยเท่ากันอยู่ที่ร้อยละ 1.79 ต่อปี เนื่องจากธปท.มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม กอปรกับสภาพคล่องในตลาดซื้อคืนตึงตัวขึ้นในช่วงใกล้สิ้นปักษ์ ทั้งนี้ในช่วงก่อนการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายสภาพคล่องมีค่อนข้างมาก เนื่องจากภาครัฐได้ปล่อยเงินเข้าสู่ระบบสถาบันการเงินผ่านกองทุนต่างๆ
สำหรับในช่วงวันที่ 1-26 มกราคม 2548 อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.85 และ 1.89 ต่อปี ตามลำดับ โดยสภาพคล่องตึงตัวในช่วงต้นเดือน เนื่องจากสถาบันการเงินดำรงเงินสดในระดบต่ำจึงลดการลงทุนระยะสั้นในตลาดเงินลงอย่างไรก็ดี สภาพคล่องกับสูงขึ้นอีกครั้งภายหลังปริมาณเงินได้ทยอยไหลกลับสู่ระบบหลังพ้นช่วงเทศกาลปีใหม่
ทั้งนี้ในปี 2547 อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยหลักจากสภาพคล่องในระบบที่ตึงตัวขึ้น และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.3ครั้งในปีนี้ จากร้อยละ 1.25 ต่อปีเป็นร้อยละ 2.00 ต่อปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน โดยเฉลี่ยของปี 2547 อยู่ที่ร้อยละ 1.21 และ 1.23 ต่อปี ตามลำดับ
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ในเดือนธันวาคม 2547 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.และผลการประมูลตั๋วเงินคลังในตลาดแรก ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางและระยะยาวปรับลดลง เนื่องจากมีความต้องการลงทุนค่อนข้างสูงทั้งจากบริษัทประกันชีวิตและกองทุนรวม
ในช่วงวันที่ 1-26 มกราคม 2548 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกระยะปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพันธบัตรระยะสั้นเนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่ชะลอการลงทุนเพื่อรอผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน กอปรกับนักลงทุนบางส่วนที่คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับขึ้นอีกได้ทยอยขายพันธบัตรออกมา อย่างไรก็ตาม พันธบัตรระยะปานกลางและระยะยาวยังคงมีความต้องการซื้อจากนักลงทุนประเภทสภาบัน อัตราผลตอบแทนในระยะดังกล่าวจึงปรับสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย
สำหรับปี 2547 อัตราผลตอบแทนพันธบัตรทุกระยะปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยเมื่อเทียบกับปี 2546 ส่วนใหญ่เป็นการปรับตัวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่สูงขึ้น เนื่องจากนักลงทุนคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯจะปรับเพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ดี นอกจากนี้ ยังเป็นการปรับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.
3.เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์
-เงินฝากขยายตัวในอัตราที่ทรงตัวจากเดือนก่อน ขณะที่สินเชื่อขยายตัวชะลอลง
-อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ไม่เปลี่ยนแปลง
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในเดือนธันวาคม 2547 ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ทรงตัวจากเดือนพฤศจิกายน โดยเงินฝากที่เพิ่มขึ้นในเดือนนี้เทียบกับเดือนก่อนส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของประชาชนที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ขณะที่เงินฝากของภาคธุรกิจปรับลดลง
ในปี 2547 ช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม อัตราการขยายตัวของเงินฝากอยู่ในระดับสูง ส่วนหนึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากจากการไถ่ถอน SLIPS/CAPS ของธนาคารพาณิชย์หลายแห่งที่ได้โอนเงินค่าไถ่ถอนเข้าบัญชีเงินฝากของลูกค้า อย่างไรก็ดี ตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมาเงินฝากขยายตัวชะลอลงอย่างต่อเนื่องส่วนหนึ่งเป็นผลจากการถอนเงินฝากของประชาชนไปลงทนในพันธบัตรออมทรัพย์
สินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ ในเดือนธันวาคม 2547 ขยายตัวร้อยละ 6.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากในเดือนนี้มียอดชำระคืนหนี้จากลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศค่อนข้างสูงกอปรกับมีการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งหนึ่ง
สำหรับสินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน)ของธนาคารพาณิชย์ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2547 มียอดคงค้าง 6,325.5 พันล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 จากระยะเดียวกันปีก่อน
สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในปี 2547 ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ให้แก่ภาคธุรกิจและประชาชน
อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่งในเดือนธันวาคม 2547 และในช่วงวันที่ 1-26 มกราคม 2548 คงอยู่ระดับเดิมทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.00 และ 5.69 ต่อปี ตามลำดับ
สำหรับปี 2547 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ไม่มีการเปลี่ยแปลงอัตราดอกเบี้ยทั้งดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้เนื่องจากสภาพคล่องในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวยังคงอยู่ในระดับสูง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--