สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน) พ.ศ.2548 (อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 9, 2005 16:00 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

          อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 
1. ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม
ภาวะการผลิตในสินค้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยจากดัชนีอุตสาหกรรมของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและ
อิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.79 โดยเป็นการปรับตัวลดลงจากสินค้าไฟฟ้าร้อยละ 8.64 และสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ 2.31
และเมื่อพิจารณาอัตราการใช้กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย พบว่าในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 มีอัตราการใช้กำลังการผลิต
รวมที่ระดับร้อยละ 52.13 โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ระดับร้อยละ 44.12 ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีมีอัตราการใช้
กำลังการผลิตที่ระดับร้อยละ 64.26
เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 นี้ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่าการส่งออกมีมูลค่าทั้งสิ้น
381,702.46 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.67 โดยส่วนใหญ่มาจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของอุปกรณ์ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะฮา
ร์ตดิสไดร์ฟ ส่วนสินค้าไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 144,060.98 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.71 ในขณะที่การนำเข้ามีการขยาย
ตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.79 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าถึงร้อยละ 23.05 โดยเฉพาะจากสินค้าประเภทเทปแม่เหล็กและจาน
แม่เหล็กและแผ่น CD ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 323.19 เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้ Tumb Drive และแผ่น CD อย่างแพร่หลาย และใช้แทนสื่อบันทึก
ชนิดอื่นๆ เช่น วีดีโอเทป และเทปคาสเซ็ต รวมถึง Floppy Disk มากขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศผู้ผลิตสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ เช่น ประเทศญี่ปุ่นพบว่าภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า
ยังคงทรงตัว โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ในกลุ่ม HouseHold Electrical Machinery ซึ่งรายงานโดย
Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.95 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จาก
สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านหลักๆ เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และเครื่องซักผ้า เป็นต้น ในขณะที่มูลค่าการจำหน่าย Semiconductor
ของภูมิภาคต่างๆ ของโลกพบว่ามีมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดย Semiconductor Industry
Association (SIA) ได้รายงานการจำหน่าย Semiconductor ของตลาดโลกในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 มีมูลค่าจำหน่าย 56.15 พันล้าน
เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนโดยได้แรงฉุดจากสินค้าในกลุ่มของ Personal Computer และ
Cellular Phone
แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 โดยรวมคาดว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นได้จากไตรมาสที่ 3
โดยเฉพาะจากสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของตลาดในประเทศและการส่งออก โดยตลาดในประเทศนั้นคาดว่าเนื่องจากผู้
บริโภคจะมีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นในช่วงสิ้นปี และหลายบริษัทคงจะมีการจัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นยอดขายเพิ่มขึ้น ส่วนการส่งออกคาดว่าจะเติบโต
เพิ่มขึ้นจากการที่ปัจจุบันบริษัทต่างๆย้ายฐานการผลิตมาประเทศไทยมากขึ้น ส่วนอุตสหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะทรงตัวเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา
บริษัทต่างๆได้เพิ่มกำลังการผลิตรองรับความต้องการที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีไว้แล้ว และผลของภัยธรรมชาติที่เกิดกับประเทศอเมริกา
อาจกระทบต่อความเชื่อมั่นในการบริโภคของตลาดอเมริกาส่วนหนึ่ง
2. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า
2.1 การผลิต
ภาวะการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ 2 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่อง
ใช้ไฟฟ้าปรับตัวลดลงร้อยละ 14.51 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.64 สินค้า
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการผลิตลดลงมากเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนได้แก่ เครื่องปรับอากาศ โดยเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่ง
ยูนิตมีการผลิตลดลงร้อยละ 16.3 และเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยด์ยูนิตลดลงร้อยละ 29.4 เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลงจากตลาดยุโรป
เนื่องจากได้หันไปนำเข้าเครื่องปรับอากาศจากประเทศจีนมากขึ้น ในขณะที่เครื่องรับโทรทัศน์มีการผลิตเพิ่มขึ้นมาก โดยเพิ่มมากในส่วนของโทรทัศน์
สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) ถึงร้อยละ 25.9 เนื่องจากผู้ผลิตทีวีรายสำคัญเช่น โซนี่ได้เลือกใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์สำหรับ
ภูมิภาคคเอเชีย เป็นผลมาจากการที่ไทยมีการปรับลดภาษีชิ้นส่วนสำหรับผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ลดลงเหลือ 0 ในช่วงที่ผ่านมา สำหรับดัชนีผลผลิตสินค้า
ต่างๆ ในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า แสดงดังตารางที่ 1
เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตร
มาสที่ 3 ปี 2548 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลง
ร้อยละ 3.77 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 10.95 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบ
ว่า ดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลงในเกือบทุกกลุ่มสินค้า โดยสินค้าที่ปรับตัวลดลงมากที่สุด ได้แก่ เตาอบไมโครเวป โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 44.81
รองลงมา คือ เครื่องเล่น DVD ลดลงร้อยละ 38.91 เนื่องจากมีการนำเข้าจากฐานการผลิตในต่างประเทศและนำเข้าจากประเทศจีนแทนเนื่องจาก
มีราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากได้แก่สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เช่น จอภาพ LCD และกล้องวีดีโอ
Digital เป็นต้น โดยจอภาพ LCD มีการผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 67.75 ดัชนีผลผลิตรายสินค้าไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ของประเทศญี่ปุ่น แสดงใน
ตารางที่ 2
ตารางที่ 1 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2548
สินค้า Production Index การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2548 (ร้อยละ) การเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2547 (ร้อยละ)
เครื่องใช้ไฟฟ้า 74 -3.77 -10.95
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิต 164.3 -49 -16.31
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต 146.54 -51.16 -29.39
คอมเพรสเซอร์ 139.88 -1.08 -1.24
พัดลม 27.27 -30.17 -37.81
ตู้เย็น 217.46 9.67 6.78
กระติกน้ำร้อน 116.94 -8 -2.16
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 102.78 3.17 -4.61
สายไฟฟ้า 144.09 16.67 -9.08
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 65.32 2.21 -8.52
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 259.33 34.22 25.92
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 2 แสดงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 3 ปี 2548
Production Index การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2548 (ร้อยละ) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2547 (ร้อยละ
Household electrical machinary 74 -3.77 -10.95
เครื่องปรับอากาศ 79.2 -1.86 -19.1
ไมโครเวป 28.2 -16.07 -44.81
เครื่องซักผ้า 58.3 -14.77 -10.86
หม้อหุงข้าว 93.1 1.09 2.76
ตู้เย็น 69.2 1.91 -9.54
พัดลม 85.1 2.28 -3.3
เครื่องรับโทรทัศน์สี N/A N/A N/A
LCD 572.2 13.15 67.75
ครื่องเล่น DVD 29 -29.1 -34.98
กล้องวีดีโอ Digital 102.5 6.44 21.73
กล้องถ่ายรูป Digital 282 -3.95 -5.11
ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan
2.1 การตลาด
จากรายงานดัชนีการส่งสินค้าของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ดัชนีการส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าค่อน
ข้างทรงตัว โดยปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.13 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
โดยเป็นการลดลงมากจากสินค้าเครื่องปรับอากาศ และพัดลม เช่นกัน ดัชนีการส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า แสดงในตารางที่ 3
เปรียบเทียบกับดัชนีส่งสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.13 และ
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่า ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ร้อยละ 2.02 โดยเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่าดัชนีการส่งสินค้าของสินค้าเครื่องใช้
ไฟฟ้าภายในบ้านปรับตัวเพิ่มขั้นได้ในระดับร้อยละ 1 ถึง 10 ส่วนสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ จอภาพ LCD และกล้องวีดีโอ Digital เช่นกันโดย
ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.00 และ 19.65 ตามลำดับ ดัชนีผลผลิตรายสินค้าไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ของประเทศญี่ปุ่น แสดงในตารางที่ 4
ตารางที่ 3 แสดงดัชนีส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2548
สินค้า Shipment Index การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2548 (ร้อยละ) การเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2547 (ร้อยละ)
เครื่องใช้ไฟฟ้า 90.94 -16.1 -9.55
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิต 159.54 -51.55 -20.83
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ซิ่งยูนิต 153.42 -51.45 -27.92
คอมเพรสเซอร์ 155.75 -9 0.97
พัดลม 29.83 -31.93 -44.24
ตู้เย็น 220.75 9.97 4.69
กระติกน้ำร้อน 116.99 -2.07 1.51
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า 95.92 -2.38 -3.51
สายไฟฟ้า 131.96 9.95 -8.29
โทรทัศน์สี (ขนาดจอเล็กกว่า 20 นิ้ว) 66.07 3.28 -9.07
โทรทัศน์สี (ขนาดจอ 21 นิ้ว หรือมากกว่า) 262.46 37.34 32.06
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 4 แสดงดัชนีส่งสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 2 ปี 2548
Shipment การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2548 (ร้อยละ) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3/2547(ร้อยละ)
Index
Household electrical machinary 96 -1.13 2.02
เครื่องปรับอากาศ 98 2.94 9.87
ไมโครเวป 95.9 -11.61 8.36
เครื่องซักผ้า 99.4 -1.39 0.71
หม้อหุงข้าว 103.1 -3.91 3.41
ตู้เย็น 88.8 -2.09 0.11
พัดลม 91.7 1.55 -11.14
เครื่องรับโทรทัศน์ 45.7 -8.42 -29.26
LCD 537.4 10.64 55
ครื่องเล่น DVD 223.6 -14.82 -19.42
กล้องวีดีโอ Digital 121.8 11.03 19.65
กล้องถ่ายรูป Digital 351.2 -0.93 -10.75
ที่มา : Ministry of Economic , Trade and Industry , Japan
ตลาดส่งออก
