สรุปภาวะการค้าระหว่างไทย-อินเดียประจำเดือน ม.ค.-ก.พ.2548

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 7, 2005 13:44 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          1. อินเดียเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 23 ของโลก โดยมีมูลค่าการนำเข้า 69,379,567,598 
ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.03 (ม.ค-ก.ย 2547)
2. แหล่งผลิตสำคัญที่อินเดียนำเข้าในปี 2547 (ม.ค.-ก.ย) ได้แก่
- จีน ร้อยละ 6.01 มูลค่า 4,167.304 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.62
- สหรัฐฯ ร้อยละ 5.72 มูลค่า 3,970.693 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.71
- เบลเยี่ยม ร้อยละ 4.59 มูลค่า 3,186.740 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.68
- สวิสเซอร์แลนด์ ร้อยละ 4.41 มูลค่า 3,060.947 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.19
- ไทยอยู่อันดับที่ 24 ร้อยละ 0.76 มูลค่า 525.941 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.71
3. อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดีย ปีงบประมาณ 2547 ขยายตัวร้อยละ 6.9
ต่อปี ลดลงจากปีงบประมาณก่อน ซึ่งขยายตัวร้อยละ 8.5 ต่อปี อย่างไรก็ตามภาคการผลิตและพลังงานยังคง
เติบโตอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าปี 2548 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 6.5%
4. อินเดียเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 16 ของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออก 1.57 มูลค่าการส่งออก
245.20 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 106.99 (ม.ค-ก.พ 2548) หรือคิดเป็นร้อยละ 8.36 ของเป้าหมาย
การส่งออก
5. สินค้าไทยส่งออกไปอินเดีย (ม.ค.-ก.พ 2548) 25 อันดับแรกมีสัดส่วนรวมกันร้อยละ 89.16
ของมูลค่าการส่งออกโดยรวมไปตลาดนี้ สินค้าสำคัญที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 500 มี 3 รายการ
สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 200 มี 2 รายการ และสินค้าที่มีมูลค่าลดลงเกินกว่าร้อยละ 20 มี
2 รายการ
สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปอินเดียที่มีมูลค่าการเปลี่ยนแปลงสูง ม.ค.-ก.พ. 2548
ตลาด อันดับที่ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการ % เปลี่ยนแปลง สัดส่วน2547 ร้อยละ 2548
ม.ค.-ก.พ 47 ม.ค.-ก.พ 48 เปลี่ยนแปลง (ม.ค.-ก.พ) ม.ค.-ก.พ
1. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปอินเดีย เพิ่มขึ้นสูงมากกว่าร้อยละ 500 มี 3 รายการ
(1) ยางพารา 3 2.40 14.66 12.26 510.75 3.41 5.98
(2) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ 6 1.26 11.57 10.31 815.67 6.39 4.72
(3) หลอดภาพโทรทัศน์สี 23 0.00 1.96 1.96 100,248.36 0.52 0.80
2. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปอินเดีย เพิ่มขึ้นสูงมากกว่าร้อยละ 200 มี 2 รายการ
(1) สายไฟฟ้า สายเคเบิล 13 1.26 4.87 3.61 286.83 1.99 1.98
(2) ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม 19 0.69 2.61 1.92 276.27 1.10 1.06
3. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปอินเดีย ลดลงมากกว่าร้อยละ 20 มี 2 รายการ
(1) เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น 20 3.09 2.41 -0.68 -22.03 1.88 0.98
(2) เส้นใยประดิษฐ์ 22 4.41 2.20 -2.21 -49.97 2.97 0.90
รวบรวมโดย : ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ
จากสถิติการส่งออกดังกล่าวมีข้อสังเกต ดังนี้
ยางพารา (HS. 4001) Rubber Natural
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก รองลงมาคือ อินโดนีเซียและมาเลเซีย
อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 2 มูลค่า 0.851 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ
27.90 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.46 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 3.050 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 65.32 นำเข้าจาก มาเลเซีย เป็นหลัก (ม.ค-ก.ย 2547)
เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (HS. 8527) Radiobroadcst Recvers
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 4 ของโลก รองลงมาคือคือ ฮ่องกง จีน สหรัฐ
อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 3 มูลค่า 0.161 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 9.12
