กรุงเทพ--26 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อบ่ายวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยได้เดินทางไปร่วมประชุมประจำปีของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-29 กรกฎาคม 2548
ณ เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะใช้โอกาสการประชุมนี้ ผลักดันเรื่องสำคัญๆ หลายเรื่อง อาทิ การจัดทำกฎบัตรอาเซียนเพื่อวางรากฐานทางกฎหมายรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในระยะยาวไทยให้ความสำคัญกับการเข้ามีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง รวมทั้งการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างสม่ำเสมอเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในภูมิภาคอันเป็นข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีไทยในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่บาหลีเมื่อสองปีก่อน
ตลอดจนการมุ่งสร้างความเข้มแข็งทางสังคมเพื่อเตรียมความพร้อมและบรรเทาผลกระทบจากการที่อาเซียนกำลังเร่งรัดการรวมตัวทางเศรษฐกิจและการจัดทำเขตการค้าเสรีกับประเทศคู่เจรจา โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การป้องกันและแก้ไขปัญหาข้ามพรมแดนต่างๆ
ที่กระทบต่อประชาชน เช่น ยาเสพติดข้ามชาติ แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และการค้ามนุษย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังจะหารือกับมิตรประเทศอาเซียนในเรื่องพลังงานอันเป็นวิกฤตการณ์ที่กำลังประสบร่วมกัน และแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการประชุมต่างๆ ในกรอบองค์การการค้าโลก และการประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี 8) โดยไทยหวังจะผลักดันให้อาเซียนช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการรับมือกับภัยคุกคามใหม่ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคร้ายแรงใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น โรคซาร์สและไข้หวัดนก หรือการจัดการกับภัยพิบัติจากธรรมชาติอย่างเช่นธรณีพิบัติภัย (สึนามิ) ที่สร้างความหายนะแก่ชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคอย่างใหญ่หลวง ไทยจึงต้องการจะมีกลไกเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติและสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อสามารถช่วยเหลือกันได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถเชื่อมโยงกับกลไกแบบเดียวกันที่มีอยู่ในระดับภูมิภาค
นอกจากการประชุมประจำปีของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยจะเข้าร่วมการประชุมกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ซึ่งไทยจะมีบทบาทโดดเด่นในฐานะประเทศผู้ประสานงานความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ โดย ดร. กันตธีร์ฯ จะเป็นทำหน้าที่ประธาน
การประชุมระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นโอกาสดีที่ไทยจะกำหนดทิศทางของความร่วมมือและดึงดูดความสนใจของสหรัฐฯ ในเรื่องที่ฝ่ายอาเซียนและไทยเองให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน การจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน-สหรัฐฯ การสนับสนุนอาเซียนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และการพัฒนาความร่วมมือในการป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อสร้างความพร้อมและความเชี่ยวชาญของภูมิภาคในการรับมือกับภัยพิบัติ ตลอดจนสนับสนุนการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติและสถานการณ์ฉุกเฉินของอาเซียนที่ไทยเสนอเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว
โอกาสนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยจะเข้าร่วมการประชุมระหว่างอาเซียน
กับออสเตรเลีย ในฐานะที่ไทยจะรับหน้าที่ประเทศผู้ประสานงานความร่วมมืออาเซียน-ออสเตรเลียต่อไป
ซึ่งประเด็นสำคัญที่ไทยต้องการผลักดันให้เกิดขึ้นคือการที่ออสเตรเลียเข้าร่วมในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นการเคารพต่อหลักการที่อาเซียนยึดถือในการดำเนินความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกันเพื่อสันติภาพและเสถียรภาพ และรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยยังจะเข้าร่วมการประชุมระหว่างอาเซียนกับรัสเซีย ในฐานะของอดีตประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-รัสเซีย
โดยจะหารือเรื่องการเตรียมการประชุมผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนกับรัสเซียในเดือนธันวาคม ศกนี้ ส่วนประเด็นสำคัญอื่นๆ ในการประชุมกับประเทศคู่เจรจา ได้แก่การต่อต้านการก่อการร้ายที่
กำลังเป็นภัยต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ทวีความรุนแรงขึ้น และจะมีการจัดทำแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือในเรื่องนี้ระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี นิวซีแลนด์ และปากีสถาน การชักชวนให้ประเทศคู่เจรจามี
ส่วนร่วมในการพัฒนาของอาเซียน โดยผ่านกองทุนเพื่อพัฒนาอาเซียนที่จะได้รับการจัดตั้งขึ้นในการประชุมครั้งนี้ และความร่วมมือเพื่อปฏิบัติตามโครงการในแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ที่ผู้นำอาเซียนรับรองร่วมกันเมื่อปลายปี 2547 อันจะนำไปสู่การลดช่องว่างในการพัฒนาของประเทศสมาชิกฯ
สำหรับการประชุมว่าด้วยความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ARF) ซึ่งมีประเทศต่างๆ ถึง
25 ประเทศเข้าร่วม จะหารือกันเรื่องสถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาค การเพิ่มพูนความมั่นคงทางทะเลและความปลอดภัยในการเดินเรือในช่องแคบมะละกา ทั้งนี้ ที่ประชุมจะได้พิจารณาการเข้าร่วมของติมอร์เลสเต
ซึ่งส่วนที่เกี่ยวกับไทยนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยจะผลักดันเรื่องความร่วมมือเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ โดยไทยจะร่วมกับแคนาดาเสนอร่างแถลงการณ์ว่าด้วยมาตรการความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องนี้เพื่อให้ที่ประชุมรับรองเป็นกรอบความร่วมมือกันต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อบ่ายวันที่ 25 กรกฎาคม 2548 ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยได้เดินทางไปร่วมประชุมประจำปีของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-29 กรกฎาคม 2548