การส่งออกสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 มีมูลค่า 144,060.98 ล้านบาท ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.71 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนพบว่าขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.72 เช่นเดียวกัน โดย
สินค้าที่มีการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ สินค้าในกลุ่มเครื่องเล่นภาพและเสียง โดยมีมูลค่าการส่งออก 44,128.1 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31
ของการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทย โดยสัดส่วนของสินค้าส่งออกจำแนกตามกลุ่มต่างๆ
เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้าพบว่าสินค้าที่มีการส่งออกสูงสุด ได้แก่ เครื่องรับโทรทัศน์สี โดยมีมูลค่าการส่งออก 17,828.7 ล้านบาท
ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 8.2 รองลงมาคือ เครื่องปรับ
อากาศ มีมูลค่าการส่งออก 15,718.1 ล้านบาท ปรับตัวลดลงร้อยละ 41.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว และลดลงร้อย
ละ 8.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่าการลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2547 ดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นเพราะ
ในปี 2547 ไทยมีการส่งออกเครื่องปรับอากาศสูงมาก (โดยเพิ่มจากปี 2546 กว่าร้อยละ 60) และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากผู้นำเข้าในตลาดยุโรปหันไปสั่ง
ซื้อเครื่องปรับอากาศจากจีนมากขึ้น สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกแสดงในตารางที่ 6
ตารางที่ 6 มูลค่าสินค้าไฟฟ้าที่มีการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกของไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2548
รายการสินค้า มูลค่าการส่งออก การเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับไตรมาส ที่ 2/2548 การเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่ 3/2548 (ล้านบาท) (ร้อยละ) ไตรมาส ที่ 3/2547 (ร้อยละ)
1. เครื่องรับโทรทัศน์สี 17,828.70 19.5 -8.2
2. เครื่องปรับอากาศ 15,718.10 -41.5 -8.1
3. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า
รวมถึงแป้นและแผงควบคุม (ฟิวส์, สวิตช์,ปลั๊ก,socket) 13,482.00 0.2 -15.4
4. ตู้เย็นที่ใช้ตามบ้าน 7,085.30 17.6 21.8
5. มอเตอร์ไฟฟ้าชนาดเล็ก (ไม่เกิน 750 W) 7,110.00 6.1 12.4
ที่มา: สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
2.2 การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าไฟฟ้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 มีมูลค่าทั้งสิ้น 108,476.14 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.05 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยสัดส่วนของสินค้าส่งออกจำแนกตามกลุ่มต่างๆที่สำคัญแสดงในรูปที่ 2
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนสินค้าที่มีการนำเข้ามาก ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้น
และแผงควบคุม(ฟิวส์,สวิตช์,ปลั๊ก,socket) มูลค่า 21,217.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 รองลงมาคือเทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD
สำหรับบันทึกเสียง ,ภาพ มูลค่า 17,198.01 เพิ่มขึ้นร้อยละ 323.19 และหลอดภาพโทรทัศน์สี มูลค่า 6862.66 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 29.85
ซึ่งการที่สินค้าเทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง ,ภาพ มีมูลค่านำเข้าขยายตัวอย่างมากดังกล่าวเนื่องจากปัจจุบันมีการใช้แผ่น
CD อย่างแพร่หลาย และใช้แทนสื่อบันทึกชนิดอื่นๆ เช่น วีดีโอเทป และเทปคาสเซ็ต รวมถึง Floppy Disk มากขึ้น สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกสูง
สุด 5 อันดับแรก
1 เครื่องเล่นภาพและเสียงและส่วนประกอบ
2 อุปกรณ์ที่ให้ความร้อนและส่วนประกอบ
3 เครื่องทำความเย็นและส่วนประกอบ
4 เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง ,ภาพ และเครื่องเล่นแผ่นเสียง
5 อุปกรณ์ที่ใช้มอร์เตอร์และส่วนประกอบ
6 สายไฟฟ้าและสายเคเบิ้ล
7 หลอดไฟฟ้า
8 เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า รวมถึงแป้นและแผงควบคุม(ฟิวส์,สวิตช์,ปลั๊ก,socket)
9 มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
10 หม้อแปลงไฟฟ้า
11 เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ
ตารางที่ 7 มูลค่าสินค้าไฟฟ้าที่มีการนำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรกของไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2548
รายการสินค้า มูลค่าการนำเข้า การเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับ การเปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่ 3/2548 (ล้านบาท) ไตรมาสที่ 2/2548(ร้อยละ) ไตรมาสที่ 3/2547 (ร้อยละ)
1. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า
รวมถึงแป้นและแผงควบคุม(ฟิวส์,สวิตช์,ปลั๊ก,socket) 22,570.50 12.8 19.1
2. เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก,แผ่น CD สำหรับบันทึกเสียง ,ภาพ 17,198.01 16.55 323.19
3. หลอดภาพโทรทัศน์สี 6,862.66 -1.1 -29.85
4. สายไฟ ชุดสายไฟ 5,696.90 1.79 11.98
5. ส่วนประกอบเครื่องรับโทรทัศน์ 5,588.94 11 29.8
ที่มา: สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3.1 การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 3 ปี 2548 ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยจากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
พบว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 3 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.96 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยสินค้าหลักที่มีการปรับตัว
เพิ่มขึ้น คือ หลอดภาพคอมพิวเตอร์ และ Other IC ขยายตัวร้อยละ 26.99 และ 16.59 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล ที่จะมีการปรับเพิ่ม
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