เพิ่มขึ้นร้อยละ 320.76 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 1.762 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 106.51 นำเข้าจาก จีน มาเลเซีย เป็นหลัก (ม.ค.-ก.ย 2547)
สายไฟฟ้า สายเคเบิล (HS 8544) INSUL CABL, WIRE, ETC
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 8 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง
อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 10 มูลค่า 5.844 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 2.93
เพิ่มขึ้นร้อยละ 107.27 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 199.449 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 66.53 นำเข้าจาก จีน สหรัฐฯ เกาหลีใต้ ศรีลังกาเป็นหลัก (ม.ค.-ก.ย 2547)
ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม (HS. 76) Aluminum
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 13 ของโลก ผู้ส่งออกหลักคือ นอร์เวย์ แคนาดา สหรัฐฯ จีน
อินเดีย นำเข้าจากไทยอันดับที่ 13 มูลค่า 7.689 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 178.57
ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 325.695 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.96 นำเข้าจาก
สหรัฐอาหรับเอมิเรต เยอรมนี อัฟริกาใต้ ซาอุดิอาระเบีย เป็นหลัก (ม.ค.-ก.ย 2547)
หลอดภาพโทรทัศน์สี (HS. 854011) COL CAT-RAY TV TUBE
ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 4 ของโลกผู้ส่งออกหลักคือ สหรัฐฯ จีน สิงคโปร์
อินเดีย นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 7 มูลค่า 1.011 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนร้อยละ 1.17
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,627.41 ด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของอินเดีย มูลค่า 86.288 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 37.12 นำเข้าจาก มาเลเซีย เกาหลีใต้ จีน โปแลนด์ เป็นหลัก (ม.ค.-ก.ย 2547)
6. สินค้าไทยส่งออกไปอินเดียมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่าร้อยละ 100 ได้แก่ เม็ดพลาสติก
ยางพารา เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบเครื่องจักรกล อัญมณีและ
เครื่องประดับ สายไฟสายเคเบิ้ล ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม และหลอด-ภาพโทรทัศน์สี เป็นต้น
สินค้านำเข้าจากอินเดียเพิ่มขึ้นในอัตราสูงได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและ
ผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ เป็นต้น
7. การค้าภายใต้ข้อตกลงเอฟทีเอกับประเทศอินเดีย
กระทรวงพาณิชย์สานต่อนโยบายเอฟทีเอไทย — อินเดีย โดยพยายามขยายขอบเขตรายการสินค้า
การลดภาษีระหว่างกัน จากปัจจุบันที่เริ่มลดไปแล้ว 82 รายการ และกำลังเจรจาในรายการสินค้าอีกกว่า
5,000 รายการ ขณะที่อินเดียต้องการจะกันสินค้าประมาณ 1,000 รายการเข้าบัญชีรายการสินค้าอ่อนไหวเพื่อ
ปกป้องผู้ประกอบการภายในของตนเอง ซึ่งไทยกำลังพยายามหาทางออกในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง
กรมการค้าต่างประเทศได้ออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าให้กับผู้ส่งออกตั้งแต่ตั้งแต่ 1 กันยายน
2547 เป็นต้นมาจนถึงเดือนมกราคม 2548 จำนวน 449 ฉบับ มูลค่า 27.83 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ
1,116.56 ล้านบาท สินค้าที่ขอหนังสือรับรองฯ ที่มีมูลค่ามากที่สุด ได้แก่ โพลิคาร์บอเนต รองลงมาคือ
หลอดภาพแคโทดเรย์ของเครื่องรับโทรทัศน์สี อิพอกไซด์เรซิน อะลูมิเนียมเจือของอื่นๆ ทำด้วยเหล็กหรือลวด
เหล็กกล้า เครื่องรับโทรทัศน์สีและเครื่องปรับอากาศ
8. ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็น
อินเดียเป็นประเทศที่มีกำลังซื้อสูงเนื่องจากมีประชากรจำนวนมาก ซึ่งธุรกิจที่มีแนวโน้มดีในตลาด
อินเดียมีหลายประเภท อาทิ อาหารแปรรูป อุปกรณ์รถยนต์ อุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ เฟอร์นิเจอร์ และ
ปิโตรเคมี ในขณะที่ไทยยังคงต้องนำเข้าสินค้าจากอินเดียเป็นจำนวนมากเช่นกัน โดยเฉพาะสินค้าชิ้นส่วน
อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประกอบเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์เพื่อการส่งออก
ที่มา: http://www.depthai.go.th
-ดท-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