ณ เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะใช้โอกาสการประชุมนี้ ผลักดันเรื่องสำคัญๆ หลายเรื่อง อาทิ การจัดทำกฎบัตรอาเซียนเพื่อวางรากฐานทางกฎหมายรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในระยะยาวไทยให้ความสำคัญกับการเข้ามีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง รวมทั้งการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างสม่ำเสมอเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในภูมิภาคอันเป็นข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีไทยในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่บาหลีเมื่อสองปีก่อน
ตลอดจนการมุ่งสร้างความเข้มแข็งทางสังคมเพื่อเตรียมความพร้อมและบรรเทาผลกระทบจากการที่อาเซียนกำลังเร่งรัดการรวมตัวทางเศรษฐกิจและการจัดทำเขตการค้าเสรีกับประเทศคู่เจรจา โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การป้องกันและแก้ไขปัญหาข้ามพรมแดนต่างๆ
ที่กระทบต่อประชาชน เช่น ยาเสพติดข้ามชาติ แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และการค้ามนุษย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังจะหารือกับมิตรประเทศอาเซียนในเรื่องพลังงานอันเป็นวิกฤตการณ์ที่กำลังประสบร่วมกัน และแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการประชุมต่างๆ ในกรอบองค์การการค้าโลก และการประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี 8) โดยไทยหวังจะผลักดันให้อาเซียนช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการรับมือกับภัยคุกคามใหม่ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโรคร้ายแรงใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น โรคซาร์สและไข้หวัดนก หรือการจัดการกับภัยพิบัติจากธรรมชาติอย่างเช่นธรณีพิบัติภัย (สึนามิ) ที่สร้างความหายนะแก่ชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคอย่างใหญ่หลวง ไทยจึงต้องการจะมีกลไกเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติและสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อสามารถช่วยเหลือกันได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถเชื่อมโยงกับกลไกแบบเดียวกันที่มีอยู่ในระดับภูมิภาค
นอกจากการประชุมประจำปีของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยจะเข้าร่วมการประชุมกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ซึ่งไทยจะมีบทบาทโดดเด่นในฐานะประเทศผู้ประสานงานความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ โดย ดร. กันตธีร์ฯ จะเป็นทำหน้าที่ประธาน
การประชุมระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นโอกาสดีที่ไทยจะกำหนดทิศทางของความร่วมมือและดึงดูดความสนใจของสหรัฐฯ ในเรื่องที่ฝ่ายอาเซียนและไทยเองให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน การจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน-สหรัฐฯ การสนับสนุนอาเซียนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และการพัฒนาความร่วมมือในการป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อสร้างความพร้อมและความเชี่ยวชาญของภูมิภาคในการรับมือกับภัยพิบัติ ตลอดจนสนับสนุนการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติและสถานการณ์ฉุกเฉินของอาเซียนที่ไทยเสนอเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว
โอกาสนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยจะเข้าร่วมการประชุมระหว่างอาเซียน
กับออสเตรเลีย ในฐานะที่ไทยจะรับหน้าที่ประเทศผู้ประสานงานความร่วมมืออาเซียน-ออสเตรเลียต่อไป
ซึ่งประเด็นสำคัญที่ไทยต้องการผลักดันให้เกิดขึ้นคือการที่ออสเตรเลียเข้าร่วมในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นการเคารพต่อหลักการที่อาเซียนยึดถือในการดำเนินความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกันเพื่อสันติภาพและเสถียรภาพ และรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยยังจะเข้าร่วมการประชุมระหว่างอาเซียนกับรัสเซีย ในฐานะของอดีตประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-รัสเซีย
โดยจะหารือเรื่องการเตรียมการประชุมผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนกับรัสเซียในเดือนธันวาคม ศกนี้ ส่วนประเด็นสำคัญอื่นๆ ในการประชุมกับประเทศคู่เจรจา ได้แก่การต่อต้านการก่อการร้ายที่
กำลังเป็นภัยต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ทวีความรุนแรงขึ้น และจะมีการจัดทำแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือในเรื่องนี้ระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี นิวซีแลนด์ และปากีสถาน การชักชวนให้ประเทศคู่เจรจามี
ส่วนร่วมในการพัฒนาของอาเซียน โดยผ่านกองทุนเพื่อพัฒนาอาเซียนที่จะได้รับการจัดตั้งขึ้นในการประชุมครั้งนี้ และความร่วมมือเพื่อปฏิบัติตามโครงการในแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ที่ผู้นำอาเซียนรับรองร่วมกันเมื่อปลายปี 2547 อันจะนำไปสู่การลดช่องว่างในการพัฒนาของประเทศสมาชิกฯ
สำหรับการประชุมว่าด้วยความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ARF) ซึ่งมีประเทศต่างๆ ถึง
25 ประเทศเข้าร่วม จะหารือกันเรื่องสถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาค การเพิ่มพูนความมั่นคงทางทะเลและความปลอดภัยในการเดินเรือในช่องแคบมะละกา ทั้งนี้ ที่ประชุมจะได้พิจารณาการเข้าร่วมของติมอร์เลสเต
ซึ่งส่วนที่เกี่ยวกับไทยนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยจะผลักดันเรื่องความร่วมมือเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ โดยไทยจะร่วมกับแคนาดาเสนอร่างแถลงการณ์ว่าด้วยมาตรการความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องนี้เพื่อให้ที่ประชุมรับรองเป็นกรอบความร่วมมือกันต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-