อุตสาหกรรมเซรามิก
อุตสาหกรรมเซรามิก เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ การผลิตจะใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก เป็นอุตสาหกรรมที่สนองนโยบายของรัฐในการสร้างงานและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอุตสาหกรรมหนึ่ง
1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 39.06 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.69 และ 14.28 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 2.25 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.01 และ 16.55 ตามลำดับ (ตารางที่ 1 และ 2) ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 76.03 ล้านตาราง เมตร และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 4.49 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.74 และ 20.05 ตามลำดับ ซึ่งการผลิตเซรามิกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องแต่อยู่ในภาวะชะลอตัวลง อันเป็นผลจากราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเซรามิกเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการจำหน่าย 41.99 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการจำหน่าย 1.28 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 4.93 และ 0.52 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน และเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศลดลง แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ยังคงมีอัตราการขยายตัวที่ดี โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.03 และ 23.14 ตามลำดับ (ตาราง ที่ 1 และ 2) ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 86.16 ล้านตารางเมตร และการจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.56 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.74 และ 21.46 ตามลำดับ ซึ่งการจำหน่ายเซรามิกยังคงขยายตัว ตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ แต่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ในขณะเดียวกันราคาจำหน่ายเซรามิกอาจปรับตัวสูงขึ้นอีก หากได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบและราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น การแข่งขันของตลาดเซรามิกในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรงมาตลอด โดยเฉพาะในช่วงที่มีการจัดงานสถาปนิก’ 48 ผู้ผลิตหลายรายจะเปิดตัวสินค้าใหม่ทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นสินค้าตลาดระดับกลางถึงบน โดยเน้นสินค้าที่มีนวัตกรรมที่ทันสมัยผสมผสานทั้งด้านรูปแบบ ดีไซน์ สีสัน และเทคโนโลยี มาแสดงในงาน เพื่อหนีตลาดระดับล่าง และรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับสินค้าของตน
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่ารวม 170.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.06 โดยทุกผลิตภัณฑ์มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้น ของชำร่วยเครื่องประดับ ที่การส่งออกขยายตัวลดลงในตลาดหลักทุกตลาด และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.26 โดยทุกผลิตภัณฑ์มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้น เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ที่การส่งออกขยายตัวลดลงในตลาดญี่ปุ่น และลูกถ้วยไฟฟ้า ที่การส่งออกขยายตัวลดลงในตลาดอาเซียน และตลาดสหภาพยุโรป (ตารางที่ 3)
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ไต้หวัน เยอรมนี แคนาดา ฮ่องกง และประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์ เซรามิกในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 มีมูลค่ารวม 302.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.90 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และของชำร่วยเครื่องประดับ โดยผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง สุขภัณฑ์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาด ยกเว้นตลาดสหภาพยุโรป ในขณะที่ของชำร่วยเครื่องประดับจะขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียน และตลาดสหภาพยุโรป
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน อิตาลี อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่า 41.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.88 และ 17.38 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 มีมูลค่า 77.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.17 (ตารางที่ 4) ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น และอิตาลี และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของตลาดในประเทศ แต่เป็นไปในทิศทางที่ชะลอตัวลง เนื่องจากไตรมาส ที่ 2 และ 3 ของปี เป็นช่วงหน้าฝนที่ไม่ใช่ฤดูกาลขาย ประกอบกับภาวะอสังหาริมทรัพย์ในประเทศเริ่มได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อ ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น มาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง จนทำให้โครงการเพื่อที่อยู่อาศัยเริ่มเปิดตัวโครงการน้อยลง อย่างไรก็ตาม การผลิตและจำหน่ายเซรามิกยังได้รับผลดีจากโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ สำหรับเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหลังจากที่มีการขยายตัวลดลงมาตลอด โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหภาพยุโรป และตลาดสหรัฐอเมริกา จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องพยายามรักษาขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเซรามิกไทยให้แข่งขันได้ในตลาดดังกล่าว เพื่อมิให้เสียส่วนแบ่งตลาดให้กับประเทศคู่แข่ง การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น และภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งมีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก แต่การปรับค่าเงินหยวนของจีนจะส่งผลดีกับการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกของไทย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
อุตสาหกรรมเซรามิก เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ การผลิตจะใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก เป็นอุตสาหกรรมที่สนองนโยบายของรัฐในการสร้างงานและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอุตสาหกรรมหนึ่ง
1. การผลิต
การผลิตเซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการผลิต 39.06 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.69 และ 14.28 ตามลำดับ สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการผลิต 2.25 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.01 และ 16.55 ตามลำดับ (ตารางที่ 1 และ 2) ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 76.03 ล้านตาราง เมตร และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 4.49 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.74 และ 20.05 ตามลำดับ ซึ่งการผลิตเซรามิกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องแต่อยู่ในภาวะชะลอตัวลง อันเป็นผลจากราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเซรามิกเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณการจำหน่าย 41.99 ล้านตารางเมตร และเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณการจำหน่าย 1.28 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 4.93 และ 0.52 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน และเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้ความต้องการใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศลดลง แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ยังคงมีอัตราการขยายตัวที่ดี โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.03 และ 23.14 ตามลำดับ (ตาราง ที่ 1 และ 2) ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 การจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีปริมาณ 86.16 ล้านตารางเมตร และการจำหน่ายเครื่องสุขภัณฑ์ มีปริมาณ 2.56 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.74 และ 21.46 ตามลำดับ ซึ่งการจำหน่ายเซรามิกยังคงขยายตัว ตามภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ แต่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ในขณะเดียวกันราคาจำหน่ายเซรามิกอาจปรับตัวสูงขึ้นอีก หากได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบและราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น การแข่งขันของตลาดเซรามิกในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรงมาตลอด โดยเฉพาะในช่วงที่มีการจัดงานสถาปนิก’ 48 ผู้ผลิตหลายรายจะเปิดตัวสินค้าใหม่ทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นสินค้าตลาดระดับกลางถึงบน โดยเน้นสินค้าที่มีนวัตกรรมที่ทันสมัยผสมผสานทั้งด้านรูปแบบ ดีไซน์ สีสัน และเทคโนโลยี มาแสดงในงาน เพื่อหนีตลาดระดับล่าง และรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับสินค้าของตน
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่ารวม 170.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.06 โดยทุกผลิตภัณฑ์มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้น ของชำร่วยเครื่องประดับ ที่การส่งออกขยายตัวลดลงในตลาดหลักทุกตลาด และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.26 โดยทุกผลิตภัณฑ์มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ยกเว้น เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ที่การส่งออกขยายตัวลดลงในตลาดญี่ปุ่น และลูกถ้วยไฟฟ้า ที่การส่งออกขยายตัวลดลงในตลาดอาเซียน และตลาดสหภาพยุโรป (ตารางที่ 3)
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกจะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ไต้หวัน เยอรมนี แคนาดา ฮ่องกง และประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์ เซรามิกในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 มีมูลค่ารวม 302.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.90 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กระเบื้อง ปูพื้น บุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และของชำร่วยเครื่องประดับ โดยผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง สุขภัณฑ์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาด ยกเว้นตลาดสหภาพยุโรป ในขณะที่ของชำร่วยเครื่องประดับจะขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียน และตลาดสหภาพยุโรป
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน อิตาลี อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 2 ปี 2548 มีมูลค่า 41.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.88 และ 17.38 ตามลำดับ สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 มีมูลค่า 77.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 22.17 (ตารางที่ 4) ซึ่งการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการต้องนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น และอิตาลี และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่นส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ากระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่มีราคาถูกจากจีน
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของตลาดในประเทศ แต่เป็นไปในทิศทางที่ชะลอตัวลง เนื่องจากไตรมาส ที่ 2 และ 3 ของปี เป็นช่วงหน้าฝนที่ไม่ใช่ฤดูกาลขาย ประกอบกับภาวะอสังหาริมทรัพย์ในประเทศเริ่มได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อ ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น มาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง จนทำให้โครงการเพื่อที่อยู่อาศัยเริ่มเปิดตัวโครงการน้อยลง อย่างไรก็ตาม การผลิตและจำหน่ายเซรามิกยังได้รับผลดีจากโครงการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ สำหรับเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหลังจากที่มีการขยายตัวลดลงมาตลอด โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหภาพยุโรป และตลาดสหรัฐอเมริกา จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องพยายามรักษาขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเซรามิกไทยให้แข่งขันได้ในตลาดดังกล่าว เพื่อมิให้เสียส่วนแบ่งตลาดให้กับประเทศคู่แข่ง การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น และภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งมีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก แต่การปรับค่าเงินหยวนของจีนจะส่งผลดีกับการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกของไทย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-